รายชื่อแชมป์โลกฟอร์มูลาวันประเภทผู้ผลิต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฟอร์มูลาวัน หรือ รถสูตรหนึ่ง หรือเรียกชื่อย่อว่า เอฟวัน เป็นการแข่งรถประเภทล้อเปิดระดับสูงสุดที่กำหนดโดยสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (เอฟไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาท้าความเร็วระดับโลก[1] คำว่า "ฟอร์มูลา" หรือ "สูตร" ในชื่อนั้นหมายถึงกฎกติกาที่ผู้เข้าแข่งขันและรถทุกคันต้องปฏิบัติตาม[2] ฤดูกาลแข่งขันชิงแชมป์โลกของฟอร์มูลาวัน ประกอบด้วยการแข่งขันหลายครั้งเป็นชุดหรือที่เรียกว่ากรังด์ปรีซ์ โดยจะจัดขึ้นที่สนามแข่งที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ และบางกรณีจะจัดขึ้นโดยปิดถนนสาธารณะในเมือง[3] การชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตถูกจัดขึ้นโดยเอฟไอเอ เพื่อมอบให้กับผู้ผลิตรถฟอร์มูลาวันที่ประสบความสำเร็จตลอดช่วงฤดูกาล ผ่านระบบคะแนนตามผลการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ของนักขับคนใดก็ตามที่เข้าแข่งขันให้ผู้ผลิตนั้น ๆ[4] ตามกฎกติกาของเอฟไอเอนั้นกำหนดไว้ว่า ผู้ผลิตแชสซีและเครื่องยนต์ของรถฟอร์มูลาวัน คือบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิทางปัญญาในแชสซีและเครื่องยนต์ของรถที่ทีมหรือผู้เข้าแข่งขันใช้ในการแข่งขัน[5]
ตั้งแต่การมอบแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตครั้งแรกในฤดูกาล 1958 ถึง 1978 เฉพาะนักขับที่ทำคะแนนได้สูงที่สุดในแต่ละการแข่งขันเท่านั้น ที่สามารถทำคะแนนเพื่อชิงแชมป์โลกให้กับผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันให้ จนฤดูกาล 1979 คะแนนจากรถทุกคันที่ผู้ผลิตส่งเข้าแข่งขันถึงนำมานับรวมเป็นคะแนนชิงแชมป์โลก[6] ผู้ผลิตจะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกก็ต่อเมื่อผู้ผลิตอื่น ๆ ไม่สามารถทำคะแนนขึ้นนำคะแนนสะสมของตนได้หลังจากผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้ว ไม่ว่าผลการแข่งขันที่เหลือนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม[7] ถึงอย่างนั้นตำแหน่งจะยังไม่ถูกมอบให้อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะถึงพิธีมอบรางวัลเอฟไอเอซึ่งจัดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกหลังสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขัน[8]
ตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตถูกมอบครั้งแรกภายใต้ชื่อ ถ้วยนานาชาติสำหรับผู้ผลิตฟอร์มูลาวัน (International Cup for Formula One Constructors) ในฤดูกาล 1958 ให้กับแวนวอล[9] จนมาถึงฤดูกาล 1981 ชื่อทางการจึงเปลี่ยนเป็น แชมป์โลกประเภทผู้ผลิต (World Constructors' Championship) และกำหนดให้ทั้งผู้ผลิตแชสซีและเครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งผู้ผลิตด้วยกัน[10]
ในบรรดาผู้ผลิตแชสซี 170 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์ มีทั้งหมด 15 ทีมที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกตลอด 63 ฤดูกาลแข่งขัน[11] แฟร์รารีครองสถิติเป็นผู้ผลิตแชสซีที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากที่สุด โดยได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมาแล้ว 16 สมัย ตามมาด้วยวิลเลียมส์และแม็กลาเรนด้วยตำแหน่งแชมป์โลกเก้าสมัย และเมอร์เซเดสด้วยตำแหน่งแชมป์โลกแปดสมัย[12][13] และด้วยตำแหน่งแชมป์โลก 16 สมัยนี้ ยังทำให้แฟร์รารีเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากที่สุด ตามมาด้วยเรอโนลต์ (12 สมัย) เมอร์เซเดส (11 สมัย) ฟอร์ด (10 สมัย) และฮอนด้า (6 สมัย) ตามลำดับ[14] เมอร์เซเดสครองสถิติผู้ผลิตที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกันมากที่สุดเป็นเวลาแปดฤดูกาล ตั้งแต่ฤดูกาล 2014 ถึง 2021[15]
