สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร (อังกฤษ: Police Tero F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยปัจจุบันลงทำการแข่งขันอยู่ใน ไทยลีก 2 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ในนาม โรงเรียนศาสนวิทยา และได้เปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบันในปี พ.ศ. 2561
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร Police Tero Football Club | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | มังกรโล่ห์เงิน The Silver Shield Dragon | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992 ) | |||
สนาม | สนามบุณยะจินดา | |||
ความจุ | 3,500 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จักรทิพย์ ชัยจินดา | |||
ประธาน | ชัยธัช ชัยจินดา | |||
ผู้จัดการ | อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ | |||
ผู้ฝึกสอน | คาเวห์ แม็กนัสสัน | |||
ลีก | ไทยลีก 2 | |||
2566–67 | ไทยลีก, อันดับที่ 15 (ตกชั้น) | |||
| ||||
ประวัติสโมสร
แก้เริ่มต้น
แก้สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นายวรวีร์ มะกูดี ในชื่อ โรงเรียนศาสนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียน ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และได้ส่งเข้าแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง ซึ่งสโมสรทำผลงานได้ดี จนเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นใน ถ้วยพระราชทาน ค ในปี พ.ศ. 2536 และ ถ้วยพระราชทาน ข ในปี พ.ศ. 2537
ในปี พ.ศ. 2538 สโมสรฯ สร้างสีสรรในฟุตบอลไทย โดยหลังจากที่ได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ถ้วยพระราชทาน ก สโมสรฯ ได้ย้ายที่ตั้งสโมสรมาที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี[1] และ เริ่มมีนักฟุตบอลต่างประเทศมาเล่นในไทย เช่น อุสมัน ไนยี, จอร์จี้ คริสเตียน, และ ลอเรนโซ่ ยูจิน ลอเรนท์ โดยมีนักฟุตบอลชาวไทยที่เป็นตัวหลักในขณะนั้นอย่าง ดุสิต เฉลิมแสน, รุ่งเพชร เจริญวงศ์, ณรงค์ พรไพบูลย์ เป็นต้น
สิงห์-เทโรศาสน
แก้
|
2539-40: ชุดแข่งในยุคแรกของสโมสรฯ ในระบบฟุตบอลลีก |
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดลีกฟุตบอลอาชีพขึ้นในนาม ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก ทางสโมสรฯ ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สิงห์-เทโรศาสน และได้มีการเปลื่ยนสีเสื้อมาเป็นสีเหลือง รวมไปถึงมีการจ้างผู้ฝึกสอนเป็นชาวต่างชาติ และใช้สนามเหย้าคือ สนามกีฬาสิรินธร ใน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และเริ่มเสริมทีมด้วยนักฟุตบอลไทยที่มีชื่อเสียงเช่น วัชรพงษ์ สมจิตร และ ยังได้ วรวุฒิ ศรีมะฆะ, สะสม พบประเสริฐ และ สิงห์ โตทวี ของธนาคารกสิกรไทย ในเลกที่สองฤดูกาลนั้น [1] ซึ่งทำให้สโมสรฯ ได้รับสมญานามว่า ทีมเจ้าบุญทุ่มเมืองไทย แต่อย่างไรก็ดี สโมสรฯกลับทำผลงาน ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยจบฤดูกาล 2539-2540 ด้วยอันดับที่ 12 ของลีก
ก่อนมังกรไฟ
