สกายทีม
สกายทีม (อังกฤษ: Skyteam) เป็นหนึ่งในสามเครือข่ายพันธมิตรสายการบินหลักของโลก ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 เป็นพันธมิตรสายการบินกลุ่มสุดท้ายที่ก่อตั้งขึ้นจากทั้งสามกลุ่มหลัก ตามหลังสตาร์อัลไลแอนซ์และวันเวิลด์ โดยในปี 2024 กลุ่มพันธมิตรให้บริการผู้โดยสารกว่า 624 ล้านคน[1] เป็นเครือข่ายพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง[4][5][6] ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 สกายทีมมีสายการบินสมาชิก 19 แห่งจากทั่วโลก และดำเนินการด้วยคำขวัญ ดูแลคุณได้มากกว่า (Caring more about you) นอกจากนี้หลุ่มพันธมิตรยังมีการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรสำหรับสายการบินขนส่งสินค้าในชื่อ สกายทีมคาร์โก ซึ่งสมาชิกทั้ง 10 สายการบินเป็นสายการบินลูกของสมาชิกสกายทีม กลุ่มพันธมิตรมีสำนักงานใหญ่ในอัมสเติลเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์[3]
ก่อตั้ง | 22 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) |
---|---|
สายการบินสมาชิก | 19 |
ท่าอากาศยานปลายทาง | 1,150+[1] |
ประเทศปลายทาง | 175 |
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน) | 630[2] |
ขนาดฝูงบิน | 3,054 |
สำนักงานใหญ่ | อัมสเติลเวน เนเธอร์แลนด์[3] |
ผู้บริหาร |
|
คำขวัญ | ดูแลคุณได้มากกว่า (Caring more about you)[1] |
เว็บไซต์ | www |
ณ ปี 2024 สกายทีมบินไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 1,000 แห่งในกว่า 160 ประเทศ และให้บริการเที่ยวบินมากกว่า 13,600 เที่ยวบินต่อวัน[1] กลุ่มพันธมิตรและสมาชิกมีห้องรับรอง 750 แห่งทั่วโลก
ประวัติ
แก้การก่อตั้งและช่วงแรก
แก้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ตัวแทนของสายการบินเดลตาแอร์ไลน์ อาเอโรเมฆิโก แอร์ฟรานซ์ และโคเรียนแอร์ ได้จัดการประชุมในนครนิวยอร์กเพื่อก่อตั้งพันธมิตรสายการบินที่สาม[7] สายการบินเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสี่สมาชิกแรกก่อตั้งสกายทีม โดยภายหลังการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรได้ให้บริการเที่ยวบิน 6,402 เที่ยวบินต่อวันสู่จุดหมายปลายทาง 451 แห่งใน 98 ประเทศทั่วโลก ในปีเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 กลุ่มพันธมิตรได้จัดตั้งพันธมิตรขนส่งสินค้าที่เรียกว่า สกายทีมคาร์โก โดยมีอาเอโรเมกซ์เปรส แอร์ฟรานซ์คาร์โก เดลตาแอร์ดลจิสติก และโคเรียนแอร์คาร์โกเป็นสมาชิกแรกก่อตั้ง[7] ในเดือนถัดมา แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์ ได้แสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตร โดยมีแผนที่จะได้รับสถานภาพสมาชิกในเดือนเมษายนของปีถัดไป[8]
ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2001 แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสกายทีม เป็นสายการบินแรกที่เข้าร่วมพันธมิตรหลังการก่อตั้ง[9] และต่อมาอาลีตาเลียได้เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมของปีเดียวกัน[10] โดยสถานภาพการเป็นสมาชิกจะมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีนั้น[11] ในการจัดตั้งกลุ่มสายการบินกับแอร์ฟรานซ์ ทำให้เคแอลเอ็ม สายการบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ยื่นขอเป็นสมาชิกของสกายทีมในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2001[12] ในปี 2003 เดลตาแอร์ไลน์ได้ทดแทนเดลตาเอกซ์เพรส สายการบินลูก ด้วยซองในานะสมาชิกในเครือของสายการบิน[13][14] ในปีเดียวกันนั้นสกายทีมยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารมากขึ้น เพิ่มการโต้ตอบ และสื่ออื่นๆ[15]
ค.ศ. 2004: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งแรก
แก้ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 แอโรฟลอตได้ทำบันทึกความเข้าใจกับสกายทีมในเครมลินเกี่ยวกับความตั้งใจในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ภายหลังการยื่นสมัครเป็นสมาชิกในช่วงต้นปี[16][17] สกายทีมได้แสดงความเห็นว่าแอโรฟลอตไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของกลุ่มพันธมิตร แต่เครือข่ายฐานการบินขนาดใหญ่ของสายการบินทำให้แอโรฟลอตมีความเหมาะสมต่อเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งสามารถชดเชยข้อบกพร่องได้[18]
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ สายการบินที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้นในกว่างโจวในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัว[19] หยาน จื้อชิง ประธานของไชนาเซาเทิร์น กล่าวว่า "การลงนามข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในอนาคตของสายการบินในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการในการพัฒนาและเปิดรับต่อสังคมนานาชาติ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างค��ามร่วมมือระหว่างประเทศและความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกของสายการบินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น"
ในวันที่ 13 กันยายน คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ เคแอลเอ็มและนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีม[20][21] การเข้าร่วมพร้อมกันนี้ถือเป็นการขยายตัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พันธมิตรสายการบิน ซึ่งทำให้สกายทีมแซงหน้าวันเวิลด์เป็นพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสอง โดยให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 341 ล้านคนด้วยเที่ยวบิน 14,320 เที่ยวบินต่อวันไปยังจุดหมายปลายทาง 658 แห่งใน 130 ประเทศ[20]
ค.ศ. 2005–2006
