ประเทศเชโกสโลวาเกีย
เชโกสโลวาเกีย Československo[a] | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1918–1939 1939–1945 รัฐบาลพลัดถิ่น 1945–1992 | |||||||||||
คำขวัญ: 'Pravda vítězí / Pravda víťazí' (เช็ก / สโลวัก, 1918–1990) 'Veritas vincit' (ละติน, 1990–1992) 'ความจริงเหนือกว่า' | |||||||||||
เชโกสโลวาเกียในช่วงสมัยระหว่างสงครามและสงครามเย็น | |||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ปราก 50°05′N 14°25′E / 50.083°N 14.417°E | ||||||||||
ภาษาราชการ | เชโกสโลวัก หลัง ค.ศ. 1948 คือเช็ก · สโลวัก | ||||||||||
เดมะนิม | ชาวเชโกสโลวัก | ||||||||||
การปกครอง | สาธารณรัฐที่ 1 (1918–38) สาธารณรัฐที่ 2 (1938–39) สาธารณรัฐที่ 3 (1945–48) สาธารณรัฐสังคมนิยม (1948–89) สหพันธ์สาธารณรัฐ (1990–92) รายละเอียด
| ||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||
• 1918–1935 | โตมาช มาซาริก | ||||||||||
• 1935–1938 · 1945–1948 | แอ็ดวาร์ต แบแน็ช | ||||||||||
• 1938–1939 | เอมิล ฮาชา | ||||||||||
• 1948–1953 | แกลแม็นต์ โกตวัลต์ | ||||||||||
• 1953–1957 | อันโตนีน ซาโปตอกสกี | ||||||||||
• 1957–1968 | อันโตนีน โนโวตนี | ||||||||||
• 1968–1975 | ลุดวิก สโวโบดา | ||||||||||
• 1976–1989 | กุสตาว ฮูซาก | ||||||||||
• 1989–1992 | วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล | ||||||||||
เลขาธิการทั่วไป / เลขาธิการคนแรกของพรรคฯ | |||||||||||
• 1948–1953 | แกลแม็นต์ โกตวัลต์ | ||||||||||
• 1953–1968 | อันโตนีน โนโวตนี | ||||||||||
• 1968–1969 | อาเล็กซานเดร์ ดุบเช็ก | ||||||||||
• 1969–1987 | กุสตาว ฮูซาก | ||||||||||
• 1987–1989 | มิโลช ยาแก็ช | ||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• 1918–1919 (คนแรก) | คาเรล ครามาร์ | ||||||||||
• 1992 (คนสุดท้าย) | ยาน สตราสกี | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Revolutionary National Assembly (1918–1920) National Assembly (1920–1939) Interim National Assembly (1945–1946) Constituent National Assembly (1946–1948) National Assembly (1948–1969) Federal Assembly (1969–1992) | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• คำประกาศ | 28 ตุลาคม 1918 | ||||||||||
30 กันยายน 1938 | |||||||||||
• ยุบเลิก | 14 มีนาคม 1939 | ||||||||||
10 พฤษภาคม 1945 | |||||||||||
25 กุมภาพันธ์ 1948 | |||||||||||
21 สิงหาคม 1968 | |||||||||||
17 – 28 พฤศจิกายน 1989 | |||||||||||
• ยุบเลิก | 1 มกราคม 1993 | ||||||||||
เอชดีไอ (1990 formula) | 0.897[1] สูงมาก | ||||||||||
สกุลเงิน | โครูนาเชโกสโลวาเกีย | ||||||||||
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ (ก่อน ค.ศ. 1939) ขวามือ (หลัง ค.ศ. 1939) | ||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | +42 | ||||||||||
โดเมนบนสุด | .cs | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | |||||||||||
รหัสพื้นที่ +42 ถอนการใช้งานในฤดูหนาว ค.ศ. 1997 ขอบเขตตัวเลจแบ่งออกเป็นของ Czech Republic (+420) และ Slovak Republic (+421) ปัจจุบัน รหัส ISO 3166-3 คือ "CSHH" |