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ทาง เบียร์สิงห์ ยกเลิกการสนับสนุนทีม ทำให้สโมสรเปลื่ยนชื่อมาเป็น เทโรศาสน และได้เปลื่ยนแปลงผู้ฝึกสอน มาเป็น พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ และได้นักฟุตบอลจาก องค์การโทรศัพท์ฯ อย่าง อนุรักษ์ ศรีเกิด, จตุพงษ์ ทองสุข, ทิวากร สุขสด เป็นต้น[1] ซึ่งสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 5 แต่ว่าได้สิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทย ลงแข่งขันใน เอเชียนคลับแชมเปียนชิพ และนักเตะของสโมสรอย่าง วรวุฒิ ศรีมะฆะ ยังเป็นดาวซัลโวของลีกอีกด้วยการยิงไป 17 ประตู
บีอีซี เทโรศาสน
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้เข้าซื้อกิจการของ บจก.เทโร และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จึงเปลี่ยนชื่อสโมสรใหม่อีกครั้งเป็น บีอีซี เทโรศาสน โดยสโมสรฯสามารถจบอันดับที่ 3 ใน ฤดูกาล 2541 แล้วยังได้สิทธิซึ่งเป็นตัวแทนจากประเทศไทยไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์คัพ ในฐานะสโมสรชนะเลิศ สิงห์ เอฟเอคัพ
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2542 สโมสรฯ ได้ เจสัน วิธ ลูกชายของ ปีเตอร์ วิธ ผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ในขณะนั้นมาร่วมทีม และได้ อเดบาโย กาเดโบ กองหลังชาวไนจีเรีย ที่มีดีกรีระดับทีมชาติไนจีเรีย ระดับเยาวชน รุ่นเดียวกับ เอ็นวานโก้ คานู, เจย์ เจย์ โอโคชา มาร่วมทีม ซึ่งสโมสรจบฤดูกาลที่อันดับที่ 3 ของลีก แต่ผลงานในบอลถ้วย กลับไม่ดีนัก โดยในการแข่งขัน สิงห์ เอฟเอคัพ ก็ตกรอบแปดทีมสุดท้าย ส่วนผลงานในฟุตบอลเอเซีย อย่าง เอเอฟซีแชมเปียนส์คัพ ก็ทำผลงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าไรโดยนัดแรกเอาชนะ ทรีสตาร์คลับ ของเนปาลไป 6-1 แต่นัดที่สองแพ้ให้กับ ต้าเลียน วันด้า ไป 3-1 จึงต้องตกรอบ
สู่จุดสูงสุด
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 สโมสรฯสร้างเกียรติประวัติที่สูงสุดได้สำเร็จด้วยการคว้าแชมป์ ไทยลีก ได้เป็นสมัยแรกของสโมสร และนักเตะของสโมสรอย่าง อนุรักษ์ ศรีเกิด ก็ได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีอีกด้วย จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 สโมสรฯ เปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนมาเป็นคนไทย อย่าง พิชัย ปิตุวงศ์ ซึ่งในฤดูกาลนั้นได้ตัว เทิดศักดิ์ ใจมั่น จาก กรุงเทพมหานคร และแจ้งเกิดนักเตะดาวรุ่งในยุคนั้นอย่าง ดัสกร ทองเหลา ที่ ณ ขณะนั้นมีอายุเพียง 16 ปี เล่นในทีมชุดใหญ่เป็นครั้งแรก และสามารถสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้าแชมป์ ไทยลีก 2544/2545 ได้สำเร็จ และเป็นแชมป์ไทยลีก 2 สมัยซ้อนเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2545 สโมสรฯ เปลื่ยนแปลงผู้ฝึกสอนจาก พิชัย ปิตุวงศ์ เป็น อรรถพล บุษปาคม ซึ่งสโมสรฯ สามารถสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ของวงการฟุตบอลไทยในการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก โดยเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสโมสร อัล ไอน์ ตัวแทนจาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งแข่งขันแบบเหย้า-เยือน โดยนัดแรกสโมสรฯบุกไปเยือนแล้วแพ้ไป 2-0 แต่ในนัดที่สองได้เล่นเป็นทีมเหย้าโดยแข่งที่ ราชมังคลากีฬาสถาน สโมสรเอาชนะไปได้ 1-0 จากการยิงลูกโทษของ เทิดศักดิ์ ใจมั่น แต่ก็แพ้ไปด้วยสกอร์รวม 2-1 ได้แค่รองชนะเลิศ ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดของสโมสรฟุตบอลจากประเทศไทยที่ทำได้ในการแข่งขันนี้ นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ขณะเดียวกัน สโมสรฯก็ยังได้รองชนะเลิศการแข่งขัน อาเซียนคลับแชมเปียนชิพ โดยแพ้ให้กับ อิสต์ เบงกอล ของ อินเดีย 3-1 ซึ่งในทีมชุดนั้นมีนักเตะที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศมากมายเช่น วรวุฒิ ศรีมะฆะ, ดุสิต เฉลิมแสน, ขวัญชัย เฟื่องประกอบ, เทิดศักดิ์ ใจมั่น, ปณัย คงประพันธ์, จตุพงษ์ ทองสุข, ดัสกร ทองเหลา รวมไปถึง นักฟุตบอลต่างชาติอย่าง อาดู ซันเดย์ กองกลางชาว ไนจีเรีย
หลังจากได้รองชนะเลิศ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก มาตรฐานของสโมสรฯ เริ่มตกลง แต่ยังถือว่าเป็นสโมสรที่มีลุ้นแชมป์ได้ในหลายฤดูกาล ใน ไทยลีก 2547/48 สโมสรได้แต่งตั้ง สะสม พบประเสริฐ มาคุมทีมแม้ผลงานของทีมกลับต้องมาหนีตกชั้น แต่ก็ยังสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 และในปีนั้นเอง สโมสรฯได้ดันนักฟุตบอลอย่าง ชาคริต บัวทอง และ ธีรเทพ วิโนทัย ขึ้นมาประดับวงการฟุตบอลไทย
ร่วมมือกับอาร์เซนอล
แก้ในปี พ.ศ. 2548 ทางสโมสรฯ ได้ลงนามในสัญญาร่วมกับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีก ก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจด้านฟุตบอลโดยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งมีร้านขายของที่ระลึกที่เซ็นทรัลเวิลด์ และได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของสโมสรใหม่ทั้งหมด โดยโลโก้ของสโมสรนั้น ทางสโมสรอาร์เซนอลเป็นผู้ออกแบบให้ และชุดแข่งของสโมสรให้มีความคล้ายคลึงกับทางสโมสรอาร์เซนอลอีกด้วย[1] และในปีนั้นสโมสรได้เปลื่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น เดวิด บูท และเสริมนักฟุตบอลไทยที่มีชื่อเสียงอย่าง พิพัฒน์ ต้นกันยา, ปรัชญ์ สมัคราษฎร์, คัมภีร์ ปิ่นฑะกูล เป็นต้น และยังได้ตัว ไนออล ควินน์ อดีตนักฟุตบอลของ ซันเดอร์แลนด์ และ แมนเชสเตอร์ซิตี มาร่วมทีม[2] ทำให้สโมสรฯจบด้วยอันดับ 3 ใน ฤดูกาล 2553 สโมสรฯ ทำการย้ายสนามเหย้าแข่งขันจาก สนามบีอีซี เทโรศาสน หนองจอก (สนามทิวสน) มาที่ สนามเทพหัสดิน เนื่องจากสนามหนองจอกนั้นไม่ได้มาตรฐานจาก ไทยพรีเมียร์ลีก และเดินทางยากลำบาก โดยที่สนามเทพหัสดิน สามารถเดินทางสะดวกเพราะสามารถเดินทางด้วย รถไฟฟ้าบีทีเอส มาลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้
เปลื่ยนแปลง
แก้ใน ฤดูกาล 2555 สโมสรได้จ้าง โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ มาเป็นผู้อำนวยการสโมสร และในช่วงนี้เองที่สโมสรฯ ปั้นเยาวชนขึ้นสู่ทีมเป็นจำนวนมาก โดยทีมเยาวชนของสโมสร สามารถคว้าแชมป์ ไทยเอฟเอ ยูธคัพ ได้สำเร็จ ซึ่งในทีมชุดนั้น มีนักฟุตบอลอย่าง อภิสิทธิ์ คำวัง, ชนาธิป สรงกระสินธ์, อัครพล มีสวัสดิ์, ศนุกรานต์ ถิ่นจอม เป็นต้น [3] ซึ่งภายหลังนักฟุตบอลในทีมชุดนี้ก็ได้ถูกดันขึ้นมาในทีมชุดใหญ่ และได้ติดทีมชาติไทยในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 บีอีซี เทโรศาสน เปิดตัว สเวน-เยอราน เอริกซอน ชาวสวีดิช อดีตผู้จัดการ ทีมชาติอังกฤษ ซึ่งรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ของสโมสร โดยพาสโมสรจบอันดับ 3 ของไทยพรีเมียร์ลีกในฤดูก���ลนั้น และในปี พ.ศ. 2556 สโมสรฯ ย้ายสนามเหย้าแข่งขันไปอยู่ที่ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี เนื่องจากสนามเทพหัสดินไม่พร้อมที่จะใช้งาน และกลายเป็นการกลับสู่ถิ่นที่อยู่เดิมของสโมสรอีกครั้งในย่านมีนบุรี หนองจอก