แก้แม้แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์จะให้คำมั่นในการช่วยให้มาเลฟฮังกาเรียนแอร์ไลน์เป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับสกายทีม แต่มาเลฟได้เลือกที่จะเข้าร่วมวันเวิลด์แทนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ไม่กี่วันต่อมาสกายทีมได้ประกาศรับสมาชิกใหม่ 4 ราย โดยจะเข้าร่วมในปี 2006 ได้แก่ แอร์ยูโรปา (ได้รับการสนับสนุนจากแอร์ฟรานซ์) โกปาแอร์ไลน์ (ได้รับการสนับสนุนและเป็นเจ้าของบางส่วนโดยคอนติเนนตัลแอร์ไลน์) เคนยาแอร์เวย์ (ได้รับการสนับสนุนและเป็นเจ้าของบางส่วนโดยเคแอลเอ็ม) และตารอม (ได้รับการสนับสนุนจากอาลีตาเลีย)[22] เคนยาแอร์เวย์และแอร์ยูโรปาใช้โปรแกรมสะสมไมล์ ฟลายอิงบลูเดียวกันกับแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[23]
แอโรฟลอตเข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2006[24] ภายหลังขั้นตอนนาน 23 เดือนที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004[25] โดยนับเป็นสายการบินสัญชาติรัสเซียแห่งแรกที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรสายการบินนานาชาติใดๆ[26][27] แอโรฟลอตได้ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน โดยผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ในปีเดียวกันนั้นเดลตาได้ควบรวมกิจการของซองเข้ากับสายการบินแม่[28] ในเดือนมิถุนายน ได้มีการประกาศว่าปูร์ตูกาเลียแอร์ไลน์จะเป็นผู้สมัครเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องของสกายทีม[29] แต่ในเดือนพฤศจิกายนตัปแอร์ปูร์ตูกัล ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ได้เข้าซื้อหุ้นส่วน 99.81% ในสายการบิน ส่งผลให้ต้องยกเลิกการสมัครนั้นไป[30]
ค.ศ. 2007: การขยายตัว
แก้เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2007 แอร์ยูโรปา โกปาแอร์ไลน์[nb 1] และเคนยาแอร์เวย์เข้าร่วมสกายทีมโดยเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้อง[31] ซึ่งเปิดตัวเพื่อรองรับสายการบินในภูมิภาคที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ตั้งใจจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเครือข่าย[32][33] ในปีเดียวกันไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 15 พฤศจิกายน โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 และเป็นสมาชิกแรกในจีน[34][35]
ค.ศ. 2008–2009: การออกจากเครือข่ายของสมาชิกและความคิดริเริ่มใหม่
แก้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008[36] ภายหลังการผนวกกิจการของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์เข้าสู่ยูไนเต็ดแอร์ไลน์[37] ทั้งคอนติเนนตัลและโกปาแอร์ไลน์ประกาศแผนที่จะออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์หลังเที่ยวบินสุดท้ายของคอนติเนนตัลกับสกายทีมในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2009[38][39][40] และทั้งสองสายการบินได้ออกจากเครือข่ายสกายทีมในวันตามที่ประกาศไว้ในเบื้องต้น[41][42] โดยคอนติเนนตัลเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในสามวันต่อมา[43] ในเวลานั้น มีข่าวลือว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของคอนติเนนตัลในการควบรวมกิจการกับยูไนเต็ด[44]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 กลุ่มพันธมิตรได้ทำข้อตกลงเบื้องต้นกับเวียดนามแอร์ไลน์ในการที่สายการบินจะเข้าร่วมสกายทีมในปี 2010[45] และในปีเดียวกันนั้น อาลีตาเลีย-ลิเนเออาเอเรเออิตาลียานีได้เปลี่ยนชื่อเป็นอาลีตาเลีย[46] และกลุ่มพันธมิตรได้ประกาศแผนริเริ่มที่จะมุ่งสู่การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ที่ตั้งอยู่ในอัมสเตอร์ดัม[47] นอกจากนี้แล้วยังได้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ คือ มารี-โฌแซ็ฟ มาเล พร้อมทั้งระบุไทม์ไลน์สำหรับการเปิดตัวสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกันที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์และเปิดตัวลวดลายอากาศยานใหม่[47]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 โอลิมปิกแอร์ได้ทำข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันกับเดลตาแอร์ไลน์ โดยข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการในการเข้าร่วมสกายทีมของโอลิมปิกแอร์และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคู่กิจการร่วมค้าของเดลตา แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[48][49][50][51] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ได้ถูกตัดขาดในปี 2013 หลังจากที่อีเจียนแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกสตาร์อัลไลแอนซ์ได้เข้าซื้อกิจการของสายการบิน
ค.ศ. 2010: วาระครบรอบ 10 ปี
แก้ในวันที่ 1 มกราคม นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ได้ผนวกกิจการเข้ากับเดลตาแอร์ไลน์[52] ต่อมาในวันที่ 9 มีนาคม ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศแผนการเข้าร่วมสกายทีมคาร์โก[53][54][55] โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติสมาชิกภาพในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ทำให้สายการบินนี้เป็นสายการบินจีนรายแรกที่จะเข้าร่วมพันธมิตรขนส่งสินค้าทางอากาศระดับโลก[53] เมื่อวันที่ 16 เมษายน ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศความตั้งใจที่จะเข้าร่วมสกายทีม โดยคาดว่าจะเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบในช่วงกลางปี 2011[56][57] ประกาศดังกล่าวมีขึ้นในเวลาไม่นานหลังจากสายการบินได้ควบรวมกิจการกับช่างไห่แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เวียดนามแอร์ไลน์ได้เข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวหลังจากพิธีเข้าร่วมที่จัดขึ้นในฮานอย[58][59] โดยนับเป็นสมาชิกรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอิทธิพลจากสตาร์อัลไลแอนซ์มาก ทั้งการบินไทยและสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่เป็นสมาชิก เวียดนามแอร์ไลน์เพิ่มจุดหมายปลายทางพิเศษอีก 20 แห่งในเครือข่าย เป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับสกายทีมในภูมิภาคนี้[58]
