ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ปกหนังสือ "ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม" (ซ้าย) เล่ม 1 (ขวา) เล่ม 2 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2400 | |
ผู้ประพันธ์ | เซอร์จอห์น เบาริ่ง |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | The Kingdom and People of Siam |
ประเทศ | อังกฤษ |
ภาษา | อังกฤษ |
ประเภท | บันทึกการเดินทาง หนังสืออ้างอิง |
สำนักพิมพ์ | London: J.W. Parker and son มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย |
วันที่พิมพ์ | ตุลาคม พ.ศ. 2400 |
หน้า | เล่ม 1 : 528 หน้า เล่ม 2 : 482 หน้า |
ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม (อังกฤษ: The Kingdom and People of Siam) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยเซอร์จอห์น เบาริง ในปี พ.ศ. 2398 หลังจากที่ได้กลับจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งในสยามเสร็จลงแล้ว โดยได้เขียนคำนำเสร็จในปี พ.ศ. 2399 ซึ่งในปีนั้นเซอร์จอห์น เบาริ่งกำลังดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงฮ่องกงของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2400 ได้นำต้นฉบับหนังสือนี้ไปตีพิมพ์ที่อังกฤษ หรือ 2 ปีจากการลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่ง นับเป็นหนังสือสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งเกี่ยวกับสยามประเทศ หนังสือเล่มนี้มีทั้งสิ้น 1010 หน้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เล่ม 16 บท ภาคผนวก 17 ตอน [1]
หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวประเทศสยามตั้งแต่เรื่องของสภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ผลิตผลธรรมชาติ ประเทศราชของสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอุษาอาคเนย์ แม้กระทั่งบันทึกประจำวัน 1 เดือนเต็มของเซอร์จอห์น เบาริง เบาริงเป็นคนละเอียดลออรู้เรื่องระบบบัญชีดังนั้นจึงเก็บรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสยามมากมายเลยคณานัปนอกเหนือจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้วเบาริงยังมีรูปภาพประกอบด้วยมีทั้งหมด 19 รายการรูปแม่น้ำเจ้าพระยา วัง วัด พระแก้วมรกตและช้างเผือก อีกด้วย [2]
หนังสือชุดนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2399 ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษและการศึกษาเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ค่อนข้างยากซึ่งในการตีพิมพ์นั้นพิมพ์ออกมาน้อยจึงมักมีคนสะสมเก็บของเก่าทำให้ไม่สะดวกและการศึกษาค้นคว้าแต่เป็นที่น่าดีใจในปี พ.ศ. 2512 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และให้ ศ. เดวิด วัยอาจ เขียนคำนำให้แต่ในการตีพิมพ์
หนังสือเล่มนี้เป็นจดหมายเหตุของยุคหนึ่งของสยามประเทศโดยผงาดขึ้นมาท่ามกลางหนังสือยุคคลาดสิคอย่างบันทึกของลาลูแบร์ในสมัยอยุธยา หรืออีกเล่มหนึ่งอย่างหนังสือของสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์ ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนมีประสบการณ์ใช้ชีวิตในสยามตลอดทั้งชีวิตแต่เบาริงอยู่ในสยามเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น รายละเอียด เนื้อหาและการเขียนของหนังสือเล่มนี้จึงอ้างอิงหนังสือทั้งสองเล่มข้างต้นมาอย่างมากมาย สำนวนที่เบาริ่งได้นำเสนอในหนังสือของเขานั้นได้นำมาจากภาษาละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมถึงภาษาจีน และภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นผลมาจากการค้นคว้าเรื่องราวของชาวสยามอย่างจริงจังของเขา
