สโมสรฟุตบอลอาร์แบค
สโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล อาร์แบค โดยเริ่มแรกได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในนามของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนทางกลุ่มของ ถิรชัย วุฒิธรรม (กลุ่มกรุงเทพมหานคร) ได้บริหารทีมและโอนสิทธิ์ให้ทาง มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เข้าบริหารต่อจนถึงปัจจุบัน โดยในผลงานในอดีตได้อันดับ 4 ในฤดูกาลปกติของการแข่งขันไทยลีก ฤดูกาลแรก และได้รองชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์ออฟชิงชนะเลิศในฤดูกาลนั้น
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล อาร์แบค | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สิงโตน้ำเงินทอง ลูกอาจารย์แม่ | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2535 (ในนาม สโมสรสมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์) | ||
ยุบ | พ.ศ. 2559 | ||
สนาม | สนามกีฬามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต บางกะปิ, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย (ความจุ:3,000 คน[1]) | ||
ประธาน | ปิยะณัฐ รัตนเพียร | ||
ผู้จัดการ | สมชาย ไม้วิลัย | ||
ลีก | ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 | ||
2558 | อันดับที่ 13 โซนกรุงเทพฯ และภาคกลาง (พักทีม) | ||
|
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตบอลอาร์แบค ในอดีตได้ส่งลงแข่งขันครั้งแรกในนาม สโมสรสมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นความคิดริเริ่มของ เสรี จินตนเสรี กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) โดยมีเป้าหมายที่จะเลื่อนชั้นสู่การแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ให้ได้แบบปีต่อปี โดยรวบรวมนักเตะจากตัวแทน นายหน้าที่ลงทำการแข่งขันกีฬาภายในตลาดหลักทรัพย์ฯรวมไปถึง นักเตะจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, และ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน ส่งลงแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ในปี พ.ศ. 2535[2]
ถ้วย ง.
แก้โดยหลังจากรวบรวมนักฟุตบอลที่ได้แล้ว จึงได้มอบหมายให้ ชลิต มาเปี่ยม เป็นผู้จัดการทีมและแต่งตั้ง อาจหาญ ทรงงามทรัพย์[2] ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนที่ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ฝึกสอนเพื่อทำการลงแข่งขันใน ถ้วยพระราชทานประเภท ง. ในปี 2535 โดยนักฟุตบอลที่อยู่ร่วมทีมในในตอนนั้นส่วนใหญ่มาจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน เกือบทั้งสี้น ไม่ว่าจะเป็น เทิดศักดิ์ ใจมั่น, วิมล จันทร์คำ, ธร สอระภูมิ, สุรศักดิ์ ใจมั่น เป็นต้น และยังได้ ศิริศักดิ์ แย้มแสง ผู้รักษาประตูทีมธนาคารกรุงเทพด้วย โดยผลงานของทีมในถ้วย ง. สโมสรฯสามารถเข้ารอบชิงชนะเลิศกับ สโมสรพนักงานยาสูบ และได้เลื่อนชั้นสู่ ถ้วย ค. ในปีถัดมา
ถ้วย ค.
แก้หลังจากที่ทีมได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี 2536 ทางทีม ได้ทาบทาม สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ จาก สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย และ อรรถพล บุษปาคม จาก สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย[2] แต่ถูกปฏิเสธ อย่างไรก็ดี ถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้ตัวนักฟุตบอลที่ต้องการ แต่ผลงานของทีมกลับทำได้อย่างน่าพอใจ โดยสามารถเข้าไปชิงชนะเลิศกับ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ ซึ่งมีนักเตะดัง อย่าง ตะวัน ศรีปาน อยู่ในทีม และสามารถเอาชนะได้ นับว่าเป็นเกียรติยศแรกของสโมสร
ถ้วย ข. และการดึงผู้เล่นดาวดัง
