ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเพชรบูรณ์

พิกัด: 16°25′N 101°10′E / 16.42°N 101.16°E / 16.42; 101.16
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพชรบูรณ์)
จังหวัดเพชรบูรณ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phetchabun
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบูรณ์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบูรณ์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบูรณ์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ศรัณยู มีทองคำ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด12,668.416 ตร.กม. (4,891.303 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 9
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด967,421 คน
 • อันดับอันดับที่ 22
 • ความหนาแน่น76.36 คน/ตร.กม. (197.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 63
รหัส ISO 3166TH-67
ชื่อไทยอื่น ๆเพชบุระ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะขาม
 • สัตว์น้ำแมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta sowerbii)
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ หมู่ที่ 5 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
 • โทรสาร+66-0-5672-9756
เว็บไซต์www.phetchabun.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบน[3] หรือภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย[4] มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 978,372 คน[2] แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก

ศัพท์มูลวิทยา

[แก้]

ชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อสมัยก่อนน่าจะชื่อว่าเมือง "เพชบุระ" ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาได้เพื้ยนหรือเปลี่ยนเป็นชื่อ "เพ็ชร์บูรณ์"[5] และเปลี่ยนเป็น "เพชรบูรณ์" กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

เพชรบูรณ์ แปลว่าเมืองพระ��รือเมืองวิถีพุทธ หมายถึง เมืองที่ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา คำว่า "เพชร" ในคำว่า เพชรบูรณ์ เป็นศัพท์ทางศาสนา ไม่ได้หมายถึงเพชรที่เป็นอัญมณี (diamond) แต่มาจากคำว่า สัพพัญญู แปลว่า ผู้รู้ทุกอย่าง (หมายถึงพระพุทธเจ้า) แล้วทำให้เหลือสองพยางค์ตามหลักอักขระวิธีเป็น สรรเพชญ์ และเอาคำว่า เพชญ์ คำเดียวมาสนธิกับคำว่า ปุระ รวมกันเป็น เพ็ชญปุระ เพี้ยนมาเป็นเพชรบูรณ์ในปัจจุบัน คล้ายกับชื่อเมือง จันทบูร แผลงมาเป็น จันทบุรี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระ เนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ มีการเชื่อมต่อคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม (ปัจจุบันเป็นตำบล) อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับ เพชรบูรณ์[6]

พ.ศ. 2447 ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ. 2450 และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า (ปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน[6] จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เดิมเกณฑ์การแบ่งภาคของราชการได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2551 มีมติคณะรัฐมนตรีปรับปรุงกลุ่มจังหวัดซึ่งกำหนดให้จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ในภาคเหนือตอนล่าง[4] เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยา���ที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

อาณาเขต

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า[6] มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร

ทิวเขาเพชรบูรณ์ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ

ภูมิอากาศ

[แก้]

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล คือ อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อำเภอน้ำหนาว อำเภอเขาค้อ และอำเภอหล่มเก่า ส่วนพื้นที่บนภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีน้ำป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนใต้ของจังหวัด ในฤดูแล้งน้ำจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตรกรรม ในฤดูร้อนและฤดูฝน จะมีอุณหภูมิ 20–24 องศาเซลเซียส[7]

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเพชรบูรณ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.4
(93.9)
36.3
(97.3)
37.2
(99)
35.0
(95)
32.9
(91.2)
32.3
(90.1)
31.8
(89.2)
32.0
(89.6)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
31.0
(87.8)
33.22
(91.79)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
18.9
(66)
21.8
(71.2)
24.1
(75.4)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
22.6
(72.7)
19.5
(67.1)
16.1
(61)
21.57
(70.82)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7.0
(0.276)
17.4
(0.685)
34.5
(1.358)
70.3
(2.768)
157.4
(6.197)
153.1
(6.028)
168.5
(6.634)
189.3
(7.453)
211.9
(8.343)
98.3
(3.87)
13.2
(0.52)
3.8
(0.15)
1,124.7
(44.28)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 4 7 15 17 18 21 18 11 3 1 118
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