เบาริ่งเป็นผู้ว่าการเมืองฮ่องกงและเป็นอัครราชทูตประจำประเทศจีนเป็นเวลา 9 ปีภารกิจแรกสุดของเขา คือ ภารกิจพิเศษในสยามที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้ เนื่องจากอาชีพของเขาทั้งก่อนและหลังมาเยือนกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2398 นั้นมีความหลากหลายและก่อประโยชน์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในอีกหลายปีต่อมาเขาจะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในชีวิตข้าพเจ้า ผลของภารกิจนี้เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ สนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งเรื่องราวของการทำสนธิสัญญา เหตุการณ์ได้ปรากฏอยู่ภายในหนังสือเล่มนี้
เนื้อหา
[แก้]หนังสือ "ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม" ของเซอร์จอห์น เบาริ่ง ได้กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของสยาม ภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ เมือง วัด วัง รวมถึงความเชื่อ ศาสนา พิธีกรรม และประวัติศาสตร์ ของชาวสยามในเวลานั้น ในส่วนประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมเนื้อหา ที่ทรงแปลด้วยพระองค์เองจากศิลาจารึก "เพื่อแสดงให้เห็นว่าสยามเป็นอารยะที่มีภาษาเป็นของตนเองมานานกว่า 600 ปี"[4] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนภาพวาดพระแก้มมรกตทรงเครื่องสามฤดูขึ้น ตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ทรงทราบว่าอังกฤษจะส่งเซอร์จอห์น เบาริ่ง เข้สมาเจรจาทำสนธิสัญญา ทั้งยังทรงนิพนธ์ "ตำนานพระแก้มมรกต" พระราชทานคู่ไปตั้งแต่ก่อนครั้งที่เบาริ่งจะเดินทางเข้ามาประเทศสยาม ดังข้อความในตอนท้ายของตำนานฯ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือราชอาณาจักรและราษฎรสยาม ของเบาริ่งดังนี้
"ครั้น ณ ปีที่ 70 โดยรัชกาลพุทธศักราช 2394 คริสต์ศักราช 1851 ปี เพ็ญเดือน 6 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ... ดำรัสให้ช่างเขียนๆ รูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องต้นตามฤดูทั้งสามนี้ลงในแผ่นผ้าใหญ่ พระราชทานให้แก่ชาวต่างประเทศซึ่งมีไมตรีแต่มิได้เคยมายังกรุงเทพฯ นี้ อยากจะใคร่เห็นพระแก้วมรกตนั้น"
— ตำนานพระแก้วมรกตที่ตีพิมพ์ในหนังสือของเบาริ่ง
ซึ่งภาพพระแก้วมรกตที่ทรงพระราชทานให้นั้นเบาริ่งก็ได้นำมาตีพิมพ์ลงหนังสือของเขาในเวลาต่อมาด้วย
บทที่ 1 : ภูมิศาสตร์
[แก้]เบาริ่งได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของสยามตั้งแต่ภูเขา ลำน้ำ รวมถึงได้ตีพิมพ์แผนที่ของสยามจากคณะสำรวจชาวอังกฤษในยุคนั้นด้วย ซึ่งเบาริ่งได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายอาณาจักรสยามว่า ราชอาณาจักรสยามประกอบไปด้วยหัวเมืองต่างๆ 41 เมือง ปกครองโดยพระยาหรือข้าราชการที่มีตำแหน่งสูงสุด แต่ละเมืองแบ่งย่อยเป็นอำเภอได้อีกจำนวนมาก โดยเบาริ่งอธิบายว่าแต่ละอำเภอนั้นมีกรมการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ และเบาริ่งได้เก็บรวบรวมรายละเอียดหัวเมืองสมัยนั้นไว้ด้วยคือ
- ภาคเหนือมี 5 หัวเมือง ได้แก่ สังคโลก (สวรรคโลก) พิษโลก หรือ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิชัย แหง (ตาก)