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ซีอีโอและประธานของสายการบินสมาชิกทั้ง 13 แห่งได้มารวมตัวกันในนครนิวยอร์กเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 10 ปีของกลุ่มพันธมิตร[60] ในช่วงทศวรรษแรกของการดำเนินงาน กลุ่มพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า เที่ยวบินเพิ่มขึ้นสองเท่า และเส้นทางบินไปยังจุดหมายปลายทางเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า[61] ในวันเดียวกันนั้น สกายทีมได้ยกสถานะสมาชิกของแอร์ยูโรปา เคนยาแอร์เวย์ และตารอม จากสมาชิกระดับรองเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ[62] ในระหว่างงานดังกล่าว คณะกรรมการได้ระบุแผนการในการคัดเลือกสมาชิกจากละตินอเมริกา อเมริกาใต้ และอินเดีย[61] สามวันต่อมา ตารอมได้เป็นสมาชิกสกายทีมรายที่ 13 อย่างเป็นทางการ[63] เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง สกายทีมได้เสนอส่วนลดค่าโดยสารรอบโลก[64] และโปรโมชั่นอื่นๆ หลังจากครบรอบ 10 ปี สกายทีมตั้งใจที่จะยกระดับประสบการณ์การเดินทางของลูกค้าและกระชับความร่วมมือระหว่างสมาชิกเพื่อเสริมการขยายบริการไปยังภูมิภาคที่ยังไม่มีสมาชิก[65]
ในช่วงปีที่ผ่านมา เดลตาแอร์ไลน์ได้เสนอเงิน 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับเจแปนแอร์ไลน์ หลังจากที่สายการบินแห่งเอเชียแห่งนี้ได้ยื่นฟ้องล้มละลายเนื่องจากมีหนี้จำนวน 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[66]พร้อมกันนั้นก็พยายามโน้มน้าวให้สมาชิกวันเวิลด์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียให้เปลี่ยนไปเข้าร่วมสกายทีม[67] เดลตาและอเมริกันแอร์ไลน์แสดงความต้องการให้เจเอแอลเข้าร่วมพันธมิตรสายการบินของตน ซึ่งก็จะเป็นผลประโยชน์จากข้อตกลงโอเพนสกายระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ในท้ายที่สุดเจแปนแอร์ไลน์เลือกที่จะยังคงอยู่ที่วันเวิลด์โดยอ้างว่าการโอนไปยังสกายทีมจะสร้างความสับสนให้กับผู้โดยสาร และอาจไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองการผูกขาดจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ[68]
สกายทีมได้รับใบสมัครสมาชิกเต็มรูปแบบใบที่สองภายในเวลาห้าเดือน ไชนาแอร์ไลน์ สายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ได้ประกาศเริ่มกระบวนการเข้าร่วมเครือข่ายอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนกันยายน[69][70][71] เมื่อเข้าร่วมแล้ว เครือข่ายเส้นทางของสายการบินจะเป็นการเสริมเครือข่ายของไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ทำให้ทั้งสามสายการบินสามารถร่วมมือกันได้ ในเดือนถัดมา อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเริ่มกระบวนการอย่างเป็นทางการในการเป็นสมาชิกสกายทีมแห่งแรกในอเมริกาใต้ โดยมีกำหนดเข้าร่วมในปี 2012[72][73][74]
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ช่างไห่แอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์เพื่อเข้าร่วมกับสกายทีมในอนาคตภายใต้ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ บริษัทแม่ ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสกายทีมในอนาคตเช่นเดียวกัน ส่งผลให้สกายทีมมีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนและพื้นที่โดยรอบ และส่งผลให้เป็นพันธมิตรอันดับหนึ่งในภูมิภาค[75] การูดาอินโดนีเซียเริ่มกระบวนการในการเข้าเป็นสมาชิกในวันที่ 23 พฤศจิกายน และมีแผนที่จะเข้าร่วมในปี 2012[76] เมื่อเข้าร่วมแล้ว สายการบินดังกล่าวได้กลายเป็นสายการบินที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมสกายทีม ท้าทายอิทธิพลจากสตาร์อัลไลแอนซ์ในภูมิภาค จากการบินไทยและสิงคโปร์แอร์ไลน์
ค.ศ. 2011–2014: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งที่สอง
แก้เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2011 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมสกายทีมในปี 2012[78] ต่อมาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์ได้ยืนยันที่จะเข้าร่วมเครือข่าย[79][80] ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เดลตาและแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มได้ให้โกลด์แมน แซคส์เป็นที่ปรึกษาในการเสนอซื้อหุ้น 51% ของเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ในเวอร์จินแอตแลนติก ซึ่งอาจนำไปสู่การที่สายการบินดังกล่าวเข้าร่วมเครือข่ายและเป็นขยายฐานที่มั่นของสกายทีมในลอนดอน นอกจากนี้คู่แข่งอย่างสตาร์อัลไลแอนซ์และสายการบินเอทิฮัด ก็ยังพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ในการแข่งขันกับสกายทีมผ่านเวอร์จินแอตแลนติกอีกเช่นกัน[81] ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2011 พร้อมกันกับช่างไห่แอร์ไลน์ เป็นสมาชิกลำดับที่ 14[82][83] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2011 ไชนาแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมพันธมิตร[84] ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกันนั้น เซี่ยเหมินแอร์ไลน์ได้แสดงความตั้งใจที่จะรวมเข้าเป็นสมาชิกแบบเต็มตัวภายในสิ้นปี 2012[85] โดยได้รับการสนับสนุนจากไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์[86]
