สัญญาประชาคม
ในปรัชญาศีลธรรมและการเมือง สัญญาประชาคม (อังกฤษ: social contract) เป็นทฤษฎีหรือแบบจำลองที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคเรืองปัญญา โดยปกติ (แต่ไม่เสมอไป) จะเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของอำนาจหน้าที่ของรัฐเหนือปัจเจก[1]
ข้อโต้แย้งของทฤษฎีสัญญาประชาคมคือ ปัจเจกล้วนยินยอมที่จะสละเสรีภาพบางส่วนไปและมอบให้แก่ผู้ถืออำนาจหน้าที่ (อาจเป็นผู้ปกครอง หรือขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่) ทั้งอย่างชัดแจ้งและอย่างซ่อนเร้น เพื่อแลกกับความคุ้มครองในสิทธิหรือเพื่อการธำรงไว้ซึ่งระเบียบทางสังคม[2][3] ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิธรรมชาติและสิทธิทางกฎหมายมักเป็นประเด็นในทฤษฎีสัญญาประชาคม ชื่อของทฤษฎีได้มาจากชื่อหนังสือสัญญาประชาคม (ฝรั่งเศส: Du contrat social ou Principes du droit politique) ใน ค.ศ. 1762 โดยฌ็อง-ฌัก รูโซ แม้ทฤษฎีนี้เคยปรากฏอยู่ในปรัชญากรีกโบราณและสโตอิก รวมไปถึงกฎหมายโรมันและกฎหมายศาสนจักร ยุคที่ทฤษฎีสัญญาประชาคมรุ่งเรืองที่สุดอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อได้กลายมาเป็นลัทธิสำคัญในเรื่องความชอบธรรมทางการเมือง
จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสัญญาประชาคมส่วนใหญ่คือ การพิจารณาสภาพของมนุษย์โดยไร้ระเบียบทางการเมือง (โทมัส ฮอบส์ ใช้คำว่า "สภาพธรรมชาติ")[4] ในสภาพนี้ การกระทำของปัจเจกจะมีพันธะเพียงต่ออำนาจและมโนธรรมของบุคคลนั้น จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว นักทฤษฎีสัญญาประชาคมพยายามศึกษาว่าเหตุใดปัจเจกถึงให้ความยินยอมโดยสมัครใจในการสละเสรีภาพโดยธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากระเบียบทางการเมือง
นักทฤษฎีสัญญาประชาคมและสิทธิโดยธรรมชาติที่โดดเด่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ได้แก่ Hugo Grotius (ค.ศ. 1625), โทมัส ฮอบส์ (ค.ศ. 1651), Samuel von Pufendorf (ค.ศ. 1762), จอห์น ล็อก (ค.ศ. 1689), ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ค.ศ. 1762) และอิมมานูเอล คานต์ (ค.ศ. 1797) ซึ่งต่างมีแนวทางการศึกษามโนทัศน์เรื่องอำนาจหน้าที่ทางการเมืองไม่เหมือนกัน Grotius ตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์แต่ละคนมีสิทธิโดยธรรมชาติ ฮอบส์กล่าวว่าใน "สภาพธรรมชาติ" ชีวิตของมนุษย์จะ "โดดเดี่ยว, ยากแคลน, น่ารังเกียจ, โหดร้าย และแสนสั้น" ในสภาพที่ปราศจากระเบียบทางการเมืองและกฎหมาย ทุกคนจะมีสิทธิโดยธรรมชาติที่ไม่จำกัด รวมไปถึง "สิทธิถึงทุกสิ่ง" (right to all things) อย่างสิทธิที่จะปล้นชิง ข่มขืน และฆ่าผู้อื่น นำไปสู่ "สงครามของทุกคนต่อทุกคน" (bellum omnium contra omnes, "war of all against all")[5] เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนี้ เสรีชนทำสัญญาร่วมกันเพื่อสถาปนาชุมชนทางการเมือง (ประชาสังคม) ผ่านสัญญาประชาคมซึ่งพวกเขาจะได้ความคุ้มครองโดยแลกกับการที่ตกเป็นผู้ถูกปกครองโดยองค์อธิปัตย์สัมบูรณ์ (absolute sovereign) ทั้งในรูปแบบของผู้ปกครองคนเดียวหรือคณะบุคคลร่วมปกครอง แม้คำสั่งองค์อธิปัตย์อาจทั้งพลการและโหดร้าย (arbitrary and tyrannical) ฮอบส์มองว่ารัฐบาลอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นหนทางเดียวที่จะไม่ให้เกิดอนาธิปไตยของสภาพธรรมชาติ ฮอบส์ยืนกรานว่ามนุษย์ยินยอมที่จะสละสิทธิของตนเพื่อให้ได้รัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาด (ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือระบบรัฐสภา)
ในทางตรงกันข้าม ล็อกและรูโซแย้งว่ามนุษย์พึงมีสิทธิพลเมืองโดยแลกกับการต้องยอมรับ ให้ความเคารพ และปกป้องสิทธิของผู้อื่น ซึ่งทำได้โดยการยอมสละเสรีภาพบางส่วนไป[6][7][8]
นักทฤษฎีสัญญาประชาคมคนอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่า หากรัฐบาลไม่สามารถประกันสิทธิโดยธรรมชาติ (ล็อก) หรือทำให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของสังคม ประชาชนสามารถถอนพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หรือเปลี่ยนผู้นำผ่านการเลือกตั้งหรือโดยวิธีอื่นใด รวมไปถึงความรุนแรง (หากจำเป็น) รูโซเชื่อว่าประชาธิปไตย (หรือการปกครองโดยเสียงข้างมาก) เป็นหนทางที่ดีที่สุดสู่การประกันสวัสดิภาพในขณะที่รักษาเสรีภาพของปัจเจกภายใต้หลักนิติธรรม มโนทัศน์ของล็อกเรื่องสัญญาประชาคมมีอิทธิพลในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐ[9] John Geoffrey Jones ผู้พิพากษาอังกฤษเชื่อในการนำทฤษฎีสัญญาประชาคมมาใช้วินิจฉัยสุขภาพจิต โดยมีจุดมุ่งหมายในการพิพากษาคดีให้ยุติธรรมที่สุด[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อาณัติแห่งสวรรค์
