ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่ออาหารจากเต้าหู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เต้าหู้มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนและเป็นอาหารมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น ซึ่งรวมแล้วมากกว่า 2,000 ปี[1] เป็นอาหารที่ทำมาจากน้ำเต้าหู้ที่รวมตัวกันเป็นลิ่มน้ำนม แล้วกดให้เป็นก้อนขาวที่มีความแข็งต่างกันตามแต่ชนิดของเต้าหู้ เต้าหู้ยังเป็นองค์ประกอบดั้งเดิมของอาหารในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม[2]

รายชื่ออาหาร

[แก้]

ต่อไปนี้คือรายชื่ออาหารประเภทเต้าหู้ หรือมีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบหลัก[3][4]

ชื่ออาหาร ชื่อในภาษาท้องถิ่น ชื่ออื่น ภาพ แหล่งกำเนิด ชนิดของเต้าหู้ที่เป็นส่วนประกอบ รายละเอียด
กัมโมโดกิ がんもどき หรือ 雁擬き
ญี่ปุ่น เป็นเต้าหู้ชุบแป้งทอด ผสมผักเช่น แคร์รอต รากบัว และโกะโบ อาจผสมไข่ กัมโมโดกิ แปลว่า "ห่านเทียม" (がん, 雁) จากรสชาติที่คล้ายเนื้อห่าน ชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า กัมโม[5] ในสมัยเอโดะ กัมโมโดกิทำจากบุก ในญี่ปุ่นทางตะวันตก กัมโมโดกิมีชื่อเรียกว่า ฮิเรียวซุ, ฮิริวซุ หรือ ฮิโรซุ มาจากคำภาษาโปรตุเกสว่า ฟิลยอช (filhós) หรือคำภาษาสเปนว่า ฟิโยส (fillos)[6]
จัมปูรู チャンプルー ญี่ปุ่น เต้าหู้ขาว เป็นอาหารโอกินาวะ[7][8] ด้วยการผัด มีส่วนผสมหลักคือเต้าหู้, ผักรวม, เนื้อหรือปลา, เนื้อตัดเย็นหั่นบาง (luncheon meat), ไข่, ถั่วงอก, มะระ และเครื่องปรุงรสอื่น ๆ คำว่า จัมปูรู ในภาษาโอกินาวะนั้นมีความหมายว่า "ผสมไปบางอย่าง" ซึ่งสื่อถึงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมโอกินาวะ, จีน, ญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่, อุษาคเนย์ และอเมริกาเหนือ โดยยืมมาคำว่า จัมปูร์ (อย่างเดียวกับคำว่า นาซีจัมปูร์) ในภาษามลายู-อินโดนีเซียแปลว่า "ผสม"[9]
เชียนจังเปา หรือ ไป่เย่เปาโร่ว 千张包 หรือ 百叶包肉 จีน ฟองเต้าหู้หรือแผ่นเต้าหู้แข็ง
ซาโปตาฮู sapo tahu เต้าหู้หม้อดิน อินโดนีเซีย เป็นอาหารจีน-อินโดนีเซียที่ปรุงและเสิร์ฟในหม้อดิน[10] อาจเป็นได้ทั้งอาหารมังสวิรัติ หรือมีเนื้อไก่ อาหารทะเล (โดยเฉพาะกุ้ง) เนื้อสับ หรือแม้กระทั่งหมู เป็นอาหารจากเต้าหู้ยอดนิยมในอินโดนีเซีย มีชื่อในภาษาจีนคือ ชากัวโต้วฟู (砂鍋豆腐)
ตาฮูเก็จรต tahu gejrot
อินโดนีเซีย เป็นเต้าหู้ทอดของชาวอินโดนีเซียในน้ำจิ้มเผ็ดหวานจากจีเรอบน[11] เมืองท่าในจังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยตาฮูปง (เต้าหู้ทอดแบบเป็นโพรงข้างใน) หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มที่ผสมจากน้ำตาลปี๊บ น้ำส้มสายชู และซีอิ๊วหวาน ในชามดินเผาขนาดเล็กโรยหน้าด้วยกระเทียมทอดป่น หอมแดงโขลก และพริกขี้หนูหั่นเป็นชิ้นเพื่อเพิ่มความเผ็ด