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีม นับเป็นสายการบินแรกที่เข้าร่วมพันธมิตรในปี 2012 เป็นสายการบินแรกที่มีฐานอยู่ในตะวันออกกลาง และเป็นสมาชิกลำดับที่ 16[87][88] ในวันเดียวกันนั้นซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเซาเดีย[89] ในหนึ่งเดือนต่อมา มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีมเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 ในวันที่ 28 มิถุนายน[90][91] เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสเป็นสายการบินแรกของอเมริกาใต้และสายการบินที่สองของละตินอเมริกาที่เข้าร่วมสกายทีม[92][93] โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 18[94] เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เซี่ยเหมินแอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีมเป็นสมาชิกรายที่ 4 ในจีนแผ่นดินใหญ่[77] และเป็นลำดับที่ 19 ของเครือข่าย[95][96][97] เมื่อช่วงปลายปี 2013 หนังสือพิมพ์รัสเซีย คอมเมรซันต์ ได้ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า แอโรฟลอตกำลังพิจารณาออกจากเครือข่ายเนื่องจากมีความขัดแย้งกับเดลตาในเรื่องราคาสำหรับเส้นทางบินบางเส้นทางไปยังอเมริกาเหนือ นอกจากนี้รายงานยังระบุด้วยว่าสายการบินของรัสเซียกำลังพิจารณาเข้าร่วม สตาร์อัลไลแอนซ์[98] เพื่อประเมินสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสกายทีม จึงได้มีการดำเนินการศึกษาวิจัยในเดือนกรกฎาคม จากนั้น คณะกรรมการแอโรฟลอตก็ยืนยันตำแหน่งของตนภายในกลุ่มพันธมิตรอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013[99]
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2014 การูดาอินโดนีเซียได้เข้าร่วมสกายทีม เป็นสมาชิกลำดับที่ 20[100][101][102] เดิมการูดามีแผนที่จะได้รับสถานะสมาชิกสกายทีมในปี 2012 แต่กระบวนการเข้าร่วมใช้เวลานานถึง 40 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์[103]
ค.ศ. 2015–ปัจจุบัน: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งที่สาม
แก้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่าย[104]
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 อินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ป (ไอเอจี) ประกาศว่าได้ตกลงเงื่อนไขในการเข้าซื้อแอร์ยูโรปาแล้ว และสายการบินจะออกจากสกายทีมหากข้อตกลงดังกล่าวประสบความสำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 และข้อกังวลด้านการต่อต้านการผูกขาดทำให้การขายล่าช้า การเจรจาได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 เมื่อไอเอจีตกลงที่จะให้เงินกู้ 100 ล้านยูโรที่แปลงสภาพเป็นหุ้น 20% แก่สายการบิน[105] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 การเจรจาได้สิ้นสุดลง โดยไอเอจีตกลงที่จะซื้อหุ้นที่เหลือ 80% ในแอร์ยูโรปาในราคา 400 ล้านยูโร ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะดำเนิการภายใต้ชื่อเดิมแนกออกมา แต่จะได้รับการบริหารจัดการโดยไอบีเรีย การเข้าซื้อนี้ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของยุโรป[106][107][108] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ไอเอจีได้ยกเลิกข้อตกลงหลังจากเห็นว่าแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขเงื่อนไขต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรปมีภาระมากเกินไปจนไม่สามารถทำให้ข้อตกลงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้[109]
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2021 อาลีตาเลียได้เลิกดำเนิงานและออกจาเครือข่าย[110] โดยสายการบินที่เข้ามาทดแทนอย่างอิตาแอร์เวย์ ได้เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2021[111][112] ในปี 2023 ภายหลังการยืนยันการเข้าซื้อหุ้น 41% ในอิตาแอร์เวย์โดยลุฟท์ฮันซ่า สายการบินได้ยืนยันว่าจะเข้าซื้ออิตาแอร์เวย์ทั้งหมดภายในปี 2028 และให้สายการบินออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์แทน คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติให้เครือลุฟท์ฮันซ่าซื้อหุ้น 41% ในอิตาแอร์เวย์เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024[113][114][115][116][117][118] อิตาจะออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในปี 2026 หรือ 2027[119]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เดลตาแอร์ไลน์และเคแอลเอ็มได้ประกาศระงับข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกับแอโรฟลอตอันเกี่ยวข้องกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในปี 2022[120][121] ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน สกายทีมได้ประกาศระวับการเป็นสมาชิกของแอโรฟลอต[122]
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้เข้าร่วมสกายทีม นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 19 และเป็นสายการบินแห่งแรกในสหราชอาณาจักรในเครือข่าย[123][124]
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2024 สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม สมาชิกแรกก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ ได้ออกจากเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมสกายทีมภายหลังการเข้าซื้อหุ้นส่วนน้อยของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[125][126][127] ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เช็กแอร์ไลน์จะยุติการดำเนินการจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงาน ส่งผลให้สายการบินต้องออกจากเครือข่ายหลังจากเที่ยวบินสุดท้ายไปยังปารีส[128][129][130]
ในเดือนกันยายนและตุลาคม ค.ศ. 2024 ผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูง ยูโรสตาร์และเตรนิตาลิอาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเข้าร่วมกับสกายทีมในฐานะสมาชิกขนส่งระหว่างรูปแบบ ความร่วมมือนี้จะช่วยให้สามารถบูรณาการการขนส่งผู้โดยสารแบบผสมผสาน (การขนส่งทางอากาศ-ราง) ในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ได้[131][132][133][134]
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เช็กแอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่ายและเลิกดำเนินหลังการปรับเปลี่ยนกิจการองค์กร โดยเที่ยวบินสุดท้ายได้เดินทางจากปารีสสู่ปรากในช่วงเย็นของวันนั้น[135][136][130]
สมาชิกและสมาชิกในเครือ
แก้สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือปัจจุบัน
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 มีสายการบินเป็นสมาชิกของสกายทีมดังนี้:[137]
