ข้ามไปเนื้อหา

มาเอสตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“มาเอสตา” โดยดุชโชราว ค.ศ. 1308-1311เป็นภาพแม่พระและพระกุมารบนบัลลังก์กับทูตสวรรค์ 20 องค์และนักบุญ 19 องค์ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิหารซีเอนา
“มาเอสตา” โดยชิมาบูเยในมหาวิหารนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี

มาเอสตะ (อิตาลี: Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (กรีก: Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร[1]

ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน[2] และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี ค.ศ. 565.[3] จิตรกรรมมาเอสตาเข้ามาเผยแพร่ในโรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[4] และเน้นความสำคัญของพระแม่มารีมากขึ้น ภาพมาเอสตามักจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วาดบนผนังที่ฉาบด้วยพลาสเตอร์ หรือเป็นจิตรกรรมแผงสำหรับใช้เป็นฉากประดับแท่นบูชา.

ถ้าเป็นภาพที่ใช้สักการะเป็นการส่วนตัวภาพก็มักจะลดลงเหลือเพียงแม่พระและพระกุมาร.

ตัวอย่างจิตรกรรมมาเอสตา

[แก้]

งานจิตรกรรมมาเอสตาชิ้นที่สำคัญที่สุด���ืองาน “มาเอสตะกับทูตสวรรค์ 20 องค์และนักบุญ 19 องค์” ที่เขียนราว ค.ศ. 1308-ค.ศ.1311 ซึ่งเป็นชุดภาพเขียนที่จ้างโดยเมืองซีเอนาสำหรับมหาวิหารซีเอนา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1311

งานมาเอสตาที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คืองานเขียนของซีโมเน มาร์ตีนี สำหรับพาลัซโซพุบลิโคในซีเอนา และงานของชิมาบูเยในมหาวิหารนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี

อ้างอิง

[แก้]
  1. See M. Lawrence's discussion of this image, "Maria Regina", Art Bulletin 7 (1924-25:150-61.
  2. Suggested by Lawrence 1924:
  3. In Corippus' poem, Sophia (Wisdom) prays "Virgo, creatoris genetrix sanctissima mundi, excelsi regina poli...". (Corippus, A. Cameron, ed., In laudem Justini augusti minoris (London) 1976, vol. II:52f. The more familiar In laudem Mariae, praising Mary as Regina Coeli (Queen of Heaven), is a late sixth century poem, perhaps by Venantius Fortunatus.
  4. Several rare examples in fresco and mosaic, including the lost apse mosaic in the first church in Rome dedicated to Mary, the Basilica of Santa Maria Maggiore, are listed by John L. Osborne, "Early Medieval Painting in San Clemente, Rome: The Madonna and Child in the Niche", Gesta 20.2 (1981:299-310) p. 304f.
  • Ragioneri, Giovanna. Duccio. Florence: Cantini. 1989 ISBN 88-7737-058-0.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มาเอสตะ