แก้หลังจากที่สโมสรคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ค. และเลื่อนชั้นมาได้แล้วนั้น สโมสรเองได้รับการจับตามองจากสื่อกีฬาในสมัยนั้นอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้ จากการที่สโมสรได้ทุ่มทุน ซื้อนักฟุตบอลระดับทีมชาติไทย หลายรายเช่น สุรชัย จตุรภัทรพงษ์, อรรถพล บุษปาคม และ สามนักฟุตบอลดาวรุ่งจาก สโมสรราชประชา อย่าง ชุมพล สีน้ำเงิน, พัทยา เปี่ยมคุ้ม, และ พิเชษฐ์ เพียรซ้าย โดยเป็นจำนวนรวมทั้งสามคนรวม 80,000 บาท ณ ขณะนั้น ซึ่งพอได้นักฟุตบอลระดับทีมชาติ ผสมกับ ตัวผู้เล่นเยาวชนของทีมที่ดันขึ้นมาจาก ฟุตบอลควีนสคัพ อย่าง รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค, พีรทรรศน์ โพธิ์เรือนดี, นิรุจน์ สุระเสียง เป็นต้น ทำให้ผลงานของทีมดีขึ้นและสามารถเข้าชิงชนะเลิศกับ สโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งสโมสรสามารถเอาชนะได้ 2 ประตูต่อ 1 คว้าแชมป์ถ้วย ข. และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ ถ้วย ก. ได้สำเร็จ[2]
ถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ สู่ลีกอาชีพ
แก้จนกระทั่งเลื่อนชั้นมาเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ในปี 2538 สโมสรฯก็ได้สร้างสีสรรให้กับลีกฟุตบอลของเมืองไทย คือการที่สโมสรกล้าจ้างนักฟุตบอลต่างชาติมาเล่นให้กับทีม อย่าง อันติโน่ ดา ปิเอคาเต้ หรือ "'บรันเดา'" ชาว แองโกลา มาร่วมทีม และ เอ็ดสัน มาร์ติน ดา ซิลวา กองหน้าชาว บราซิล มาร่วมทีม และในปีแรกในการลงเล่นถ้วย ก. สโมสรทำผลงานได้ดี คือจบการแข่งขันด้วยอันดับรองชนะเลิศ โดยในปีนั้นทีมชนะเลิศได้แก่ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย จากการที่เป็นหนึ่งในทีมสมาชิกถ้วย ก. เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2539 ทาง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ริเริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพเกิดขึ้น โดย สโมสรฯ นับว่าเป็นหนึ่งใน 18 ทีม บุกเบิกการแข่งขันฟุตบอลอาชีพครั้งแรกของเมืองไทย ทีมเองก็ได้เสริมทีมด้วยนักฟุตบอลระดับทีมชาติ เช่น ธนิศร์ อารีสง่ากุล, พิทยา สันตะวงศ์ หรือแม้กระทั่งนักฟุตบอลต่างชาติเช่น ออรันโด้ บรันเดา, มาเรน วาเลซี่ และสร้างสีสรรโดยดึงนักฟุตบอลจาก พม่า อย่าง อ่อง ไก[2] เป็นต้น ทำให้สื่อในยุคนั้น มองว่าสโมสรอาจจะเป็นทีมเต็ง ในการเป็นแชมป์ลีก และในการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาลแรก สโมสรฯจบอันดับที่ 4 ได้สิทธิ์เพลย์ ออฟโดยจบด้วยตำแหน่ง รองชนะเลิศ
ประสบปัญหาทางการเงิน และ ตกชั้น
แก้อย่างไรก็ดี แม้ทีมเองจะทำผลงานได้ดี แต่เพราะ วิกฤตการณ์การเงินในปี 2540 ทำให้ประสบปัญหาหนักด้านการเงิน โดย ทางทีม ได้รับข้อเสนอการเทกโอเวอร์จากสองกลุ่มทุนคือ บุญรอดบริวเวอรี และ กรุงเทพมหานคร ของ ถิรชัย วุฒิธรรม ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ในขณะนั้น)[2] ซึ่งสุดท้าย กลุ่มของกรุงเทพฯ ได้เทคโอเวอร์ทีม ในปี 2540 และลงแข่งในนามกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ไทยลีก ครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดีผลงานของทีมระหว่างนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในโซนกลางตารางค่อนท้ายตาราง จนกระทั่งตกชั้นใน ฤดูกาล 2544/45 ซึ่งเป็นปีแรกที่รวมทีมเข้ากับทาง มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
อาร์แบค เอฟซี
แก้หลังจากตกชั้น ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้สิทธิ์ขาดในการบริหารทีมอย่างเต็มตัว และ ย้ายสนามเหย้ามาเล่นใน สนามกีฬามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ซึ่งนับว่าทำผลงานส่วนใหญ่อยู่กลางตารางของลีก โดยใน ฤดูกาล 2552 วุฒิพงศ์ เกิดกุล ทำผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผู้ทำประตูสูงสุด ด้วยจำนวน 24 ประตูเท่ากับ มานิตย์ น้อยเวช ของ เพื่อนตำรวจ ก่อนที่เจ้าตัวจะย้ายไปร่วมทีม บางกอกกล๊าส ในฤดูกาลถัดมามีกระแสข่าวที่ว่า ทางอาร์แบคจะไปรวมทีมกับกลุ่มของเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ณ ขณะนั้น[3] ก่อนที่ภายหลังจะยกเลิกดีลและลงแข่งในนาม ของอาร์แบคตามเดิม อย่างไรก็ดีด้วยสภาพความพร้อมของทีมเองทำให้ทีมมีอันต้องตกชั้นลงไปเล่นใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ใน ฤดูกาล 2554
