ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดยะลา

พิกัด: 6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยะลา)
จังหวัดยะลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Yala
คำขวัญ: 
ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ อำพล พงศ์สุวรรณ[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด4,521.078 ตร.กม. (1,745.598 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 47
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด549,946 คน
 • อันดับอันดับที่ 46
 • ความหนาแน่น121.64 คน/ตร.กม. (315.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166TH-95
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อโศกเหลือง
 • ดอกไม้พิกุล
 • สัตว์น้ำปลาพลวงชมพู
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
 • โทรศัพท์0 7322 1014
 • โทรสาร0 7321 1586
เว็บไซต์http://www.yala.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ยะลา (มลายูปัตตานี: جالا; ยาลอ) เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 542,314 คน มีอาณาเขตทางใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล[4] และเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ดังปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัดคือ "ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"[5]

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู รองลงมาคือชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธ อย่างไรก็ตามยะลาถือเป็นจังหวัดที่ดำรงความเป็นพหุวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน เพราะมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา แต่ชนทุกกลุ่มยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีของตนไว้อย่างเหนียวแน่น[6]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มลายู: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มลายู: Jalor, جالور, ญาโลร์) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[7] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกภูเขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[7]

แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ

[แก้]
แผนที่

ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 58 ตำบล 341 หมู่บ้าน มีรายชื่อดังนี้

ลำดับ ชื่ออำเภอ ชื่อมลายู[8] ชื่อโรมัน จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2561)[3]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
ระยะห่างจากตัวจังหวัด
1 เมืองยะลา Jala Mueang Yala 14 75,584 คน 258.0 292.96 -
2 เบตง Betung Betong 5 35,904 คน 1,328.0 27.03 128
3 บันนังสตา Bendang Setar Bannang Sata 6 54,932 คน 629.0 87.33 38
4 ธารโต Air Kedung Than To 4 23,576 คน 648.0 36.38 61
5 ยะหา Johar Yaha 7 60,200 คน 500.0 120.4 22
6 รามัน Ramai Raman 16 85,237 คน 516.1 165.15 24
7 กาบัง Gambir Kabang 2 24,564 คน 451.0 54.56 40
8 กรงปินัง Kampung Pinang Krong Pinang 4 28,909 คน 191.0 151.35 19
รวม 58 532,326 คน 4,521.078 117.74

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 กระทรวงมหาดไทยประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอลำใหม่แยกจากอำเภอเมืองยะลา และอำเภอโกตาบารูแยกจากอำเภอรามันเป็นกรณีพิเศษ โดยอ้างความจำเป็นพิเศษด้านความมั่นคง และหากมีการจัดตั้งแล้ว อำเภอโกตาบารูจะมีการขอพระราชทานชื่อใหม่[9]

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา) เทศบาลนคร 1 แห่ง (เทศบาลนครยะลา) เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 47 แห่ง รายชื่อเทศบาลทั้งหมดมีดังนี้

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดยะลา
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
สิ้นปี 2561
(คน)[3]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1   เทศบาลนครยะลา 19.4[10] 2538[11]   เมืองยะลา 1 1 61,218 
เทศบาลเมือง
1   เทศบาลเมืองเบตง 78[12] 2547[13]   เบตง 1 1 26,668 
2   เทศบาลเมืองสะเตงนอก 34.78[14] 2554[15]   เมืองยะลา 1 1 32,353 
เทศบาลตำบล
1   เทศบาลตำบลโกตาบารู 17[16] 2542[17]   รามัน 1 1 5,692 
2   เทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง 82.5[18] 2550[19]   บันนังสตา 1 1 4,422 
3   เทศบาลตำบลคอกช้าง 2.44[20] 2542[17]   ธารโต ��� 1 1 1,558 
4   เทศบาลตำบลท่าสาป 16.11[21] 2555[22]   เมืองยะลา 1 1 7,984 
5   เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ 138.51[23] 2555[24]   เบตง 1 1 4,433 
6   เทศบาลตำบลบันนังสตา 1.5[25] 2542[17]   บันนังสตา 1 1 2,721 
7   เทศบาลตำบลบาลอ 26.41[26] 2556[27]   รามัน 1 1 5,582 
8   เทศบาลตำบลบุดี 48.92[28] 2551[28]   เมืองยะลา 1 1 11,221 
9   เทศบาลตำบลปะแต 208.31[29] 2555[30]   ยะหา 1 1 16,962 
10   เทศบาลตำบลเมืองรามันห์[31] 8.24[32] 2542[17]   รามัน 1 1 5,120 
11   เทศบาลตำบลยะหา 1.89[33] 2542[17]   ยะหา 1 1 2,618 
12   เทศบาลตำบลยุโป 33.77[34] 2555[35]   เมืองยะลา 1 1 6,983 
13   เทศบาลตำบลลำใหม่ 0.69[36] 2542[17]   เมืองยะลา 1 1 1,050 
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