- ภาคกลางมี 9 เมืองได้แก่ นนทบุรีหรือตลาดขวัญ ปากเตร็ด (ปากเกร็ด) ปทุมทานี หรือ สามโคก โยเดีย (อยุธยา) หรือกรุงเก่า อ่างทอง เมืองพรม (พรมบุรี) เมืองอินทร์ (อินทร์บุรี) ชัยนาท นครสวรรค์
- ทางตะวันออก 10 เมือง ได้แก่เพชรบูรณ์ บัวชุม สระบุรี นพบุรี นครนายก ปราจีณ กบินทร์ ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว พระตะบองและพนัสนิคม
- ทางตะวันตก 7 เมือง ได้แก่เมืองสิงห์ สุพรรณหรือสุพรรณบุรี กาญจนบุรีหรือปากแพรก ราชพรีหรือราชบุรี นครชัยศรี สาครบุรีหรือท่าจีน สมุทรสงครามหรือแม่กรอง
- ปากใต้มี 10 เมืองได้แก่ นครเขื่อนขันธ์ ปากน้ำหรือสมุทรปราการ บางปลาสร้อยหรือชะระบุรี ระยอง จันทรบูรหรือจันทบุรี ทุ้งใหญ่พริบพรีหรือเพชรบุรี ขุมพร ไขน่ ถลางหรือสลาง
เบาริ่งยังอธิบายอีกว่านักจดหมายเหตุชาวสยามแบ่งอาณาจักรนี้ออกเป็นสองส่วน คือภาคเหนือ หรือหัวเมืองเหนือ กับภาคใต้หรือเมืองใต้ ผู้คนตั้งบ้านเรือนในเมืองเหนือก่อนบางคราวได้เรียกชื่อพงศาวดารของถาคใต้ว่า "พงศาวดารกรุง" ที่เริ่มจดบันทึกตั้งแต่อยุธยาเป็นราชธานี ชื่อที่ชาวพื้นเมืองของอาณาจักรนี้เรียกขานตัวเองคือ ไทย หมายความถึง อิสระ หรือเมืองไทย (อาณาจักรเสรี หรืออาณาจักรแห่งความอิสระ) สังฆราชเปอลัลกัวซ์ ผู้เป็นต้นตำหรับในการตั้งคำถามกว่าวชื่อสมัยใหม่ของ สยาม ว่าได้มาจากชื่อโบราณหรึ่งที่เรียกประเทศนี้ว่า ศา-ยาม หมายถึง เชื้อชาติผิวดำ สำหรับแกมป์เฟอร์ (Kämpfer) (ชื่ออาณาจักร) นั้นมันฟังดูยิ่งใหญ่พร้อมกับการแสดงลักษณะที่ว่า กรุงเทพพระมหานคร ตรงกับภาษาละตินที่ว่า "Circuitus visitationis Deorum" แปลความได้ว่า มณฑลแห่งการมาเยือนของเทพเจ้า ซึ่งมีความหมายคล้ายกับคำที่ชาวจีนใช้เรียกจักรวรรดิของตนว่า เทียนเซี่ย หรือภายใต้อำนาจของสวรรค์ หมายความถึงอิทธิพลของสวรรค์เป็นของเฉพาะแต่ประเทศจีนแต่เพียงผู้เดียว
เส้นเขตแดนของอาณาจักรนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย แต่ไม่อาจกำหนดชายแดนทางตะวันตก ทางเหนือ และทางตะวันออกได้ถูกต้องมากนักเพราะมีคนหลายเชื้อสายอยู่ใต้บังคับของชาติต่างๆ กัน ทั้งยังมีการรบพุ่งบริเวณชายแดนอยู่ตลอดเวลาระหว่างชนชาติมาลายูกับพม่าทางด้านหนึ่ง และระหว่างกัมพูชาและโคชินจีนอีกด้านหนึ่ง เส้นเขตแดนในปัจจุบัน (พ.ศ. 2399) ทอดยาวจากบริเวณละติจูดที่ 4-20 หรือ 21 องศาเหนือ เป็นระยะทางเกือบ 1200 ไมล์ และส่วนกว้างจากบริเวณลองจิจูดที่ 96-102 องศาตะวันออก คิดเป็นระยะทางประมาณ 350 ไมล์บอร์กแมน (Borgman) ได้ประมาณพื้นที่ของสยามและประเทศราชไว้รวมกันประมาณ 290,000 ตารางไมล์
บทที่ 2 : ประวัติศาสตร์
[แก้]บทที่ 3 : ประชากร
[แก้]บทที่ 4 : มารยาท ขนมธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและการละเล่น
[แก้]บทที่ 5 : ข้อบัญญัติทางกฎหมาย
[แก้]บทที่ 6 : ผลผลิตตามธรรมชาติ
[แก้]บทที่ 7 : งานหัตถกรรม
[แก้]บทที่ 8 : การพาณิชย์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ เซอร์จอห์น เบาว์ริง. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2550. 458 หน้า. หน้า (13)-(17).
- ↑ สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2558 เวลา 18:56 UTC. โดยเข้าถึงได้จาก (เอกสารต้นฉบับ) : https://archive.org/details/kingdomandpeopl00bowrgoog
- ↑ สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2558 เวลา 18:56 UTC. โดยเข้าถึงได้จาก (เอกสารต้นฉบับ) : https://archive.org/details/kingdomandpeopl00bowrgoog
- ↑ เซอร์จอห์น เบาว์ริง. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2550. 458 หน้า. หน้า (18)-(27).