ข้ามไปเนื้อหา

แอนาเล็มมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนาเล็มมาที่ได้จากการถ่ายรูป โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนทรงกลมท้องฟ้า

ในทางดาราศาสตร์ แอนาเล็มมา (อังกฤษ: analemma; IPA: /ˌænəˈlɛmə/ ภาษาละตินใช้เรียกฐานของนาฬิกาแดด) หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงถึงตำแหน่งเชิงมุมของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมท้องฟ้า (ปกติหมายถึงดวงอาทิตย์) โดยมองจากวัตถุท้องฟ้าอีกที่หนึ่ง (ปกติหมายถึงโลก) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าวันโดยเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 24 ชั่วโมง แอนาเล็มมาสามารถติดตามได้โดยการทำเครื่องหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มองจากสถานที่หนึ่งๆ บนโลกในเวลาเดิมทุก 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเส้นโค้งคล้ายเลขแปด

มีตัวแปรสามอย่างที่ส่งผลถึงรูปร่างของแอนาเล็มมาได้แก่ ความเอียงของแกน ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร และมุมระหว่างเส้นแอปส์ (apse line) กับเส้นตรงของอายัน สำหรับวัตถุ���้องฟ้าที่มีวงโคจรเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์และไม่มีความเอียงของแกนดาว ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมในเวลาเดิมทุกวัน รูปร่างแอนาเล็มมาจะเป็นแค่เพียงจุดจุดเดียว สำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีวงโคจรและความเอียงของแกนเท่ากับโลก จะมองเห็นเป็นเลขแปดที่วงวนด้านเหนือกับวงวนด้านใต้จะมีขนาดเท่ากัน และสำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีวงโคจรเหมือนโลกแต่ไม่มีความเอียงของแกน แอนาเล็มมาจะเป็นรูปเส้นตรงขนานไปกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

แอนาเล็มมาบนโลก

[แก้]
แอนาเล็มมาบนโลก
อสมมาตรของแอนาเล็มมา

เนื่องจากแกนโลกเอียง 23.45° และวงโคจรที่เป็นรูป���งรีรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในเวลาเดียวกันของแต่ละวันต่างกัน และความเอียงของวงวนของแอนาเล็มมาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งละติจูดบนโลกที่ต่างกัน (แต่เป็นรูปเลขแปดเหมือนกัน)

แอนาเล็มมาที่วาดโดยขยายแกนออก แสดงให้เห็นถึงความไม่สมมาตรเล็กน้อยของวงวน เกิดจากการทำมุมระหว่างเส้นแอปส์กับเส้นตรงของอายัน

แอนาเล็มมาอื่นๆ

[แก้]
แอนาเล็มมาของดาวอังคาร

บนโลกนั้น แอนาเล็มมาปรากฏเป็นรูปเลขแปด แต่บนดาวเคราะห์ดวงอื่นจะมีรูปร่างต่างออกไป เนื่องจากรูปร่างของวงโคจรและความเอียงของแกนดาวเคราะห์ที่แตกต่างกัน[1] โดยหนึ่งวันของดาวเคราะห์จะมีความหมายว่า เป็นเวลาที่ดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบโดยอ้างอิงกับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์

  • ดาวพุธ: หนึ่งวันบนดาวพุธจะยาวนานเท่ากับ 2 ปี ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกันทุกวันแทบจะเป็นจุด และแอนาเล็มมาเป็นเส้นตรงที่ยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
  • ดาวศุกร์: เนื่องจากบนดาวศุกร์มีเวลาน้อยกว่าสองวันในหนึ่งปี ทำให้ต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อที่จะติดตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และแอนาเล็มที่ได้นั้นจะเป็นรูปวงรี
  • ดาวอังคาร: เป็นรูปหยดน้ำ
  • ดาวพฤหัสบดี: เป็นรูปวงรี
  • ดาวเสาร์: โดยทางเทคนิคแล้วแอนาเล็มมาเป็นรูปเลขแปด แต่วงวนทางด้านเหนือมีขนาดเล็กมากจนมองคล้ายรูปหยดน้ำ
  • ดาวยูเรนัส: รูปเลขแปด
  • ดาวเนปจูน: รูปเลขแปด
  • ดาวพลูโต: รูปเลขแปด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-05-10.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]