สมาชิก | วันที่เข้าร่วม | สมาชิกในเครือ |
---|---|---|
อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส | 29 สิงหาคม 2012[93] | |
อาเอโรเมฆิโก[A] | 22 มิถุนายน 2000 | |
แอร์ยูโรปา | 4 กันยายน 2007[31] | |
แอร์ฟรานซ์[A][nb 2] | 22 มิถุนายน 2000 | |
ไชนาแอร์ไลน์ | 28 กันยายน 2011[84] | |
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ | 21 มิถุนายน 2011[83] | ช่างไห่แอร์ไลน์[83] |
เดลตาแอร์ไลน์[A] | 22 มิถุนายน 2000 | |
การูดาอินโดนีเซีย | 5 มีนาคม 2014[100] | |
อิตาแอร์เวย์ | 29 ตุลาคม 2021[111] | |
เคนยาแอร์เวย์ | 4 กันยายน 2007[31] | |
เคแอลเอ็ม[nb 2] | 13 กันยายน 2004 | |
โคเรียนแอร์[A] | 22 มิถุนายน 2000 | |
มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์ | 28 มิถุนายน 2012[90] | |
เซาเดีย | 29 พฤษภาคม 2012[88] | |
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม | 1 กันยายน 2024[126] | เอสเอเอสคอนเน็ก เอสเอเอสลิงก์ |
ตารอม | 25 มิถุนายน 2010[63] | |
เวียดนามแอร์ไลน์ | 10 มิถุนายน 2010[58] | |
เวอร์จินแอตแลนติก | 2 มีนาคม 2023[138] | |
เซี่ยเหมินแอร์ | 21 พฤศจิกายน 2012[97] |
Aสายการบินแรกก่อตั้ง
สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือที่ถูกระงับ
แก้สมาชิก | วันที่เข้าร่วม | วันที่ถูกระงับ | สมาชิกในเครือ |
---|---|---|---|
แอโรฟลอต | 14 เมษายน 2006[24] | 28 เมษายน 2022[122] |
สมาชิกในอดีต
แก้สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือในอดีต
แก้อดีตสมาชิก | วันที่เข้าร่วม | วันที่ออก | สมาชิกในเครือ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
อาลีตาเลีย | 27 กรกฎาคม 2001[139] | 15 ตุลาคม 2021 | อาลีตาเลียซิตีไลเนอร์[140] | |
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ | 15 พฤศจิกายน 2007[35] | 31 ธันวาคม 2018[141][142] | ||
คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ | 13 กันยายน 2004[143] | 24 ตุลาคม 2009 | ผนวกกิจการเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2012 | |
เช็กแอร์ไลน์ | 25 มีนาคม 2001[9] | 26 ตุลาคม 2024 | [144] | |
นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ | 13 กันยายน 2004[145] | 31 มกราคม 2010 | ผนวกกิจการเข้ากับเดลตาแอร์ไลน์ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2010 |
อดีตสมาชิกในเครือของสมาชิกปัจจุบัน
แก้อดีตสมาชิกในเครือ | ปีที่เข้าร่วม | ปีที่ออก | สมาชิก |
---|---|---|---|
อาเอโรลิโตรัล[nb 3] | 2000 | 2007 | อาเอโรเมฆิโก |
อาเอโรเมฆิโกตราเบล[nb 4] | 2008 | 2011 | อาเอโรเมฆิโก |
บริตแอร์ | 2000 | 2013 | แอร์ฟรานซ์ |
คอมแอร์ | 2000 | 2012 | เดลตาแอร์ไลน์ |
เดลตาเอกซ์เพรส[nb 5] | 2000 | 2003 | เดลตาแอร์ไลน์ |
โดโบรลิออต | 2013 | 2014 | แอโรฟลอต |
รีเจียนัล | 2001 | 2013 | แอร์ฟรานซ์ |
ซองแอร์ไลน์[nb 6] | 2003 | 2006 | เดลตาแอร์ไลน์ |
สมาชิกที่เกี่ยวข้องในอดีต
แก้อดีตสมาชิกที่เกี่ยวข้อง | วันที่เข้าร่วม | วันที่ออก | สมาชิกในเครือ |
---|---|---|---|
โกปาแอร์ไลน์ | 4 กันยายน 2007[31] | 24 ตุลาคม 2009[146][147][nb 7] |
สกายทีมคาร์โก
แก้สกายทีมคาร์โกเป็นแผนกขนส่งสินค้าของสกายทีม ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 เครือข่ายมีสมาชิก 9 รายจากกลุ่มพันธมิตรขนส่งสินค้าโดยสาร ได้แก่อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสการ์โก อาเอโรเมฆิโกการ์โก แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มคาร์โก (รวมแอร์ฟรานซ์คาร์โกและเคแอลเอ็มคาร์โก) ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ เช็กแอร์ไลน์คาร์โก เดลตาคาร์โก อิตาแอร์เวย์คาร์โก โคเรียนแอร์คาร์โก และเซาเดียคาร์โก[150] อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสการ์โก หน่วยที่ดำเนินขนส่งอากาศยานของอาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส เข้าร่วมเครือข่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013[151] เซาเดียคาร์โกเข้าร่วมเครือข่ายในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019[152]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ไม่รวมสายการบินลูก อาเอโรเรปูบลิกา[22]
- ↑ 2.0 2.1 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็มดำเนินการภายใต้บริษัทโฮลดิ้งเดียวกันในชื่อแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม
- ↑ สายการบินในเครือแรกก่อตั้ง; เปลี่ยนชื่อเป็นอาเอโรเมฆิโกโกเนกต์
- ↑ อดีตสายการบินลูกที่ดำเนินการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ โดยการดำเนินงานถูกควบรวมเข้ากับอาเอโรเมฆิโก
- ↑ สายการบินในเครือแรกก่อตั้ง; ถูกทดแทนด้วยซองแอร์ไลน์
- ↑ เลิกดำเนินงานในปี 2006 โดยการดำเนินงานถูกควบรวมกลับเข้าสู่เดลตา
- ↑ เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในช่วงกลางปี 2012[148][149]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "SkyTeam Alliance – About Us – SkyTeam". skyteam.com.
- ↑ "SkyTeam FACTSHEET Summer 2017." เก็บถาวร 3 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. SkyTeam FACTSHEET Summer 2017. Retrieved 10 May 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "SkyTeam Alliance – Contact us – SkyTeam". SkyTeam Airline Alliance.
- ↑ "Star Alliance Facts and Figures – Star Alliance Employees". portal.staralliance.com.
- ↑ "SkyTeam FACTSHEET 2019." เก็บถาวร 29 สิงหาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. SkyTeam FACTSHEET 2019. Retrieved 10 May 2019.
- ↑ "oneworld honoured as 'best airline alliance' twice over – again" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
- ↑ 7.0 7.1 "History – 2000". SkyTeam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2013.