ทรัพยากรธรรมชาติ

[แก้]

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายชนิด ดังนี้

  • แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเชิญ ลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายต่าง 
  • ป่าไม้ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ 2,006.51 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่จังหวัด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง สวนรุกขชาติ 3 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง สามารถจำแนกตามเขตการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ได้แก่ เขตเพื่อการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 58.59 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด เขตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 28.67 และเขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร ร้อยละ 6.67

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 30 คน[8]

ภายในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างหรือระดับพื้นฐานจำนวนทั้งหมด 127 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมือง 3 แห่ง, เทศบาลตำบล 22 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 102 แห่ง[9] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดเพชรบูรณ์มีดังนี้

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
เทศบาลเมืองหล่มสัก
  • อำเภอชนแดน
    • เทศบาลตำบลชนแดน
    • เทศบาลตำบลดงขุย
    • เทศบาลตำบลท่าข้าม
    • เทศบาลตำบลศาลาลาย
  • อำเภอบึงสามพัน
    • เทศบาลตำบลซับสมอทอด
  • อำเภอน้ำหนาว
    ไม่มีเทศบาล
  • อำเภอศรีเทพ
    • เทศบาลตำบลสว่างวัฒนา
    • เทศบาลตำบลโคกสะอาด
  • อำเภอหนองไผ่
    • เทศบาลตำบลนาเฉลียง
    • เทศบาลตำบลหนองไผ่
    • เทศบาลตำบลเฉลียงทอง
    • เทศบาลตำบลบ่อไทย
    • เทศบาลตำบลบัววัฒนา
    • เทศบาลตำบลบ้านโภชน์
  • อำเภอเขาค้อ
    • เทศบาลตำบลแคมป์สน

ประชากรศาสตร์

[แก้]

สถิติประชากร

[แก้]
      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2557[10] พ.ศ. 2556[11] พ.ศ. 2555[12] พ.ศ. 2554[13] พ.ศ. 2553[14] พ.ศ. 2552[15] พ.ศ. 2551[16]
1 เมืองเพชรบูรณ์ 210,822 210,730 210,420 210,023 211,046 211,055 210,967
2 หล่มสัก 157,720 157,576 157,595 157,494 158,535 158,352 158,431
3 วิเชียรบุรี 132,542 132,456 132,572 132,299 135,235 135,274 136,538
4 หนองไผ่ 112,757 112,885 113,164 112,911 113,370 113,305 113,403
5 ชนแดน 79,780 79,685 79,679 79,267 79,494 79,621 80,026
6 บึงสามพัน 71,998 71,859 71,770 71,511 71,851 71,626 71,579
7 ศรีเทพ 70,608 70,454 70,472 70,143 69,772 69,654 69,670
8 หล่มเก่า 66,995 66,885 66,800 66,611 66,741 66,577 66,417
9 วังโป่ง 37,393 37,545 37,584 37,552 37,629 37,722 37,873
10 เขาค้อ 37,082 36,494 36,043 35,551 35,081 34,762 34,325
11 น้ำหนาว 18,110 17,828 17,603 17,445 17,277 17,177 17,003
รวม 995,807 994,397 993,702 990,807 996,031 995,125 996,231

เศรษฐกิจ

[แก้]

สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2562 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 83,808 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นภาคเกษตร 29,478 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.17 และนอกภาคเกษตร 54,331 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.82

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชาชน จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ 75,574 บาท เมื่อพิจารณา ในระดับอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยมากที่สุด คืออำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มีรายได้เฉลี่ย 82,291 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อำเภอน้ำหนาว มีรายได้เฉลี่ย 62,374 บาท/คน/ปี[17]

การเกษตร

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2562 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ภาคการเกษตรมีมูลค่า 29,478 ล้านบาทและจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้อมูลสถิติในด้านการใช้ที่ดินของทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรทั้งหมดของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวน 3,058,671 ไร่ โดยจำแนกเป็นเนื้อที่นาข้าว 1,261,478 ไร่ เนื้อที่พืชไร่ 1,645,881 ไร่ เนื้อที่สวนไม้ผล ไม้ยืนต้น 141,614 ไร่ เนื้อที่สวนผัก/ไม้ดอก/ไม้ประดับ 44,670 ไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 185,909 ไร่

