ข้ามไปเนื้อหา

ช���วรีวกีว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวรีวกีว
琉球民族
ประชากรทั้งหมด
4+ ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
– 200,000+[2]
 สหรัฐอเมริกา580,000[3]
 ญี่ปุ่น (ไม่รวมหมู่เกาะรีวกีว)480,000[4]note
 บราซิล260,000[5]note
 เปรู150,000[5]note
 ไต้หวัน110,000[5]note
 อาร์เจนตินา90,000[5]note
 แคนาดา80,000[5]note
 เม็กซิโก70,000[5]note
 ชิลี60,000[5]note
 ฟิลิปปินส์40,000[5]note
 มาเลเซีย12,500[5]note
 เอกวาดอร์-[5]note
ภาษา
ศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ^ 1. ชาวรีวกีวที่อาศัยในญี่ปุ่นนอกหมู่เกาะรีวกีว นับเป็นคนพลัดถิ่น
  • ^ 2. จำนวนของชาวรีวกีวในต่างประเทศนั้นไม่เป็นที่ทราบ เพราะหลักฐานตามสำมะโนครัวประชากรจะนับว่าเป็นชาวญี่ปุ่นหรือเอเชีย

ชาวรีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球民族โรมาจิRyūkyū minzoku; โอกินาวะ: 琉球民族, อักษรโรมัน: Ruuchuu minzuku, Duuchuu minzuku) หรือ ชาวโอกินาวะ[8] (ญี่ปุ่น: 沖縄人โรมาจิOkinawa jin; โอกินาวะ: 沖縄ん人, うちなーんちゅ; โรมาจิ: Uchinaanchu)[a] เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะรีวกีว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคีวชูกับไต้หวัน[11] ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของจังหวัดโอกินาวะและคาโงชิมะของประเทศญี่ปุ่น ภาษาของพวกเขาจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยรีวกีว[12] หนึ่งในสองตระกูลภาษาย่อยของตระกูลภาษาญี่ปุ่น และถูกนับว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น[11]

ชาวรีวกีวไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในญี่ปุ่น เนื่องจากเจ้าหน้าที่จากทางการนับว่าชาวรีวกีวเป็นกลุ่มย่อยของชาวญี่ปุ่น ทำนองเดียวกับชาวยามาโตะและไอนุ กระนั้นถ้าหากว่าชาวรีวกีวเป็นชนกลุ่มน้อย ก็ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพียงแค่จังหวัดโอกินาวะก็มีชาวรีวกีวมากถึง 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีชาวรีวกีวจำนวนไม่น้อยกว่า 600,000 คน อาศัยกระจายไปยังส่วนอื่น ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นเองและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมากจะอาศัยอยู่ในรัฐฮาวาย[13]

ผลการศึกษาด้านพันธุกรรมและมานุษยวิทยาพบว่าชาวรีวกีวมีความสัมพันธ์กับชาวไอนุเป็นพิเศษ และมีบรรพบุรุษร่วมกันช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นหรือยุคโจมง (10,000–1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะผสมข้ามเผ่าพันธุ์กับชาวยามาโตะในยุคยาโยอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300)[7][14] ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออก[15][16] (โดยเฉพาะจากจีนและคาบสมุทรเกาหลี)[17][18][19] ชาวรีวกีวมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น ความเชื่อ ศาสนา หรือแม้แต่อาหาร โดยมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคครั้งแรกราวศตวรรษที่ 12 ประชากรอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายศตวรรษ ราวศตวรรษที่ 14 ได้มีการรวมสามอาณาจักรเป็นรัฐเดียวคืออาณาจักรรีวกีว (ค.ศ. 1429–1879) ซึ่งโดดเด่นด้านการค้าทางทะเลและมีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของจีนยุคราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา[11] กระทั่ง ค.ศ. 1609 อาณาจักรรีวกีวถูกแคว้นซัตสึมะรุกราน แต่ยังมีอิสระในฐานะรัฐประเทศราช[20]

