ข้ามไปเนื้อหา

พระราชอาณาจักรลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชอาณาจักรลาว

ພຣະຣາຊອານາຈັກລາວ
พระลาซะอานาจักลาว
พ.ศ. 2496พ.ศ. 2518
เพลงชาติเพลงชาติลาว (เนื้อร้อง ค.ศ. 1947)
ที่ตั้งของลาว
สถานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
เมืองหลวงกำแพงนครเวียงจันทน์ (พระเจ้ามหาชีวิตทรงประทับ ณ นครหลวงพระบาง)
ภาษาทั่วไปลาว
ฝรั่งเศส
การปกครองรัฐเดี่ยว ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (โดยนิตินัย)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(โดยพฤตินัย)
พระมหากษัตริย์ 
• 2488-2502
สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
• 2502-2518
สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา
นายกรัฐมนตรี 
• 2505-2518
เจ้าสุวรรณภูมา (4 สมัย)
ประวัติศาสตร์ 
• ปกครองตนเอง
12 ตุลาคม พ.ศ. 2496
• ได้รับเอกราช
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496
• เปลี่ยนแปลงสู่ระบอบคอมมิวนิสต์
2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
พื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร (91,400 ตารางไมล์)
ประชากร
• 
3,100,000
สกุลเงินกีบ
รหัส ISO 3166LA
ก่อนหน้า
ถัดไป
อินโดจีนของฝรั่งเศส
อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

พระราชอาณาจักรลาว เป็นชื่อของประเทศลาวตั้งแต่ พ.ศ. 2496 จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถล้มล้างระบอบกษัตริย์​และสามารถสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สำเร็จ โดยได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ใช้การป���ครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐบาล

[แก้]

หลังการประกาศเอกราชของลาวตามสนธิสัญญาเจนีวาในปี พ.ศ. 2496 รัฐบาลแห่งพระราชอาณาจักรลาวถือเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองทั่วประเทศลาวทั้งหมด โดยรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรได้กำหนดให้ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐบาลกลางตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ส่วนสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตทรงประทับ ณ เมืองหลวงพระบาง โดยเวลานั้น สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตพระองค์แรก และเจ้าสุวรรณภูมาทรงเป็นนายกรัฐมนตรีองค์แรกแห่งราชอาณาจักรลาว

ในเวลาต่อมา ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้เกิดความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นหลายครั้ง และส่วนมากจะเป็นรัฐบาลที่มีอายุสั้น เนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

[แก้]

สงครามกลางเมือง

[แก้]

ราชอาณาจักรลาวได้เผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือปะเทดลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ต่อสู้กับรัฐบาลฝ่ายราชอาณาจักรลาวซึ่งสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรลาวทำให้ลาวต้องเข้าไปเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ มีการก่อรัฐประหารและการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารอยู่หลายครั้งเช่น การรัฐประหารของภูมี หน่อสวรรค์และกองแล วีระสาน การที่ราชอาณาจักรลาวเข้าไปพัวพันกับยาเสพติดของซีไอเอและการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับกลุ่มทหารและสถาบันพระมหากษัตริย์จนขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ขบวนการนักศึกษา 21 องค์กรที่ไม่พอใจการปกครองของราชอาณาจักรลาวได้จัดชุมนุมในเวียงจันทน์เพื่อเรียกร้องให้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์

ต่อมาในภายหลังขบวนการนักศึกษา​ 21​ องค์กร​ได้หันไปเข้าร่วมกับกองกองกำลังฝ่ายประเทดลาวและทำให้ฝ่ายปะเทดลาวสามารถรุกคืบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ล่มสลาย

[แก้]
กองกำลังประชาชนของปะเทดลาว
การลงมติล้มล้างระบอบกษัตริย์และจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวของการประชุมสมัชชาใหญ่ สมาชิกสภาแห่งชาติลาวชุดแรก‎

ในที่สุดก็บรรลุข้อตกลงหยุดยิงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ตาม ข้อตกลงสันติภาพปารีสระหว่างสหรัฐอเมริกาและเวียดนามเหนือ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2517 ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเอกภาพแห่งชาติขึ้น โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามถึงเวลานี้ กองกำลังประชาชนปะเทดลาวได้เข้าควบคุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศ และหลังจากกรุงไซง่อนและ พนมเปญถูกกองทัพคอมมิวนิสต์ปลดปล่อย กองกำลังคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวได้เข้าปลดปล่อยกรุงเวียงจันทร์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การนักศึกษาได้ขจัดโอกาสใด ๆ ที่รัฐบาลผสมที่จัดตั้งขึ้นในประเทศลาว[1]

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ที่กรุงเวียงจันทน์ เจ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารได้ทรงส่งพระราชสาส์นสละราชสมบัติของพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ถึงกองกำลังประเทศลาว นำไปสู่การจัดตั้งการประชุมสมัชชาใหญ่ในที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้นโดยมีเจ้าสุภานุวงศ์เป็นประธานประเทศ ส่วนไกรสอน พรหมวิหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Laos". state.gov. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.