- ↑ "CSA joins SkyTeam as Aeroflot and Alitalia wait in wings". Flight International. 24 October 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "A History of SkyTeam". Breaking Travel News. 27 July 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ "History – 2001". SkyTeam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2014.
- ↑ Wastnage, Justin (7 August 2001). "Alitalia admitted to Air France/Delta-led alliance". FlightGlobal. Rome. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2014.
- ↑ "SkyTeam Welcomes KLM Application for Membership" (Press release). SkyTeam. 20 September 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ Pack, Todd (14 April 2003). "Delta's low-cost airline a different Song". Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015.
- ↑ Wong, Edward (29 January 2003). "Take 2 for Delta and Its Low-Cost Carrier". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015.
- ↑ "SkyTeam Launches Enhanced Web Site to Improve the Passenger Experience" (Press release). SkyTeam. 11 June 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2011. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "SkyTeam Signs MOU With Aeroflot; Agreement preliminary step in new member joining process" (Press release). SkyTeam. 24 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "Aeroflot plans to join SkyTeam alliance". Atlanta Business Chronicles. 24 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ "Aeroflot eyes Sky Team membership". BBC News. 29 January 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ "SkyTeam Signs Agreement With China Southern Airlines; Agreement preliminary step in new member joining process" (Press release). SkyTeam. 28 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 20.0 20.1 "Continental, KLM And Northwest Join The SkyTeam Alliance; Solidifies Position as a Leading Global Alliance" (Press release). SkyTeam. 13 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "NWA, KLM & Continental join Skyteam Alliance". Manila Bulletin. 20 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ 22.0 22.1 Sobie, Brendan (11 February 2010). "Copa expects mid 2010 alliance decision". FlightGlobal. Washington, D.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014.
Copa Airlines was independent until 2005 when it became a SkyTeam associate member. Colombian sister carrier Aero Republica, which is also owned by Copa Holdings, has always been independent although like Copa it is part of Continental's OnePass frequent flier programme.
- ↑ "Best Frequent Flyer Program | SkyTeam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 24.0 24.1 "Aeroflot joins SkyTeam". Air Transport World. 17 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2012. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ "SkyTeam Signs MoU With Aeroflot". FlightGlobal. 1 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ "Aeroflot Joins the SkyTeam Alliance Tenth Member Strengthens Position as a Leading Global Alliance and Extends Route Network into High Growth Markets" (Press release). SkyTeam. 14 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "Aeroflot sheds Soviet image to join 'SkyTeam'". Forbes. 14 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2010.
- ↑ Maynard, Micheline (28 October 2005). "Delta to Discontinue Its Low-Fare Song Airline". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "Portugalia signs with SkyTeam". FlightGlobal. Paris. Airline Business. 4 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ SkyTeam Focused on Alliance Development as Portugalia Airlines Becomes Associate Airline Candidate; China Southern Makes Progress Toward Membership Governing Board provides recruitment, network and services updates from http://www.skyteam.com เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 June 2006
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 "SkyTeam welcomes Air Europa, Copa, Kenya as associates". Air Transport World. 5 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "SkyTeam Strengthens Global Network with Addition of Three Associate Airlines Air Europa, Copa Airlines and Kenya Airways Officially Join SkyTeam Associate Program" (Press release). SkyTeam. 4 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2011. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ Kafu Abotsi, Pascal (6 September 2007). "Kenya Airways And Two Others Join Sky Team". AllAfrica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2023. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Cantle, Katie (16 November 2007). "China Southern formally joins SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2011. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ 35.0 35.1 Francis, Leithen (15 November 2007). "China Southern officially joins SkyTeam". FlightGlobal. Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ Field, David (23 July 2008). "Continental's alliance switch alters balance of power in US". FlightGlobal. Airline Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
After rejecting an outright merger with Star member United, Continental unveiled plans in June to leave SkyTeam next year and join Star.
- ↑ Karp, Aaron (20 June 2008). "Continental, United reach extensive cooperation pact; CO to join Star". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
- ↑ Ranson, Lori (27 May 2009). "Copa sets official SkyTeam exit date". FlightGlobal. Washington, D.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ Sobie, Brendan (24 November 2008). "TACA and Copa line up to join Star Alliance". FlightGlobal. Washington, D.C. Airline Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ Sobie, Brendan (21 November 2008). "Copa and TACA poised to join Star". FlightGlobal. Cancún. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "Other News – 05/18/2009". Air Transport World. 19 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
- ↑ Hensel, Bill Jr. (29 January 2009). "Continental to leave SkyTeam alliance in October". Houston Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ Flint, Perry (28 October 2009). "Continental joins Star Alliance". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
- ↑ Frary, Mark (20 June 2008). "Continental plans United tie-up; will leave SkyTeam for Star Alliance". The Times. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.(ต้องรับบริการ)
- ↑ "SkyTeam Signs Preliminary Membership Agreement with Vietnam Airlines" (Press release). SkyTeam. 15 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ Barry, Colleen; David, Ariel (13 January 2009). "Alitalia starts new life as first flights take off". The Seattle Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2016.
- ↑ 47.0 47.1 "SkyTeam names managing director, Introduces Aircraft Livery" (Press release). SkyTeam. 1 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ "Privatised Olympic Air says set for launch Oct 1". Reuters. 17 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2009.
- ↑ "Olympic Air and Delta ink codeshare deal". Travel Weekly. 27 September 2009.