กระทั่งในยุคเมจิ อาณาจักรรีวกีวถูกยุบเป็นแคว้นรีวกีว (1872–1879) หลังถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครอง ในปี ค.ศ. 1879 มีการผนวกดินแดนรวมเข้ากับประเทศญี่ปุ่น แล้วจัดตั้งจังหวัดโอกินาวะ ส่วนพระเจ้าโช ไท พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของรีวกีวถูกเนรเทศไปโตเกียวหลังจากนั้น[11][21][22] ค.ศ. 1895 ประเทศจีนอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะรีวกีว[23] ในช่วงเวลานี้ทางการญี่ปุ่นได้ทำการปราบปรามประเพณี วัฒนธรรม และภาษาพื้นเมืองของชาวรีวกีว[11][24][25] เพื่อกลืนเป็นชาวญี่ปุ่นหรือชาวยามาโตะ[26][27][28] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่เกาะรีวกีวถูกสหรัฐเข้าปกครองในปี ค.ศ. 1945–1950 และ ค.ศ. 1950–1972 ช่วงเวลานี้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนรีวกีวจำนวนมาก[29][30] อันก่อให้เกิดความไม่พอใจทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานทหารของสหรัฐที่ประจำการในโอกินาวะอย่างรุนแรง ดังจะเห็นได้จากการเกิดขบวนการรีวกีวอิสระ (琉球独立運動, Ryukyu independence movement)[12][31]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. รีวกีวปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)[9] หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 沖縄県の推計人口 (ภาษาญี่ปุ่น). Okinawa Prefecture. March 1, 2020. สืบค้นเมื่อ April 21, 2020.
  2. 奄美群島の現状・課題及び これまでの奄振事業の成果について (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Kagoshima Prefecture. April 23, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 20, 2021. สืบค้นเมื่อ April 21, 2020.
  3. Mitchell, Jon (2016-10-22). "Welcome home, Okinawa". The Japan Times Online.
  4. Rabson, Steve. The Okinawan Diaspora in Japan: Crossing the Borders Within. Honolulu: University of Hawaii Press, 2012. 2.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 Nakasone 2002, p. [ต้องการเลขหน้า].
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ryukyuan-tongue
  7. 7.0 7.1 Yuka Suzuki (2012-12-02). "Ryukyuan, Ainu People Genetically Similar Read more from Asian Scientist Magazine". Asian Scientist. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  8. Danver, Steven L., บ.ก. (2015). Native Peoples of the World: An Encyclopedia of Groups, Cultures and Contemporary Issues. Routledge. pp. 229–230. ISBN 9780765682222.
  9. สุจิตต์ วงษ์เทศ 2005, p. 192.
  10. สุจิตต์ วงษ์เทศ 2005, p. 199.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Minahan, James B. (2014). Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 231–233. ISBN 978-1-61069-018-8.
  12. 12.0 12.1 Masami Ito (12 May 2009). "Between a rock and a hard place". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  13. Noguchi & Fotos 2001, p. 69.
  14. Hendrickx 2007, p. 65.
  15. Serafim 2008, p. 98.
  16. Robbeets 2015, p. 26.
  17. 渡来系弥生人の故郷を中国に求めて [Searching for the hometown of the immigrant Yayoi people in China], 日本人はるかな旅展 (ภาษาญี่ปุ่น), 国立科学博物館, 2001, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2015, สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2017
  18. "Yayoi linked to Yangtze area", The Japan Times, 19 มีนาคม 1999, สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 – โดยทาง www.trussel.com
  19. Kumar 2009, p. 79, 88.
  20. Loo 2014, p. 1–2.
  21. Rabson 2008, p. 3.
  22. Caprio 2014, p. 61.
  23. Dubinsky & Davies 2013, p. 12.
  24. Christy 2004, p. 173–175.
  25. Rabson 2008, p. 4.
  26. Dubinsky & Davies 2013, p. 15–16.
  27. Caprio 2014, p. 49–50, 63, 66–67.
