ข้ามไปเนื้อหา

เทเลคอมอีตาเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
TIM S.p.A.
ประเภทจดทะเบียน
การซื้อขาย
BITTIT
NYSE: TI
ISINIT0003497168 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ก่อตั้งค.ศ. 1925 ในชื่อสตีเปล
ค.ศ. 1964 ในชื่อเอสไอพี
ค.ศ. 1994 ในชื่อเทเลคอมอีตาเลีย
ค.ศ. 2015 ในชื่อติม (เครื่องหมายการค้า)
ผู้ก่อตั้งIstituto per la Ricostruzione Industriale Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลักลุยจี กูบีโตซี (ซีอีโอ), ซัลวาโตเร โรสซี (ประธาน)[1]
ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์บ้าน
โทรศัพท์เคลื่อนที่
อินเทอร์เน็ต
บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงข่ายโทรคมนาคม
โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
รายได้ลดลง 17.97 พันล้านยูโร (2019)[2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านยูโร (2019)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 70.10 พันล้านยูโร (2019)[2]
เจ้าของวีว็องดี (23.94%)
Cassa Depositi e Prestiti (9.89%)[3]
พนักงาน
ลดลง 51,917 คน (2019)[2]
บริษัทในเครือติมบราซิล
INWIT
Olivetti
Wind Hellas
เว็บไซต์www.gruppotim.it

ติม เอส.พี.เอ. (อิตาลี: TIM S.p.A.) หรือ เทเลคอมอีตาเลีย (อิตาลี: Telecom Italia) เป็นบริษัทโทรคมนาคมของอิตาลี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรมและมิลาน ให้บริการโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลดิจิทัล ติมเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีในแง่ของรายได้และผู้ใช้บริการ บริษัทก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1994 โดยเกิดจากการควบรวมของบริษัทรัฐวิสาหกิจย่อยหลายบริษัท บริษัทเดิมที่ใหญ่ที่สุดคือ โซชีเอตาอีตาเลียนาเปอร์เลเซอร์ซิซีโอเทเลโฟนีโก พี.เอ. (อิตาลี: Società Italiana per l'Esercizio Telefonico p.A.; SIP) ซึ่งเคยเป็นผู้ให้บริการที่รัฐผูกขาด[4]

หลักทรัพย์ของบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อิตาลี โดยใน ค.ศ. 2017 รัฐอิตาลีได้ใช้ "โกลเดนเพาเวอร์" ซึ่งอนุญาตในรัฐบาลเข้าใช้มาตรการกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองดอกเบี้ยภายในประเทศ[5]

เทเลคอมอีตาเลียมีเครื่องหมายการค้าชื่อว่า ติม ซึ่งเดิมก่อตั้งใน ค.ศ. 1995 ในฐานะบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่อมาใน ค.ศ. 2015 ได้เปลี่นมาเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ติมยังเป็นผู้สนับสนุนเซเรียอา[6] ติมมีสาขาย่อยในประเทศบราซิล ชื่อว่า ติมบราซิล ซึ่งมีผู้ใช้บริการ 72.6 ล้านคน[7] ส่วนผู้ใช้บริการติมทั่วโลกอยู่ที่ 114 ล้านคน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Salvatore Rossi - Presidente Telecom Italia | Gruppo TIM". Telecomitalia.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Annual report" (PDF). www.telecomitalia.com. 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
  3. "Telecom Italia's Shareholders". www.telecomitalia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13. สืบค้��เมื่อ 2020-06-16.
  4. "History of Telecom Italia Mobile S.p.A. – FundingUniverse". www.fundinguniverse.com.
  5. "Italy votes to exercise 'golden power' to protect Telecom Italia". Financial Times. 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  6. "TIM and Serie A League: sponsorship agreement renewed until 2018". Telecom Italia Corporate.
  7. Scott Bicheno (January 14, 2016). "Telecom Italia formally unifies brands under TIM name". telecoms.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-28. สืบค้นเมื่อ January 24, 2018.
  8. "Breaking Barriers to Transform TIM's Brand and Business". Interbrand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ January 24, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]