ตาฮูโกเร็ง tahu goreng เตาฮูโกเร็ง, เต้าหู้ทอด อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ตาฮูโกเร็ง (หรือเตาฮูโกเร็งตามการเรียกในมาเลเซียและสิงคโปร์) เป็นชื่อสามัญของเต้าหู้ทอดทุกประเภทในอาหารของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ตาฮูซูเมอดัง tahu sumedang
อินโดนีเซีย เป็นเต้าหู้ทอดแบบซุนดาจากอำเภอซูเมอดัง จังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ผลิตขึ้นครั้งแรกโดยชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนชื่อ อง กีโน (Ong Kino) มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเต้าหู้ทอดอื่น ๆ มีรสชาติจัด เสิร์ฟคู่กับลนตง ซัมบัล ซีอิ๊ว พริกขี้หนูเขียว[12][13] เต้าหู้ทอดแบบนี้มีเปลือกขรุขระ กรุบกรอบ[14] ข้างในเป็นโพรง[12][15] และอ่อนนุ่ม[16]
เต้าหู้ทอด จีน เต้าหู้ทอด เป็นอาหารทอดที่เป็นอาหารว่าง ทำจากเต้าหู้ ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมและเรียบง่ายของเต้าหู้ทอด ในรายการอาหารอื่น ๆ
เต้าหู้เหม็น 臭豆腐 จีน เต้าหู้หมัก เป็นอาหารทอด ทำจากเต้าหู้หมักซึ่งมีกลิ่นแรงที่มีเอกลักษณ์ เต้าหู้เหม็นเป็นอาหารว่างข้างท��งที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักคลุกในน้ำจิ้มพริกสดกระเทียม มีชื่อเรียกอื่นในภาษาจีนคือ ชิงฟัง (青方)[17] และมีให้เลือก 2 แบบคือ สีขาว (ทั่วไป) และสีดำ (แบบหูหนาน) ซึ่งทอดจนพองกลวงข้างในเพื่อให้ซุปและน้ำจิ้มเข้าไปด้านใน
เต้าฮวย 豆花 จีน เต้าฮวย เป็นอาหารว่างแบบจีนที่เป็นได้ทั้งของหวานและของคาว เกิดจากการจับตัวเป็นก้อนของน้ำถั่วเหลือง เกิดรสสัมผัสคล้ายกับเยลลี่หรือพุดดิ้ง เนื้อสัมผัสของเต้าฮวยนุ่มกว่าเต้าหู้ ในประเทศไทยมีสองแบบคือ เต้าฮวยฟรุตสลัด และ เต้าฮวยน้ำขิง
โตกวัตบาบอย tokwa’t baboy ฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหูหมู หมูสามชั้น และเต้าหู้ทอด เติมส่วนผสมของซีอิ๊ว น้ำซุปหมู น้ำส้มสายชู หอมใหญ่หั่น และพริก บางครั้งรับประทานเป็นอาหารว่างหรือกินกับข้าวและโจ๊กหมู
ทูบูกิมชี 두부김치 เกาหลี เต้าหู้ขาวกึ่งแข็ง เป็นอาหารเกาหลีที่ประกอบด้วยเต้าหู้และกิมจิผัด[18] เต้าหู้ลวกนุ่ม อุ่น เสิร์ฟพร้อมแพชูกิมชี (กิมจิกะหล่ำปลี) ผัดกับหมู เหมาะสำหรับกินแกล้มเหล้าเช่น โซจูหรือมักก็อลลี[19]
ทเว็นจังจีแก 된장찌개 ซุปเต้าเจี้ยวหม้อไฟเกาหลี เกาหลี เต้าหู้ขาวกึ่งแข็ง แกงข้นเต้าเจี้ยวเกาหลี เป็นอาหารเกาหลีที่เป็นแกงข้นแบบสตู หรือเรียก "สตูเต้าเจี้ยว" วัตถุดิบหลักคือ ทเว็นจัง (เต้าเจี้ยวบดหยาบ หรือเรียก "เต้าเจี้ยวเกาหลี") เพิ่มเติมด้วย ผัก อาหารทะเล และเนื้อสัตว์[20] เป็นอาหารดั้งเดิมที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งในรายการอาหารเกาหลี และมักกินกันทุกมื้ออาหาร มักได้รับการอ้างว่าเป็นอาหารประจำชาติของเกาหลี[21]
บู๊นอ๊ก bún ốc เวียดนาม เต้าหู้ทอด ขนมจีนหอยโข่ง เป็นอาหารเวียดนามเหนือ โดยเฉพาะในบริเวณกรุงฮานอยและใกล้เคียง