ตำแหน่งแชมป์โลกถูกมอบให้กับผู้ผลิตแชสซีที่ออกแบบและผลิตในสหราชอาณาจักรเกือบทุกสมัย (ยกเว้น 17 สมัยที่แฟร์รารีได้รับตำแหน่งแชมป์โลกด้วยแชสซีที่ผลิตในอิตาลี 16 สมัย และมาทราด้วยแชสซีที่ผลิตในฝรั่งเศสอีกหนึ่งสมัย)[16] ส่วนทีมผู้ผลิตที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลก แต่นักขับของทีมไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับในฤดูกาลเดียวกันนั้นเกิดขึ้นทั้งหมด 12 ครั้ง[13] ตำแหน่งแชมป์โลกยังถูกมอบให้กับผู้ผลิตรถสำหรับทีมโรงงานในการแข่งขันเกือบทุกสมัย (ยกเว้นแต่มาทราในฤดูกาล 1969 ที่ผลิตรถให้กับทีมอิสระของเคน ไทร์เรล ในชื่อมาทราอินเตอร์เนชันแนล)[17][18] ในบรรดานักขับที่มีส่วนทำคะแนนอย่างน้อยหนึ่งคะแนนในการชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิต ลูวิส แฮมิลตัน เป็นนักขับที่มีส่วนทำให้ทีมผู้ผลิตได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากที่สุดถึงแปดสมัย ซึ่งเป็นของเมอร์เซเดสทุกสมัย[19]
แบ่งตามฤดูกาล
[แก้]บ่งบอกถึงผู้ผลิตที่ไม่มีนักขับที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ | |
* | บ่งบอกถึงนักขับของผู้ผลิตที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ |
† | บ่งบอกถึงฤดูกาลที่เป็นการมอบ ถ้วยนานาชาติสำหรับผู้ผลิตฟอร์มูลาวัน |
- หมายเหตุ
- ↑ แสดงเฉพาะแค่นักขับที่มีส่วนร่วมในการทำคะแนนชิงแชมป์โลกเท่านั้น และจะระบุหมายเลขรถก็ต่อเมื่อนักขับใช้หมายเลขนั้นตลอดทั้งฤดูกาลแข่งขัน (หมายเลขรถของนักขับสำรองจะอยู่ในวงเล็บ)
- ↑ แสดงเฉพาะคะแนนที่นำมาสะสมเพื่อชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตเท่านั้น
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 เครื่องยนต์ผลิตโดยคอสเวิร์ธ[22]
- ↑ 4.0 4.1 เครื่องยนต์ผลิตโดยพอร์เชอ[23]
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 เครื่องยนต์ผลิตโดยเมกาโครม[24]
- ↑ เครื่องยนต์ผลิตโดยอิลมอร์[25]
- ↑ ในฤดูกาล 2010 เกิดการปรับปรุงระบบคะแนนใหม่ ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากของคะแนนรวม[26]
- ↑ เครื่องยนต์ผลิตโดยฮอนด้า[27]
แบ่งตามผู้ผลิตแชสซี
[แก้]ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล |
---|---|---|
แฟร์รารี | 16 | 1961, 1964, 1975, 1976, 1977, 1979, 1982, 1983, 1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2004, 2007, 2008 |
วิลเลียมส์ | 9 | 1980, 1981, 1986, 1987, 1992, 1993, 1994, 1996, 1997 |
แม็กลาเรน | 1974, 1984, 1985, 1988, 1989, 1990, 1991, 1998, 2024 | |
เมอร์เซเดส | 8 | 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020, 2021 |
โลตัส | 7 | 1963, 1965, 1968, 1970, 1972, 1973, 1978 |
เร็ดบุลเรซซิง | 6 | 2010, 2011, 2012, 2013, 2022, 2023 |
คูเปอร์ | 2 | 1959, 1960 |
แบร็บแฮม | 1966, 1967 | |
เรอโนลต์ | 2005, 2006 | |
แวนวอล | 1 | 1958 |
บีอาร์เอ็ม | 1962 | |
มาทรา | 1969 | |
ไทร์เรล | 1971 | |
เบเนตตอน | 1995 | |
บรอว์น | 2009 | |
15 ผู้ผลิต | 67 ตำแหน่ง |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามผู้ผลิตเครื่องยนต์
[แก้]ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล |
---|---|---|
แฟร์รารี | 16 | 1961, 1964, 1975, 1976, 1977, 1979, 1982, 1983, 1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2004, 2007, 2008 |
เรอโนลต์[a] | 12 | 1992, 1993, 1994, 1995, 1996, 1997, 2005, 2006, 2010, 2011, 2012, 2013 |
เมอร์เซเดส[b] | 11 | 1998, 2009, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020, 2021, 2024 |
ฟอร์ด[c] | 10 | 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1973, 1974, 1978, 1980, 1981 |
