จงโฮย (ค.ศ. 225 – 3 มีนาคม ค.ศ. 264)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จง ฮุ่ย (จีน: 鍾會; พินอิน: Zhōng Huì) ชื่อรอง ชื่อจี้ (จีน: 士季; พินอิน: Shìjì) เป็นนักอักษรวิจิตร นักเขียนความเรียง ขุนพล และขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน จงโฮยเป็นบุตรชายคนเล็กของจาง ชางผู (張昌蒲) ที่เกิดกับจงฮิวผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) ในราชสำนักวุยก๊ก จงโฮยเป็นที่รู้จักในเรื่องความรอบรู้และเฉลียวฉลาดตั้งแต่วัยเยาว์ จงโฮยขึ้นมาโดดเด่นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 250 เมื่อจงโฮยได้เป็นผู้ช่วยคนสนิทของสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และผู้ปกครองโดยพฤตินัยของวุยก๊ก จงโฮยแนะนำสุมาเจียวถึงวิธีการปราบกบฏสามครั้งในฉิวฉุนตั้งแต่ปี ค.ศ. 257 ถึง ค.ศ. 258 และได้รับความนับถืออย่างสูงจากสุมาเจียว ด้วยความช่วยเหลือของสุมาเจียวทำให้จงโฮยได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของราชสำนักวุยก๊ก

จงโฮย (จง ฮุ่ย)
鍾會
ภาพวาดจงโฮยจากนวนิยายภาพสามก๊ก (ค.ศ. 1957)
เสนาบดีมหาไทย (司徒 ซือถู)
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 264 – 3 มีนาคม ค.ศ. 264
กษัตริย์โจฮวน
ก่อนหน้าเจิ้ง ชง
ถัดไปโฮเจ้ง
ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก
(鎮西將軍 เจิ้นซีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 264
กษัตริย์โจฮวน
นายกองพันผู้กำกับมณฑลราชธานี
(司隷校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 258–263
กษัตริย์โจมอ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 225[a]
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 264 (39 ปี)[a]
นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
บุตรจง อี้ (หลานชาย, บุตรชายบุญธรรม)
บุพการี
ญาติจง ยฺวี่ (พี่ชายต่างมารดา)
จง เช่า (พี่ชายต่างมารดา)
ซุนโจย (หลานชาย)
อาชีพนักอักษรวิจิตร, นักเขียนความเรียง, ขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองชื่อจี้ (士季)
บรรดาศักดิ์โหวระดับอำเภอ (縣侯 เซี่ยนโหว)
ภาพวาดจงโฮยในยุคราชวงศ์ชิง

ในปี ค.ศ. 263 ราชสำนักวุยก๊กออกคำสั่งให้จงโฮย เตงงาย และจูกัดสูนำทัพแยกกัน���ข้าโจมตีและพิชิตจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก ระหว่างและหลังการทัพกับจ๊กก๊ก จงโฮยใส่ร่ายจูกัดสูและเตงงายในข้อหาที่ขี้ขลาดในการรบสำหรับจูกัดสู และข้อหากบฏสำหรับเตงงาย แล้วเข้ากุมอำนาจบัญชากำลังทหารของทั้งสอง หลังจ๊กก๊กยอมจำนนต่อวุยก๊กในปี ค.ศ. 263 จงโฮยก็มีอำนาจเต็มในการบัญชาการทัพวุยก๊กทั้งหมดที่อยู่ในอาณาเขตของจ๊กก๊กเดิม ในปี ค.ศ. 264 จงโฮยเริ่มก่อกบฏต่อต้านสุมาเจียว โดยได้รับการหนุนหลังจากเกียงอุยอดีตขุนพลของจ๊กก๊ก แต่การก่อกบฏล้มเหลวเพราะแผนการของจงโฮยที่จะกวาดล้างนายทหารหลายคนของวุยก๊ก (เพราะจงโฮยระแวงว่านายทหารเหล่านี้จะไม่สนับสนุนตน) รั่วไหล เหล่านายทหารหลบหนีการควบคุมตัว แล้วรวบรวมกลุ่มทหารของพวกตนก่อการต่อต้านจงโฮย สังหารได้ทั้งจงโฮยและเกียงอุยในที่สุด

ประวัติช่วงต้นและการรับราชการ

แก้

บ้านเกิดบรรพบุรุษของจงโฮยคือในอำเภอฉางเช่อ (長社縣 ฉางเช่อเซี่ยน) เมืองเองฉวน (潁川郡 อิ่งชฺวานจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของนครฉางเก่อ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน จงโฮยเป็นบุตรชายคนเล็กของจงฮิวผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ผู่) ในราชสำนักวุยก๊ก จงโฮยในวัยเยาว์มีชื่อเสียงในเรื่องความรอบรู้และฉลาดหลักแหลม[สามก๊กจี่ 3] มารดาของจงโฮยคือจาง ชางผู (張昌蒲) เป็นที่รู้จักในเรื่องความเข้มงวดต่อบุตรชายของตน และเรื่องการมีบทบาทสำคัญในการศึกษาในช่วงต้นของบุตรชาย

เจียวเจ้ขุนนางวุยก๊กเขียนในงานเขียนหนึ่งของตนว่าเราสามารถบอกบุคลิกลักษณะของบุคคลได้โดยการสังเกตรูม่านตาของบุคคลนั้น ๆ เมื่อจงโฮยอายุ 4 ปี จงฮิวผู้บิดาส่งจงโฮยไปพบเจียวเจ้ เจียวเจ้สังเกตได้ว่าเด็กชายจงโฮยไม่ธรรมดา เมื่อจงโฮยเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ก็มีชื่อเสียงในเรื่องการทำงานหนัก อ่านหนังสือมาก และเชี่ยวชาญศิลปะหลายประเภท ในช่วงศักราชเจิ้งฉื่อ (正始; ค.ศ. 240–249) ในรัชสมัยของโจฮอง จงโฮยรับราชการเป็นเจ้าพนักงานห้องสมุดหลวง (秘書郎 มี่ชูหลาง) และภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพนักงานสำนักราชเลขาธิการราชวังและราชเลขาธิการ (尚書中書侍郎 ช่างชูจงชูชื่อหลาง) จงโฮยได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์กวนไล่เหา (爵關內 กวานเน่ย์โหว) เมื่อโจมอขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 254[สามก๊กจี่ 4]

จงโฮยศึกตำราอี้จิง หลังการเสียชีวิตของจงโฮย มีการค้นพบตำรา 20 เล่มชื่อว่า เต้าลุ่น (道論) ในบ้านของจงโฮย ตำรานี้เชื้อว่าเขียนโดยจงโฮย มีเนื้อหาที่อภิปรายหลักปรัชญาทั้งนิตินิยมและตรรกนิยม แม้ว่าชื่อตำราจะบ่งบอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับลัทธิเต๋า (道 เต้า) ก็ตาม เมื่อจงโฮยเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ชื่อเสียงของจงโฮยก็ทัดเทยมกับนักปรัชญาหวาง ปี้ (王弼) ที่มีอายุไล่เลี่ยกัน[สามก๊กจี่ 5]