ในฤดูกาล 2557 ภายใต้การคุมทีมของ โจเซ่ อัลเวส บอจีส สโมสรฯ สร้างประวัติศาสตร์ ชนะเลิศการแข่งขัน โตโยต้า ลีกคัพ โดยเอาชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปได้ 2-0 จากการทำประตูของ ไดกิ อิวามาสะ และ จอร์จี้ เวลคัม โดย ชนาธิป สรงกระสินธ์ คว้ารางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าอีกด้วย[5] และเป็นตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกของสโมสรฯ ในรอบ 12 ปี
โปลิศ เทโร
แก้เปลี่ยนแปลงการบริหาร
แก้หลังจาก ฤดูกาล 2559 สี้นสุดลง สโมสรฯได้รับความสนใจที่จะมาทำทีมต่อ โดยในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มนายทุนของ อุดรธานี เอฟซี ซึ่งเคยมีข่าวจะเข้ามาเทคโอเวอร์ พัทยา ยูไนเต็ด ได้พยายามเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท แต่การเจรจาไม่ลงตัวทำให้ไม่เกิดขึ้น
แต่จากนั้นไม่นานได้มีกระแสข่าวออกมาว่ามีกลุ่มทุนอีกกลุ่มที่นำโดย นายตำรวจระดับสูง ติดต่อเข้ามาเพื่อขอบริหารสโมสร ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเปิดเผยว่าเป็นกลุ่มของ พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยทาง พล.ต.อ. จักรทิพย์ เป็นประธานสโมสรและได้เปลี่ยนชื่อเป็น โปลิศ เทโร (Police Tero Football Club) และได้ย้ายสนามไปอยู่ที่ สนามบุณยะจินดา โดยได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวสโมสรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 [6] ทางด้านนายไบรอันได้ร่วมเป็นประธานสโมสรร่วมด้วย โดยที่ต่อมาทาง บริษัท ไทยลีก ไม่อนุมัติการเปลื่ยนชื่อและสัญลักษณ์ของสโมสรฯ เนื่องจากผิดข้อบังคับ คลับไลเซนนิ่งส์ ทำให้สโมสรต้องกลับมาใช้ชื่อ บีอีซี เทโรศาสน อย่างน้อย 1 ฤดูกาล[7]
การตกชั้นครั้งแรก และการเลื่อนชั้นกลับสู่ไทยลีก
แก้ในฤดูกาล 2561 การแข่งขันนัดที่ 33 หรือนัดรองสุดท้าย โปลิศ เทโร ต้องบุกไปเยือนราชนาวีซึ่งตกชั้นไปแล้วที่สนามกีฬากองทัพเรือ กม. 5 โดยโปลิศ เทโรได้ประตูขึ้นนำก่อน 0–1 จากกฤษพรหม บุญสาร แต่ก็ถูกยิงแซงจนพ่ายแพ้ไป 4–2[8] ทำให้โปลิศ เทโรตกชั้นสู่ไทยลีก 2 เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์สโมสร[9]
ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 โปลิศ เทโร เปิดบ้านเอาชนะ ระยอง ไปได้ 7–0 ทำให้ทั้งสองสโมสรได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2563 โดยโปลิศ เทโร เลื่อนชั้นกลับสู่ไทยลีกหลังจากตกชั้นลงมาเล่นในไทยลีก 2 เพียงฤดูกาลเดียว ส่วนระยองเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร
กลุ่มทุนใหม่และการตกชั้น