เชโกสโลวาเกีย[2] (เช็กและสโลวัก: Československo, Česko-Slovensko)[3][4] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง[5] ซึ่งสถาปนาขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 เมื่อได้ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จากนั้นใน ค.ศ. 1938 ซูเดเทินลันท์กลายเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีตามข้อตกลงมิวนิก ในขณะที่ประเทศสูญเสียดินแดนเพิ่มเติมให้กับฮังการีและโปแลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1945 รัฐถูกยุบเลิกเนื่องจากสโลวาเกียได้ประกาศอิสรภาพ และต่อมาภายหลังดินแดนที่เหลือทางตะวันออกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี ในขณะที่ส่วนที่เหลือของดินแดนเช็ก รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียของเยอรมันได้ถูกประกาศขึ้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1939 ภายหลังจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง แอ็ดวาร์ต แบแน็ช อดีตประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกีย ได้จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นและต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากฝ่ายสัมพันธมิตร
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อน ค.ศ. 1938 เชโกสโลวาเกียได้ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ด้วยการยกเว้นภูมิภาคคาร์เพเทียน รูเธเนีย ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (สาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต) ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1989 เชโกสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตะวันออกพร้อมด้วยเศรษฐกิจแบบบังคับ สถานะทางเศรษฐกิจได้ถูกทำให้เป็นทางการมในฐานะสมาชิกของคอมิคอน ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 และสถานะการป้องกันในกติกาสัญญาวอร์ซอ ตั้งแต่ ค.ศ. 1955 ช่วงเวลาของการเปิดเสรีทางการเมืองใน ค.ศ. 1968 หรือเป็นที่รู้จักกันคือ ปรากสปริง ซึ่งจบลงด้วยความรุนแรง เมื่อสหภาพโซเวียต ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากบางประเทศในกติกาสัญญาวอร์ซอในการรุกรานเชโกสโลวาเกีย ใน ค.ศ. 1989 รัฐบาลลัทธิมากซ์–เลนินและลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังจะสิ้นสุดทั่วทั้งยุโรปตะวันออก เชโกสโลวาเกียได้ขับไล่รัฐบาลสังคมนิยมอย่างสงบในการปฏิวัติกำมะหยี่ การควบคุมราคาของรัฐได้ถูกยกเลิกภายหลังจากช่วงเวลาของเตรียมการ ใน ค.ศ. 1993 เชโกสโลวาเกียได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองรัฐเอกราช ได้แก่ ส���ธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย[6]
ลักษณะโดยเฉพาะ
[แก้]รูปแบบของรัฐ
[แก้]- ค.ศ. 1918–1938: สาธารณรัฐประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนในการสถาปนาขึ้นโดย Tomáš Masaryk[7]
- ค.ศ. 1938–1939: ภายหลังการเข้ายึดครอง ซูเดเทินลันท์โดยนาซีเยอรมนีใน ค.ศ. 1938 ภูมิภาคก็ค่อย ๆ กลายเป็นรัฐที่ความเชื่อมโยงต่อกันระหว่างภูมิภาคเช็ก สโลวัก และรูเธเนีย แถบภาคใต้ของสโลวาเกียและคาร์เพเทียน รูเธเนียได้ถูกกู้คืนโดยฮังการีและภูมิภาค Zaolzie ถูกผนวกรวมเข้ากับโปแลนด์
- ค.ศ. 1939–1945: ส่วนที่เหลือของรัฐได้ถูกตัดขาดและแบ่งแยกออกมาเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและสาธารณรัฐสโลวัก ในขณะที่ส่วนที่เหลือของคาร์เพเทียน รูเธเนียถูกยึดครองและผนวกรวมเข้ากับฮังการี รัฐบาลผลัดถิ่นยังคงดำรงอยู่ในกรุงลอนดอน, ได้รับการสนับสนุนโดยสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในฝ่ายสัมพันธมิตร; ภายหลังจากเยอรมันได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ยังได้รับการยอมรับจากสหภาพโซเวียตอีกด้วย เชโกสโลวาเกียได้ปฏิบัติตามปฏิญญาสหประชาชาติและเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ
- ค.ศ. 1946–1948: ประเทศนี้ถูกปกครองโดยรัฐบาลผสมพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีฝ่ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย คาร์เพเทียน รูเธเนียได้ถูกส่งมอบให้กับสหภาพโซเวียต