ประชากร

[แก้]

ชาติพันธุ์

[แก้]
ประชากรจังหวัดยะลาแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2550 470,691—    
2551 475,527+1.0%
2552 480,334+1.0%
2553 487,380+1.5%
2554 493,767+1.3%
2555 500,814+1.4%
2556 506,138+1.1%
2557 511,911+1.1%
2558 518,139+1.2%
2559 522,279+0.8%
2560 527,295+1.0%
2561 532,326+1.0%
2562 536,330+0.8%
2563 538,598+0.4%
2564 542,314+0.7%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[37]

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดยะลาเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูเป็นพื้น ในอดีตจะถูกเรียกอย่างรวม ๆ กับชาวชวา-มลายูทั่วไปว่าคนยาวี (Orang Jawi)[38] แต่จะเรียกตัวเองว่าออแฆนายู และพึงใจที่ผู้อื่นเรียกว่าคนนายูมากกว่าคนยาวี[39] เมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ในสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 3 เรื่องการเรียกชื่อชาวไทยโดยให้เรียกชาวมลายูมุสลิมว่าไทยอิสลาม[40] และปัจจุบันทางราชการของไทยยังคงเรียกคนเชื้อสายมลายูว่าคนไทยหรือไทยมุสลิมอยู่[41] นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นชนกลุ่มน้อย อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ[42] โดยเฉพาะอำเภอเบตงถือเป็นชุมชนชาวจีนที่มีขนาดใหญ่และเข้มแข็ง สามารถคงอัตลักษณ์ความเป็นจีนไว้อย่างเหนียวแน่น[6] โดยมากเป็นชาวจีนกวางไส บรรพบุรุษอพยพจากเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง[43] ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาโดยมากเป็นชาวฮกเกี้ยน[42][44] ขณะที่ชาวไทยพุทธมีอยู่หนาแน่นในเขตเทศบาลนครยะลา[45] ร้อยละ 51[46] พบไทยพุทธเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในตำบลตาชี ร้อยละ 100[47] ตำบลลำพะยา ร้อยละ 75.4[48] ตำบลหน้าถ้ำ ร้อยละ 70[49] เทศบาลตำบลลำใหม่ ร้อยละ 60[50] เทศบาลตำบลยุโป ร้อยละ 44.4[51] ตำบลบาละ ร้อยละ 40[52] ตำบลตาเซะ ร้อยละ 23.5[48] และเทศบาลตำบลท่าสาป ร้อยละ 20[53] นอกจากนี้จะพบชาวไทยพุทธอาศัยอยู่เพียงประปรายในเขตสุขาภิบาลบางท้องที่[48] ซึ่งหลายชุมชนในจังหวัดยะลาเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม เพราะมีประชากรต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนา อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างเช่นบ้านแบหอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน ซึ่งเป็นชุมชนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ร่วมกับชาวมลายูมุสลิม ไทยพุทธ และอินเดียซิกข์[54]

แต่ระยะหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธอพยพออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก[55][56][57] เช่นชุมชนชาวจีนที่บ้านเนียง อำเภอเมืองยะลา และชุมชนจีนบ้านแบหอ อำเภอรามัน ที่ลูกหลานโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิมจนสิ้น[58][59] ซึ่งใน พ.ศ. 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดโครงการไทยพุทธคืนถิ่น จำนวน 12 หมู่บ้าน และกิจกรรมอาสาสมัครพัฒนาศาสนสถาน จำนวน 13 หมู่บ้าน เพื่อฟื้นฟูสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดยะลาขึ้นอีกครั้ง[60]