- สาธารณรัฐนิยมคลาสสิก
- ความยินยอม
- ความยินยอมของผู้ถูกปกครอง
- รัฐธรรมนูญ
- รัฐธรรมนูญนิยม
- การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง
- อาณัต (การเมือง)
- ข้อตกลงร่วมกันเมย์ฟลาวเวอร์
- ปัญหาเชิงโครงสร้าง
- สิทธิปฏิวัติ
- หลักนิติธรรม
- สังคมสมานฉันท์
- สัญญาประชาคม (อังกฤษ) – นโยบายของพรรคแรงงานอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการได้อย่างเสียอย่างระหว่างสภาพการว่าจ้างงานและสวัสดิการของแรงงาน
- การถูกแยกขาดจากสังคม
- ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม
- การล่มสลายของสังคม
- ทฤษฎีความยินยอม
- Crito – บทสนทนาโดยเพลโต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "For the name social contract (ALL IS FAKE) often covers two different kinds of contract, and, in tracing the evolution of the theory, it is well to distinguish The first] generally involved some theory of the origin of the state. The second form of social contract may be more accurately called the contract of government or the contract of submission... Generally, it has nothing to do with the origins of society, but, presupposing a society already formed, it purports to define the terms on which that society is to be governed: the people have made a contract with their ruler which determines their relations with him. They promise him obedience, while he promises his protection and good government. While he keeps his part of the bargain, they must keep theirs, but if he misgoverns the contract is broken and allegiance is at an end." J. W. Gough, The Social Contract (Oxford: Clarendon Press, 1936), pp. 2–3.
- ↑ Celeste Friend. "Social Contract Theory". Internet Encyclopedia of Philosophy (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
- ↑ Castiglione, Dario (2015). "Introduction the Logic of Social Cooperation for Mutual Advantage – the Democratic Contract" (PDF). Political Studies Review. 13 (2): 161–175. doi:10.1111/1478-9302.12080. hdl:10871/18609. S2CID 145163352. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-22. สืบค้นเมื่อ 2019-02-03.
- ↑ Ross Harrison writes that "Hobbes seems to have invented this useful term." See Ross Harrison, Locke, Hobbs, and Confusion's Masterpiece (Cambridge University Press, 2003), p. 70. The phrase "state of nature" does occur, in Thomas Aquinas's Quaestiones disputatae de Veritate, Question 19, Article 1, Answer 13 เก็บถาวร 2017-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. However, Aquinas uses it in the context of a discussion of the nature of the soul after death, not in reference to politics.
- ↑ Hobbes, Leviathan, XIII.9.
- ↑ Gaba, Jeffery (Spring 2007). "John Locke and the Meaning of the Takings Clause". Missouri Law Review. 72 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
- ↑ Locke, John (1690). Two Treatises on Civil Government (PDF). ISBN 9783749437412. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
- ↑ Rousseau, Jean-Jacques (2002). The social contract ; and, the first and second discourses / Jean-Jacques Rousseau; edited and with an introduction by Susan Dunn; with essays by Gita May [and others]. New Haven : Yale University Press. pp. 163. ISBN 9780300129434.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2023-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the Southern Methodist University
- ↑ Colett, I. V. (1982). "The case of Lisa H. The role of mental health professionals where the social contract is violated". The International Journal of Social Psychiatry. 28 (4): 283–285. doi:10.1177/002076408202800407. PMID 7152852. S2CID 36088670.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Ankerl, Guy. Towards a Social Contract on a Worldwide Scale: Solidarity contracts. Research series. Geneva: International Institute for Labour Studies [Pamphlet], 1980, ISBN 92-9014-165-4.