แก้ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวกลุ่มทุนใหม่ที่เข้ามาลงทุนและบริหารสโมสรคือ กลุ่มของเจ้านายเชื้อพระวงศ์จากกัมพูชา 3 พระองค์ได้แก่ พระองค์เจ้านโรดม อัมฤทธิวงศ์, สมเด็จพระนโรดม นรินทรพงษ์ และเจ้าชายนโรดม รวิจักร พร้อมด้วยเงินลงทุนจำนวน 200 ล้านบาทและได้เข้ามาถือหุ้นในสโมสรสัดส่วน 49%[10][11] แต่สุดท้ายเกิดปัญหาการติดค้างและเลื่อนการจ่ายเงินในการเข้ามาถือหุ้นใหญ่แทนกลุ่มทุนเดิมจนส่งผลให้เกิดภาวะสูญญากาศภายในทีมในช่วงท้ายเลกแรกและต้นเลกสอง จนส่งผลให้ฝั่งกลุ่มทุนเก่าอย่าง พ.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้ส่งลูกชายของตนเองอย่างชัยธัช ชัยจินดาเข้ามาบริหารแทนกลุ่มทุนใหม่ แม้จะมีการเข้ามาแก้ไขจากคนในกลุ่มทุนเก่าและมีการตั้งโค้ชใหม่ คือ ตัน เชง โฮ อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติมาเลเซียเข้ามาคุมทีม แต่ทีมก็ไม่สามารถรอดพ้นจากการตกชั้นสู่ไทยลีก 2
ตราสโมสร
แก้-
ฤดูกาล 2539
-
ฤดูกาล 2541-2549
-
ฤดูกาล 2549-2560
-
ฤดูกาล 2560 (สโมสรฯ ใช้แบบไม่เป็นทางการ)
-
ฤดูกาล 2561-ปัจจุบัน
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ทีมงานผู้ฝึกสอน
แก้ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
จตุพร ประมลบาล | ไทย | ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค |
อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ | ไทย | ผู้จัดการทีม |
คาเวห์ แม็กนัสสัน | สวีเดน | หัวหน้าผู้ฝึกสอน |
วรเดช ภูประไพ | ไทย | ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน |
ศรีศักดิ์ เกตุจันทรา | ไทย | โค้ชฟิตเนส |
อนุกูล กันยายน | ไทย | โค้ชผู้รักษาประตู |
ขวัญชัย บุญยัง | ไทย | เจ้าหน้าที่ทีม |
ผู้ฝึกสอน
แก้รายนามผู้ฝึกสอน (2539-ปัจจุบัน)
ชื่อ | ชาติ | เวลา | เกียรติยศ |
---|---|---|---|
บรู๊ซ แคมป์เบลล์ | 2539/2540 | ||
พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ | 2540 | ||
วรวรรณ ชิตะวณิช | 2541 | ||
เจสัน วิธ | 2542-2543 | ไทยลีก 2543 ไทย เอฟเอคัพ 2543 | |
พิชัย ปิตุวงศ์ | 2544-2545 | ไทยลีก 2544/45 | |
อรรถพล ปุษปาคม | 2545-2547 | รองชนะเลิศ เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 2002–03 รองชนะเลิศ อาเซียน คลับแชมเปียนชิพ 2002–03 รองชนะเลิศ ไทยลีก 2545/46 รองชนะเลิศ ไทยลีก 2546/47 | |
สะสม พบประเสริฐ | 2547-2548 | ||
เดวิธ บูท | 2549 | ||
รีจีส รากันเซ่ | 2550 | ||
คริสตอฟ ลาร์รูห์ | 2551 – มิถุนายน 2552 | รองชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ครั้งที่ 33 | |
ธชตวัน ศรีปาน | มิถุนายน - กรกฎาคม 2552 | ชนะเลิศ พานาโซนิค คัพ รองชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2552 | |
จอร์จ เอ็นริเก้ อมาย่า | กรกฎาคม – ตุลาคม 2552 | ||
ปีเตอร์ บัตเลอร์ | ตุลาคม 2552 – มิถุนายน 2553 | ||
พยงค์ ขุนเณร | มิถุนายน - ธันวาคม 2553 | ||
แอนดรูว์ ออร์ด | มกราคม - สิงหาคม 2554 | ||
สเวน-เยอราน เอริกซอน[12] (ประธานเทคนิค) | กันยายน - พฤศจิกายน 2554 | ||
สเตฟาน เดโมล | ธันวาคม 2554 – มิถุนายน 2555 | ||
เรอเน เดอซาแยร์ | มีนาคม - กรกฎาคม 2555 | ||
โชคทวี พรหมรัตน์ | กรกฎาคม – สิงหาคม 2555 | ||
โจเซ่ อัลเวส บอจีส[13] | สิงหาคม 2555 – พฤศจิกายน 2557 | ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2557 ชนะเลิศ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2014 | |
โบซีดาร์ บันโดวิช | พฤศจิกายน 2557 – พฤษภาคม 2558 | ||
เคนนี่ ซิลล์ | พฤษภาคม - สิงหาคม 2558 | ||
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค (รักษาการ) | สิงหาคม 2558 | ||
มานูเอล คาจูด้า | สิงหาคม - ธันวาคม 2558 | ||