ขณะที่ชาวซาไกเผ่ากันซิวและจำนวนน้อยเป็นเผ่ากินตัก[61] ซึ่งเคยตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่อพยพไปประเทศมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ[62] นอกจากนี้ยังมีชาวพม่า ลาว และกัมพูชา เข้าเป็นแรงงานในยะลาเป็นจำนวนมากในเขตอำเภอเมืองยะลาและอำเภอเบตง โดยใน พ.ศ. 2552 มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5,000 คน[63] และมีชาวเขาจากภาคเหนืออพยพมาลงหลักปักฐานที่ยะลาหลายเผ่าเพื่อเป็นแรงงาน เช่น เผ่าม้งเข้ามาอาศัยในอำเภอเบตงและอำเภอธารโตจำนวนหนึ่ง และพบว่าม้งส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ร่วมนิคมกับเผ่าซาไกที่บ้านซาไก[64] ส่วนชุมชนมูเซอบ้านบ่อน้ำร้อนในอำเภอเบตง[65][66][67] มีประชากรมากถึงขั้นก่อตั้งโบสถ์คริสต์ในชุมชนของตัวเอง[68]

ภาษา

[แก้]
ป้ายจราจรสี่ภาษาหน้าสถานีรถไฟยะลา

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดของประเทศไทยที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร เป็นสำเนียงที่ใช้ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ภาษานี้มีการใช้อักษรยาวีซึ่งได้รับอิทธิพลจากอักษรอาหรับสำหรับการเขียน[38][69] สำหรับการเผยแผ่ศาสนาโดยเฉพาะ[70] ทว่าในยุคหลังมานี้มีการยืมคำไทยเข้าปะปนมากขึ้น[71] โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่พูดมลายูปนไทย[70] ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ติดป้ายประกาศของสถานที่ราชการเป็นภาษามลายูปัตตานีและอักษรยาวีทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[72] ทั้งนี้ชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนสามารถพูดภาษามลายูเพื่อสื่อสารกับคนมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่[73][74][42]

ขณะที่ชาวไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำเนียงใกล้เคียงกับสำเนียงสงขลา[75] มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาใต้ถิ่นอื่นที่มีการรวบคำให้สั้นกระชับ ทว่ามีลักษณะเด่นคือการออกเสียงที่นุ่มนวลไม่หยาบกระด้างต่างจากภาคใต้ถิ่นอื่น[76] และมีการยืมคำมลายูมาก โดยมีความหนาแน่นของคำยืมจากมลายูมากถึงร้อยละ 75.75[77] เช่น ซะด๊ะ แปลว่า อร่อย มอแระ แปลว่า สวยงาม และลากู แปลว่า ขายดี[78]

ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะอำเภอเบตงที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขาธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีนคือการใช้ภาษาจีน[6] ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนกวางไส ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว และภาษาจีนแคะ[79][80] เช่นประชาชนในชุมชนวัดปิยมิตรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนกลางได้[81] ปัจจุบันคนยุคหลังใช้ภาษาจีนน้อยลง[82] และลูกหลานจีนหลายคนนิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน แต่บุคคลเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาที่อายุต่ำกว่า 50 ปีจะพูดจีนไม่ได้แต่พอฟังรู้ความ[42]

ปัจจุบันชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาเกินครึ่งพูดภาษาไทยถิ่นใต้ไม่ได้เพราะหันไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูนอกเขตเทศบาลจะพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน และหากมีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะไม่สามารถพูดภาษาไทยได้เลย[42]

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในจังหวัดยะลา (พ.ศ. 2565)[83]
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
81.95%
พุทธ
  
17.93%
คริสต์
  
0.08%
ซิกข์
  
0.01%
อื่น ๆ
  
0.03%

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[84] มีชุมชนชาวคริสต์ขนาดย่อมทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในเขตเทศบาลนครยะลาและเทศบาลเมืองเบตง[85] นอกจากนี้ยังมีชุมชนของผู้นับถือศาสนาซิกข์ขนาดน้อย อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา[86] และพบได้ในบ้านแบหอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน[54] ส่วนชาวซาไกหันมานับถือศาสนาพุทธโดยให้เหตุผลว่านับถือตามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ปัจจุบันยังปะปนไปด้วยความเชื่อพื้นเมือง[87] และแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในยะลาที่นับถือศาสนาพุทธและร่วมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชาวไทยพุทธในท้องถิ่น[88][89]