จังหวัดเพชรบูรณ์มีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย จำนวน 2 สินค้า ได้แก่ มะขามหวานเพชรบูรณ์ เป็นที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมาอย่างยาวนานว่าเป็นมะขามหวานที่มีคุณภาพดี เปลือกสีน้ำตาลเนียน เนื้อสีสวยสม่ำเสมอ เนื้อหนานุ่ม เหนียว สาแหรกน้อย ไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานหอม เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งการบริโภคสดและ แปรรูป จากลักษณะของสภาพภูมิอาการและสภาพภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ส่งผลให้มะขามหวานของเพชรบูรณ์คุณภาพที่ดี และมีลักษณะที่แตกต่างจากมะขามที่ปลูกที่อื่น และข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่งที่ชาวเขาเผ่าม้งปลูกสำหรับบริโภคเป็นอาหารหลักกันมาอย่างยาวนานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างวัฒนธรรมในการเพาะปล���ก ความเป็นอยู่ วิถีชีวิตประเพณี

การอุตสาหกรรม

[แก้]

ในปี 2563 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 500 โรงงาน มีเงินลงทุนรวม 36,931.62 ล้านบาท มีจำนวนคนงาน 15,322 คน สำหรับประเภทโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 ลำดับได้แก่

อุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วย การแปรรูปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ การผลิตน้ำตาล, การผลิตน้ำแข็งและน้ำดื่ม, การผลิตไอศกรีมและนมสดพลาสเจอร์ไรส์

อุตสาหกรรมการผลิตอื่น  ประกอบด้วย การผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ ปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม, การทำห้องเย็น และการโม่

บด หรือย่อยหิน

อุตสาหกรรมการเกษตร (ผลิตภัณฑ์จากพืช)ประกอบด้วย การผลิตเกี่ยวกับเมล็ดพืช ข้าวโพด โรงสีข้าว และผลผลิตเกษตรกรรม การอบเมล็ดพืชข้าวโพด และการผลิตมันเส้น

อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ ประกอบด้วย อู่ซ่อมรถ ซ่อมและเคาะพ่นสี ซ่อมอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ทำโครงกระบะสำหรับรถบรรทุกและผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ และศูนย์บริการซ่อมแซมรถยนต์

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ประกอบด้วย การผลิตเครื่องดื่มประเภท น้ำดื่ม น้ำแร่ เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ ผลิตเอทานอล

การประมง

[แก้]

ในปี 2563 จังหวัดเพชรบูรณ์มีจำนวนเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในพื้นที่น้ำจืดจำนวน 8,978 ครัวเรือน และมีเนื้อที่สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดรวม 14,708.00 ไร่ รวมทั้ง มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเท่ากับ 3,330.845 กิโลกรัม ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 2560 เนื้อที่ในการเพาะเลี้ยง มีปริมาณลดลง จำนวน 19,628.2 ไร่ และผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงลดลง 569,799 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เป็นอำเภอที่มีปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและการทำประมงน้ำจืดมากที่สุด

การท่องเที่ยว

[แก้]

การท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นมากในช่วงฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัด เนื่องจากภาครัฐบาลและเอกชนได้จัดรายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้นเป็นอย่างมาก

นิติบุคคล

[แก้]

ข้อมูลนิติบุคคลในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีผู้จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 3 ราย ทุนจดทะเบียน 2.03 ล้านบาท ประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 1,506 ราย ทุนจดทะเบียน 3,617.72 ล้านบาท ประเภทบริษัทจำกัด จำนวน 1,048 ราย ทุนจดทะเบียน 15,082.68 ล้านบาท บริษัทจำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 351.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลนิติบุคคลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2561 พบว่า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น

การก่อสร้าง การเงิน

[แก้]

