อำเภอเดิมบางนางบวช
อำเภอเดิมบางนางบวช | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Doem Bang Nang Buat |
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอเดิมบางนางบวช | |
พิกัด: 14°51′13″N 100°5′52″E / 14.85361°N 100.09778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 552.3 ตร.กม. (213.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 70,781 คน |
• ความหนาแน่น | 128.16 คน/ตร.กม. (331.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7202 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเดิมบางนางบวช หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เดิมบางนางบวช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยนาท ก่อนที่จะย้ายมาขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี และรวมท้องที่ตำบลในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2454[1] ชื่อว่า "อำเภอเดิมบาง" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเดิมบางนางบวช" ในปี พ.ศ. 2482[2]
ประวัติ
[แก้]ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2454 กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ตำบลนางเริง ตำบลเขาพระ ตำบลท่ารวก ตำบลท่าช้าง ตำบลหัวเขา ตำบลวังศรีราช ตำบลหัวนา ตำบลป่าสะแก ตำบลลำพันบอง ตำบลบ่อกรุ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนางบวช อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) ตำบลท่ามะนาว ตำบลโคกช้าง อำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) เมืองสิงห์บุรี ตำบลเดิมบาง และตำบลกำมะเชียน อำเภอเดิมบาง (เดิม) แขวงเมืองไชยนาท ไปจัดตั้งเป็น อำเภอเดิมบาง[3] ขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี ส่วนท้องที่อำเภอเดิมบาง (เดิม) ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชี่ยน ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า "อำเภอบ้านเชี่ยน" ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหันคา ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอเดิมบาง" เป็น "อำเภอเดิมบางนางบวช"[2] จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเดิมบางนางบวชตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหันคา อำเภอสรรคบุรี และอำเภอเนินขาม (จังหวัดชัยนาท)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง) อำเภอสามชุก และอำเภอหนองหญ้าไซ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน (จังหวัดสิงห์บุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอด่านช้าง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเดิมบางนางบวชแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเดิมบางนางบวชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก���
- เทศบาลตำบลเขาพระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาพระและตำบลเดิมบาง
- เทศบาลตำบลนางบวช ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนางบวช
- เทศบาลตำบลบ่อกรุ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ่อกรุ
- เทศบาลตำบลเขาดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเดิมบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเดิมบาง (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาพระ)
- เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลทุ่งคลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งคลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระ (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาพระ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางบวช (นอกเขตเทศบาลตำบลนางบวช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเขาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อกรุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อกรุ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ่อกรุ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังศรีราชและตำบลป่าสะแกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางนอนทั้งตำบล
สถานพยาบาล
[แก้]อำเภอเดิมบางนางบวชมีโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง และเอกชน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช (112 เตียง) [4]
- โรงพยาบาลหมอสำเริง (26 เตียง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
- ↑ http://www.waterforthai.go.th/disaster-info-country/disaster-info-province/?pcode=SPB[ลิงก์เสีย]