ข้ามไปเนื้อหา

พระไภรวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระไภรวะ
ส่วนเกี่ยวข้องพระรุทร, พระศิวะ
มนตร์Om Shri Kaal Bhairavaya Namaha
อาวุธตรีศูล, Khaṭvāṅga,ดาบ, กปาละ, เคียว, บ่วงบาศก์, วัชระ, สาก, กลองฑมรุ ปาศุปตาสตระ
พาหนะขาล
เทศกาลBhairava Ashtami
คู่ครองพระแม่ไภรวี, พระแม่กาลี

พระไภรวะ (สันสกฤต: भैरव; การถอดรูปเป็นอักษรไทยบางครั้งอาจเขียนเป็น "ไภรพ") หรือ พระศิวะปางดุร้าย เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งชาวไทยเรียกว่า "พระพิราพ" ซึ่งเป็นครูในนาฏกรรม มีในนิกายตันตระ สาเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่น่ากลัว เนื่องจากจะทำให้ศาสนิกเกรงกลัวพลอำนาจของเทพเจ้า พระศิวไภรพนั้นมีอยู่มี ๒ แบบ คือ

๑. กาฬไภรพ ชาวเนปาล เรียกว่า "กาฬไภราพ" ผิวกายเป็นสีดำ สวมเครื่องประดับสีแดงและเหลือง มีสีแดงที่คนเอามาป้ายทาต่างเลือดสังเวยเปรอะทั้งองค์ พระเนตรของพระองค์โปนถลน เขี้ยงโง้ง พระหัตถ์ทั้ง ๖ ถือดาบและอาวุธต่างๆ รวมทั้งหัวคนด้วย เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถลงโทษคนพูดเท็จให้เลือดออกจนตายได้ เวลาจะสาบานอะไร ต้องมาสาบานที่กาฬไภรพ

๒. เศวตไภรพ ชาวเนปาล เรียกว่า "เสโตไภราพ" เป็นแบบเดียวกับกาฬไภรพ แต่แตกต่างกับกาฬไภรพตรงที่ เศวตไภรพนี้ผิวกายจะเป็นสีขาว

บางคนเข้าใจกันว่ากาฬไภรพ และเศวตไภรพ เป็นองค์เดียวกับพระแม่กาลี เพราะเห็นความดุร้าย แยกเขี้ยวยิงฟัน และมีการนำเลือดมาสังเวย แต่ความจริง ไภรพ ก็คือพระนามของพระศิวะปางดุร้าย

กาศีลิงคพิราปปา

[แก้]

กาศีลิงคพิราปปา เป็นไภรวะปางที่มีผู้นับถือมากในพาราณสี เป็นปางดุของพระศิวะที่ตัดเศียรที่ห้าของพระพรหม หลังจากนั้นไภรวะต้องใช้บาปด้วยเป็นขอทาน มีศีรษะพระพรหมเป็นบาตรติดมือไป จนมาถึงเมืองพาราณสี ศีรษะพระพรหมหลุดจากมือ พระไภรวะจึงเป็นเทพประจำเมืองพาราณสี มีหน้าที่กินบาปของผู้นำเนื้อดิบกับเหล้ามาเซ่นสังเวย ชาวพาราณสีสร้างรูปเคารพของท่านเป็นเสาแบบหลักประหาร มีหัวยักษ์อยู่บนยอด ในบันทึกระบุว่าเมื่ออังกฤษเข้ายึดพาราณสีนั้น ชาวบ้านยังเซ่นเสานี้โดยการเชือดคนและควายบูชา ในเนปาลมีการบูชาเทพลักษณะนี้เช่นกัน แต่ใช้การเชือดแพะบูชา และยังทำต่อมาถึงปัจจุบัน คำว่าพิราปปานี้ ในรามเกียรติ์เรียกว่าพระพิราพหรือพระพิราพป่า และเป็นเทพที่นักดนตรีเคารพบูชากันมาก


พระศิวะปางไภรวะนี้จะคู่กับพระแม่ไภรวีหรือพระแม่ปารวตีซึ่งเป็นอวตารของพระแม่อธิศักติเป็นหนึ่งในสิบของ พระแม่ทศมหาวิทยา ทั้งสิบองค์ (ตามความเชื่อของลัทธิศักติ)หรือนิกายตันตระ เป็นเทพที่ทำลายความชั่วร้ายทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพระแม่กาลีซึ่งเป็นปางดุร้ายเช่นกัน [1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ไมเคิล ไรท์. ฝรั่งคลั่งผี. กทม. : มติชน, 2550. หน้า 257 - 258.

ดูเพิ่ม

[แก้]