- ค.ศ. 1948–1989: ประเทศนี้กลายเป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนินภายใต้ภายใต้การปกครองของโซเวียตพร้อมด้วยเศรษฐกิจแบบบังคับ. ใน ค.ศ. 1960, ประเทศอย่างเป็นทางการได้กลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมมีชื่อว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก เป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต
- ค.ศ. 1989–1990: เชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประกอบไปด้วยสาธารณรัฐสังคมนิยมเช็กและสาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก ใน ค.ศ. 1989 การปกครองของคอมมิวนิสต์ได้มาถึงจุดจบในช่วงการปฏิวัติกำมะหยี่ ตามมาด้วยการสถาปนาก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง[8]
- ค.ศ. 1990–1992: ไม่นานภายหลังการปฏิวัติกำมะหยี่ รัฐได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก ประกอบไปด้วยสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) จนกระทั่งได้ถูกยุบอย่างสันติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993[8]
- ประเทศเพื่อนบ้าน[9]
- ออสเตรีย ค.ศ. 1918–1938, ค.ศ. 1945–1992
- เยอรมนี (สองประเทศในช่วงก่อนหน้านี้, เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก เป็นประเทศเพื่อนบ้านกันระหว่าง ค.ศ. 1949 และ 1990)
- ฮังการี
- โปแลนด์
- โรมาเนีย ค.ศ. 1918–1938
- สหภาพโซเวียต ค.ศ. 1945–1991
- ยูเครน ค.ศ. 1991–1992 (สมาชิกของสหภาพโซเวียตจนถึง ค.ศ. 1991)
ภูมิประเทศ
[แก้]ประเทศแห่งนี้เป็นภูมิประเทศที่ไม่สม่ำเสมอโดยทั่วไป พื้นที่ทางตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบทางตอนเหนือของยุโรปกลาง พื้นที่ทางตะวันออกประกอบไปด้วยปลายสุดขอบทางเหนือของเทือกเขาคาร์เพเทียนและดินแดนของลุ่มแม่น้ำดานูบ
ภูมิอากาศ
[แก้]สภาพอากาศของประเทศนี้คือฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและฤดูร้อนที่ไม่รุนแรงเช่นกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมหาสมุทรแอตแลนติกจากตะวันตก ทะเลบอลติกจากทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากทางใต้ ดังนั้นจึงไม่มีสภาพอากาศแบบทวีปเลย
ชื่อทางการ
[แก้]- ค.ศ. 1918–1938: สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (ย่อคำว่า ČSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย, ก่อนที่จะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1920, ยังเป็นที่รู้จักกันคือ เช็กโก-สโลวาเกีย หรือ รัฐเช็กโก-สโลวัก [10]
- ค.ศ. 1938–1939: สาธารณรัฐเช็กโก-สโลวาเกีย, หรือ เช็กโก-สโลวาเกีย
- ค.ศ. 1945–1960: สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (ČSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย
- ค.ศ. 1960–1990: สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (ČSSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย
- ค.ศ. 1990–1992: สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (ČSFR), หรือ เชโกสโลวาเกีย
ประวัติศาสตร์
[แก้]จุดกำเนิด
[แก้]พื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมาเนิ่นนานจนกระทั่งจักรวรรดิได้ถึงแก่การล่มสลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติลง รัฐแห่งใหม่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Tomáš Garrigue Masaryk (ค.ศ. 1850–1937)[11] ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1918 ถึง 14 ธันวาคม ค.ศ. 1935 เขาได้ถูกรับช่วงต่อโดยคนสนิทใกล้ชิดของเขาอย่างแอ็ดวาร์ต แบแน็ช (ค.ศ. 1884–1948)
