ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พิกัด: 35°N 18°E / 35°N 18°E / 35; 18
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mediterranean)
ภาพถ่ายดาวเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อังกฤษ: Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปและดินแดนอานาโตเลียที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร[1] (คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของพื้นผิวน้ำทะเลทั้งหมดในโลก) และมีส่วนที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านทางช่องแคบยิบรัลตาร์ คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios" – จากคำกรีก μέσος (mésos) แปลว่า "ในท่ามกลาง", และ γήινος (gḗinos) แปลว่า "แห่งแผ่นดิน" – ซึ่งแสดงถึงลักษณะทะเลที่มีแผ่นดินล้อมรอบ ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาแล้ว ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถูกตัดออกจากมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อ 5.9 ล้านปีก่อน และอยู่ในภาวะระเหยแห้ง (dessicated) โดนสิ้นเชิงเป็นช่วงเวลานานราว 6 แสนปี หรือที่เรียกว่า วิกฤติระดับเกลือยุคเมสซิเนียน (Messinian Salinity Crisis) ก่อนที่จะถูกน้ำท่วมใหญ่เพิ่มระดับน้ำให้เต็มอีกครั้งในยุคซานคลีอัน

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีความลึกเฉลี่ย 1,500 ม. (4,900 ฟุต) และจุดลึกสุดที่บันทึกไว้ คือ 5,267 ม. (17,280 ฟุต) ในร่องลึกคาลิปโซ (Calypso Deep) ในทะเลไอโอเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถูกล้อมรอบด้วยชายฝั่งของทวีปยุโรปใต้ ชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์ และชายฝั่งแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 30 °และ 46 ° N และลองจิจูด 6 ° W และ 36 ° E มีความยาวตามทิศตะวันตก - ตะวันออก เมื่อวัดจากช่องแคบยิบรอลตาร์ไปจนถึงอ่าว Iskenderun บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกี อยู่ที่ประมาณ 4,000 กิโลเมตร ( 2,500 ไมล์) มีความยาวตามทิศเหนือ - ใต้โดยเฉลี่ยของทะเล วัดจากชายฝั่งทางใต้ของโครเอเชีย ถึงลิเบียประมาณ 800 กม. (500 ไมล์)

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเส้นทางที่สำคัญสำหรับพ่อค้าและนักเดินทางในสมัยโบราณ มันช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนในภูมิภาค ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคในเมดิเตอร์เรเนียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าใจต้นกำเนิดและการพัฒนาของอารยธรรมสมัยใหม่หลายแห่ง

สมุทรศาสตร์

[แก้]

การเป็นทะเลที่เกือบจะไม่มีทางออกสู่มหาสมุทร ได้ส่งผลกระทบต่อเงื่อนไขหลายประการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน: ตัวอย่างเช่น กระแสน้ำขึ้นลงมีจำกัดมากเนื่องจากการเชื่อมต่อที่แคบกับมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยังมีสีฟ้าลึกซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์อย่างเห็นได้ชัด

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีระดับการระเหยตัวที่สูงกว่าปริมาณน้ำฝน และอัตราการไหลลงสู่ทะเลของแม่น้ำมาก[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการระเหยสูงในซีกตะวันออกทำให้ระดับน้ำลดลงและความเค็มเพิ่มขึ้นทางทิศตะวันออก ความเค็มเฉลี่ยในอ่างทะเล คือ 38 PSU ที่ความลึก 5 เมตร[3] อุณหภูมิของน้ำในส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคือ 13.2 ° C (55.8 ° F)

ระเทศที่มีดินแดนติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

[แก้]
  1. ฝรั่งเศส
  2. สเปน
  3. อิตาลี
  4. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  5. กรีซ
  6. ตุรกี
  7. ไซปรัส
  8. เลบานอน
  9. ซีเรีย
  10. อิสราเอล
  11. อียิปต์
  12. ลิเบีย
  13. ตูนิเซีย
  14. แอลจีเรีย
  15. โมร็อกโก
  16. สโลวีเนีย
  17. โครเอเชีย
  18. มอนเตเนโกร
  19. แอลเบเนีย
  20. มอลตา
  21. โมนาโก
  22. ยิบรอลตาร์
  23. ปาเลสไตน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mediterranean Sea". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  2. Pinet, Paul R. (1996), Invitation to Oceanography (3rd ed.), St Paul, Minnesota: West Publishing Co., p. 202, ISBN 978-0-314-06339-7
  3. Emeis, Kay-Christian; Struck, Ulrich; Schulz, Hans-Martin; Rosenberg, Reinhild; Bernasconi, Stefano; Erlenkeuser, Helmut; Sakamoto, Tatsuhiko; Martinez-Ruiz, Francisca (2000). "Temperature and salinity variations of Mediterranean Sea surface waters over the last 16,000 years from records of planktonic stable oxygen isotopes and alkenone unsaturation ratios". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 158 (3–4): 259–280. Bibcode:2000PPP...158..259E. CiteSeerX 10.1.1.378.4964. doi:10.1016/s0031-0182(00)00053-5.

35°N 18°E / 35°N 18°E / 35; 18