การก่อสร้างชะลอตัวลดจากปีก่อน โดยการก่อสร้างการให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนยังคงหดตัว จากการจดทะเบียนนิติบุคคลของบุคคลของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างลดลงร้อยละ 17.64 เงินทุนลดลงร้อยละ 41.56 ตามลำดับภาวะการค้าของจังหวัดในปี พ.ศ. 2543 ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว

ในปี พ.ศ. 2543 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ประชาชนทั้งสิ้น 46 แห่ง ซึ่งสถาบันการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัทประกันชีวิต

การจัดเก็บภาษีอากร

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดเพชรบูรณ์มีการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมทั้งสิ้น 765.37 ล้านบาท เทียบกับปี 2562 จัดเก็บได้ 731.89 ล้านบาท ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รวมจำนวนทั้งสิ้น 82.72 ล้านบาท

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาแบ่งเป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 546 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 10 แห่ง

สถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีดังต่อไปนี้

สถาบันอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์
  • วิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดเพชรบูรณ์
  • วิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรี
  • วิทยาลัยการอาชีพชนแดน
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดเพชรบูรณ์
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีไฮเทคเพชรบูรณ์
โรงเรียน

การขนส่ง

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เส้นทางพาดผ่านอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในอำเภอน้ำหนาว

การขนส่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบถนน เนื่องจากไม่มีทางรถไฟ และมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ การขนส่งทางถนนในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เป็นทางหลวงสายหลักพาดผ่านในแนวเหนือ-ใต้ ผ่านเขตจังหวัดเป็นระยะทาง 114.834 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัด สามารถใช้ถนนพหลโยธิน จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ที่แยกพุแค (ประมาณกิโลเมตรที่ 123 ของถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดลพบุรี แล้วเข้ามายังจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านตัวจังหวัด แล้วออกไปยังจังหวัดเลย ระยะทางจากกรุงเทพมหานครมายังตัวจังหวัดอยู่ห่างประมาณ 346 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เชื่อมต่อไปยังจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดขอนแก่น, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 เชื่อมต่อจังหวัดไปยังจังหวัดพิจิตร, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อไปยังจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดชัยภูมิ

ระยะทางจากเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ไปอำเภอต่าง 

[แก้]

ภาษาถิ่น

[แก้]

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีป���ะชากรที่เป็นคนพื้นถิ่นพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยัง มีประชากรที่อพยพมาจากส่วนต่าง ๆ ของ ประเทศไทยที่ยังใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าม้ง จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัดเพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้

  1. กลุ่มภาษาหล่ม(ลาวหลวงพระบาง) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง
  2. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ กลุ่มภาษานี้จะพูดกันในเขตอำเภอเมืองเป็นภาษาที่มีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว คำศัพท์ที่ใช้มีทั้งภาษาถิ่นไทยกลาง และภาษาลาวหล่ม
  3. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ คือ ภาษาที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนใต้ซึ่งได้แก่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ ภาษาที่ใช้พูดจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาถิ่นไทยภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นคนท้องถิ่นเดิม และภาษาพูดอีกกลุ่มหนึ่งคือ ภาษาอีสาน ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน แต่ประชากรส่วนใหญ่สามารพูดภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ได้ทั้งสองกลุ่มภาษาคือภาษาไทยกลางและภาษาอีสาน
  4. กลุ่มภาษาถิ่นไทยกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดทั่วไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพชรบูรณ์เป็นเมืองที่มีประชากรมาจากหลายท้องที่อพยพเข้ามา จึงใช้ภาษาถิ่นไทยกลางในการสื่อสาร แต่การใช้ภาษาจะมี ศัพท์ภาษาเดิมผสมผสานกันบ้าง
  5. ภาษากลุ่มชาวบน ชาวบนเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเพชรบูรณ์ สืบเชื้อสายมาจากละว้า มีภาษาพูด เป็นภาษาชาวบน ซึ่งคำศัพท์แตกต่างไปจากภาษากลุ่มอื่น ๆ ปัจจุบันประชากรเชื้อสายชาวบนเป็นชนกลุ่มน้อย มีชุมชนอยู่ที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง และบ้านท่าด้วง อำเภอหนองไผ่
  6. ภาษากลุ่มชาวเขา ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์มีรูปร่างคล้ายกะทะ มีภูเขาล้อมรอบทุกด้าน จึงมีประชากรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนเขา ชาวเขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าม้งเป็น ส่วนใหญ่ และเผ่าอื่น ๆ เช่น ลีซอ เป็นต้น ซึ่งอาศัยบริเวณภูทับเบิกและเขาค้อเป็นส่วนใหญ่ หมู่บ้านชาวเขาได้แก่ บ้านเข็กน้อย หมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บ้านเล่าลือ บ้านเล่าน้ง บ้านเพชรดำ อำเภอเขาค้อ และ บ้านทับเบิก บ้านนาสะอุ้ง บ้านดอยน้ำเพียงดิน บ้านภูโปด อำเภอหล่มเก่า
  7. ภาษากลุ่มไทยทรงดำหรือลาวโซ่งมีผู้พูดในอำเภอบึงสามพันโดยเฉพาะหมู่ที่ 4 บ้านลำตะคร้อและหมู่ที่ 15 บ้านลำตะคร้อเหนือ ตำบลกันจุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์