รากเหง้าของลัทธิชาตินิยมของชาวเช็กต้องย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภาษาศาสตร์และนักศึกษา ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจินตนิยม ได้ส่งเสริมภาษาเช็กและความภาคภูมิใจในชาวเช็ก ลัทธิชาตินิยมได้กลายเป็นขบวนการมวลชนในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 การใช้ประโยชน์จากโอกาศที่มีจำกัดในการมีส่วนร่วมในชีวิตทางการเมืองภายใต้การปกครองของออสเตรีย ผู้นำเช็ก เช่น นักประวัติศาสตร์นามว่า František Palacký (ค.ศ. 1798–1876) ได้จัดตั้งองค์กรให้ความช่วยเหลือตนเองที่มีใจรักชาติต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเปิดโอกาศให้เพื่อนร่วมชาติหลายคนได้มีส่วนร่วมในชีวิตสังคมก่อนที่จะได้รับเอกราช Palacký ได้สนับสนุนลัทธิออสเตรีย-สลาฟ และทำงานในการปรับปรุงขึ้นมาใหม่และรัฐบาลกลางของจักรวรรดิออสเตรีย ซึ่งจะคอยปกป้องประชาชนที่พูดเป็นภาษาสลาฟในยุโรปกลางจากการคุกคามของรัสเซียและเยอรมัน
หนึ่งในผู้สนับสนุนการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและการปกครองตนเองของเช็กภายในออสเตรีย-ฮังการี Masaryk ได้รับการเลือกตั้งสองครั้งในการเข้าสู่ Reichsrat (รัฐสภาออสเตรีย) ครั้งแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1891 ถึง ค.ศ. 1893 จากพรรคยังเช็ก (พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ) และอีกครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. 1907 ถึง ค.ศ. 1914 จากพรรคสัจนิยมเช็ก ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1889 พร้อมกับ Karel Kramář และ Josef Kaizl
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชาวเช็กและสโลวักจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกองทหารเชโกสโลวัก ได้ต่อสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฝรั่งเศสและอิตาลี ในขณะที่จำนวนมากมายได้ละทิ้งหน้าที่ให้แก่รัสเซียเพื่อแลกกับการสนับสนุนในการได้รับอิสรภาพของเชโกสโลวาเกียจากจักรวรรดิออสเตรีย[12] ด้วยการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Masaryk ได้เริ่มทำงานเพื่ออิสรภาพของเช็กในการร่วมมือกับสโลวาเกีย พร้อมด้วยกับ แอ็ดวาร์ต แบแน็ช และ Milan Rastislav Štefánik โดย Masaryk ได้เยือนประเทศตะวันหลายประเทศและได้รับการสนับสนุนจากนักเขียนข่าวการเมืองทรงอิทธิพล[13] สภาชาติเชโกสโลวาเกียเป็นองค์กรหลักที่ได้ดำเนินการในการอ้างสิทธิ์สำหรับรัฐเชโกสโลวัก[14]
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Human Development Report 1992" (PDF). hdr.undp.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
- ↑ "THE COVENANT OF THE LEAGUE OF NATIONS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Ján Kačala: Máme nový názov federatívnej republiky (The New Name of the Federal Republic), In: Kultúra Slova (official publication of the Slovak Academy of Sciences Ľudovít Štúr Institute of Linguistics) 6/1990 pp. 192–197" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2011. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
- ↑ เสียงอ่านภาษาเช็ก: [ˈtʃɛskoslovɛnsko], เสียงอ่านภาษาสโลวัก: [ˈtʂeskɔslɔʋenskɔ]
- ↑ "Milestones: 1961–1968 – Office of the Historian". history.state.gov. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ Rozdělení Československa, Vladimír Srb, Tomáš Veselý ISBN10809685335x
- ↑ "16. Czechoslovakia (1918–1992)". uca.edu. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ 8.0 8.1 "A Brief History of the Czech Republic – Live & Study – Czech Universities". czechuniversities.com. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ "Czechoslovakia". www.jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ Votruba, Martin. "Czecho-Slovakia or Czechoslovakia". Slovak Studies Program. University of Pittsburgh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 March 2009.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Czechs Celebrate Republic's Birth, 1933/11/06 (1933). Universal Newsreel. 1933. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
