ข้ามไปเนื้อหา

โอลิมปิกฤดูร้อน 1976

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ ๒๑
Games of the XXI Olympiad
Les XVIIIers Jeux olympiques d'été
เมืองเจ้าภาพแคนาดา มอนทรีออล แคนาดา
ประเทศเข้าร่วม92
นักกีฬาเข้าร่วม6,028 (4,781 ชาย 1,247 หญิง)
กีฬา21 ชนิด
พิธีเปิด17 กันยายน พ.ศ. 2519
พิธีปิด3 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ประธานพิธีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
(พระมหากษัตริย์แห่งแคนาดา)
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาโอลิมปิก
บีเวอร์ Amik เป็นมาสคอตประจำโอลิมปิกฤดูร้อน 1976

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 (ฝรั่งเศส: Jeux olympiques d'été de 1976) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 21 (ฝรั่งเศส: Les XXIes olympiques d'été) เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ซึ่งจัดในที่มอนทรีออล รัฐเกแบ็ก และกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศแคนาดา

ในโอลิมปิกครั้งนี้ ถือเป็นครั้งเดียวที่ไฟโอลิมปิกจากวิหารเฮราไม่ได้ถูกส่งโดยวิธีการวิ่งคบเพลิงหรือยานพาหนะแต่อย่างใด แต่ใช้วิธียิงดาวเทียมจากไฟที่จุดจากกระจกเรืองแสงที่วิหารเฮรา แล้วแปลงเป็นสัญญาณวิทยุ ก่อนที่จะส่งผ่านดาวเทียมไปยังออตตาวาแล้วแปลงกลับเป็นไฟอีกครั้ง เพื่อที่จะนำไปจุดที่มอนทรีออลในพิธีเปิด

สหรัฐอเมริกาโชว์ความสามารถในกีฬาชกมวยด้วยการมีทีมนักกีฬาที่ดีที่สุดได้แก่ ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, ลีออน สปิงส์ โดยสามารถพิชิตเหรียญทองได้และต่อมาได้กลายเป็นแชมเปี้ยนมวยอาชีพ ส่วนในการแข่งขันยิมนาสติก Nadai Comaneci ได้กลายเป็นดาวดวงใหม่ที่ทำให้ผู้คนหันมาให้ความนิยมในกีฬายิมนาสติกขึ้น

ในส่วนของประเทศไทย นี่เป็นครั้งแรกที่นักกีฬาไทยสามารถคว้าเหรียญมาได้ จาก พเยาว์ พูนธรัตน์ โดยได้เหรียญทองแดงจากมวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์ฟลายเวท และต่อมาพเยาว์เองก็ได้เป็นแชมเปี้ยนมวยอาชีพด้วย

สนามแข่งขัน

[แก้]

อุทยานโอลิมปิกมอนทรีออล

[แก้]
สถานที่ กีฬา ความจุ
สนามกีฬาโอลิมปิก พิธีเปิด/ปิด, กรีฑา, ฟุตบอล (นัดชิงชนะเลิศ), ขี่ม้า (กระโดดข้ามเครื่องกีดขวางประเภททีม) 70,000
สระว่ายน้ำโอลิมปิก กระโดดน้ำ, ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ), ว่ายน้ำ, โปโลน้ำ (นัดชิงชนะเลิศ) 10,000
โอลิมปิกเวโลโดรม จักรยาน (ลู่), ยูโด 2,600
สวนพฤกษชาติมอนทรีออล กรีฑา (20เดิน 20 กิโลเมตร), ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (วิ่ง) ไม่ได้ระบุไว้
สนามกีฬามอริส ริชาร์ มวยสากลสมัครเล่น, มวยปล้ำ (ฟรีสไตล์) 4,750
ศูนย์กีฬาปีแยร์ ชาร์บงโน มวยปล้ำ 2,700
หมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก สถานที่พักของนักกีฬา ไม่ได้ระบุไว้