ได้รับความสนใจจากสุมาสู

แก้

ชื่อ-ยฺหวี่ (世語) บันทึกเหตุการณ์ที่จงโฮยได้รับความสนใจจากสุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก สุมาสูสั่งให้งีสง (虞松 ยฺหวี ซง) หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (中書令 ช่างชูลิ่ง) ให้ร่างฎีกา สุมาสูยังไม่พอใจหลังอ่านร่างของงีสงและสั่งให้งีสงเขียนใหม่ งีสงคิดไม่ออกว่าจะเขียนฎีกาให้ดีขึ้นอย่างไร ขบคิดแล้วขบคิดอีกจนรู้สึกเศร้าหมอง จงโฮยเห็นว่างีสงดูกังวลจึงเสนอตัวช่วยเหลือและเปลี่ยนคำ 5 คำในฎีกา งีสงรู้สึกยินดีหลังดูการแก้ไขของจงโฮยจึงเสนอร่างที่แก้ไขแล้วนี้ให้กับสุมาสูในภายหลัง หลังสุมาสูอ่านร่างก็ถามงีสงว่า "ท่านไม่ใช่ผู้แก้ไขส่วนเหล่านี้ ใครเป็นผู้แก้ไข" งีสงตอบว่า "เป็นจงโฮย ข้าพเจ้าอยากแนะนำเขาให้นายท่าน บัดนี้เมื่อท่านถามมา ข้าก็จะไม่เก็บเขาไว้กับตัวอีก" สุมาสูกล่าวว่า "เขาสามารถรับความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงกว่านี้ได้ จงเรียกตัวเขามา" เมื่องีสงกลับไปบอกจงโฮยว่าสุมาสูต้องการพบตัว จงโฮยถามเรื่องความสามารถของสุมาสู งีสงตอบว่า "ท่านผู้นั้นรอบรู้ ฉลาดหลักแหลม และมีความสามารถหลากหลาย" จงโฮยอยู่กับบ้านเป็นเวลาประมาณสิบวัน ในช่วงเวลานั้นจงโฮยปฏิเสธที่จะรับแขกใด ๆ และคิดอย่างรอบคอบว่าตนจะพูดอะไรกับสุมาสู ในวันที่จงโฮยเข้าพบสุมาสู จงโฮยเข้ามาในจวนของสุมาสูแต่เช้าตรู่และออกมาในเวลาเที่ยงคืน หลังจงโฮยจากไป สุมาสูกล่าวว่า "เขามีความสามารถยอดเยี่ยมโดยแท้ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ปกครองได้"[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 1]

เผย์ ซงจือตั้งข้อสงสัยต่อเรื่องราวในชื่อ-ยฺหวี่ เห็นว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่งีสงจะต้องแนะนำจงโฮยให้กับสุมาสู เพราะสุมาสูคงต้องเคยได้ยินชื่อจงโฮยมาก่อนด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ประการแรก จงโฮยมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนาง ประการที่ 2 จงโฮยมีชื่อเสียงอยู่แล้วตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์ ประการที่ 3 จงโฮยเริ่มรับราชการกับวุยก๊กทันทีที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เผย์ ซงจือยังเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่ใครก็ตามที่เพียงแค่การอ่านงานเขียนชิ้นหนึ่งจะสามารถบอกได้ว่าบุคคลที่แก้ไขคำเพียงไม่กี่คำในงานเขียนนี้จะมีความสามารถที่จะรับความผิดชอบที่ใหญ่หลวงกว่านี้ได้[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 2]

บทบาทในการปราบกบฏที่ฉิวฉุน

แก้

การขึ้นสู่อำนาจของสุมาเจียว

แก้

ในปี ค.ศ. 255[1] ขุนพลวุยก๊กบู๊ขิวเขียมและบุนขิมเริ่มก่อกบฏในอำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) สุมาสูนำทัพหลวงวุยก๊กไปปราบกบฏ โดยจงโฮยติดตามสุมาสูไปในฐานะนายทหารผู้ช่วย สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูนำอีกทัพหนึ่งตามมาสนับสนุน สุมาสูเสียชีวิตในฮูโต๋ (許昌 สฺวี่ชาง; ปัจจุบันคือนครสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน) หลังปราบกบฏสำเร็จ สุมาเจียวได้สืบทอดอำนาจของสุมาสูและได้บัญชาการกำลังทหารของสุมาสู เวลานั้นโจมอจักรพรรดิวุยก๊กมีรับสั่งให้สุมาเจียวยังคงอยู่ที่ฮูโต๋และให้เปาต้านนำทัพกลับมายังนครหลวงลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) จงโฮยร่วมกับเปาต้านโน้มน้าวให้สุมาเจียวไม่ทำตามรับสั่งของจักรพรรดิและให้นำกำลังพลไปประจำการอยู่ทางใต้ของแม่น้ำลกซุย (雒水 ลั่วฉุ่ย) ใกล้กับนครลกเอี๋ยง สุมาเจียวขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใหม่และยังคงกุมอำนาจราชสำนักวุยก๊กเหมือนอย่างที่พี่ชายทำ จงโฮยได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง) และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ตงอู่ถิงโหว" (東武亭侯) มีศักดินา 300 ครัวเรือน[สามก๊กจี่ 6]

ช่วยเหลือในการปราบกบฏจูกัดเอี๋ยน

แก้

ในปี ค.ศ. 257 ราชสำนักวุยก๊กเรียกตัวขุนพลจูกัดเอี๋ยนที่ประจำการอยู่ที่อำเภอฉิวฉุนให้กลับมาลกเอี๋ยงเพื่อมารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) เวลานั้นจงโฮยกำลังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์เพราะมารดาเพิ่งเสียชีวิต แต่จงโฮยก็หยุดไว้ทุกข์ทันทีและไปเตือนสุมาเจียวว่าตนคาดการณ์ว่าจูกัดเอี๋ยนจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง สุมาเจียวเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นการยุ่งยากเพราะได้ส่งไปแล้ว จึงไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ภายหลังจูกัดเอี๋ยนเริ่มก่อกบฏที่ฉิวฉุน จงโฮยติดตามสุมาเจียวที่นำทัพหลวงไปโจมตีกบฏ[สามก๊กจี่ 7]

เมื่อจูกัดเอี๋ยนก่อกบฏในฉิวฉุน ซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กสั่งให้ขุนพลจวนเต๊ก (全懌 เฉฺวียน อี้) และคนอื่น ๆ ให้นำทัพง่อก๊กไปสนับสนุนจูกัดเอี๋ยน ในช่วงเวลานั้น หลานอาของจวนเต๊กคือจวนฮุย (全禕 เฉฺวียน อี) และเฉฺวียน อี๋ (全儀) อยู่ที่นครหลวงเกี๋ยนเงียบ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) เกิดทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัว จวนฮุยและเฉฺวียน อี๋จึงพามารดาและผู้ติดตามแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก จงโฮยทราบข่าวเรื่องการแปรพักตร์ของของทั้งสอง จึงแนะนำสุมาเจียวให้บอกจวนฮุยและเฉฺวียน อี๋ให้เรียนจดหมายลับไปถึงจวนเต๊กและลวงว่าาผู้คนในง่อก๊กไม่พอใจที่จวนเต๊กและคนอื่น ๆ ไม่สามารถเอาชนะทหารข้าศึกที่กำลังปิดล้อมฉิวฉุนได้ และคิดจะใช้เรื่องนี้ในการสังหารสมาชิกในครอบครัวของจวนเต๊กและคนอื่น ๆ แล้วจึงยอมจำนนต่อวุยก๊ก จวนเต๊กได้รับจดหมายก็รู้สึกกลัวจึงนำกำลังทหารของตนไปยอมตำนนต่อสุมาเจียว กลุ่มกบฏของจูกัดเอี๋ยนที่ขาดกำลังสนับสนุนจากง่อก๊กจึงถูกทัพสุมาเจียวตีแตกพ่ายและอำเภอฉิวฉุนก็ถูกยึดคืนกลับมาเป็นของวุยก๊ก จงโฮยได้รับการยกย่องจากสุมาเจียวมากขึ้นจากความสำเร็จของแผนการของจงโฮย ผู้คนในช่วงเวลานั้นเปรียบเทียบจงโฮยกับเตียงเหลียง (張良 จาง เหลียง) นักยุทธศาสตร์ผู้รับใช้จักรพรรดิฮั่นโกโจ (漢高祖 ฮั่นเกาจู่) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น[สามก๊กจี่ 8]