มีความคล้ายคลึงกับหลัวซือเฝิ่น (แปลตามตัวอักษรว่า "ขนมจีนหอยโข่ง") ของกว่างซี ที่มีฟองเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ

ผีต้านโต้วฟู 皮蛋豆腐 เต้าหู้เย็นราดไข่เยี่ยวม้า จีน เต้าหู้อ่อน เป็นอาหารว่าง ประกอบด้วยเต้าหู้อ่อนหั่นเป็นก้อน โรยหน้าด้วยไข่เยี่ยวม้าสับ และราดด้วยเครื่องปรุงรสเช่น กระเทียมสับละเอียด, หอมซอย, ซอสถั่วเหลือง และน้ำส้มสายชูดำ และอาจโรยหน้าด้วยถั่วลิสงทอด ผักชี
มุนตาฮู mun tahu อินโดนีเซีย เต้าหู้อ่อน เป็นอาหารจีน-อินโดนีเซียที่ใช้เต้าหู้อ่อน เคี่ยวในซอสข้น ผสมกับเนื้อไก่สับและกุ้ง ชื่อในภาษาจีนคือ เมิ่นโต้วฟู (焖豆腐)
เย็นตาโฟ 酿豆腐 ย้องแท้วฟู้[22] จีน เต้าหู้ทอด อาหารเส้นแบบจีนแคะ ย้องแท้วฟู้ หมายถึง เต้าหู้หมักยัดไส้หมูสับ หรือที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ "เต้าหู้แคะ" ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ "ก๋วยเตี๋ยวแคะ" เป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและภูมิภาคไต้หวันของจีน รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรชาวจีนแคะอาศัย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และอื่น ๆ
หมาผัวโต้วฟู 麻婆豆腐 เต้าหู้ผัดพริกเสฉวน[23]
จีน เต้าหู้ขาว เป็นอาหารจีนยอดนิยมชนิดหนึ่งจากมณฑลเสฉวน ประกอบด้วยเต้าหู้ปรุงในน้ำซอสพริกหมาล่า มีความมันและสีแดงเข้มจากส่วนผสมของโต้วป้าน (เครื่องปรุงที่ทำจากถั่วปากอ้าหมักดองกับพริก) เต้าซี่ (ถั่วดำหมักดอง) รสเผ็ดชาของพริกและพริกไทยเสฉวน พร้อมกับเนื้อสับซึ่งตามธรรมเนียมเดิมจะใช้เนื้อวัว[24] อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมส่วนผสมโดยใช้แห้วจีน หัวหอม ผักอื่น ๆ และเห็ดหูหนูเป็นต้น
อาเงดาชิโดฟุ 揚げ出し豆腐 ญี่ปุ่น เต้าหู้ขาวหรือเต้าหู้อ่อน
อาบูระ-อาเกะ 油揚げ ญี่ปุ่น เต้าหู้ขาว เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ผลิตจากเต้าหู้ชิ้นบาง ทอด 2 ครั้ง และยังสามารถยัดไส้อย่างนัตโตเป็นต้น
อินาริซูชิ 稲荷寿司 ซูชิเต้าหู้หวาน[25] ญี่ปุ่น อาบูระ-อาเกะ เป็นซูชิที่ห่อด้วยเต้าหู้ทอดแบบบาง (อาบูระ-อาเกะ) โดยทั่วไปใส่ข้าวซูชิเพียงอย่างเดียว ชื่อของอินาริซูชินี้ได้รับการเล่าขานจากนิทานพื้นบ้านว่าตั้งชื่อตามอินาริ เทพเจ้าในลัทธิชินโต เชื่อกันว่าสุนัขจิ้งจอกผู้ส่งสารแห่งเทพอินาริชื่นชอบเต้าหู้ทอดนี้ และยังสันนิษฐานว่าการห่ออินาริซูชิให้มีมุมแหลมคล้ายหูของสุนัขจิ้งจอก[26]
ฮ่อยจ๊อ 蟹棗 หอยจ๊อ, หอยจ้อ จีน ฟองเต้าหู้
ฮิยายักโกะ 冷奴 เต้าหู้เย็นญี่ปุ่น ญี่ปุ่น เต้าหู้ขาวหรือเต้าหู้อ่อน ฮิยายักโกะหรือเต้าหู้เย็นญี่ปุ่นคือเต้าหู้แช่เย็นราดโชยุ โรยด้วยเครื่องต่าง ๆ เช่น ปลาแห้งคัตสึโอบูชิ ต้นหอม เป็นต้น เต้าหู้เย็นญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในฤดูร้อน รวมถึงยังเป็นกับแกล้มที่เข้ากับเหล้าอีกด้วย จึงเป็นหนึ่งในเมนูที่พบในอิซากายะ