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค (รักษาการ) | ธันวาคม 2558 | ||
บลังโก สมิลยานิช | กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2559 | ||
สุรพงษ์ คงเทพ (รักษาการ) | พฤษภาคม - ธันวาคม 2559 | ||
อุทัย บุญเหมาะ | กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2560 | ||
ไมค์ มัลเวย์ | มิถุนายน – พฤศจิกายน 2560 | ||
สก็อตต์ คูเปอร์ | มกราคม – มีนาคม 2561 | ||
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค | มีนาคม – มิถุนายน 2561 | ||
ธชตวัน ศรีปาน | มิถุนายน – กันยายน 2561 | ||
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค | กันยายน 2561 – พฤศจิกายน 2566 | รองชนะเลิศ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 | |
วรวุธ ศรีมะฆะ (รักษาการ) | พฤศจิกายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 | ||
ตัน เชง โฮ | กุมภาพันธ์ 2567 – มิถุนายน 2567 | ||
ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล | มิถุนายน 2567 – พฤศจิกายน 2567 | ||
อมร ธรรมนาม (รักษาการ) | พฤศจิกายน 2567 | ||
จตุพร ประมลบาล (รักษาการ) | พฤศจิกายน 2567 – ธันวาคม 2567 | ||
คาเวห์ แม็กนัสสัน | ธันวาคม 2567 – |
อดีตผู้เล่นที่สำคัญ
แก้นักเตะไทย
แก้- ดุสิต เฉลิมแสน
- อนุรักษ์ ศรีเกิด
- เทิดศักดิ์ ใจมั่น
- วรวุฒิ ศรีมะฆะ
- วิทยา นับทอง
- สะสม พบประเสริฐ
- พรรษา มีสัตย์ธรรม
- ทนงศักดิ์ ประจักกะตา
- ศักดิ์ชาย ยันตระศรี
- วรชัย สุรินทร์ศิริรัตน์
- ดัสกร ทองเหลา
- นิรุตต์ สุระเสียง
- วุฒิญา หยองเอ่น
- โกวิท ฝอยทอง
- ธชตวัน ศรีปาน
- อานนท์ สังข์สระน้อย
- ปรัชญ์ สมัครราษฎร์
- พิศาล ดอกไม้แก้ว
- นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม
- รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
- อภิเชษฐ์ พุฒตาล
- อนุชา กิจพงษ์ศรี
- อดิศร พรหมรักษ์
- อดิศักดิ์ ไกรษร
- ชนาธิป สรงกระสินธ์
- พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา
- ธนบูรณ์ เกษารัตน์
- เจนรบ สำเภาดี
- นพพล พลคำ
- ธีระพล เยาะเย้ย
- พิชิตพงษ์ เฉยฉิว
- มงคล ทศไกร
- ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์
- สันติภาพ จันทร์หง่อม
- ทิตาธร อักษรศรี
- ทิตาวีร์ อักษรศรี
- ประสิทธิ์ ผดุงโชค
- กีรติ เขียวสมบัติ
- อดิศักดิ์ ศรีกำปัง
- ณรงค์ จันทร์เสวก
- ธีรเทพ วิโนทัย
- เฉลิมศักดิ์ อักขี
- ชานุกูล ก๋ารินทร์
- สินทวีชัย หทัยรัตนกุล
นักเตะต่างชาติ
แก้ผู้ผลิตชุดแข่งขันและผู้สนับสนุน
แก้รายนามผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุน (ฤดูกาล 2539/40-ปัจจุบัน)
ฤดูกาล | ผู้ผลิตชุดแข่งขัน | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
2539/40 | เซปป์ | เบียร์สิงห์ |
2543 | - | - |
2541-2543 | อาดิดาส | คาลเท็กซ์ |
2544/45 | อาดิดาส | เบียร์สิงห์ |
2545/46-2547/48 | อาดิดาส | - |
2549-2552 | ไนกี้ | เอมิเรตส์แอร์ไลน์ |
2553 | ไนกี้ | 3 เคแบตเตอรี่ |
2554 | เอฟบีที | 3 เคแบตเตอรี่ |
2555 | เอฟบีที | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
2556-2559 | เอฟบีที | เอฟบีแบตเตอรี่ |
2560- | เอฟบีที | เบียร์ช้าง |
สนามเหย้าและที่ตั้งสโมสร
แก้ผลงาน