หลังจงโฮยกลับมาลกเอี๋ยง ราชสำนักวุยก๊กเสนอตำแหน่งให้จงโฮยเป็นเสนาบดีกรมราชรถ (太僕 ไท่ผู) แต่จงโฮยปฏิเสธข้อเสนอและเลือกจะเป็นเสมียนในสำนักของสุมาเจียว จงโฮยเป็นหนึ่งในผู้ช่วยคนสนิทของสุมาเจียว ภายหลังราชสำนักต้องการแต่งตั้งให้จงโฮยมีบรรดาศักดิ์เป็น "เฉินโหว" (陳侯) เพื่อเป็นเกียรติแก่จงโฮยจากความดีความชอบในการปราบกบฏจูกัดเอี๋ยน แต่จงโฮยปฏิเสธการรับบรรดาศักดิ์ ราชสำนักเคารพการตัดสินใจของจงโฮยและแต่งตั้งให้เป็นนายกองพันผู้กำกับมณฑลราชธานี (司隷校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์) แทน จงโฮยยังคงมีส่วนร่วมอย่างมากในทางการเมืองในราชสำนักแม้ว่าตัวจงโฮยเองจะไม่ได้รับราชการในราชสำนักก็ตาม จงโฮยยังมีบทบาทสำคัญในการยุยงให้สุมาเจียวสั่งประหารชีวิตจี คาง (嵇康)[สามก๊กจี่ 9]

การพิชิตจ๊กก๊ก

แก้

การวางกลยุทธ์และการเปิดศึก

แก้

ระหว่างปี ค.ศ. 247 และ ค.ศ. 262 เกียงอุยขุนพลของจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กนำทัพบุกโจมตีชายแดนด้านตะวันตกของวุยก๊กหลายครั้ง แต่ไม่สามารถยึดครองดินแดนได้มากนัก สุมาเจียวเห็นว่าจ๊กก๊กอ่อนแอและขาดแคลนทรัพยากรหลังการทำศึกเหล่านี้ ดังนั้นสุมาเจียวจึงต้องการจะทำการบุกครั้งใหญ่เพื่อพิชิตจ๊กก๊ก ในบรรดาคนที่สุมาเจียวปรึกษา มีเพียงจงโฮยที่เห็นด้วยว่าจ๊กก๊กสามารถพิชิตได้ จงโฮยช่วยเหลือสุมาเจียวในการกำหนดกลยุทธ์ในการพิชิตจ๊กก๊ก[สามก๊กจี่ 10]

ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 262–263 จงโฮยได้รบการแต่งตั้งเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก (鎮西將軍 เจิ้นซีเจียงจฺวิน) และได้รับอาญาสิทธิ์ในการจัดการราชการทหารในภูมิภาคกวนต๋ง (關中 กวานจง) สุมาเจียวยังได้ระดมกำลังทหารจากหลายมณฑลในวุยก๊ก และสั่งให้ต๋องจูกำกับดูแลการสร้างเรือรบในการเตรียมความพร้อมเพื่อการบุกง่อก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊ก[สามก๊กจี่ 11]

��นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 263 ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการให้เตงงายและจูกัดสูนำกำลังพล 30,000 นายเข้าโจมตีจ๊กก๊กจากสองทิศทาง โดยทัพของเตงงายจะผ่านกานซง (甘松; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ อำเภอเตี๋ยปู้ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอโจวชฺวี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และเข้าโจมตีกำลังทหารของเกียงอุย ทัพของจูกัดสูจะผ่านสะพานอู่เจีย (武街橋 อู่เจียเฉียว; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และสกัดทางถอยของเกียงอุย จงโฮยนำอีกทัพกำลังพล 100,000 นาย เข้าอาณาเขตของจ๊กก๊กผ่านหุบเขาเสียดก๊ก (斜谷 เสียกู่; ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเหมย์ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และหุบเขาล่อก๊ก (駱谷 ลั่วกู่; ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโจวจื้อ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)[สามก๊กจี่ 12]

จงโฮยสั่งให้เคาหงี (許儀 สฺวี อี๋) บุตรชายของเคาทูขุนพลผ่านศึกของวุยก๊ก ให้กำกับดูแลการก่อสร้างถนนที่นำไปสู่จ๊กก๊ก แต่เมื่อจงโฮยเห็นว่าถนนนั้นสร้างไม่ดี จงโฮยก็ไม่สนใจภูมิหลังของเคาหงีและสั่งให้ประหารชีวิตเคาหงีฐานที่ทำภารกิจล้มเหลว เหล่าทหารวุยก๊กต่างตกตะลึงที่จงโฮยกล้ากระทำเช่นนี้[สามก๊กจี่ 13]

ปะทะกับทัพจ๊กก๊ก

แก้

ราชสำนักจ๊กก๊กตอบสนองต่อการบุกของวุยก๊กโดยสั่งการให้ทัพต่าง ๆ งดการเข้าปะทะกับข้าศึกและล่าถอยไปยังฮั่นเสีย (漢城 ฮั่นเฉิง; ทางตะวันออกของอำเภอเหมี่ยน มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และก๊กเสีย (樂城 เล่อเฉิง; ทางตะวันออกของอำเภอเฉิงกู้ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และรักษาที่มั่นไว้ หลิว ชิน (劉欽) เจ้าเมืองของเมืองเว่ย์ซิง (魏興郡 เว่ย์ซิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครอานคาง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) ในอาณาเขตของวุยก๊กนำกำลังทหารของตนผ่านหุบเข้าจูงอก๊ก (子午谷 จื๋ออู๋กู่; ทางตะวันออกของอำเภอหยาง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) ไปยังเมืองฮันต๋งในอาณาเขตของจ๊กก๊ก นายทหารของจ๊กก๊กได้แก่อองหำ (王含 หวาง หาน) และเจียวปิน (蔣斌 เจี่ยง ปิน) ป้องกันฮั่นเสียและก๊กเสียตามลำดับด้วยกำลังทหารคนละ 5,000 นาย จงโฮยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคือซุนไค (荀愷 สฺวิน ข่าย) และลิจู (李輔 หลี ฝู่) นำกำลังทหารคนละ 10,000 นายเข้าโจมตีฮั่นเสียและก๊กเสีย ส่วนตัวจงโฮยนำทัพหลักมุ่งไปยังด่านเองเปงก๋วน (陽平關 หยางผิงกวาน) หรือหยางอานโข่ว (陽安口; อยู่ในอำเภอหนิงเฉียง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) ระหว่างทาง จงโฮยส่งคนเป็นตัวแทนตนไปคำนับหลุมศพของจูกัดเหลียง (ที่เชิงเขาของเขาเตงกุนสัน อยู่ในอำเภอเหมี่ยน มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) เมื่อจงโฮยมาถึงด่านเองเปงก๋วน ได้สั่งให้เฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) นำทหารเข้าโจมตีด่าน เฮาเหลกยึดด่านและเสบียงที่ทัพจ๊กก๊กเก็บไว้ที่นั่นได้สำเร็จ [สามก๊กจี่ 14]

เกียงอุยล่าถอยจากท่าจงไปยังอิมเป๋ง (陰平 อินผิง; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ที่ซึ่งเกียงอุยรวบรวมกำลังพลและเตรียมการจะไปหนุนช่วยด่านเองเปงก๋วน แต่เกียงอุยล่าถอยไปยังป้อมปราการที่ไป่ฉุ่ย (白水; ในอำเภอชิงชฺวาน มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) หลังได้ยินว่าด่านเองเปงก๋วนถูกทัพวุยก๊กยึดได้แล้ว เกียงอุยนัดชุมนุมพลกับขุนพลจ๊กก๊กอันได้แก่เตียวเอ๊ก, เลียวฮัว และคนอื่น ๆ จากนั้นจึงเคลื่อนกำลังไปป้องกันจุดยุทธศาสตร์ที่ด่านเกียมโก๊ะ (劒閣 เจี้ยนเก๋อ; รู้จักในอีกชื่อว่าด่านเจี้ยนเหมิน อยู่ในอำเภอเจี้ยนเก๋อ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ซึ่งด่านภูเขามีป้อมปราการ จงโฮยเขียนจดหมายขนาดยาวถึงทัพจ๊กก๊ก เกลี้ยกล่อมให้ทัพจ๊กก๊กเลิกต่อต้านและยอมจำนนต่อวุยก๊ก[สามก๊กจี่ 15]