  28. Inoue 2017, p. 3.
  29. Inoue 2017, p. 4, 50–51.
  30. "List of Main Crimes Committed and Incidents Concerning the U.S. Military on Okinawa - Excerpts", 沖縄タイムス [Okinawa Times], Okinawa Peace Network of Los Angeles, 12 ตุลาคม 1995, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2017, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2017
  31. Hendrickx 2007, p. 65–66.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Arabia, Vol. 5, No. 54. February 1986/Jamad al-Awal 1406
  • "Japan-Malaysia Relations (Basic Data)". Ministry of Foreign Affairs of Japan. Jan 4, 2024.
  • "Number of residents from Japan living in Malaysia from 2014 to 2023". Statista. Statista Research Department. Feb 16, 2024.
  • Abu Bakr Morimoto, Islam in Japan: Its Past, Present and Future, Islamic Centre Japan, 1980
  • Esenbel, Selcuk, A "fin-de-siecle" Japanese Romantic in Istanbul: The life of Yamada Torajirō and his "Turoko gakan"; Bulletin of the School of Oriental and African Studies (SOAS), Vol. LIX, No. 2, 1996, pp. 237-252. JSTOR 619710
  • Esenbel, Selcuk; Japanese Interest in the Ottoman Empire; in: Edstrom, Bert; The Japanese and Europe: Images and Perceptions; Surrey 2000
  • Esenbel, Selcuk; Inaba Chiharū; The Rising Sun and the Turkish Crescent; İstanbul 2003, ISBN 978-975-518-196-7
  • Heinrich, Patrick; Bairon, Fija (3 November 2007). ""Wanne Uchinanchu – I am Okinawan." Japan, the US and Okinawa's Endangered Languages" (PDF). The Asia-Pacific Journal. 5 (11). 2586. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-05.
  • Hiroshi Kojima, "Demographic Analysis of Muslims in Japan," The 13th KAMES and 5th AFMA International Symposium, Pusan, 2004
  • Keiko Sakurai, Nihon no Musurimu Shakai (Japan's Muslim Society), Chikuma Shobo, 2003
  • Kreiner, J. (1996). Sources of Ryūkyūan history and culture in European collections. Monographien aus dem Deutschen Institut für Japanstudien der Philipp-Franz-von-Siebold-Stiftung, Bd. 13. München: Iudicium. ISBN 3-89129-493-X
  • Ota, Masahide. (2000). Essays on Okinawa Problems. Yui Shuppan Co.: Gushikawa City, Okinawa, Japan. ISBN 4-946539-10-7 C0036.
  • Ouwehand, C. (1985). Hateruma: socio-religious aspects of a South-Ryukyuan island culture. Leiden: E.J. Brill. ISBN 90-04-07710-3
  • Pacific Science Congress, and Allan H. Smith. (1964). Ryukyuan culture and society: a survey. Honolulu: University of Hawaii Press.
  • Penn, Michael, "Islam in Japan: Adversity and Diversity," Harvard Asia Quarterly, Vol. 10, No. 1, Winter 2006
  • Research and Analysis Branch (15 May 1943). "Japanese Infiltration Among the Muslims Throughout the World (R&A No. 890)" (PDF). Office of Strategic Services. U.S. Central Intelligence Agency Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 27, 2016.
  • Sakiyama, R. (1995). Ryukyuan dance = Ryūkyū buyō. Naha City: Okinawa Dept. of Commerce, Industry & Labor, Tourism & Cultural Affairs Bureau.
  • University of Hawaii at Manoa. Ethnic Studies Oral History Project (1981). Uchinanchu, a History of Okinawans in Hawaii. Leiden: Center for Oral History, University of Hawai‘i at Mānoa and Hawai‘i United Okinawa Association. ISBN 9780824807498
  • Yamazato, Marie. (1995). Ryukyuan cuisine. Naha City, Okinawa Prefecture: Okinawa Tourism & Cultural Affairs Bureau Cultural Promotion Division.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]