ศาสนา 2503[90] 2523[91] 2542[92] 2546[93] 2550[94] 2553[95] 2554[96] 2557[97] 2559[98] 2562[99] 2565[83]
อิสลาม 60.00% 60.00% 62.79% 76.58% 75.42% 76.59% 82.96% 79.60% 74.06% 81.46% 81.95%
พุทธ 22.00% 22.00% 36.40% 22.74% 24.25% 22.74% 16.98% 20.13% 21.16% 18.45% 17.93%
คริสต์ 0.14% 0.06% 0.08% 0.08%
ฮินดู 0.01%
พื้นบ้านจีน 12.00% 0.01%
ซิกข์ 0.01%
อื่น ๆ 18.00% 6.00% 0.61% 0.31% 0.33% 0.67% 0.27% 4.78% 0.01% 0.03%
วัดพุทธแห่งหนึ่งในอำเภอบันนังสตา
ฮวงซุ้ยของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดยะลา

จากการสำรวจการนับถือศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2542 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 62.79 ศาสนาพุทธร้อยละ 36.40 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.14 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.01 ศาสนาอื่น ๆ (เช่นศาสนาพื้นบ้านจีน) ร้อยละ 0.01 และไม่ได้ระบุร้อยละ 0.61[92] ต่อมาใน พ.ศ. 2550 พบว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33[94] พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 76.59 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 22.74[95] พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 79.60 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 20.13 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.27[97] และการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 74.06 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 21.16 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 4.78[98] และการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 81.46 ศาสนาพุทธลดลงเหลือร้อยละ 18.45 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.08 ศาสนาซิกข์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.01[99] ชาวพุทธในพื้นที่รู้สึกว่าพวกตนเป็นพลเมืองชั้นสอง[100] หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2555 ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนแล��ชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากยะลา ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน[55][56][57] รวมทั้งวัดหลายแห่งกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เช่น วัดหัวสะพาน อำเภอเมืองยะลา[101][102] วัดจินดาพลาราม อำเภอบันนังสตา[103] และวัดปูแหล อำเภอยะหา[104][105] ซึ่ง พ.ศ. 2563 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามฟื้นฟูวัดเหล่านี้ให้มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่[106] เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า "จะปล่อยให้คนไทยอพยพทิ้งถิ่นฐานไม่ได้ จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง ให้มีความมั่นคงอยู่ในภาคใต้ เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของราษฎรไทยพุทธสืบไป"[107]

สำนักงานสถิติจังหวัดยะลารายงานว่า ใน พ.ศ. 2560 จังหวัดยะลามีมัสยิด 508 แห่ง วัดพุทธ 52 แห่ง สำนักสงฆ์ 13 แห่ง โบสถ์คริสต์ 9 แห่ง[108] และคุรุดวารา 1 แห่ง[109]

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา จำนวน 60 คน เรียกร้องให้โรงพยาบาลในจังหวัดยะลาและในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำห้องครัวสำหรับไทยพุทธและอาคารสำหรับพระสงฆ์อาพาธ[110]