เตงงายไล่ตามเกียงอุยมาถึงอิมเป๋ง ที่อิมเป๋งเตงงายจัดกลุ่มทหารฝีมือดีจากในกำลังทหารของตนและใช้ทางลัดไปยังอิวกั๋ง (江由 เจียงโหยว; ทางเหนือของนครเจียงโหยว มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ผ่านหมู่บ้านเต๊กหยง (德陽亭 เต๋อหยางถิง; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเจี้ยนเก๋อ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) และเข้าใกล้กิมก๊ก (綿竹 เหมียนจู๋) ซึ่งอยู่ใกล้กับเซงโต๋ (成都 เฉิงตู) นครหลวงของจ๊กก๊ก เตงงายขอให้จูกัดสูเข้าร่วมกันตนในแผนการเดินทัพนี้ จูกัดสูได้รับคำสั่งให้สกัดการรุกคืบของเกียงอุยและไม่ได้รับอนุญาตให้ร่วมในภารกิจของเตงงาย เตงงายจึงนำทัพของตนไปยังอำเภอไป๋ฉุ่ยเพื่อนัดพบกับจงโฮย จงโฮยสั่งให้เถียน จาง (田章) และคนอื่น ๆ ให้นำทัพเลี่ยงไปทางตะวันตกของเกียมโก๊ะและเข้าใกล้อิวกั๋ง ระหว่างทางได้ปะทะเข้ากับกองซุ่มของจ๊กก๊ก 3 กอง จึงเข้ารบเอาชนะได้และทำลายค่ายของกองซุ่มเหล่านี้ด้วย เตงงายให้เถียน จางนำกองหน้าและแผ้วถางเส้นทาง[สามก๊กจี่ 16]

การล่มสลายของจ๊กก๊ก

แก้

เมื่อจงโฮยและจูกัดสูยกมาใกล้เกียมโก๊ะ จงโฮยต้องการยึดอำนาจบัญชาการกำลังทหารของจูกัดสู จึงลอบรายงานราชสำนักวุยก๊กว่าจูกัดสูแสดงความขี้ขลาดในการรบ เป็นผลทำให้จูกัดสูถูกปลดจากอำนาจบัญชาการทหารและถูกส่งกลับไปลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก ส่วนจงโฮยได้บัญชาการกำลังทหารของจูกัดสู จากนั้นจงโฮยจึงสั่งให้เข้าโจมตีเกียมโก๊ะแต่ยึดด่านเกียมโก๊ะไม่สำเร็จเพราะทัพจ๊กก๊กตั้งรับอย่างเข้มแข็ง จงโฮยจึงล่าถอย[สามก๊กจี่ 17]

ในช่วงเวลาเดียวกัน เตงงายนำทหารมาถึงกิมก๊กและเอาชนะกำลังทหารของจ๊กก๊กที่นำโดยจูกัดเจี๋ยม ตัวจูกัดเจี๋ยมก็ถูกสังหารในที่รบ เมื่อเกียงอุยทราบข่าวการเสียชีวิตของจูกัดเจี๋ยมจึงนำทัพไปทางตะวันออกมุ่งไปยังเมืองปากุ๋น (巴郡 ปาจฺวิ้น; ปัจจุบันคือนครฉงชิ่ง) จงโฮยนำกำลังทหารไปยังอำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน; ปัจจุบันคือนครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวน) และสั่งให้เฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย), เตนซก (田續 เถียน ซฺวี่), บังโฮย (龐會 ผาง ฮุ่ย) และคนอื่น ๆ ให้นำกำลังทหารไล่ตามตีเกียงอุย ในเวลาเดียวกันนั้น เตงงายนำทหารมาถึงด้านนอกของนครเซงโต๋ เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กทรงยอมจำนนต่อเตงงายโดยไม่ต่อสู้ แล้วทรงมีรับสั่งถึงเกียงอุยให้ยอมจำนนต่อจงโฮย เกียงอุยเดินทางไปยังอำเภอโปยเสีย แล้วสั่งให้ทหารวางอาวุธและยอมจำนนต่อจงโฮย[สามก๊กจี่ 18]

หลังพิชิตจ๊กก๊กสำเร็จ จงโฮยเขียนฎีกาถึงราชสำนักวุยก๊กเพื่อรายงานความดีความชอบและเรียกร้องให้ราชสำนักฟื้นฟูความสงบในจ๊กก๊กด้วยการปกครองอย่างมีเมตตากรุณา จงโฮยยังออกคำสั่งเคร่งครัดที่ห้ามไม่ให้ทหารของตนปล้นและลักขโมยในดินแดนของจ๊กก๊ก และปฏิบัติต่ออดีตข้าราชการของจ๊กก๊กอย่างให้เกียรติ จงโฮยเข้ากันได้ดีกับเกียงอุย[สามก๊กจี่ 19]

ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 263-264 ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการยกย่องความดีความชอบของจงโฮยในการพิชิตจ๊กก๊ก จงโฮยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู) ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากโหวระดับหมู่บ้าน (亭侯 ถิงโหว) เป็นโหวระดับอำเภอ (縣侯 เซี่ยนโหว) ได้รับศักดินาเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ครัวเรือน บุตรชายบุญธรรม 2 คนของจงโฮยต่างก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นโหวระดับหมู่บ้านและมีศักดินาคนละ 1,000 ครัวเรือน[สามก๊กจี่ 20]

ความล่มจมและการเสียชีวิต

แก้

จับกุมเตงงาย

แก้
 
ภาพตัวละครในนวนิยายสามก๊ก จากตำนานหนังสือสามก๊กพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จากซ้ายไปขวา: เตงงาย, สุมาเจียว, สุมาเอี๋ยน, สุมาอี้, สุมาสู, จงโฮย

จงโฮยมีเจตนาที่จะก่อกบฏต่อวุยก๊กมาช้านาน เมื่อเห็นว่าเตงงายมีพฤติกรรมเผด็จการแม้ว่าอำนาจบัญชาการทหารของเตงงายมาจากการให้อำนาจโดยราชสำนักวุยก๊ก จงโฮยจึงลอบรายงานไปยังราชสำนักว่าเตงงายวางแผนจะก่อกบฏ จงโฮยมีทักษะในการเลียนลายมือผู้อื่น หลังจงโฮยสกัดรายงานที่เตงงายเขียนถึงราชสำนักวุยก๊กได้ ก็แก้ไขรายงานให้มีสำนวนภาษาที่ดูเย่อหยิ่งและเรียกร้องมากเกินไป ในเวลาเดียวกัน จงโฮยยังทำลายจดหมายจากสุมาเจียวที่ส่งถึงเตงงาย[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 3] ราชสำนักวุยก๊กหลงตามอุบายของจงโฮยจึงมีคำสั่งให้จับกุมเตงงายและส่งตัวกลับนครหลวงลกเอี๋ยงโดยใช้รถนักโทษ สุมาเจียวกังวลว่าเตงงายจะไม่ยอมถูกจับกุมจึงสั่งให้จงโฮยและอุยก๋วนไปจับกุมเตงงาย โดยกำลังทหารของจงโฮยยกตามหลังอุยก๋วน อุยก๋วนไปถึงค่ายของเตงงายในเซงโต๋และใช้หนังสือมอบอำนาจของสุมาเจียวในการสั่งให้ทหารของเตงงายวางอาวุธ เตงงายถูกจับกุมและถูกนำตัวไปในรถนักโทษ[สามก๊กจี่ 21]

วางแผน

แก้

จงโฮยรู้สึกระแวงเตงงาย ดังนั้นหลังการจับกุมเตงงาย จงโฮยจึงเข้าบัญชาการทัพวุยก๊กในอาณาเขตของอดีตจ๊กก๊กในทันที จงโฮยเกิดเหลิงอำนาจหลังเห็นว่าตนกุมอำนาจในมือไว้มาก จึงตัดสินใจก่อกบฏต่อวุยก๊ก จงโฮยคิดกลยุทธ์ในการยึดลกเอี๋ยงนครหลวงวุยก๊ก ตามลำดับดังนี้:

  1. เกียงอุยจะนำทัพหน้าออกจากหุบเขาเสียดก๊ก (斜谷 เสียกู่) เพื่อโจมตีนครเตียงอั๋น (長安 ฉางอาน) จงโฮยจะนำทัพหลักตามมาสนับสนุน
  2. หลังยึดได้เตียงอั๋น จะแบ่งทัพออกเป็น 2 กองคือกองทหารราบและกองทหารม้า กองทหารราบจะล่องเรือไปตามแม่น้ำอุยโห (渭河 เว่ย์เหอ) และแม่น้ำฮองโห (黃河 หฺวางเหอ) ไปยังท่าข้ามเมิ่งจิน (孟津) ใกล้กับลกเอี๋ยง ส่วนกองทหารม้าจะยกมุ่งตรงไปทางลกเอี๋ยงทางบก จงโฮยประมาณการว่าการยกพลจะใช้เวลา 5 วัน
  3. กองทหารราบและกองทหารม้าจะสมทบกันนอกลกเอี๋ยงและเข้าโจมตีนครลกเอี๋ยงด้วยกัน[สามก๊กจี่ 22]

จงโฮยได้รับจดหมายจากสุมาเจียวความว่า "ข้าเกรงว่าเตงงายอาจไม่ยอมถูกจับกุม ข้าจึงสั่งให้กาอุ้นนำทหารราบและทหารม้า 10,000 นายเข้าหุบเขาเสียดก๊กและประจำการอยู่ที่ก๊กเสีย ข้าจะนำพล 100,000 นายไปประจำการอยู่ที่เตียงอั๋น เราจะได้พบกันในไม่ช้านี้" หลังจากอ่านจดหมาย จงโฮยก็ตกตะลึงและบอกผู้ช่วยคนสนิทว่า "เมื่อนายท่านนั้นสั่งให้ข้าจับกุมเตงงาย ก็ทราบดีว่าข้าสามารถจะทำภารกิจได้สำเร็จโดยลำพังตน แต่บัดนี้นายท่านนำกำลังพลมาที่นี่ก็คงกำลังสงสัยข้าเป็นแน่ เราควรกระทำการอย่างรวดเร็ว หากทำสำเร็จแล้วแผ่นดินก็จะเป็นของเรา แต่หากล้มเหลว เราสามารถถอยกลับไปที่จ๊กฮั่น และทำอย่างที่เล่าปี่เคยทำมาก่อน เป็นที่รู้กันดีว่าแผนการของข้าไม่เคยล้มเหลวเลยนับแต่ครั้งที่มีกบฏในฉิวฉุน ข้าจะพอใจกับเกียรติเพียงเท่านี้ได้อย่างไร"[สามก๊กจี่ 23]

การก่อการกำเริบ

แก้

จงโฮยมาถึงเซงโต๋ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 264 วันรุ่งขึ้น จงโฮยเรียกข้าราชการระดับสูงและอดีตข้าราชการของจ๊กก๊กทุกคนมาที่ราชสำนักจ๊กก๊กเดิม อ้างว่าเพื่อจัดพิธีรำลึกถึงกวยทายเฮาที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ ในระหว่างพิธี จงโฮยแสดงพระราชเสาวนีย์ที่อ้างว่ากวยทายเฮาทรงออกก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ ในพระราชเสาวนีย์ระบุว่ากวยทายเฮาต้องการให้ผู้จงภักดีต่อวุยก๊กทุกคนลุกขึ้นต่อต้านสุมาเจียวและโค่นสุมาเจียวจากอำนาจ พระราชเสาวนีย์นั้นแท้จริงเป็นของปลอมที่จงโฮยเขียนขึ้นมา จงโฮยขอความคิดเห็นจากเหล่าข้าราชการ บอกให้ลงนามหากเห็นด้วยที่จะปฏิบัติตามพระประสงค์ก่อนสิ้นพระชนม์ของกวยทายเฮา จากนั้นจึงสั่งให้ผู้ช่วยคนสนิทเข้าบัญชาการหน่วยทหารต่าง ๆ แล้วจึงสั่งให้กักบริเวณข้าราชการทั้งหมดในสำนักต่าง ๆ และปิดประตูแต่ละสำนัก รวมถึงสั่งให้ปิดประตูเมืองและวางกำลังเวรยามอย่างแน่นหนา[สามก๊กจี่ 24]

คูเกี๋ยน (丘建 ชิว เจี้ยน) นายทหารใต้บังคับบัญชาของจงโฮยเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของเฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) เฮาเหลกแนะนำคูเกี๋ยนให้กับสุมาเจียว จงโฮยชื่นชมและนับถือคูเกี๋ยนอย่างสูงและขอให้ย้ายคูเกี๋ยนมาอยู่ในสังกัดของตน คูเกี๋ยนเห็นใจเฮาเหลกที่ถูกกักบริเวณเพียงลำพังในห้อง จึงไปหาจงโฮยและกล่าวว่าข้าราชการที่ถูกกักบริเวณแต่ละคนควรมีข้ารับใช้ไว้ดูแลอำนวยความสะดวก จงโฮยเห็นด้วย เฮาเหลกลวงข้ารับใช้ของตนและเขียนจดหมายไปถึงเหล่าบุตรชาย ในจดหมายกล่าวว่าตนได้ยินมาจากคูเกี๋ยนว่าจงโฮยกำลังวางแผนจะกวาดล้างข้าราชการที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของตนโดยการลวงให้มาติดกับและสังหาร ข่าวลือแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเหมือนไฟป่าในหมู่ข้าราชการที่ถูกกักบริเวณ เมื่อคนของจงโฮยได้ข่าวเกี่ยวกับข่าวลือนี้ ก็เสนอให้จงโฮยประหารชีวิตข้าราชการทุกคนที่มียศตั้งแต่แม่ทัพทหารม้ารักษาค่ายใหญ่ (牙門騎督 หยาเหมินฉีตู) ขึ้นไป จงโฮยตัดสินใจไม่ได้ว่าควรทำอย่างไร[สามก๊กจี่ 25]

เวลาประมาณเที่ยงวันของวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 เหล่าบุตรชายของเฮาเหลกและผู้ใต้บังคับบัญชาเริ่มตีกลอง เหล่าทหารก็ทำตาม จากนั้นเหล่าทหารก็ยกไปยังประตูเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบเพราะไม่มีคนนำ ในเวลานั้นเกียงอุยกำลังรวบรวมชุดเกราะและอาวุธจากจงโฮย ขณะนั้นพวกเขาก็ได้ยินเสียงโห่ร้อง��ละได้รับข่าวว่าเกิดเพลิงไหม้ ต่อมาไม่นานก็มีรายงานว่าทหารจำนวนมากมารวมตัวที่หน้าประตูเมือง จงโฮยประหลาดใจจึงถามเกียงอุยว่า "คนพวกนั้นก่อปัญหาขึ้นแล้ว เราควรทำอย่างไรดี" เกียงอุยตอบว่า "ฆ่าพวกเขาเสีย" จงโฮยจึงสั่งให้ทหารสังหารข้าราชการที่ยังถูกกักบริเวณในแต่ละสำนัก ข้าราชการบางคนนำเครื่องเรือนมาขัดประตูไว้ ทหารของจงโฮยกระแทกประตูแต่ไม่สามารถเปิดได้ ไม่นานหลังนั้น มีรายว่ามีคนใช้บันได้ปีนข้ามประตูเมืองและมีคนจุดไฟเผาอาคารต่าง ๆ เกิดความโกลาหลและลูกเกาทัณฑ์ถูกยิงออกไปทุกทิศทาง ข้าราชการที่ถูกบกักบริเวณหลบหนีจากการถูกจองจำได้แล้วรวมกลุ่มกับทหารของตนเข้าโจมตีจงโฮยและเกียงอุย จงโฮยและเกียงอุยต่อสู้กับทหารที่ก่อการกำเริบ สังหารได้ 5 หรือ 6 คน แต่ในที่สุดทั้งสองก็ถูกทหารรุมสังหาร จงโฮยเสียชีวิตขณะอายุ 40 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) มีคนเสียชีวิตหลายร้อยคนในการก่อการกำเริบครั้งนั้น [สามก๊กจี่ 26]