รายชื่อเครื่องปรุงรส

[แก้]

ต่อไปนี้คือรายชื่อเครื่องปรุงรสที่มีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบหลัก

ชื่ออาหาร ชื่อในภาษาท้องถิ่น ชื่ออื่น ภาพ แหล่งกำเนิด ชนิดของเต้าหู้ที่เป็นส่วนประกอบ รายละเอียด
เต้าหู้ยี้ 豆腐乳 หรือ 腐乳 โต้วฟู่หรู่ จีน เต้าหู้ยี้ได้จากการหมักเต้าหู้กับเกลือและเครื่องปรุงแต่งรสต่าง ๆ และผ่านกรรมวิธีทุติยภูมิด้วยเชื้อรา ลักษณะเป็นก้อนเต้าหู้เนื้ออ่อนแน่น มีรสหลักเค็ม สีและรสชาติรองแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารโดยตรงหรือนำไปประกอบการทำอาหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "History of tofu". Soya.be. 2015-11-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
  2. "What is Tofu? What's the Best Way to Cook It?". devour.asia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
  3. Du Bois at al. (2008), pp. 13–14
  4. Knopper, (Jan. 2002), p.16
  5. Japan Tofu Association. "Tofu history". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  6. Ishige, Naomichi (2011). The history and culture of Japanese food. London; New York: Routledge. p. 94. ISBN 978-0-203-35790-3. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
  7. "ちゃんぷるー" [Chanpuru]. Dijitaru Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
  8. "Goya Chanpuru". About.com Japanese Food. สืบค้นเมื่อ September 7, 2011.
  9. "ちゃんぷるー" [Chanpuru]. Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 153301537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
  10. "Hangat Bergizi Si Sapo Tahu". detikfood (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-25.
  11. Media, Kompas Cyber. "6 Kuliner Khas Cirebon yang Akan Menggoyang Lidah Anda Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
  12. 12.0 12.1 Gunawan & Khairunnisa 2010, p. 106
  13. Oey 1997, p. 343
  14. Sofyan, Eko Hendrawan (7 January 2012). "Tahu Sumedang, Lezat berkat Air Tampomas". Kompas. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
  15. Saragih & Sarwono 2001, p. 5
  16. Ganie, Suryatini N. (7 May 2006). "From Doufu to tahu". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2013. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
  17. ปิดจมูกลิ้มรสอร่อย “เต้าหู้เหม็น”[ลิงก์เสีย]
  18. Lewis, Tim (16 October 2016). "OFM Awards 2016 best new cookbook: Our Korean Kitchen". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
  19. "dubu kimchi" [Tofu with Stir-Fried Kimchi]. Korean Food Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.[ลิงก์เสีย]
  20. Pettid, M. J. (2008). Korean Cuisine: An Illustrated History. London, United Kingdom: Reaktion Books.
  21. Ashkenazi, Michael; Jacob, Jeanne (2006). The World Cookbook for Students. Greenwood. p. 60.
  22. "เย็นตาโฟ", วิกิพีเดีย, 2021-12-02, สืบค้นเมื่อ 2022-02-27
  23. สูตร หม่าโผวโต้วฟุ (20) สูตร Cookpad, สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565.
  24. Dunlop, Fuchsia (2001). Land of Plenty. W. W. Norton Company. pp. 313. ISBN 0393051773.
  25. "รู้จัก อินาริซูชิ (Inari sushi) : ซูชิเต้าหู้หวาน คืออะไร". Chill Chill Japan.
  26. Smyers, Karen Ann. The Fox and the Jewel: Shared and Private Meanings in Contemporary Japanese Inari Worship(1999), Honolulu: University of Hawaii Press, p. 96.