- Carlyle, R. W. A History of mediæval political theory in the West. Edinburgh London: W. Blackwood and sons, 1916.
- Falaky, Faycal (2014). Social Contract, Masochist Contract: Aesthetics of Freedom and Submission in Rousseau. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-1-4384-4989-0
- Gierke, Otto Friedrich Von and Ernst Troeltsch. Natural Law and the Theory of Society 1500 to 1800. Translated by Sir Ernest Barker, with a Lecture on "The Ideas of Natural Law and Humanity", by Ernst Troeltsch. Cambridge: The University Press, 1950.
- Gough, J. W.. The Social Contract. Oxford: Clarendon Press. 1936.
- Harrison, Ross. Hobbes, Locke, and Confusion's Empire: an Examination of Seventeenth-Century Political Philosophy. Cambridge University Press, 2003.
- Hobbes, Thomas. Leviathan. 1651.
- Locke, John. Second Treatise on Government 1689.
- Narveson, Jan; Trenchard, David (2008). "Contractarianism/Social Contract". ใน Hamowy, Ronald (บ.ก.). The Encyclopedia of Libertarianism. Thousand Oaks, CA: SAGE; Cato Institute. pp. 103–05. doi:10.4135/9781412965811.n66. ISBN 978-1412965804. LCCN 2008009151. OCLC 750831024.
- Pettit, Philip. Republicanism: A Theory of Freedom and Government. NY: Oxford U.P., 1997, ISBN 0-19-829083-7, Oxford: Clarendon Press, 1997
- Pufendorf, Samuel, James Tully and Michael Silverthorne. Pufendorf: On the Duty of Man and Citizen according to Natural Law. Cambridge Texts in the History of Political Thought. Cambridge University Press 1991.
- Rawls, John. A Theory of Justice (1971)
- Riley, Patrick. "How Coherent is the Social Contract Tradition?" Journal of the History of Ideas 34: 4 (Oct. – Dec., 1973): 543–62.
- Riley, Patrick. Will and Political Legitimacy: A Critical Exposition of Social Contract Theory in Hobbes, Locke, Rousseau, Kant, and Hegel. Cambridge, Massachusetts : Harvard University Press, 1982.
- Riley, Patrick. The Social Contract and Its Critics, chapter 12 in The Cambridge History of Eighteenth-Century Political Thought. Eds. Mark Goldie and Robert Wokler. Vol 4 of The Cambridge History of Political Thought. Cambridge University Press, 2006. pp. 347–75.
- Rousseau, Jean-Jacques. The Social Contract, or Principles of Political Right เก็บถาวร 2008-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1762)
- Scanlon, T. M. 1998. What We Owe To Each Other. Cambridge, Massachusetts
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ สัญญาประชาคม |
- "The Social Contract". In Our Time (7 Feb 2008). BBC Radio Program. Melvyn Bragg, moderator; with Melissa Lane, Cambridge University; Susan James, University of London; Karen O'Brien, University of Warwick.
- "Game Theory". In Our Time (May 10, 2012). BBC Radio Program. Melvin Bragg, moderator, with Ian Stewart, Emeritus, University of Warwick, Andrew Colman, University of Leicester, and Richard Bradley, London School of Economics. Discussion of game theory that touches on relation of game theory to the Social Contract.
- Foisneau, Luc. "Governing a Republic: Rousseau's General Will and the Problem of Government". Republics of Letters: A Journal for the Study of Knowledge, Politics, and the Arts 2, no. 1 (December 15, 2010)
- Sigmund, Paul E. "Natural Law, Consent, and Equality: William of Ockham to Richard Hooker". Published on website Natural Law, Natural Rights, and American Constitutionalism. A We the People project of the National Endowment for the Humanities.
- Cudd, Ann. "Contractarianism". ใน Zalta, Edward N. (บ.ก.). Stanford Encyclopedia of Philosophy.
- D'Agostino, Fred. "Contemporary Approaches to the Social Contract". ใน Zalta, Edward N. (บ.ก.). Stanford Encyclopedia of Philosophy.
- "Social contract". Internet Encyclopedia of Philosophy.
- Jan Narveson. "The Contractarian Theory of Morals:FAQ". On website Against Politics: Anarchy Naturalized.
- A satirical example of a social contract for the United States from the Libertarian Party. Parody.
- Social Contract: A Basic Contradiction in Western Liberal Democracy, Eric Engle. A critique of social contract theory as counter-factual myth.