ฮอนด้า | 6 | 1986, 1987, 1988, 1989, 1990, 1991 |
ไคลแม็กซ์ | 4 | 1959, 1960, 1963, 1965 |
เรปโก | 2 | 1966, 1967 |
เตอาเฌ[d] | 1984, 1985 | |
แวนวอล | 1 | 1958 |
บีอาร์เอ็ม | 1962 | |
อาร์บีพีที[e] | 2022 | |
ฮอนด้า อาร์บีพีที | 2023 | |
12 ผู้ผลิต | 67 ตำแหน่ง |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามยางรถยนต์ที่ใช้
[แก้]ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล | |
---|---|---|---|
G | กู๊ดเยียร์ | 26 (7)[a] | 1966–1967, 1971, 1973–1978, 1980–1983, 1985–1997 |
P | ปีเรลลี | 14 (14)[b] | 2011–2024 |
B | บริดจสโตน | 11 (6)[c] | 1998–2004, 2007–2010 |
D | ดันลอป | 9 (4)[d] | 1958–1965, 1969 |
M | มิชลิน | 4 | 1979, 1984, 2005–2006 |
F | ไฟร์สโตน | 3 | 1968, 1970, 1972 |
- หมายเหตุ
- จำนวนในวงเล็บคือตำแหน่งแชมป์โลกจากการเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้ผลิตยางรถยนต์ที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่จัดหายางรถยนต์ในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
- ↑ กู๊ดเยียร์เป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1987 ถึง 1988 และ 1992 ถึง 1996[28]
- ↑ ปีเรลลีเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ฤดูกาล 2011[29]
- ↑ บริดจสโตนเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1999 ถึง 2000 และ 2007 ถึง 2010[30]
- ↑ ดันลอปเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1960 ถึง 1963[28]
ตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกัน
[แก้]แบ่งตามผู้ผลิตแชสซี
[แก้]ผู้ผลิตแชสซีทั้งสิ้นเก้าทีมได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตติดต่อกัน โดยมีเพียงแฟร์รารีและวิลเลียมส์เท่านั้นที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกันในสี่ช่วงฤดูกาล[13][15]
จำนวนตำแหน่ง | ผู้ผลิต | ฤดูกาล |
---|---|---|
8 | เมอร์เซเดส | 2014–2021 |
6 | แฟร์รารี | 1999–2004 |
4 | แม็กลาเรน | 1988–1991 |
เร็ดบุลเรซซิง | 2010–2013 | |
3 | แฟร์รา��ี | 1975–1977 |
วิลเลียมส์ | 1992–1994 | |
2 | คูเปอร์ | 1959–1960 |
แบร็บแฮม | 1966–1967 | |
โลตัส | 1972–1973 | |
วิลเลียมส์ | 1980–1981 | |
1986–1987 | ||
1996–1997 | ||
แฟร์รารี | 1982–1983 | |
2007–2008 | ||
แม็กลาเรน | 1984–1985 | |
เรอโนลต์ | 2005–2006 | |
เร็ดบุลเรซซิง | 2022–2023 |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามผู้ผลิตเครื่องยนต์
[แก้]ผู้ผลิตเครื่องยนต์ทั้งสิ้นแปดทีมได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตติดต่อกัน โดยมีเพียงแค่แฟร์รารีและเรอโนลต์ที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกันในสามช่วงฤดูกาล และฟอร์ดในสองช่วงฤดูกาล[12][13]
จำนวนตำแหน่ง | ผู้ผลิต | ฤดูกาล |
---|---|---|
8 | เมอร์เซเดส | 2014–2021 |
7 | ฟอร์ด | 1968–1974 |
6 | ฮอนด้า | 1986–1991 |
เรอโนลต์ | 1992–1997 | |
แฟร์รารี | 1999–2004 | |
4 | เรอโนลต์ | 2010–2013 |
3 | แฟร์รารี | 1975–1977 |
2 | ไคลแม็กซ์ | 1959–1960 |
เรปโก | 1966–1967 | |
ฟอร์ด | 1980–1981 | |
แฟร์รารี | 1982–1983 | |
2007–2008 | ||
เตอาเฌ | 1984–1985 | |
เรอโนลต์ | 2005–2006 |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About FIA". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 24 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ Williamson, Martin. "A brief history of Formula One". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
- ↑ Hughes, Mark; Tremayne, David (2002). The Concise Encyclopedia of Formula 1. Parragon. pp. 82–83. ISBN 0-75258-766-8.