อุทยาน

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ระดับมัธยมศึกษา

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 4 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  2. "สภาพทั่วไปของจังหวัดยะลา". สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2564". กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่��� 24 มีนาคม 2022.
  4. "ข้อมูลจังหวัดชายทะเล". ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  5. "คำขวัญประจำอำเภอ/จังหวัด". จังหวัดยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 ณัฐธิดา เย็นบำรุง. "เมืองเบตง : คนไทยเชื้อสายจีนที่เข้มแข็ง". ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  7. 7.0 7.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน ศรีวิชัย เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547, หน้า 346
  8. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "ชื่อบ้านนามเมืองภาษามลายูในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย" (PDF). ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.
  9. "รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 ครั้งที่ 2/2558" (PDF). สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. 19 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.
  10. "ข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลนครยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  11. "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 15–19. 24 September 1995.
  12. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองเบตง (พ.ศ. 2558-2562) (PDF). เทศบาลเมืองเบตง. p. 2-1.[ลิงก์เสีย]
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (20 ก): 9–10. 20 February 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  14. "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน" (PDF). เทศบาลเมืองสะเตงนอก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นเทศบาลเมืองสะเตงนอก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (ตอนพิเศษ 13 ง): 46. 11 January 2012.
  16. สุไรยา วานิ; และคณะ (สิงหาคม 2017). ข้อมูลเมื่อการพัฒนาตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา (PDF). โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโดยธนาคารโลก. p. 4.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2019.
  18. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  19. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  20. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลคอกช้าง. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  21. "ข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลท่าสาป. 2022. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023.[ลิงก์เสีย]
  22. "การจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าสาป". เทศบาลตำบลท่าสาป. 17 กุมภาพันธ์ 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2019.
  23. "สภาพข้อมูลทั่วไป". เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  24. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  25. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลบันนังสตา. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  26. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลบาลอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-07. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  27. "ประกาศ จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นเทศบาลตำบลบาลอ". เทศบาลตำบลบาลอ. 5 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  28. 28.0 28.1 "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลบุดี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-18. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  29. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลปะแต. October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-20. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  30. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลปะแต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-19. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นเทศบาลตำบลเมืองรามันห์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (132 ง): 3. 26 August 2010.
  32. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลเมืองรามันห์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  33. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลยะหา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  34. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลยุโป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  35. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลยุโป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  36. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลลำใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  37. "จำนวนประชากรและบ้าน". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2020.
  38. 38.0 38.1 กัณหา แสงรายา (14 January 2012). "มลายู-ยาวี เรียกอย่างไรดี?". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  39. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (26 พฤษภาคม 2016). "คนตานี ... มลายูมุสลิมที่ถูกลืม". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิร���ยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.