แก้ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก[14] | เอฟเอ คัพ | ลีกคัพ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | ||||
2539/40 | ไทยลีก | 34 | 9 | 14 | 11 | 37 | 44 | 41 | อันดับ 12 | — | – | – | — | — |
2540 | ไทยลีก | 22 | 8 | 7 | 7 | 32 | 26 | 31 | อันดับ 5 | — | – | – | วรวุฒิ ศรีมะฆะ | 17 |
2541 | ไทยลีก | 22 | 10 | 8 | 4 | 47 | 23 | 38 | อันดับ 3 | — | – | รอบที่ 2 | — | — |
2542 | ไทยลีก | 22 | 11 | 6 | 5 | 35 | 23 | 39 | อันดับ 3 | — | – | – | — | — |
2543 | ไทยลีก | 22 | 14 | 7 | 1 | 48 | 14 | 49 | ชนะเลิศ[15] | — | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ | — | — |
2544/45 | ไทยลีก | 22 | 15 | 5 | 2 | 41 | 11 | 50 | ชนะเลิศ[15] | — | – | รอบที่ 2 | วรวุฒิ ศรีมะฆะ | 12 |
2545/46 | ไทยลีก | 18 | 10 | 5 | 3 | 31 | 11 | 35 | รองชนะเลิศ[15] | – | – | รองชนะเลิศ[15] | วรวุฒิ ศรีมะฆะ | 10 |
2546/47 | ไทยลีก | 18 | 10 | 4 | 4 | 33 | 22 | 34 | รองชนะเลิศ[15] | – | – | รอบแบ่งกลุ่ม | — | — |
2547/48 | ไทยลีก | 18 | 6 | 7 | 5 | 19 | 18 | 25 | อันดับ 6 | – | – | รอบแบ่งกลุ่ม | ชาคริต บัวทอง | 7 |
2549 | ไทยลีก | 22 | 9 | 9 | 4 | 32 | 14 | 36 | อันดับ 3 | – | – | – | พิพัฒน์ ต้นกันยา | 12 |
2550 | ไทยลีก | 30 | 14 | 9 | 7 | 47 | 29 | 51 | อันดับ 3 | – | – | – | อานนท์ สังสระน้อย | 13 |
2551 | ไทยลีก | 30 | 16 | 7 | 7 | 50 | 31 | 55 | อันดับ 3 | – | – | – | อานนท์ สังสระน้อย | 20 |
2552 | ไทยลีก | 30 | 15 | 6 | 9 | 53 | 34 | 51 | อันดับ 4 | รองชนะเลิศ[15] | – | – | อานนท์ สังสระน้อย | 18 |
2553 | ไทยลีก | 30 | 9 | 8 | 13 | 39 | 42 | 35 | อันดับ 9 | รอบที่ 4 | รอบที่ 2 | – | อานนท์ สังสระน้อย | 14 |
2554 | ไทยลีก | 30 | 13 | 6 | 15 | 39 | 35 | 45 | อันดับ 8 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | – | รณชัย รังสิโย | 15 |
2555 | ไทยลีก | 34 | 16 | 9 | 9 | 53 | 43 | 57 | อันดับ 3 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | – | เคลย์ตัน ซิลวา | 24 |
2556 | ไทยลีก | 32 | 13 | 9 | 10 | 56 | 49 | 48 | อันดับ 7 | รอบที่ 4 | รอบที่ 2 | – | เคลย์ตัน ซิลวา | 20 |
2557 | ไทยลีก | 38 | 18 | 14 | 6 | 66 | 41 | 68 | อันดับ 3 | รอบที่ 3 | ชนะเลิศ | – | โซ ชิโมจิ | 17 |
2558 | ไทยลีก | 34 | 7 | 14 | 13 | 42 | 51 | 35 | อันดับ 16 | รอบที่ 2 | รอบที่ 3 | – | อดิศักดิ์ ไกรษร | 10 |
2559 | ไทยลีก | 30 | 12 | 5 | 13 | 42 | 52 | 41 | อันดับ 9 | รอบที่ 2 | รอบที่ 3 | – | ศิวกรณ์ เตียตระกูล | 9 |
2560 | ไทยลีก | 34 | 10 | 9 | 15 | 42 | 57 | 39 | อันดับ 14 | รอบที่ 3 | รอบรองชนะเลิศ | – | มีชาเอล เอ็นดรี | 13 |
2561 | ไทยลีก | 34 | 10 | 6 | 18 | 53 | 66 | 36 | อันดับ 15 | รอบที่ 3 | รอบที่ 2 | – | มีชาเอล เอ็นดรี | 16 |
2562 | ไทยลีก 2 | 33 | 18 | 8 | 7 | 57 | 31 | 62 | อันดับ 2 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบก่อนรองชนะเลิศ | – | แกรก อูลา | 11 |
2563–64 | ไทยลีก | 30 | 10 | 6 | 14 | 32 | 50 | 36 | อันดับ 11 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | – | อาทิตย์ บุตรจินดา | 4 |
