ข้ามไปเนื้อหา

วาซิล เลฟสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาซิล เลฟสกี
Васил Левски
เกิดVasil Ivanov Kunchev
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1837(1837-07-18)
คาร์โลโว บัลแกเรียของออตโตมัน
เสียชีวิต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1873(1873-02-18) (35 ปี)
โซเฟีย บัลแกเรียของออตโตมัน
สาเหตุเสียชีวิตถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
สุสานโซเฟีย บัลแกเรีย
อาชีพนักปฏิวัติ
มีชื่อเสียงจากองค์การปฏิวัติภายใน
ลายมือชื่อ

วาซิล เลฟสกี (บัลแกเรีย: Васил Левски, เดิมสะกด Василъ Лѣвскій; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1837 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1873) เป็นนักปฏิวัติชาวบัลแกเรียซึ่งถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของบัลแกเรีย เลฟสกียึดถือแนวคิดและการเคลื่อนไหวปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยบัลแกเรียจากการปกครองของออตโตมัน เลฟสกีก่อตั้งองค์การปฏิวัติภายในและได้พยายามปลุกระดมให้มีการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศผ่านเครือข่ายคณะกรรมการระดับภูมิภาคลับ

ทฤษฎีและแนวคิดปฏิวัติ

[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 เลฟสกีพัฒนาทฤษฎีปฏิวัติที่มองขบวนการปลดปล่อยบัลแกเรียว่าเป็นอาวุธจลาจลของบัลแกเรียในจักรวรรดิออตโตมัน โดยการจลาจลจะต้องมีการเตรียมการควบคุมและประสานงานภายในโดยองค์การปฏิวัติกลาง ซึ่งจะรวมถึงคณะกรรมการการปฏิวัติท้องถิ่นในทุกภาคส่วนของบัลแกเรียและดำเนินงานโดยปราศจากการแทรกแซงของต่างประเทศ ทฤษฏีของเลฟสกีเป็นผลมาจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นซ้ำซากในการนำแนวคิดของรารอฟสกีไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้อาวุธเหมือนต่างประเทศ (чети, cheti) เพื่อกระตุ้นการปฏิวัติทั่วไป[1] ความคิดของเลฟสกีเกี่ยวกับการปฏิวัติอิสระทั้งหมดไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนทั้งหมดเช่นกัน ที่จริงแล้วเขาเป็นเพียงนักปฏิวัติชาวบัลแกเรียที่โดดเด่นเพียงคนเดียวที่สนับสนุนการปฏิวัตินี้[2]

รูปนูนของวาซิล เลฟสกีที่สถานทูตบัลแกเรียในปารีส

เลฟสกีได้วางแผนให้บัลแกเรียเป็นสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย[3] และบางครั้งก็พบจุดร่วมกับประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส[4] และยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเสรีนิยมของการปฏิวัติฝรั่งเศสและสังคมตะวันตกร่วมสมัย[5][6] โดยกล่าวว่า "เราจะเป็นอิสระในเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในดินแดนที่ชาวบัลแกเรียอาศัยอยู่ ได้แก่ บัลแกเรีย เทรซ และมาซิโดเนีย ผู้คนที่มีเชื้อสายใดก็ตามที่อาศัยอยู่ในสวรรค์ของเราแห่งนี้ พวกเขาจะมีสิทธิเท่าเทียมกับชาวบัลแกเรียในทุกด้าน เราจะมีธงที่แสดงถึงความเป็นสาธารณรัฐที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ ถึงเวลาแล้วที่จะกระทำเพื่อให้บรรลุสิ่งที่พี่น้องชาวฝรั่งเศสของเราแสวงหา..." นอกจากนี้เลฟสกียังกล่าวว่าทุกศาสนาในบัลแกเรียที่มีเสรีภาพจะต้องได้รับการอุปถัมภ์อย่างเท่าเทียมกัน[7]

เลฟสกีเตรียมพร้อมที่จะเสียสละชีวิตของเขาเพื่อการปฏิวัติบัลแกเรีย โดยกล่าวว่า "ถ้าข้าชนะ ข้าจะชนะให้กับทุกคน แต่ถ้าข้าแพ้ ข้าก็จะแพ้ให้กับตัวข้าเองคนเดียวเท่านั้น"[8][9][10] นอกจากนี้เขายังสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายภายในภาครัฐอย่างโปร่งใสและจะไม่ยอมให้มีการทุจริตเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jelavich & Jelavich 1986, p. 136
  2. Dimitrov 2001
  3. Дойнов & Джевезов 1996, p. 21
  4. Cornis-Pope & Neubauer 2004, p. 317
  5. Чурешки, Стефан (17 February 2006). "Идеите на Левски и модерността" (ภาษาบัลแกเรีย). Сега. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 October 2008.
  6. Hrissimova, Ognyana (1999). "Les idées de la révolution française de 1789 et les droits réels de l'homme et du citoyen dans les Constitutions de Etats nationaux des Balkans". Études balkaniques (ภาษาฝรั่งเศส). Sofia: Académie bulgare des sciences. 3–4: 17. ISSN 0324-1645.
  7. Crampton 2007, p. 422
  8. Crampton 1997, p. 79
  9. Дойнов & Джевезов 1996, p. 17
  10. "Ако спечеля, печеля за цял народ — ако загубя, губя само мене си" (ภาษาบัลแกเรีย). Свята и чиста република. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2008. สืบค้นเมื่อ 24 October 2008.
  11. Тодоров, Петко. "Близо ли е времето?" (PDF) (ภาษาบัลแกเรีย). Земя. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 October 2008. สืบค้นเมื่อ 24 October 2008.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]