สถานที่สำคัญ

[แก้]
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ทิวทัศน์บริเวณอำเภอเขาค้อ
  • อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
    • ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์
    • วัดมหาธาตุ
    • วัดไตรภูมิ
    • วัดช้างเผือก
    • วัดเพชรวรารามพระอารามหลวง
    • พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ
    • วัดถ้ำน้ำบัง
    • อ่างเก็บน้ำห้วยท่าพล
    • อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่
    • อ่างเก็บน้ำห้วยป่าเลา
    • อ่างเก็บน้ำคลองห้วยนา
    • อ่างเก็บน้ำคลองเฉลียงลับ
    • อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง
    • อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
    • น้ำตกธาราเอราวัณ
    • ถนนคนเดินคนเด็ดซะบูน
    • หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์
    • หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
    • หอเกียรติยศเพชบุระ
    • สวนสาธารณะหนองนารี
    • ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
    • ไร่กำนันจุล
  • อำเภอหล่มสัก
    • อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
    • วัดถ้ำสมบัติ
    • ศาลเจ้าพ่อผาแดง
    • อ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น
    • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้อ
    • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำชุนใหญ่
    • อ่างเก็บน้ำโคกเดิ่นฤๅษี
    • ผาแดง (แหล่งรอยเลื่อนเพชรบูรณ์)
    • สะพานห้วยตอง (เชื่อมแผ่นโลก)
    • จุดชมวิวผาหงษ์
    • โนนหัวโล้น (แพะเมืองผีหล่มสัก)
    • น้ำตกธารทิพย์
    • น้ำตกตาดฟ้า
    • วังหินลาด
    • ตีมีดโบราณบ้านใหม่
    • ถนนคนเดินไทหล่ม
    • พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์
    • สวนสาธารณะหนองแค
    • ตลาดสดเทศบาลเมืองหล่มสัก
  • อำเภอเขาค้อ
    • พระตำหนักเขาค้อ
    • ไร่บีเอ็น
    • วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
    • วัดกองเนียม
    • จุดชมทะเลหมอกไปรษณีย์เขาค้อ
    • เขาตะเคียนโง๊ะ
    • กังหันลมเขาค้อ
    • เข็กน้อย (หมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
    • ไร่สตรอเบอรี่เขาค้อ
    • พิพิธภัณฑ์อาวุธ (ฐานอิทธิ)
    • อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ
    • พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก
    • ดอยตั๋วเพ่ง
    • น้ำตกศรีดิษฐ์
    • น้ำตกวังตุ้ม
    • น้ำตกสันติสุข
    • แก่งบางระจัน
    • อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หน่วยสนสวย)
    • อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
  • อำเภอศรีเทพ
  • อำเภอน้ำหนาว
    • อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
    • น้ำตกตาดพรานบ่า
    • น้ำตกทรายทอง
    • น้ำตกตาดฟ้า และ น้ำตกตาดทิดมี (เชื่อมต่อกับจังหวัดขอนแก่น)
    • น้ำตกเหวทราย
    • ภูผาจิต
    • ผาล้อมผากอง
    • จุดชมวิวภูค้อ
    • สวนสนบ้านแปก
    • สวนสนภูกุ่มข้าว