ร่วมมือเป็นพันธมิตร และ พักทีม
แก้หลังทีทีมตกชั้นมาเล่นใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ทางทีมเองก็ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับหลายสโมสรใน ไทยลีก เช่น บีอีซี เทโรศาสน[4] ระหว่างปี 2555-2556 และ ราชบุรี มิตรผล ในปี 2558[5] จนกระทั่งทางสโมสร ขอพักทีมเป็นเวลาหนึ่งปี เนื่องจากทางผู้จัดการทีม (ปิยะณัฐ รัตนเพียร) ติดภารกิจด้านราชการตำรวจ ทำให้ไม่มีเวลาดูแลทีมในที่สุด[6]
-
สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
(2535-2549) -
กรุงเทพมหานคร
(2540-2544) -
วิทยาลัยรัตนบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร (2544-2546) -
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร (2546-2548) -
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (2549-2552)
-
รัตนบัณฑิต
(2552-2553) -
ช้าง เชียงใหม่ รัตนบัณฑิต
(ไม่ได้ใช้งานจริง) -
อาร์แบค บีอีซี เทโรศาสน
(2555-2556) -
อาร์แบค เอฟซี
(2557) -
ราชบุรี มิตรผล อาร์แบค
(2558)
อดีตผู้เล่นที่โดดเด่น
แก้- ธร สอระภูมิ
- สมเด็จ หิตเทศ
- เทิดศักดิ์ ใจมั่น
- วิมล จันทร์คำ
- ศิริศักดิ์ แย้มแสง
- สุรชัย จตุรภัทรพงษ์
- อรรถพล บุษปาคม
- ธนิศร์ อารีสง่ากุล
- พิทยา สันตะวงศ์
- รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
- พีรทรรศน์ โพธิ์เรือนดี
- นิรุจน์ สุระเสียง
- อภิเชษฐ์ พุฒตาล
- ภัทร ปิยภัทร์กิติ
- วุฒิพงศ์ เกิดกุล
- ธนบูรณ์ เกษารัตน์
- ศนุกรานต์ ถิ่นจอม
- จาตุรงค์ พิมพ์คูณ
ผลงาน
แก้- 2535 - ถ้วย ง. - รองชนะเลิศ (เลื่อนชั้นเล่นในถ้วย ค.)
- 2536 - ถ้วย ค. - ชนะเลิศ (เลื่อนชั้นเล่นในถ้วย ข.)
- 2537 - ถ้วย ข. - ชนะเลิศ (เลื่อนชั้นเล่นในถ้วย ก.)
- 2538 - ถ้วย ก. - รองชนะเลิศ
- 2539 - ไทยลีก - อันดับที่ 4 ในฤดูกาลปกติ (รองชนะเลิศในการแข่งขัน เพลย์ออฟ)
- 2540 - ไทยลีก - อันดับที่ 7
- 2541 - ไทยลีก - อันดับที่ 11
- 2542 - ไทยลีก - อันดับที่ 9
- 2543 - ไทยลีก - อันดับที่ 4
- 2544/45 - ไทยลีก - อันดับที่ 12 (ตกชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 1)
- 2550 - ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 3
- 2551 - ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 9
- 2552 - ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 8
- 2553 - ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 14 (เพลย์ออฟ รอดการตกชั้น)
- 2554 - ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 17 (ตกชั้นไปเล่นในลีกภูมิภาค)
- 2555 - ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ - อันดับที่ 3
- 2556 - ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ - อันดับที่ 10
- 2557 - ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ - อันดับที่ 7
- 2558 - ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ - อันดับที่ 13 (พักทีม)
อ้างอิง
แก้- ↑ สโมสร อาร์แบค เอฟซี - สยามกีฬา
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "เรื่องเล่าของสโมสรที่หายไป : 'ตลาดหลักทรัพย์' ต้นตำรับเจ้าบุญทุ่มรายแรกของไทย-FourFourTwo Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-12-31.
- ↑ อธิบายทีมในเชี่ยงใหม่ให้ผมฟังหน่อยครับ-ไทยแลนด์สู้สู้[ลิงก์เสีย]
- ↑ อาร์แบคจับมือเทโรฯทุ่มงบสู้ด.2-สยามกีฬา
- ↑ อาร์แบคจับมือราชบุรี แถลงข่าวพันธมิตรส่งยอดดาวรุ่งลุยด.2-SMMSPORT.com[ลิงก์เสีย]
- ↑ ช็อกทีมดังเมืองกรุง"อาร์แบค"พักทีม1ปี-สยามกีฬา