- ↑ Case No COMP/M.5830 – Olympic/ Aegean Airlines, REGULATION (EC) No 139/2004 MERGER PROCEDURE, Article 8 (3), Date: 26/01/2011
- ↑ Air France and KLM Ink Deal with Greek Carrier for Island Connections
- ↑ Kuhn, Megan (31 December 2009). "Delta, Northwest receive single operating certificate". FlightGlobal. Washington, D.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ 53.0 53.1 Cantle, Katie (15 June 2010). "China Southern expanding cargo business". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2010. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "China Southern to join SkyTeam Cargo". Air Transport World. 11 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "China Southern Airlines to Join Skyteam Cargo in 2010" (Press release). SkyTeam. 9 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ Cantle, Katie (19 April 2010). "China Eastern agrees to join SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2011. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "China Eastern to join SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 16 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ 58.0 58.1 58.2 "Vietnam Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 10 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ Francis, Leithen (10 June 2010). "Vietnam Airlines formally joins SkyTeam". FlightGlobal. Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
- ↑ Karp, Aaron (23 June 2010). "SkyTeam eyes further expansion on 10th anniversary". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ 61.0 61.1 "SkyTeam Celebrates Tenth Anniversary" (Press release). SkyTeam. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ "SkyTeam triples membership in first decade, upgrades three airlines, signs pilot JV". Centre for Aviation. 23 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ 63.0 63.1 "TAROM Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 25 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ "SkyTeam Offers Lower Fares with Round the World Promotion" (Press release). SkyTeam. 8 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2010. สืบค้นเมื่อ 23 October 2010.
- ↑ "SkyTeam Newsflash August 2010" (Press release). SkyTeam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013.
- ↑ "Delta says SkyTeam could invest more in JAL". Forbes. Reuters. 20 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2011. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
- ↑ "Japan Airlines Opts To Remain in Oneworld Alliance". AviationNews. 16 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
- ↑ "JAL to stay with American Airlines: Reports". The Economic Times. 8 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2012.
- ↑ Cantle, Katie (15 September 2010). "China Airlines officially commits to join SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 September 2012.
- ↑ "China Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 14 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 28 September 2012.
- ↑ Cantle, Katie (13 September 2010). "China Airlines expected to join SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2010. สืบค้นเมื่อ 28 September 2012.
- ↑ "SkyTeam to Welcome Aerolineas Argentinas as Future Member" (Press release). SkyTeam. 19 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ Karp, Aaron (20 October 2010). "Aerolineas Argentinas to become first SkyTeam member in South America". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ "Aerolineas Argentinas joins SkyTeam". eTravel Blackboard. 21 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2010.
- ↑ "Shanghai Airlines To Become Part of SkyTeam" (Press release). Skyteam. 1 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2010. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
- ↑ "Garuda Indonesia Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 23 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2013.
- ↑ 77.0 77.1 "Xiamen Airlines becomes 19th member of SkyTeam". Centre for Aviation. 22 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 10 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014.
- ↑ "SkyTeam to Welcome Middle East Airlines as Future Member" (Press release). SkyTeam. 19 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014.
- ↑ "Middle East Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 28 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014.
- ↑ Armitstead, Louise (20 February 2011). "Air France and Delta to target Virgin Atlantic". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2012.
- ↑ Cantle, Katie (23 June 2011). "China Eastern becomes 14th SkyTeam member". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012.
- ↑ 83.0 83.1 83.2 "China Eastern Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 21 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2013.
- ↑ 84.0 84.1 "China Airlines Joins SkyTeam". SkyTeam. 28 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2013.
- ↑ Cantle, Katie (22 November 2011). "Xiamen Airlines will join SkyTeam by end 2012". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
- ↑ Reals, Kerry (17 November 2011). "China's Xiamen signs up to join SkyTeam". FlightGlobal. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2013. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
- ↑ Linda Blachly (31 พฤษภาคม 2012). "Saudia joins SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012.
- ↑ 88.0 88.1 "Saudia Joins SkyTeam" (Press release). Skyteam. 29 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2012.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines, now known as Saudia, joins SkyTeam and adds 35 destinations". Centre for Aviation. 29 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
Flag carrier Saudi Arabian Airlines formally joined the SkyTeam alliance on 29-May-2012, becoming the alliance's 16th global member and first member from the Middle East. The carrier also used the occasion to re-brand, adopting its old name of "Saudia".
- ↑ 90.0 90.1 "Middle East Airlines Joins SkyTeam" (Press release). SkyTeam. 28 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ "Lebanon's Middle East Airlines (MEA) second at bat for SkyTeam in the Middle East". Centre for Aviation. 28 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ Russell, Edward (30 August 2012). "Aerolineas Argentinas joins SkyTeam". FlightGlobal. Buenos Aires. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ 93.0 93.1 "Aerolineas Argentinas tries to overcome troubled past and continued challenges as it enters SkyTeam". Centre for Aviation. 30 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2012. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
- ↑ Paylor, Anne (30 August 2012). "Aerolíneas Argentinas becomes SkyTeam's first South American member". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.
- ↑ Walker, Karen (22 November 2012). "Xiamen joins SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
- ↑ "Xiamen Airlines joins SkyTeam alliance". FlightGlobal. 21 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
- ↑ 97.0 97.1 "SkyTeam Welcomes Xiamen Airlines" (Press release). SkyTeam. 21 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2013. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
- ↑
- "Аэрофлот" рулит на вылет из SkyTeam [Aeroflot considers leaving SkyTeam (page 1 of 2)] (ภาษารัสเซีย). Коммерсантъ (Kommersant). 28 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013.
- "Аэрофлот" рулит на вылет из SkyTeam [Aeroflot considers leaving SkyTeam (page 2 of 2)] (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013.
- ↑ "Aeroflot unable to join SkyTeam's trans-Atlantic JV but seeks new option and JVs to Europe & Asia". Centre for Aviation. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013.
- ↑ 100.0 100.1 "Garuda Indonesia Becomes 20th Member of SkyTeam Alliance" (Press release). SkyTeam. 5 March 2014. คลังข้อม��ลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ Waldron, Greg (5 March 2014). "Garuda officially enters SkyTeam". FlightGlobal. Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ Blachly, Linda (5 March 2014). "Garuda Indonesia joins SkyTeam". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ "Garuda gives SkyTeam leading presence in Southeast Asia as Garuda's international profile is raised". Centre for Aviation. 5 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ "Update: SkyTeam and China Southern". 2018-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.
- ↑ "IAG says Air Europa deal may take at least 18 months". Reuters. 2022-04-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Schuurman, Richard (2023-02-23). "IAG and Globalia agree on Air Europa deal". AirInsight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-03.
- ↑ Devereux, Charlie (2023-02-23). "IAG agrees to buy 80% stake in Air Europa for 400 mln euros". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-03.