    • แคนยอนน้ำหนาว
    • เลยดั้น (สามพันโบกเพชรบูรณ์)
    • ถ้ำใหญ่น้ำหนาว
    • ผารอยตีนอาร์คอโซร์
    • แปลงสัปปะรดบ้านซำม่วง
  • อำเภอหล่มเก่า
    • ภูทับเบิก
    • วัดตาล
    • วัดทุ่งธงไชย
    • น้ำตกตาดโดด
    • น้ำตกวังฮาง
    • น้ำตกวังใหญ่
    • น้ำตกซำบุ่น
    • ต้นแม่น้ำป่าสักบ้านสักง่า
    • ตลาดหล่มเก่า
    • แปลงต้นพญาเสือโคร่งบ้านทับเบิก (ซากุระเมืองไทย)
    • ถนนลอยฟ้า (ช่วงตาดกลอย - วังสะพุง)
  • อำเภอวิเชียรบุรี
    • วัดวิเชียรบำรุง
    • วัดถ้ำเทพบันดาล
    • น้ำพุร้อนพุเตย
    • น้ำผุดบ้านน้ำเดือด
    • น้ำตกซับพลู เสาอัคนี
    • สุสานหอย 15 ล้านปี
    • ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด
    • ถนนสายไก่ย่างวิเชียรบุรี
  • อำเภอชนแดน
    • วัดพระพุทธบาทเขาน้อย (หลวงพ่อทบองค์ใหญ่)
    • อ่างเก็บน้ำหนองตาด
    • อ่างเก็บน้ำกุฏิพระ
    • น้ำตกแสนสมบูรณ์
    • ผาทอง
    • เขาหินปะการัง
    • ตลาดชนแดน
  • อำเภอวังโป่ง
    • น้ำตกบ่อหญ้า
    • น้ำตกสาระนิน
    • น้ำตกลาดค่า
    • ผานกนางแอ่น
    • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำขึ้นน้ำลง
    • ถ้ำผาโค้ง
    • ผาเจ็ดสี
    • ถ้ำปากเสือ
    • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง - ชนแดน
  • อำเภอหนองไผ่
    • วัดธรรมยาน
    • วัดโพธิ์เจดีย์ลอย
    • น้ำตกซับชมภู
    • น้ำตกวังเหว
    • น้ำตกพริ้วไสว
    • ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์
    • อ่างเก็บน้ำคลองลำกง
    • อ่างเก็บน้ำคลองอู่เรือ
    • อ่างเก็บน้ำคลองยาง
  • อำเภอบึงสามพัน
    • วัดซับไพเราะ
    • บึงสามพัน
    • ท้องทุ่งทานตะวันที่บึงสามพัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. 2.0 2.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 3 มีนาคม 2565.
  3. 3.0 3.1 นฤมล บุญแต่ง (2007). "การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย". ราชบัณฑิตยสถาน. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2015.
  4. 4.0 4.1 "ประวัติความเป็นมา - ความเป็นมาของการแบ่งกลุ่มจังหวัด". กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2023-09-06.
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 ตอนที่ 0 ก หน้า 45. วันที่ 29 เมษายน 2460.
  6. 6.0 6.1 6.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว ,2543).
  7. สารสนเทศจังหวัด สภาพทั่วไป เก็บถาวร 2015-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์จังหวัดเพชรบูรณ์
  8. "ฝ่ายนิติบัญญัติ". องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024.
  9. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม 131 ตอนที่ 41 ง หน้า 1. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  17. แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (PDF). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ (Report). p. 51.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

16°25′N 101°10′E / 16.42°N 101.16°E / 16.42; 101.16

การวิจัยและพัฒนา

[แก้]