- ↑ "2020 Formula One Sporting Regulations" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 7 April 2020. pp. 3–4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Verlin, Kurt (10 October 2017). "Quick Guide to Formula One Constructors". The News Wheel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2 December 2020.
- ↑ Hayhoe, David (1989). Kimberley Grand Prix Data Book: Formula 1 Racing Facts and Figures 1950 to Date. Sparkford, England: Haynes Publishing. p. 8. ISBN 0-946132-63-1.
- ↑ Galloway, James (29 October 2020). "Mercedes: How they can clinch F1 Constructors' Championship at Emilia Romagna GP". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Murphy, Luke (8 December 2018). "Hamilton & Mercedes F1 officially crowned at FIA Prize Giving Ceremony". Motorsport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Hughes, Peter (1 August 2018). "Vanwall's constructors' championship in '58 changed Grand Prix racing forever". Autoweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Diepraam, Mattijs (3 January 2008). "Poachers turned gamekeepers: how the FOCA became the new FIA: Part 4: 1981 – long live the FIA F1 World Championship". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2008. สืบค้นเมื่อ 10 March 2024.
- ↑ "F1 Stats Zone – Results by Team". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "Constructors' Championships". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2024. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 13.8 Diepraam, Mattijs (3 November 2019). "European & World Champions". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
- ↑ "Statistics Engines - World Champion titles - Chronology". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2024. สืบค้นเมื่อ 24 December 2024.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 "Statistics Constructors - World Champion titles consecutively". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2018. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Barretto, Lawrence (26 June 2013). "Motorsport Valley - the home of Formula 1". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
- ↑ Diepraam, Mattijs (November 2000). "Ken's team at the height of its powers". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2006. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ "Matra Sports SARL". GrandPrix.com. Inside F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Southwell, Hazel (12 December 2021). "Mercedes seal record eighth consecutive constructors title as Hamilton misses driver's crown". RaceFans. Collantine Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ "Formula One - Results". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2014. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ "Decisive - Chronology - Constructors championship". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
- ↑ 22.0 22.1 "Cosworth's Gearing Up For F1 Return In 2021". CarScoops. 20 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ 23.0 23.1 Perkins, Chris (31 May 2019). "Porsche Was Working on a Formula 1 Engine for 2021". Road & Track. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ 24.0 24.1 "New contract for Renault, Mecachrome". Crash. 24 November 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ 25.0 25.1 Tytler, Ewan (3 January 2001). "Ilmor: Bowmen of the Silver Arrows". Atlas F1. 7 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Formula 1 adopts new points system for 2010 season". BBC Sport. BBC. 2 February 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ 27.0 27.1 "Honda and Red Bull extend power unit support deal until 2025". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2022.
- ↑ 28.0 28.1 White, John (2008) [2007]. The Formula One Miscellany (Second ed.). London, England: Carlton Books. p. 122. ISBN 978-1-84732-112-1 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ Kalinauckas, Alex (25 November 2018). "Pirelli secures tender to supply Formula 1 tyres until 2023". Autosport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ "Bridgestone Awarded 'Bolster' for F1 Technical Achievements". Tyre Press. 8 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.