  40. อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง (27 February 2017). "แขกตานี". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  41. กัณหา แสงรายา (3 August 2011). "คำเรียก มลายู มลายูมุสลิม ไทย ไทยมุสลิม ไทยมลายู และ 'แขก' ในสังคมไทย (1)". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2003). "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  43. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (14 December 2018). "ตามรอยจีนกวางไสในเบตง (1)". สยามรัฐออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  44. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "แผ่นดินภายใน". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 90
  45. "ยะลา-คุมเข้มทุกพื้นที่หลังคนร้ายก่อเหตุยิงคนไทย-พุทธ". .timenews2017. 7 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  46. เทศบาลนครยะลา (สิงหาคม 2559) (PDF). 2559. p. 24.
  47. "บ้านพอเพียงตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ผลิกมิติให้ผู้ตามกลายเป็นผู้นำการทำงาน". สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). 22 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. 48.0 48.1 48.2 "เมืองยะลา, อำเภอ". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. ทรัยนุง มะเด็ง และอื่น ๆ. "ในท้องถิ่นยาลอ". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 158-168
  50. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลลำใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-17. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลยุโป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. แผนพัฒนาสามปี เทศบาลตำบลท่าสาป (พ.ศ. 2558-2560) (PDF). เทศบาลตำบลท่าสาป. p. 11.
  54. 54.0 54.1 "ศาลเจ้าแม่มาผ่อแบหอ จังหวัดยะลา". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7 มิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. 55.0 55.1 "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน 1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. 4 April 2014. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  56. 56.0 56.1 "ฟิต! มทภ.4 ลงพบชาวไทยพุทธยะลา รับปากพร้อมแก้ปัญหา จชต". ไทยรัฐออนไลน์. 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  57. 57.0 57.1 "ชุมชนชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ไทยพีบีเอส. 29 December 2013. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  58. ทรัยนุง มะเด็ง และอื่น ๆ. "ในท้องถิ่นยาลอ". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 204
  59. "ยะลาเปิดงานสมโภช แห่พระลุยไฟศาลเจ้าแม่มาผ่อ สร้างความสัมพันธ์พหุวัฒนธรรมไทยจีนไทยพุทธและมุสลิม". SPM Online. 16 April 2019. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  60. "ศอ.บต.สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งชุมชนไทยพุทธสังคมพหุวัฒนธรรม". ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
  61. วันเฉลิม จันทรากุล (2001). "เงาะป่า-ซาไก นิเชาเมืองไทย ชนป่าที่กำลังสูญสลาย". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  62. "รอวันปิดตำนาน 'ซาไก' แห่ง 'ศรีธารโต'" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 3 มกราคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2012.
  63. "ยะลาเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว". ไทยรัฐออนไลน์. 25 July 2009. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  64. วัชรินทร์ ดำรงกูล และปัตติกาญจน์ บรรดาศักดิ์. แนวทางการจัดการคืนถิ่นชนเผ่าซาไก : กรณีศึกษา ซาไกตระกูลศรีธารโต (PDF). งานวิจัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 33, 43.
  65. "ตชด.445 ยะลา รวบ 2 พ่อค้ายาบ้าชาวเขาเผาลาหู่ ได้ของกลางกว่า 9 พันเม็ด". MGR Online. 23 August 2014. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  66. "การปราบปรามยาเสพติด". สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เบตง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019.
  67. "ชาวบ้านหาของป่า หลงป่าในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา นาน 9 วัน เจ้าหน้าที่ ตชด. นปพ. กู้ภัย กว่า 30 คน เร่งตามหา แต่ยังไม่พบตัว". SPM News. 19 December 2018. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  68. กินเลน ประลองเชิง (10 November 2014). "สุดใต้ที่เบตง". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  69. วนิดา เต๊ะหลง. "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษามลายู" (PDF). สารรอบรั้วศิลปศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  70. 70.0 70.1 Arifin bin Chik (1 เมษายน 2007). "ปัญหา สตูล ปัตตานี กับวัฒนธรรมที่กำลังถูกทำลาย". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019.
  71. "พจนานุกรมภาษามลายูถิ่นปัตตานี อีกความหวังลดดีกรีร้อนจังหวัดใต้". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 13 August 2008. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  72. นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน (24 August 2013). "ภาษามลายูอักขระยาวี : จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโลกมลายู". Nusantara Studies Center. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  73. ทวี แทนหนู (1978). "ปัญหาการสอนชั้นเด็กเล็กในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย" (PDF). Chulalongkorn University Intellectual Repository. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  74. ทวีพร คุ้มเมธา (3 October 2015). "ชนกลุ่มน้อยในชนกลุ่มน้อย ส่งเสียงต่อการแก้ปัญหา 3 จว. ชายแดนใต้". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  75. "ภาษาสงขลา". ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 24 April 2018. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  76. "ภาษาและวรรณกรรม จังหวัดยะลา". หอมรดกไทย. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  77. สุภา วัชรสุขุม. "คำยืมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  78. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2003). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 45-46.