การคาดการณ์ของสุมาเจียว

แก้

ในตอนแรก เมื่อสุมาเจียวต้องการมอบหมายให้จงโฮยนำทัพวุยก๊กไปพิชิตจ๊กก๊ก เซียวค้า (邵悌 เช่า ที่) เตือนสุมาเจียวว่าจงโฮยอาจจะก่อกบฏต่อวุยก๊กเพราะจงโฮยบัญชาการทหารถึงหลายพันนาย อีกทั้งจงโฮยก็ยังไม่แต่งงานและไม่มีครอบครัวที่ต้องพะวง สุมาเจียวหัวเราะและกล่าวว่าตนเข้าใจความกังวลของเซียวค้าเป็นอย่างดี แต่เลือกที่จะตั้งให้จงโฮยเป็นผู้นำทัพวุยก๊กเพราะตนเชื่อในความสามารถของจงโฮยที่จะพิชิตจ๊กก๊ก สุมาเจียวยังคาดการณ์ว่าแม้ว่าจงโฮยจะก่อกบฏแต่จะไม่สำเร็จด้วยเหตุผล 2 ประการ ประการแรก ผู้คนในจ๊กก๊กจะไม่สนับสนุนจงโฮยเพราะพวกเขาจะหวาดกลัวไปแล้วหลังเห็นการล่มสลายของจ๊กก๊ก ประการที่สอง ทัพวุยก๊กจะไม่สนับสนุนจงโฮยเพราะพวกเขาเหนื่อยล้าไปแล้วและคิดถึงบ้านหลังจากการทำศึก[สามก๊กจี่ 27]

ต่อมาหลังจากจงโฮยลอบกล่าวโทษเตงงายในข้อหาวางแผนจะก่อกบฏ สุมาเจียวต้องนำทัพไปประจำการที่เตียงอั๋น เซียวค้าบอกสุมาเจียวว่าสุมาเจียวไม่จำเป็นต้องไปเตียงอั๋นเพราะจงโฮยมีความสามารถที่จะจับกุมเตงงายด้วยตนเองได้เพราะจงโฮยมีกำลังพลมากกว่าเตงงายถึง 5-6 เท่า สุมาเจียวตอบว่า "ท่านลืมที่ข้าพูดไว้ก่อนหน้านี้แล้วหรือ เหตุใดท่านจึงบอกข้าไม่ให้ไป (เตียงอั๋น) เล่า โปรดเก็บเรื่องที่เราพูดกันนี้ไว้เป็นความลับเถิด ข้าปฏิบัติต่อผู้คนด้วยความไว้วางใจและความเคารพ ตราบใดที่พวกเขายังคงภักดีต่อข้า ข้าก็จะไม่สงสัยพวกเขา เมื่อเร็ว ๆ นี้กาอุ้นบอกข้าว่า 'ท่านสงสัยจงโฮยหรือไม่' ข้าตอบว่า 'หากข้าส่งท่านไปปฏิบัติภารกิจในวันนี้ ท่านจะคิดว่าข้ากำลังสงสัยท่านหรือไม่' เขาตอบข้าไม่ได้ ทุกอย่างจะเรียบร้อยเมื่อข้าไปถึงเตียงอั๋น" เมื่อสุมาเจียวมาถึงเตียงอั๋น จงโฮยก็ถูกสังหารระหว่างการก่อการกำเริบไปแล้ว ตรงตามที่สุมาเจียวคาดการณ์ไว้[สามก๊กจี่ 28]

ครอบครัวและญาติ

แก้

บิดาของจงโฮยคือจงฮิว เป็นขุนนางและนักอักษรวิจิตรที่มีชื่อเสียงและดำรงตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) ในราชสำนักวุยก๊ก มารดาของจงโฮยคือจาง ชางผู (張昌蒲) เป็นอนุภรรยาคนหนึ่งของจงฮิว มีชื่อเสียงจากความประพฤติอันดีงาม สติปัญญา และบทบาทสำคัญในการศึกษาในช่วงต้นของบุตรชาย

พี่ชายต่างมารดาของจงโฮยคือจง ยฺวี่ (鍾毓) เสียชีวิตในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 263 จงโฮยไม่มีการตอบสนองใด ๆ ต่อการเสียชีวิตของพี่ชาย จง ยฺวี่มีบุตรชาย 4 คน ได้แก่ จง จฺวิ้น (鍾峻), จง ยง (鍾邕), จง อี้ (鍾毅) และจง ชาน (鍾辿) จง อี้ได้รับการเลี้ยงดูในฐานะบุตรชายบุญธรรมของจงโฮยเพราะจงโฮยเป็นโสดและไม่มีบุตรชาย จง ยงถูกสังหารพร้อมกับจงโฮยผู้อาระหว่างการก่อการกำเริบ และสมาชิกในครอบครัวของจง ยงก็ถูกประหารชีวิตไปด้วย หลังจงโฮยก่อกบฏแต่ล้มเหลว จง จฺวิ้น, จง อี้ และจง ชานก็พลอยติดร่างแห ถูกจับกุม และถูกตัดสินโทษประหารชีวิตเพราะเป็นญาติกับจงโฮย แต่สุมาเจียวพิจารณาว่าจงฮิวและจง ยฺวี่มีคุณความดีในการรับใช้วุยก๊ก จึงตัดสินใจปล่อยตัวเหล่าบุตรชายของจง ยฺวี่เพื่อรักษาเชื้อสายไว้ สุมาเจียวให้โจฮวนจักรพรรดิวุยก๊กออกพระราชโองการนิรโทษกรรมให้กับจง จฺวิ้นและจง ชาน รวมถึงคืนตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เดิมให้ทั้งสอง ส่วนจง อี้ยังคงต้องโทษประหารชีวิต[สามก๊กจี่ 29] เพราะจง อี้เป็นบุตรชายบุญธรรมของจงโฮยจึงไม่ได้รับอภัยโทษ

เชื่อกันว่าที่สุมาเจียวไว้ชีวิตจง จฺวิ้นและจง ชานเพราะจง ยฺวี่เคยเตือนสุมาเจียวว่าจงโฮยเป็นคนเจ้าเล่ห์และไม่ควรตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจมาก[สามก๊กจี่ 30] สุมาเจียวหัวเราะและชมจง ยฺวีที่แนะนำอย่างซื่อตรง และให้คำมั่นว่าตนจะไว้ชีวิตครอบครัวของจง ยฺวี่หากจงโฮยก่อกบฏขึ้นจริง ๆ[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 4]

คำวิจารณ์

แก้

ตันซิ่ว

แก้

ตันซิ่ว (陳壽 เฉิน โช่ว) ผู้เขียนบทชีวประวัติจงโฮยในสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ) ยกย่องจงโฮยว่า "มีความรู้และทักษะในการคำนวณตัวเลข" กล่าวว่าจงโฮยเคยมีชื่อเสียงในวัยเยาว์เทียบกับกับนักปรัชญาหวาง ปี้ (王弼) จากนั้นตันซิ่วจึงวิจารณ์จงโฮยร่วมกันกับหวาง หลิง (王淩), บู๊ขิวเขียม และจูกัดเอี๋ยนว่า "พวกเขามีชื่อเสียงจากความสามารถหลากหลาย ซึ่งช่วยให้พวกเขาขึ้นมามีตำแหน่งสูง น่าเสียดายที่พวกเขาทะเยอทะยานมากเกินไป มีความคิดคดทางคุณธรรม และไม่สังเกตเห็นหลุมพรางที่ซ่อนอยู่รอบตนเอง เหล่านี้เป็นผลทำให้พวกเขาล่มจมและครอบครัวถูกกวาดล้าง จะมีเรื่องโง่เขลายิ่งกว่านี้อีกหรือ"[สามก๊กจี่ 31]