- ↑ PRECLÍK, Vratislav. Masaryk a legie (Masaryk and legions), váz. kniha, 219 str., vydalo nakladatelství Paris Karviná, Žižkova 2379 (734 01 Karviná) ve spolupráci s Masarykovým demokratickým hnutím (Masaryk Democratic Movement, Prague), 2019, ISBN 978-80-87173-47-3, pp. 8 – 52, 57 – 120, 124 – 128, 140 – 148, 184 – 190
- ↑ Z. A. B. Zeman, The Masaryks: The Making of Czechoslovakia (1976)
- ↑ Fenwick, Charles G. (1918). "Recognition of the Czechoslovak Nation". The American Political Science Review. 12 (4): 715–718. doi:10.2307/1945847. ISSN 0003-0554. JSTOR 1945847. S2CID 146969818.
ข้อมูล
[แก้]- "The First Czechoslovak Republic". The official website of the Czech Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2007.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Heimann, Mary. Czechoslovakia: The State That Failed (2009).
- Hermann, A. H. A History of the Czechs (1975).
- Kalvoda, Josef. The Genesis of Czechoslovakia (1986).
- Leff, Carol Skalnick. National Conflict in Czechoslovakia: The Making and Remaking of a State, 1918–87 (1988).
- Mantey, Victor. A History of the Czechoslovak Republic (1973).
- Myant, Martin. The Czechoslovak Economy, 1948–88 (1989).
- Naimark, Norman, and Leonid Gibianskii, eds. The Establishment of Communist Regimes in Eastern Europe, 1944–1949 (1997)
- Orzoff, Andrea. Battle for the Castle: The Myth of Czechoslovakia in Europe 1914–1948 (Oxford University Press, 2009); online review doi:10.1093/acprof:oso/9780195367812.001.0001 online
- Paul, David. Czechoslovakia: Profile of a Socialist Republic at the Crossroads of Europe (1990).
- Renner, Hans. A History of Czechoslovakia since 1945 (1989).
- Seton-Watson, R. W. A History of the Czechs and Slovaks (1943).
- Stone, Norman, and E. Strouhal, eds.Czechoslovakia: Crossroads and Crises, 1918–88 (1989).
- Wheaton, Bernard; Zdenek Kavav. "The Velvet Revolution: Czechoslovakia, 1988–1991" (1992).
- Williams, Kieran, "Civil Resistance in Czechoslovakia: From Soviet Invasion to "Velvet Revolution", 1968–89",
in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present (Oxford University Press, 2009). - Windsor, Philip, and Adam Roberts, Czechoslovakia 1968: Reform, Repression and Resistance (1969).
- Wolchik, Sharon L. Czechoslovakia: Politics, Society, and Economics (1990).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Online books and articles เก็บถาวร 1 เมษายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- U.S. Library of Congress Country Studies, "Czechoslovakia"
- English/Czech: Orders and Medals of Czechoslovakia including Order of the White Lion
- Czechoslovakia by Encyclopædia Britannica
- Katrin Boeckh: Crumbling of Empires and Emerging States: Czechoslovakia and Yugoslavia as (Multi)national Countries, in: 1914-1918-online. International Encyclopedia of the First World War.