  79. Ma Guitong (8 January 2018). "ชาวจีนฮากกาในเมืองเบตง". MGR Online. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  80. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลยะรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  81. "ปั้น "เบตง" เจาะนักท่องเที่ยวจีน ผุด "สกายวอล์ก" ทะเลหมอก". ประชาชาติธุรกิจ. 8 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  82. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (28 December 2018). "ตามรอยจีนกวางไสในเบตง (3)". สยามรัฐออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  83. 83.0 83.1 รายงานคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดยะลา ปี 2565 (PDF). สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะล���. 2565. p. ค.
  84. "การสำรวจข้อมูลสำมะโนประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้". 3 August 2014. สืบค้นเมื่อ 16 April 2013.
  85. นูรยา เก็บบุญเกิด (21 November 2012). "เสียงที่ไม่ค่อยได้ยิน ชาวคริสต์ในชายแดนใต้". โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  86. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (30 June 2017). ""ซิงค์ ลันดาเว" และชาวซิกข์ในยะลา". สยามรัฐออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-10. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  87. วีรวัฒน์ สุขวราห์ (1996). "พฤติกรรมสุขภาพของชาวซาไก : กรณีศึกษาบ้านซาไก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  88. "ชาวพม่าจัดหมฺรับแห่ "ส่งเปรต" ร่วมกับชาวพุทธยะลา สร้างสีสันบุญสารทเดือนสิบชายแดนใต้". MGR Online. 15 October 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  89. "ชาวไทยพุทธยะลาร่วมทำบุญสารทเดือนสิบคึกคัก". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  90. สำนักงานสถิติกลาง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. รายงานสำมะโนครัวประชากรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2503 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสตูล. พระนคร : ไทยแบบเรียน, 2504, หน้า 19
  91. สภาพการศึกษาทั่ว ๆ ไปของจังหวัดยะลา (PDF). งานวิจัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. 1980. p. 16.
  92. 92.0 92.1 "จังหวัดยะลา" (PDF). หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 17 August 2019.
  93. "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-17. สืบค้นเมื่อ 27 July 2019.
  94. 94.0 94.1 "จำนวนศาสนิกชนและศาสนสถานรายอำเภอ / เทศบาล ปี พ.ศ. 2550". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา. 23 สิงหาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2013.
  95. 95.0 95.1 ชลัท ประเทืองรัตนา (1 November 2010). "โครงการวงดนตรีออร์เคสตร้า เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา" (PDF). สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  96. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (พฤษภาคม–สิงหาคม 2560). "เรื่องในบ้าน : คาทอลิกกับชีวิตแห่งการต่อรองในสังคมมลายูมุสลิมและความรุนแรงถึงตาย". วารสารรูสมิแล (38:2), หน้า 12
  97. 97.0 97.1 "บทที่ 1 สภาพทั่วไป จังหวัดยะลา" (PDF). กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-10. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  98. 98.0 98.1 "ข้อมูลทั่วไป จังหวัดยะลา" (PDF). สำนักงานกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-05. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  99. 99.0 99.1 รายงานคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดยะลา จากข้อมูล จปฐ. / กชช. 2ค ประจำปี 2562 (PDF). สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
  100. "ศอ.บต.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จชต. พร้อมยืนเคียงข้างปชช.ไทยพุทธ เร่งแก้ไขปัญหาวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์ เพื่อไม่ให้รู้สึก เป็นพลเรือนชั้นที่ 2". ชมรมสื่อมวลชนเพื่อสันติ. 30 October 2018. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  101. "พบวัดร้างกว่า 3 ปีในจ.ยะลา เหตุไม่มั่นใจความปลอดภัย". ไทยพีบีเอส. 8 July 2003. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  102. "สลดใจชาวพุทธ! พบวัดร้างกลางเมืองยะลาไร้พระจำวัดเหตุความไม่สงบ". ผู้จัดการออนไลน์. 19 July 2003. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  103. "ศอ.บต. เดินหน้า ฟื้นฟูวัดร้าง "จินดาพลาราม" เป็นศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องชาวไทยพุทธ ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา". ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. 8 February 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  104. "วัดสวนแก้วยะลาไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาวันวิสาขบูชา หลังเจ้าอาวาสมรณภาพจากเหตุระเบิด". ผู้จัดการออนไลน์. 17 May 2011. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  105. ""วัดสวนแก้ว" ที่ยะหา...ในวันร้างผ้าเหลือง". อิศรา. 20 May 2011. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  106. "สานต่อภารกิจฟื้น "วัดร้าง" ในชายแดนใต้ คือการสร้าง "ความมั่นคง" ในพื้นที่ปลายด้ามขวาน". ผู้จัดการออนไลน์. 22 February 2020. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  107. สทท.ยะลา (29 พฤศจิกายน 2018). สุพจน์ กาบแก้ว (บ.ก.). "ศอ.บต.เตรียมฟื้นฟูชุมชนวัดจินดาพลาราม อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นชุมชนไทยพุทธเข้มแข็ง". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020.
  108. "สถิติศาสนา ศิลปะ วัฒน���รรม" (PDF). สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2019.
  109. "พระศาสนสถานคุรุดวารา - วัดซิกข์". สมาคมไทยซิกข์แห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013.
  110. "สทพ.จ.ยล.รวมตัวเรียกร้อง รพ.ยะลา ดำเนินการครัวไทยสากล-ที่พักสงฆ์ สร้างความเสมอภาค". ผู้จัดการออนไลน์. 18 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29