แฮหัวป๋า

แก้

ชื่อ-ยฺหวี่ (世語) บันทึกว่าเมื่อแฮหัวป๋าขุนพลวุยก๊กแปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊ก เหล่าข้าราชการของจ๊กก๊กถามแฮหัวป๋าว่า "สุมาอี้ทำสิ่งใดได้ดีที่สุด" แฮหัวป๋าตอบว่า "การทำให้สถานะของครอบครัวตนในวุยมั่นคง" เหล่าข้าราชการถามอีกว่า "ใครคือผู้มีความสามารถในนครหลวงของวุย" แฮหัวป๋าคอบว่า "มีผู้หนึ่งคือจง ชื่อจี้[b] ง่อและจ๊กควรกังวลหากเขามีหน้าที่รับผิดชอบในราชสำนักของวุยก๊ก"[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 5]

ในฮั่นจิ้นชุนชิว (漢晉春秋) เล่าว่าเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กก็ถามแฮหัวป๋าว่า "บัดนี้สุมาอี้กุมอำนาจราชสำนักวุยแล้ว ยังวางแผนที่จะบุกจ๊กและง่อหรือไม่" แฮหัวป๋าตอบว่า "เขามุ่งเน้นที่การเสริมอำนาจของตระกูลในราชสำนักวุยและไม่มีเวลามากังวลเรื่องภายนอก แต่ยังมีคนผู้หนึ่งคือจง ชื่อจี้ เขาอาจยังเยาว์ แต่จะต้องกลายเป็นภัยคุกคามต่อง่อและจ๊กในอนาคตเป็นแน่ แม้กระนั้น แม้แต่คนที่พิเศษที่สุดก็ไม่อาจควบคุมเขาได้" คำพูดของแฮหัวป๋าได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องในอีก 15 ปีให้หลัง เพราะจงโฮยเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่มีบทบาทในการที่วุยก๊กพิชิตจ๊กก๊ก[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 6]

เผย์ ซงจือ (裴松之) เพิ่มบันทึกในชื่อ-ยฺหวี่เพื่อสนับสนุนความที่สี จั้วฉื่อ (習鑿齒) เขียนในฮั่นจิ้นชุนชิว[อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 7]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

แก้

จงโฮยปรากฏครั้งแรกในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในภาคที่ 7ของซีรีส์วิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 บทชีวประวัติจงโฮยในสามก๊กจี่บันทึกว่าจงโฮยเสียชีวิตในวันที่ 18 เดือน 1 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 5 ในรัชสมัยของโจฮวน[สามก๊กจี่ 1] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 ในปฏิทินกริกอเรียน บทชีวประวัติของจงโฮยยังบันทึกอีกว่าจงโฮยเสียชีวิตขณะมีอายุ 40 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[สามก๊กจี่ 2] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของจงโฮยคือปี ค.ศ. 225
  2. ชื่อจี้ (士季) เป็นชื่อรองของจงโฮย