เขตมหานครมอนทรีออล

[แก้]
สถานที่ กีฬา ความจุ
เกาะน็อทร์-ดาม เรือแคนู, เรือพาย 27,000
ศูนย์กีฬาโกลด-โรบียาร์ แฮนด์บอล, โปโลน้ำ 2,755 (โปโลน้ำ)
4,721 (แฮนด์บอล)
ศูนย์กีฬาเตเตียน เดสมาร์โต บาสเกตบอล 2,200
สนามกีฬาแซ็งมีแชล ยกน้ำหนัก 2,000
ศูนย์กีฬาปอล โซเว วอลเลย์บอล 4,000
มอนทรีออลฟอรัม บาสเกตบอล (นัดชิงชนะเลิศ), มวยสากลสมัครเล่น (นัดชิงชนะเลิศ), ยิมนาสติก, แฮนด์บอล (นัดชิงชนะเลิศ), วอลเลย์บอล (นัดชิงชนะเลิศ) 18,000
สวนสาธารณะมงรัวยาล จักรยาน (ถนนบุคคล) 4,400
ทางด่วนเกแบ็กหมายเลข 40 จักรยาน (ถนนทีมไทม์ไทรอัล) ไม่ได้ระบุไว้
ถนนมอนทรีออล กรีฑา (มาราธอน) ไม่ได้ระบุไว้
สนามกีฬาฤดูหนาว มหาวิทยาลัยมงเรอาล ฟันดาบ, ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ฟันดาบ) 2,461
สนามกีฬามงซง มหาวิทยาลัยแมกกิลล์ ฮอกกี้ 19,500

สถานที่นอกเขตมอนทรีออล

[แก้]
สถานที่ กีฬา ความจุ
สนามกีฬายิงปืนโอลิมปิก, แอล'อากาเดีย ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ยิงปืน), ยิงปืน 1,000
สนามกีฬายิงธนูโอลิมปิก, โฌเลียต ยิงธนู 2,000
ศูนย์กีฬาขี่ม้าโอลิมปิก, โบรมง ขี่ม้า (กระโด��ข้ามเครื่องกีดขวางทีม), ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ขี่ม้า) 35,000
ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยลาวาลและพลศึกษา, นครเกแบ็ก, รัฐเกแบ็ก แฮนด์บอล รอบแรก 3,732
สนามกีฬาแชร์บรุก, แชร์บรุก, รัฐเกแบ็ก ฟุตบอล รอบแรก 10,000
สนามกีฬาพระราชวังแชร์บรุก, แชร์บรุก, รัฐเกแบ็ก แฮนด์บอล รอบแรก 4,400
ท่าเรือโอลิมปิกพอร์ตสมัท, คิงส์ตัน, รัฐออนแทรีโอ เรือใบ ไม่ได้ระบุไว้
สนามกีฬาวาร์ซิตี, โทรอนโต, รัฐออนแทรีโอ ฟุตบอล รอบแรก 21,739
สวนแลนส์ดาวน์, ออตตาวา, รัฐออนแทรีโอ ฟุตบอล รอบแรก 30,000

ชนิดกีฬา

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

[แก้]
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่เข้าร่วมแข่งขัน

[แก้]

การคว่ำบาตรการแข่งขัน

[แก้]
แผนที่แสดงประเทศคว่ำบาตรการแข่งขัน
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่เข้าร่วมแข่งขัน

*Both the Republic of China and the People's Republic of China boycotted the games over issues concerning the legitimacy of each other. In November 1976, the International Olympic Committee recognized the People's Republic of China as the sole legal representative. In 1979, the IOC began referring to the Republic of China as Chinese Taipei as a result of the Nagoya Resolution; this led to the Republic of China boycotting the 1980 Summer Olympics outside of the US-led boycott that year.

**Zaire did not compete, but claimed financial causes rather than political.

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก

 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหภาพโซเวียต 49 41 35 125
2 เยอรมนีตะวันออก 40 25 25 90
3 สหรัฐ 34 35 25 94
4 เยอรมนีตะวันตก 10 12 17 39
5 ญี่ปุ่น 9 6 10 25
6 โปแลนด์ 7 6 13 26
7 บัลแกเรีย 6 9 7 22
8 คิวบา 6 4 3 13
9 โรมาเนีย 4 9 14 27
10 ฮังการี 4 5 13 22

อ้างอิง

[แก้]