2564–65 | ไทยลีก | 30 | 8 | 13 | 9 | 33 | 39 | 37 | อันดับ 11 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | – | อีวังดรู เปาลิสตา | 6 |
2565–66 | ไทยลีก | 30 | 11 | 10 | 9 | 41 | 43 | 43 | อันดับ 7 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | วู กึน-ช็อง บาโบ มาร์ก ล็องดรี |
7 |
2566–67 | ไทยลีก | 30 | 7 | 7 | 16 | 38 | 67 | 28 | อันดับ 15 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | วู กึน-ช็อง | 10 |
2567–68 | ไทยลีก 2 | รอบแรก | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
เกียรติประวัติ
แก้การแข่งขันในประเทศ
แก้ลีก
แก้- รองชนะเลิศ (1) : 2562
ถ้วย
แก้- รองชนะเลิศ (1) : 2552
- ชนะเลิศ (1) : 2557
- ชนะเลิศ (1) : 2543
- รองชนะเลิศ (2) : 2545 , 2547
- รองชนะเลิศ (1) : 2552
- ชนะเลิศ (1) : 2558
การแข่งขันระหว่างประเทศ
แก้- รองชนะเลิศ (1): 2545/46
- รองชนะเลิศ (1): 2546
ระดับเยาวชน
แก้- ชนะเลิศ (2) : 2546, 2547[16]
- ชนะเลิศ (1) : 2555[17]
สโมสรพันธมิตร
แก้พันธมิตรต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 https://web.archive.org/web/20070319191847/http://www.becterofc.com/team1.html ประวัติสโมสรบีอีซี-เทโรศาสน เอฟซี] - www.becterofc.com (ปัจจุบันใช้งานไม่ได้แล้ว)
- ↑ ฮือฮาสุดๆ “เทโรฯ” เตรียมเปิดตัวหอกใหม่ “ไนออล ควินน์” เก็บถาวร 2006-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก MGR Online
- ↑ โปลิศ เทโร เร่งหาโค้ชใหม่ลุยไทยลีก2 แทน ตันเชง โฮ จาก สยามกีฬา
- ↑ "มังกรไฟผงาด!! 12 ปีแห่งการรอคอย บีอีซี-เทโร ศาสน ล้มแชมป์เก่าในศึกโตโยต้า ลีกคัพ 2014". bectero.com. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
- ↑ ตันเชงโฮ แฮปปี้ โปลิศ เทโร ทำงานหนักช่วงสงกรานต์จนปลดล็อคชัย จาก สยามกีฬารายวัน
- ↑ โปลิศ เทโรฯช็อกนำ2ลูกพังคารัง สุโขทัยทำแสบ ดาหน้าซัดแซงเฮสุดดราม่า สยามกีฬา
- ↑ โปลิศรอก่อน! เทโรแถลงยังรอเอเอฟซีอนุมัติชื่อ-โลโก้ใหม่ จาก โกลดอตคอม ประเทศไทย
- ↑ ‘โปลิศ เทโร’ บุกพ่ายราชนาวี 2-4 ตกชั้นไทยลีกแล้ว!, ไทยรัฐ, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561
- ↑ เทโรตกชั้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์, Goal.com, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561
- ↑ โปลิศ เทโรฯ เปิดตัว "เจ้าชายนโรดม แห่งราชวงศ์กัมพูชา" เป็นผู้ร่วมทุนใหม่ Siamsport
- ↑ เจ้าชายกัมพูชาทุ่ม 200 ล้าน บ. ถือหุ้น 'โปลิศ เทโร' 49% ตั้งเป้าปีหน้า ติดท็อป 3
- ↑ "Avram Grant follows in footsteps of Sven-Goran Eriksson by joining Thai side BEC Tero Sasana as technical director". Daily Mail. 17 September 2014. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
- ↑ "BEC-Tero Sasana appoints former Chelsea manager Avram Grant as Technical Director". BEC Tero Official Website. 30 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-31. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 http://sg.soccerway.com/teams/thailand/bec-tero-sasana/3849/trophies/
- ↑ The Club จาก เว็บไซต์ของสโมสร
- ↑ โปลิศ เทโร เสริมแกร่งนักเตะต่างชาติ 3 รายลุยเลก 2 จาก สยามกีฬา
- ↑ สยามกีฬา: ชิมิสึบินมาไทยเตรียมโครงการแลกเปลี่ยนนักเตะกับโปลิศ