อ้างอิง

แก้
อ้างอิงจากสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ)
  1. ([景元五年正月]十八日日中, ... 姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺會。會時年四十,將士死者數百人。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  2. (姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺會。會時年四十,將士死者數百人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  3. (鍾會字士季,潁川長社人,太傅繇小子也。少敏惠夙成。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  4. (中護軍蔣濟著論,謂「觀其眸子,足以知人。」會年五歲,繇遣見濟,濟甚異之,曰:「非常人也。」及壯,有才數技藝,而愽學精練名理,以夜續晝,由是獲聲譽。正始中,以為秘書郎,遷尚書中書侍郎。高貴鄉公即尊位,賜爵關內侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  5. (會常論易無玄體、才性同異。及會死後,於會家得書二十篇,名曰道論,而實刑名家也,其文似會。初,會弱冠與山陽王弼並知名。弼好論儒道,辭才逸辯,注易及老子,為尚書郎,年二十餘卒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  6. (毌丘儉作亂,大將軍司馬景王東征,會從,典知密事,衞將軍司馬文王為大軍後繼。景王薨於許昌,文王緫統六軍,會謀謨帷幄。時中詔勑尚書傅嘏,以東南新定,權留衞將軍屯許昌為內外之援,令嘏率諸軍還。會與嘏謀,使嘏表上,輒與衞將軍俱發,還到雒水南屯住。於是朝廷拜文王為大將軍、輔政,會遷黃門侍郎,封東武亭侯,邑三百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  7. (甘露二年,徵諸葛誕為司空,時會喪寧在家,策誕必不從命,馳白文王。文王以事已施行,不復追改。及誕反,車駕住項,文王至壽春,會復從行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  8. (初,吳大將全琮,孫權之婚親重臣也,琮子懌、孫靜、從子端、翩、緝等,皆將兵來救誕。懌兄子輝、儀留建業,與其家內爭訟,携其母,將部曲數十家渡江,自歸文王。會建策,密為輝、儀作書,使輝、儀所親信齎入城告懌等,說吳中怒懌等不能拔壽春,欲盡誅諸將家,故逃來歸命。懌等恐懼,遂將所領開東城門出降,皆蒙封寵,城中由是乖離。壽春之破,會謀居多,親待日隆,時人謂之子房。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  9. (軍還,遷為太僕,固辭不就。以中郎在大將軍府管記室事,為腹心之任。以討諸葛誕功,進爵陳侯,屢讓不受。詔曰:「會典綜軍事,參同計策,料敵制勝,有謀謨之勳,而推寵固讓,辭指款實,前後累重,志不可奪。夫成功不處,古人所重,其聽會所執,以成其美。」遷司隷校尉。雖在外司,時政損益,當世與奪,無不綜與。嵇康等見誅,皆會謀也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  10. (文王以蜀大將姜維屢擾邊陲,料蜀國小民疲,資力單竭,欲大舉圖蜀。惟會亦以為蜀可取,豫共籌度地形,考論事勢。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  11. (景元三年冬,以會為鎮西將軍、假節都督關中諸軍事。文王勑青、徐、兖、豫、荊、揚諸州,並使作船,又令唐咨作浮海大船,外為將伐吳者。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  12. (四年秋,乃下詔使鄧艾、諸葛緒各統諸軍三萬餘人,艾趣甘松、沓中連綴維,緒趣武街、橋頭絕維歸路。會統十餘萬衆,分從斜谷、駱谷入。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  13. (先命牙門將許儀在前治道,會在後行,而橋穿,馬足陷,於是斬儀。儀者,許褚之子,有功王室,猶不原貸。諸軍聞之,莫不震竦。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  14. (蜀令諸圍皆不得戰,退還漢、樂二城守。魏興太守劉欽趣子午谷,諸軍數道平行,至漢中。蜀監軍王含守樂城,護軍蔣斌守漢城,兵各五千。會使護軍荀愷、前將軍李輔各統萬人,愷圍漢城,輔圍樂城。會徑過,西出陽安口,遣人祭諸葛亮之墓。使護軍胡烈等行前,攻破關城,得庫藏積糓。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  15. (姜維自沓中還,至陰平,合集士衆,欲赴關城。未到,聞其已破,退趣白水,與蜀將張翼、廖化等合守劒閣拒會。會移檄蜀將吏士民曰: ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  16. (鄧艾追姜維到陰平,簡選精銳,欲從漢德陽入江由、左儋道詣緜竹,趣成都,與諸葛緒共行。緒以本受節度邀姜維,西行非本詔,遂進軍前向白水,與會合。會遣將軍田章等從劒閣西,徑出江由。未至百里,章先破蜀伏兵三校,艾使章先登。遂長駈而前。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  17. (會與緒軍向劒閣,會欲專軍勢,密白緒畏懦不進,檻車徵還。軍悉屬會,進攻劒閣,不克,引退,蜀軍保險拒守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  18. (艾遂至緜竹,大戰,斬諸葛瞻。維等聞瞻已破,率其衆東入于巴。會乃進軍至涪,遣胡烈、田續、龐會等追維。艾進軍向成都,劉禪詣艾降,遣使勑維等令降於會。維至廣漢郪縣,令兵悉放器仗,送節傳於胡烈,便從東道詣會降。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  19. (會上言曰:「賊姜維、張翼、廖化、董厥等逃死遁走, ... 百姓欣欣,人懷逸豫,后來其蘇,義無以過。」會於是禁檢士衆不得鈔略,虛己誘納,以接蜀之群司,與維情好歡甚。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  20. (十二月詔曰:「會所向摧弊,前無彊敵,緘制衆城,罔羅迸逸。蜀之豪帥,靣縛歸命,謀無遺策,舉無廢功。凡所降誅,動以萬計,全勝獨克,有征無戰。拓平西夏,方隅清晏。其以會為司徒,進封縣侯,增邑萬戶。封子二人亭侯,邑各千戶。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  21. (會內有異志,因鄧艾承制專事,密白艾有反狀,於是詔書檻車徵艾。司馬文王懼艾或不從命,勑會並進軍成都,監軍衞瓘在會前行,以文王手筆令宣喻艾軍,艾軍皆釋仗,遂收艾入檻車。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  22. (會所憚惟艾,艾旣禽而會尋至,獨統大衆,威震西土。自謂功名蓋世,不可復為人下,加猛將銳卒皆在己手,遂謀反。欲使姜維等皆將蜀兵出斜谷,會自將大衆隨其後。旣至長安,令騎士從陸道,步兵從水道順流浮渭入河,以為五日可到孟津,與騎會洛陽,一旦天下可定也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  23. (會得文王書云:「恐鄧艾或不就徵,今遣中護軍賈充將步騎萬人徑入斜谷,屯樂城,吾自將十萬屯長安,相見在近。」會得書,驚呼所親語之曰:「但取鄧艾,相國知我能獨辦之;今來大重,必覺我異矣,便當速發。事成,可得天下;不成,退保蜀漢,不失作劉備也。我自淮南以來,畫無遣策,四海所共知也。我欲持此安歸乎!」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  24. (會以五年正月十五日至,其明日,悉請護軍、郡守、牙門騎督以上及蜀之故官,為太后發喪於蜀朝堂。矯太后遺詔,使會起兵廢文王,皆班示坐上人,使下議訖,書版署置,更使所親信代領諸軍。所請群官,悉閉著益州諸曹屋中,城門宮門皆閉,嚴兵圍守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  25. (會帳下督丘建本屬胡烈,烈薦之文王,會請以自隨,任愛之。建愍烈獨坐,啟會,使聽內一親兵出取飲食,諸牙門隨例各內一人。烈紿語親兵及疏與其子曰:「丘建密說消息,會已作大坑,白棓數千,欲悉呼外兵入,人賜白㡊,拜為散將,以次棓殺坑中。」諸牙門親兵亦咸說此語,一夜傳相告,皆徧。或謂會:「可盡殺牙門騎督以上。」會猶豫未決。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  26. (十八日日中,烈軍兵與烈兒雷鼓出門,諸軍兵不期皆鼓譟出,曾無督促之者,而爭先赴城。時方給與姜維鎧杖,白外有匈匈聲,似失火,有頃,白兵走向城。會驚,謂維曰:「兵來似欲作惡,當云何?」維曰:「但當擊之耳。」會遣兵悉殺所閉諸牙門郡守,內人共舉机以柱門,兵斫門,不能破。斯須,門外倚梯登城,或燒城屋,蟻附亂進,矢下如雨,牙門、郡守各緣屋出,與其卒兵相得。姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺會。會時年四十,將士死者數百人。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  27. (初,文王欲遣會伐蜀,西曹屬邵悌求見曰:「今遣鍾會率十餘萬衆伐蜀,愚謂會單身無重任,不若使餘人行。」文王笑曰:「我寧當復不知此耶?蜀為天下作患,使民不得安息,我今伐之如指掌耳,而衆人皆言蜀不可伐。夫人心豫怯則智勇並竭,智勇並竭而彊使之,適為敵禽耳。惟鍾會與人意同,今遣會伐蜀,必可滅蜀。滅蜀之後,就如卿所慮,當何所能一辦耶?凡敗軍之將不可以語勇,亡國之大夫不可與圖存,心膽以破故也。若蜀以破,遺民震恐,不足與圖事;中國將士各自思歸,不肯與同也。若作惡,祗自滅族耳。卿不須憂此,慎莫使人聞也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  28. (及會白鄧艾不軌,文王將西,悌復曰:「鍾會所統,五六倍於鄧艾,但可勑會取艾,不足自行。」文王曰:「卿忘前時所言邪,而更云可不須行乎?雖爾,此言不可宣也。我要自當以信義待人,但人不當負我,我豈可先人生心哉!近日賈護軍問我,言:『頗疑鍾會不?』我荅言:『如今遣卿行,寧可復疑卿邪?』賈亦無以易我語也。我到長安,則自了矣。」軍至長安,會果已死,咸如所策。) สามก๊ก��ี่ เล่มที่ 28.
  29. (會兄毓,以四年冬薨,會竟未知問。會兄子邕,隨會與俱死,會所養兄子毅及峻、辿。等下獄,當伏誅。司馬文王表天子下詔曰:「峻等祖父繇,三祖之世,極位台司,佐命立勳,饗食廟庭。父毓,歷職內外,幹事有績。昔楚思子文之治,不滅鬪氏之祀。晉錄成宣之忠,用存趙氏之後。以會、邕之罪,而絕繇、毓之類,吾有愍然!峻、辿兄弟特原,有官爵者如故。惟毅及邕息伏法。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  30. (或曰,毓曾密啟司馬文王,言會挾術難保,不可專任,故宥峻等云。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  31. (評曰: ... 鍾會精練策數,咸以顯名,致茲榮任,而皆心大志迂,不慮禍難,變如發機,宗族塗地,豈不謬惑邪!) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
อ้างอิงจากอรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้)
  1. (世語曰:司馬景王命中書令虞松作表,再呈輒不可意,命松更定。以經時,松思竭不能改,心苦之,形於顏色。會察其有憂,問松,松以實荅。會取視,為定五字。松恱服,以呈景王,王曰:「不當爾邪,誰所定也?」松曰:「鍾會。向亦欲啟之,會公見問,不敢饕其能。」王曰:「如此,可大用,可令來。」會問松王所能,松曰:「博學明識,無所不貫。」會乃絕賔客,精思十日,平旦入見,至鼓二乃出。出後,王獨拊手歎息曰:「此真王佐材也!」) อรรถาธิบายจากเว่ยชื่อชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  2. (臣松之以為鍾會名公之子,聲譽夙著,弱冠登朝,已歷顯仕,景王為相,何容不悉,而方於定虞松表然後乃蒙接引乎?設使先不相識,但見五字而便知可大用,雖聖人其猶病諸,而況景王哉?) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  3. (世語曰:會善效人書,於劒閣要艾章表白事,皆易其言,令辭指悖傲,多自矜伐。又毀文王報書,手作以疑之也。又毀文王報書,手作以疑之也。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  4. (漢晉春秋曰:文王嘉其忠亮,笑荅毓曰:「若如卿言,必不以及宗矣。」) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  5. (世語曰:夏侯霸奔蜀,蜀朝問「司馬公如何德」?霸曰:「自當作家門。」「京師俊士」?曰:「有鍾士季,其人管朝政,吳、蜀之憂也。」) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  6. (漢晉春秋曰:初,夏侯霸降蜀,姜維問之曰:「司馬懿旣得彼政,當復有征伐之志不?」霸曰:「彼方營立家門,未遑外事。有鍾士季者,其人雖少,終為吳、蜀之憂,然非常之人亦不能用也。」後十五年而會果滅蜀。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  7. (按習鑿齒此言,非出他書,故採用世語而附益也。) อรรถาธิบายของเผย์ซงจือในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
อ้างอิงอื่น ๆ
  1. จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • "Zhong Hui". Internet Encyclopedia of Philosophy.