- ↑ Pierre Regibeau: "We will ensure that the routes are not lost after the acquisition of Air Europa by Iberia", March 24, 2023
- ↑ "British Airways owner IAG scraps deal to acquire Air Europa | Reuters". archive.ph. 2024-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-01. สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.
- ↑ "'Arrivederci': Final flight for Italy's troubled airline Alitalia". 14 October 2021.
- ↑ 111.0 111.1 "SkyTeam-ITA". skyteam.com. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
- ↑ "SkyTeam dà il benvenuto a ITA Airways a bordo" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2021. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
- ↑ Chee, Foo Yun; Wissenbach, Ilona; Amante, Amate (3 July 2024). "Lufthansa gets EU nod to buy $350 million stake in Italy's ITA". Reuters. สืบค้นเมื่อ 7 July 2024.
- ↑ Lufthansa’s Strategy for ITA Airways: Investment, Codeshare, and the Return of Alitalia Brand
- ↑ Lufthansa Targets 2 Years For Payoff From ITA Airways Deal
- ↑ "ITA Airways, Lazzerini conferma: "Entreremo in Star Alliance, Volare resta e non esisterà mai una award chart"". 24 April 2023.
- ↑ Wissenbach, Ilona; Amante, Angelo; Fonte, Giuseppe (2023-11-30). "Lufthansa seeks EU antitrust approval for ITA Airways stake purchase". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
- ↑ "EU to review Ita-Lufthansa deal 'as quickly as possible' - English". ANSA.it (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
- ↑ Berberi, Leonard. "Ita Airways, Spohr (Lufthansa): «Due anni per il rilancio, la compagnia tornerà in utile. Dal governo italiano l'aiuto decisivo»". Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 7 July 2024.
- ↑ Rains, Taylor. "Delta is severing ties with Russia's flag carrier Aeroflot". Business Insider.
- ↑ "KLM stops codesharing with Aeroflot and cancels flights to Russia". Aviation24.be. 26 February 2022.
- ↑ 122.0 122.1 Shlappig, Ben. "Russia's Aeroflot Suspended from Skyteam". One Mile at a Time.
- ↑ Dunn, Graham (2 March 2023). "Virgin Atlantic formally joins SkyTeam". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
- ↑ Virgin to become first UK SkyTeam member Aviation News November 2022 page 5
- ↑ "SAS reaches major milestone in SAS FORWARD – announces the winning consortium, including details of the transaction structure - SAS". www.sasgroup.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-03.
- ↑ 126.0 126.1 "SAS to join SkyTeam Alliance". www.skyteam.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ In Brief Airliner World June 2024 page 7
- ↑ Caswell, Mark (16 August 2024). "Czech Airlines looks set to leave SkyTeam in October". Business Traveller. สืบค้นเมื่อ 24 August 2024.
- ↑ redakce (2024-05-15). "Místo OK už jen QS. Lety Českých aerolinií budou zajišťovat Smartwings". Zdopravy.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.
- ↑ 130.0 130.1 "SkyTeam Confirms CSA Czech Airlines Exit | Aviation Week Network". aviationweek.com. สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.
- ↑ Orban, André (2024-09-25). "Eurostar joins SkyTeam: Pioneering integrated Air-Rail Travel partnership". Aviation24.be (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
- ↑ "Eurostar set to join SkyTeam as first non-airline partner". Business Traveller (ภาษาดัตช์). 2024-09-25. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
- ↑ Decode39 (2024-10-08). "Trenitalia and SkyTeam: simplified train-air reservations for arrivals in Italy". Decode39 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-10-13.
- ↑ Palamountain, Olivia (2024-10-09). "SkyTeam partners with Trenitalia". Globetrender (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-10-13.
- ↑ Caswell, Mark (16 August 2024). "Czech Airlines looks set to leave SkyTeam in October". Business Traveller. สืบค้นเมื่อ 24 August 2024.
- ↑ redakce (2024-05-15). "Místo OK už jen QS. Lety Českých aerolinií budou zajišťovat Smartwings". Zdopravy.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.
- ↑ "About Us". SkyTeam. สืบค้นเมื่อ 4 August 2023.
- ↑ "Virgin Atlantic to join SkyTeam Alliance today" (Press release). Amsterdam: SkyTeam. สืบค้นเมื่อ 2 March 2023.
- ↑ "2001".
- ↑ "Programma MilleMiglia – Alitalia".
- ↑ "Update: SkyTeam and China Southern" (Press release). SkyTeam. 15 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2019.
- ↑ Flottau, Jens (4 February 2019). "Oneworld: 'No plans' to add China Southern". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ "Continental Airlines leaves SkyTeam for Star Alliance – USATODAY.com". USA Today.
- ↑ "Czech Airlines ceases being a SkyTeam member" (Press release). SkyTeam. 25 October 2024.
- ↑ Jones, Geoff (2 April 2018). Northwest Airlines: The First Eighty Years. Arcadia Publishing. ISBN 9780738534152 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "CONTINENTAL / COPA LEAVES SKYTEAM 24OCT09". Airline Route. 23 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2015.
- ↑ Sobie, Brendan (10 November 2010). "Both Avianca-TACA and Copa to join Star Alliance". FlightGlobal. Miami. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014.
Copa has been considering joining Star since 2008, when it decided to exit SkyTeam. It formally left in October 2009 with close partner and former part-owner Continental Airlines.
- ↑ "Copa Airlines joins Star Alliance, the leading global airline network" (Press release). Copa Airlines. 21 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2013.
- ↑ Blachly, Linda (21 June 2012). "Copa, AviancaTaca join Star Alliance". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "SkyTeam Cargo Fact Sheet" (PDF). SkyTeam Cargo. 5 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 December 2013.
- ↑ "Aerolineas Argentinas Cargo Joins the SkyTeam Cargo Alliance" (Press release). SkyTeam Cargo. 6 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2013.
- ↑ "SkyTeam Cargo: Saudia Cargo joined the alliance as its 12th member • LOGISTIK express ZEITSCHRIFT". LOGISTIK express ZEITSCHRIFT (ภาษาเยอรมัน). 2019-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Skyteam เก็บถาวร 2011-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน