เลออโคออนและบุตร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เลออโคออนและบุตร | |
---|---|
Click on the map for a fullscreen view | |
สื่อ | หินอ่อน |
มิติ | 208 cm × 163 cm × 112 cm (6 ฟุต 10 นิ้ว × 5 ฟุต 4 นิ้ว × 3 ฟุต 8 นิ้ว)[1] |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์วาติกัน นครรัฐวาติกัน |
รูปทรง 3 มิติ (คลิกเพื่อตอบโต้) |
เลออโคออนและบุตร (อังกฤษ: Laocoön and His Sons) หรือ กลุ่มเลออโคออน (Laocoön Group) เป็นประติมากรรมหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกันในนครรัฐวาติกันในประเทศอิตาลี
นักประพันธ์และนักปรัชญาพลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าเป็นงานที่อาจจะสร้างโดยประติมากรสามคนจากเกาะโรดส์: อเจซานเดอร์แห่งโรดส์ (Agesander of Rhodes), เอธีโนโดรอส (Athenodoros) หรือโพลิโดรัส (Polydorus) ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพของนักบวชโทรจันเลออโคออนและบุตรอันทิฟานทีส (Antiphantes) และ ไทม์บราเอียส (Thymbraeus) ถูกกำลังถูกรัดโดยงูทะเล
ประวัติ
[แก้]เรื่องราวของเลออโคออนเป็นหัวเรื่องของบทละครโดยโซโฟคลีส (Sophocles) ที่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว และกล่าวถึงโดยนักเขียนกรีกคนอื่นๆ ที่กล่าวว่าเลออโคออนถูกสังหารหลังจากที่พยายามเปิดเผยอุบายของม้าโทรจันที่ฝ่ายกรีกส่งเข้ามาในทรอยโดยการพุ่งด้วยหอก อพอลโลหรือโพไซดอนจึงส่งงูทะเลสองตัวมาสังหารเลออโคออนและบุตร[2] ซึ่งทำให้ฝ่ายโทรจันตีความหมายว่าม้าโทรจันเป็นม้าศักดิ์สิทธิ์ เหตุการณ์นี้บรรยายโดยเวอร์จิลใน "แอเนียด" (Aeneid) แต่อาจจะเป็นคำบรรยายที่เขียนหลังจากประติมากรรมชิ้นนี้สร้างเสร็จแล้วก็เป็นได้
เวลาที่สร้างก็สันนิษฐานกันว่าอาจจะประมาณระหว่างราว 160 ปีไปจนถึงราว 20 ปีก่อนคริสต์ศักราช คำจารึกที่พบที่ลินดอส (Lindos) ในโรดส์กล่าวถึงอเจซานเดอร์แห่งโรดส์ และ เอธีโนโดรอส ในช่วง 42 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งทำให้ช่วงเวลาระหว่าง 42 ถึง 20 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุผลที่สุดสำหรับเวลาที่ใช้ในการสร้างงานชิ้นนี้ อีกข้อหนึ่งที่ยังไม่ทราบกันคือไม่ทราบว่าเป็นงานต้นฉบับหรือเป็นงานก็อปปีจากงานต้นฉบับที่สร้างก่อนหน้านั้น มีผู้เสนอว่าประติมากรทั้งสามคนที่กล่าวเป็นนักก็อปปีผู้อาจจะก็อปปีจากประติมากรรมสัมริดจากเพอร์กามอน (Pergamon) ที่สร้างราว 200 ก่อนคริสต์ศักราช[3] ในหนังสือ "Natural History" (XXXVI, 37) พลินิกล่าวว่าเป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่ที่พระราชวังของจักรพรรดิไททัส และอ้างต่อไปอีกว่าเป็นงานที่แกะสลักจากหินอ่อนก้อนเดียว แต่ต่อมาพบว่าเป็นงานที่แกะสลักจากหินอ่อนเจ็ดก้อนที่ผสานกันอย่างแนบเนียน[4].[5]
ประติมากรรมชิ้นนี้อาจจะเป็นงานต้นฉบับที่ถูกสั่งให้ทำสำหรับบ้านของชาวโรมันผู้มั่งคั่งที่หายไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่มาพบอีกครั้งในปี ค.ศ. 1506 ไม่ไกลจากพระราชวังทอง (Domus Aurea) ของจักรพรรดิเนโรผู้ครองจักรวรรดิโรมันระหว่างปี ค.ศ. 54 ถึงปี ค.ศ. 68 อาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นงานที่เป็นของพระองค์เอง เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ผู้เป็นนักสะสมงานศิลปะกรีกโรมันตัวยงได้งานชิ้นนี้มาเป็นเจ้าของ พระองค์ก็ได้นำไปตั้งไว้ที่สวนเบลเวเดียร์ในวังวาติกันที่ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วาติกัน ในปี ค.ศ. 2005 ลินน์ แค็ทเทอร์สันเสนอว่าเป็นงานปลอมที่แกะสลักโดยไมเคิล แอนเจโล[6] แต่ริชาร์ด บริลเลียนท์ผู้ประพันธ์ "เลออโคออนของฉัน" ค้านว่าข้อเสนอนี้ "ไม่มีมูลใดใดทั้งสิ้น" [7]
การบูรณปฏิสังขรณ์
[แก้]เมื่อพบประติมากรรมชิ้นนี้ถูกขุดพบ บางส่วนก็หายไปบ้างเช่นแขนขวาของเลออโคออน และมือและแขนของลูก นักนิยมศิลปะต่างก็ถกเถียงกันถึงรูปทรงที่ควรจะเป็นของส่วนที่หายไป ไมเคิล แอนเจโลเสนอว่าแขนที่หายไปเป็นท่าที่เอี้ยวข้ามไหล่ไปทางข้างหลัง แต่ผู้อื่นเชื่อว่าควรจะยื่นขึ้นไปเหนือศีรษะอย่างแสดงความเป็นวีรบุรุษ พระสันตะปาปาจูเลียสจึงทรงจัดให้มีการแข่งขันกันอย่างลำลองในการสร้างแขนใหม่โดยมีราฟาเอลเป็นผู้ตัดสิน ฝ่ายที่ชนะคือฝ่ายที่อ้างว่าเป็นแขนที่เหยียดขึ้นไป แขนใหม่ในรูปนี้จึงได้รับการต่อเติม
ในปี ค.ศ. 1906 นักโบราณคดี, นักค้าขายศิลปะ และผู้อำนายการพิพิธภัณฑ์บาร์รัคโคลุดวิก พอลลัค (Ludwig Pollak) พบแขนหินอ่อนในลานการก่อสร้างในกรุงโรม เมื่อสังเกตเห็นความคล้ายคลึงของสิ่งที่พบกับประติมากรรมเลออโคออน พอลลัคก็นำไปให้พิพิธภัณฑ์วาติกัน แต่พิพิธภัณฑ์นำไปเก็บทิ้งไว้ในห้องเก็บของอยู่ราวห้าสิบ จนในคริสต์ทศวรรษ 1950 ทางพิพิธภัณฑ์ก็ตัดสินใจว่าแขนที่พบนี้—ที่เอี้ยวไปทางข้างหลังเช่นที่ไมเคิล แอนเจโลเสนอ—เป็นส่วนหนึ่งของประติมากรรมเลออโคออน ส่วนที่ได้รับการต่อเติมก็ถูกถอดออกและแทนที่ด้วยแขนที่พบใหม่[8] ส่วนมือและแขนของลูกที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ก็ถูกถอดออก จากการสังเกตองค์ประกอบต่างๆ ระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ ผู้ทำการก็พบว่าทรงเดิมของ���ลุ่มประติมากรรมนี้เป็นทรงที่แน่นหรือบีบตัวกว่าส่วนที่มาขยายให้โปร่งขึ้นโดยการซ่อมแซมในภายหลัง ลักษณะที่เปิดกว้างออกไปที่เห็นกันอย่างคุ้นเคยเป็นผลมาจากการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยโรมันจนมาถึงสมัยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา[9]
งานชิ้นนี้ได้รับการเลียนแบบหลายครั้งรวมทั้งชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปที่วังแกรนด์มาสเตอร์ (Palace of the Grand Master of the Knights of Rhodes) ของอัศวินเซนต์จอห์นที่โรดส์ งานก็อปปีหลายชิ้นยังเป็นงานที่เป็นแขนยืดขึ้นไปเหนือศีรษะ แต่งานก็อปปีที่วังแกรนด์มาสเตอร์ได้รับการแก้ไขให้เป็นแขนเอี้ยวไปข้างหลังแล้ว
อิทธิพล
[แก้]การพบประติมากรรม "เลออโคออนและบุตร" สร้างความประทับใจและมีผลต่อประติมากรชาวอิตาลี และมีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการงานศิลปะในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี กล่าวกันว่าไมเคิล แอนเจโลมีความประทับใจในขนาดและความยั่วยวนของงานประติมากรรมของกรีกเป็นอันมาก โดยเฉพาะการแกะสลักร่างกายของชาย อิทธิพลของ "เลออโคออน" จะเห็นได้ชัดในงานประติมากรรมหลายชิ้นที่สร้างโดยไมเคิล แอนเจโลในตอนปลายเช่น "ทาสปฏิวัติ" (Rebellious Slave) หรือ "ทาสใกล้ตาย" (Dying Slave) ที่สร้างสำหรับอนุสรณ์ผู้ตายของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2
กอทโธลด์ เอเฟรม เลสซิง (Gotthold Ephraim Lessing) เขียนบทความศึกษางานประติมากรรมชิ้นนี้ในบทความ "เลออโคออน" ที่กล่าวถึงการเสียชีวิตอย่างวีรบุรุษในหัวข้องหนึ่ง บทความ "เลออโคออน" ถือกันว่าเป็นงานเขียนวิจารณ์ศิลปะหนึ่งในบรรดางานเขียนประเภทนี้เป็นครั้งแรก
สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ทรงจ้างให้ประติมากรชาวฟลอเรนซ์บาร์โทโลเมโอ บันดิเนลลิ สร้างก็อปปีของงานชิ้นนี้ "เลออโคออน" ของบาดิเนลลิ (ที่ได้รับการก็อปปีหลายครั้ง) ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ[10] ส่วนงานชิ้นที่หล่อด้วยสำริดที่หล่อจากพิมพ์ที่สร้างจากงานต้นฉบับสำหรับพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสเพื่อนำไปตั้งที่พระราชวังฟงแตนบโลในปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
ทิเชียนสร้างงานล้อชิ้นหนึ่งที่เป็นภาพลิงสามตัวแทนที่จะเป็นมนุษย์ งานล้อนี้ตีความหมายกันว่าเป็นการเยาะเย้ยงานก็อปปีที่ไม่ถึงขั้นของบันดิเนลลิ แต่ก็มีผู้ค้านว่าเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อโต้ตอบการโต้เถียงกันเกี่ยวกับความคล้ายคลึงของกายวิภาคระหว่างมนุษย์และลิง[11]
ประติมากรรมชิ้นที่เป็นต้นฉบับถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นำกลับไปปารีสหลังจากที่ทรงพิชิตอิตาลีได้ในปี ค.ศ. 1799 และทรงนำไปตั้งไว้ที่พิพิธภัณฑ์นโปเลียนที่ลูฟร์ ที่กลายมาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะในฝรั่งเศสในสมัยฟื้นฟูคลาสสิก หลังจากที่จักรพรรดินโปเลียนสิ้นอำนาจแล้ว "เลออโคออน" ก็ถูกนำกลับไปยังวาติกันโดยฝ่ายอังกฤษในปี ค.ศ. 1816
เลออโคออนในปรัชญาศิลปะ
[แก้]คำบรรยาย "เลออโคออน" ของพลินิที่ว่า "เป็นงานที่ควรจะเป็นที่ชื่นชมกว่างานใดใด ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรมหรือประติมากรรมตั้งแต่ได้ที่ได้สร้างกันขึ้นมา"[12] นำไปสู่การอภิปรายที่อ้างว่างานชิ้นนี้เป็นงานศิลปะที่ดีที่สุดในบรรดางานศิลปะทั้งหมดที่สร้างกันมา นักประวัติศาตร์ชาวเยอรมันโยฮันน์ โยฮาคิม วิงเคลมันน์ (Johann Joachim Winkelmann) เขียนถึงความขัดแย้งของการชื่นชมความงามขณะที่เป็นฉากของความตายและความหายนะ แต่ความเห็นที่มีอิทธิพลที่สุดคือความเห็นของกอทโธลด์ เอเฟรม เลสซิง ในบทความ "เลออโคออน: บทความเกี่ยวกับความจำกัดของจิตรกรรมและร้อยกรอง" (Laocoon: An Essay on the Limits of Painting and Poetry) ที่พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างการสร้างศิลปะทางตาและการสร้างศิลปะทางวรรณกรรม โดยเปรียบเทียบประติมากรรม "เลออโคออน" กับ งานเขียนของเวอร์จิล เลสซิงกล่าวว่าศิลปินไม่อาจจะสร้างงานที่แสดงความทุกขทรมานทางกายอย่างเป็นจริงเป็นจังได้นอกไปจากว่าจะต้องสร้างให้มีความงามในตัว ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นภาพที่ทารุณจนเกินกว่าที่จะดูได้
แต่ปฏิกิริยาที่แตกต่างจากสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวกับการอภิปรายของหัวข้อนี้คืองานของวิลเลียม เบลคที่เป็นภาพ "เลออโคออน"[1] พร้อมด้วยความเห็นที่เขียนเป็นกราฟฟิตีเป็นอักขระภาษาต่างๆ รอบทิศทางรอบภาพ ที่เป็นการแสดงทฤษฎีของเบลคที่ว่าการเลียนแบบศิลปะกรีกและโรมันเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อความสร้างสรรค์ทางศิลปะ และงานประติมากรรมของกรีกและโรมันเป็นสัญลักษณ์ของความงามที่ไม่น่าสนใจเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับศิลปะจูเดโอ-คริสเตียน
"เลออโคออน" ในประติมากรรม "เลออโคออนและบุตร" มีอิทธิพลต่อตัวแบบอเมริกันอินเดียนในงานประติมากรรม "ความช่วยเหลือ" (The Rescue) โดยโฮราชิโอ กรีนโน (Horatio Greenough) ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของตึกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา (U.S. Capitol) มาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว
ในตอนใกล้จะจบของหนังสือ "คริสมัสต์แคโรล" (A Christmas Carol) โดยชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ เอเบเนเซอร์ สครูจออกความเห็นกับตัวเองว่าทำตัวสมเป็น "เลออโคออน" ด้วยถุงเท้าถุงน่องของตัวเอง เพราะความรีบที่จะแต่งตัวจนพัวพันไปด้วยเสื้อผ้ารุงรังรอบตัว ซึ่งเป็นการอ้างอิงโดยตรงถึงประติมากรรมเลออโคออน
ในปี ค.ศ. 1910 นักวิจารณ์เออร์วิง แบ็บบิทตั้งชื่อบทความว่า "เลออโคออนใหม่: บทความเกี่ยวกับความสับสนของศิลปะ" (The New Laokoon: An Essay on the Confusion of the Arts) ที่เป็นบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1940 เคลเมนต์ กรีนเบิร์ก เขียนบทความ "ทางไปสู่เลออโคออนใหม่" ที่กรีนเบิร์กกล่าวว่าศิลปะนามธรรมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการวัดคุณค่าของงาน ชื่อเดียวกันนี้นำไปเป็นชื่องานแสดงศิลปะ เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนที่สถาบันเฮนรี มัวร์ ในปี ค.ศ. 2007 ที่เป็นงานแสดงศิลปะที่แสดงงานของศิลปินสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากประติมากรรม "เลออโคออนและบุตร"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Digital Sculpture Project: Laocoön, "Catalogue Entry: Laocoon Group"
- ↑ William Smith, Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology, Taylor and Walton, 1846, p. 776.
- ↑ Stewart, Andrew W. (1996), "Hagesander, Athanodorus and Polydorus", in Hornblower, Simon, Oxford Classical Dictionary, Oxford: Oxford University Press.
- ↑ Richard Brilliant, My Laocoön - alternative claims in the interpretation of artworks, University of California Press, 2000, p.29
- ↑ Rose, Herbert Jennings (1996), "Laocoön", ใน Hornblower, Simon (บ.ก.), Oxford Classical Dictionary, Oxford: Oxford University Press
- ↑ Catterson, Lynn, "Michelangelo's 'Laocoön?'" Artibus et historiae. 52 2005: 29
- ↑ An Ancient Masterpiece Or a Master's Forgery?, New York Times, April 18, 2005
- ↑ See Beard, Mary (2 February 2001), "Arms and the Man: The restoration and reinvention of classical sculpture", Times Literary Supplement, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-11, สืบค้นเมื่อ 2009-05-28. Beard, in fact, is highly sceptical of the identification, noting that ‘the new arm does not directly join with the father's broken shoulder (a wedge of plaster has had to be inserted); it appears to be on a smaller scale and in a slightly differently coloured marble’.
- ↑ Seymour Howard, "Laocoon Re-restored" American Journal of Archaeology 93.3 (July 1989, pp. 417-422), p. 422.
- ↑ (BANDINELLI, Baccio. Web Gallery of Art. Retrieved on March 27, 2009.
- ↑ H. W. Janson, "Titian's Laocoon Caricature and the Vesalian-Galenist Controversy", The Art Bulletin, Vol. 28, No. 1 (Mar., 1946), pp. 49-53
- ↑ Pliny The Laocoon in Antiquity เก็บถาวร 2008-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Design + Culture, Rome. Retrieved on March 27, 2009.
- Haskell, Francis, and Nicholas Penny, 1981. Taste and the Antique: The Lure of Classical Sculpture 1500-1900 (Yale University Press), cat. no. 52, pp. 243-47 (illustrated with the extended arm).
- Catterson, Lynn. "Michelangelo's 'Laocoön?'" Artibus et historiae. 52. 2005