ข้ามไปเนื้อหา

ชาวครีตเชื้อสายเติร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครีตเชื้อสายเติร์ก
Τουρκοκρητικοί
Giritli Türkler
ชาวครีตเชื้อสายเติร์กในเครื่องแต่งกายดั้งเดิม ราวคริสต์ศควรรษที่ 19–20
ประชากรทั้งหมด
ราว 450,000 คน (ประมาณการ ค.ศ. 1971)[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ตุรกี200,000 คน (1971)[1]
 อียิปต์100,000 คน (1971)[1]
 ลิเบีย100,000 คน (1971)[1]
ประเทศอื่น ๆ (เช่น เลบานอน, ซีเรีย ฯลฯ)50,000 (1971)[1]
ภาษา
ภาษากรีกเกาะครีต, ตุรกี, อาหรับ
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี

ชาวครีตเชื้อสายเติร์ก[2][3] (กรีก: Τουρκοκρητικοί หรือ Τουρκοκρήτες; ตุรกี: Giritli, Girit Türkleri, หรือ Giritli Türkler; อาหรับ: أتراك كريت) ที่กลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามบนเกาะครีต ปัจจุบันผู้สืบสันดานส่วนใหญ่อาศัยในประเทศตุรกี หมู่เกาะโดเดคะนีสภายใต้การปกครองของอิตาลี (ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรีซเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง) ประเทศซีเรีย (เฉพาะเมืองอัลฮามีดียะฮ์) ประเทศเลบานอน ประเทศปาเลสไตน์ ประเทศลิเบีย และประเทศอียิปต์ โดยปะปนอยู่กับกลุ่มชาวตุรกีพลัดถิ่น

ชาวครีตเชื้อสายเติร์กคือลูกหลานของชาวกรีกที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อจักรวรรดิออตโตมันพิชิตเกาะครีตเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17[3][4][5][6] พวกเขาระบุตัวตนว่าเป็น "ชาวกรีกมุสลิม" แต่ชาวกรีกที่ยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่เรียกชนกลุ่มนี้ว่า "เติร์ก" เนื่องจากศาสนาที่นับถือ หาใช่ภูมิหลังทางชาติพันธุ์[3] จากการปกครองของชาวเติร์กทำให้ชาวเกาะครีตจำนวนมากหันไปนับถือศาสนาอิสลาม[7] ทำนองเดียวกันกับประชากรในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ประเทศแอลเบเนีย บางส่วนของประเทศมาซิโดเนียเหนือ และประเทศบัลแกเรีย[8] ซึ่งอาจเป็นอัตราการเปลี่ยนเข้ารีตศาสนาอิสลามที่สูงเสียยิ่งกว่าประชากรอัตราการอพยพเข้าของชาวเติร์กผู้รุกรานเสียอีก[9] แม้จะเปลี่ยนศาสนาไปแล้ว แต่พวกเขายังคงสื่อสารด้วยภาษากรีกสำเนียงครีตดังเดิม[10] ครั้นเมื่อมีการสมรสข้ามชาติพันธุ์และการเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จึงเกิดชนกลุ่มใหม่เรียกว่า "ชาวครีตเชื้อสายเติร์ก" มีเหตุผลนานาประการที่ทำให้ชาวกรีกหันไปนับถือศาสนาอิสลาม (หรือแสร้งทำเป็นนับถือ) จากเอกสารของนักเดินเรือชาวยุโรประบุ��่า "ชาวเติร์กบนเกาะครีต ไม่ได้มีเชื้อสายเติร์กเลย หากแต่เป็นชาวครีตที่เคยนับถือนิกายออร์ทอดอกซ์"[11][12]

หลังเกิดความขัดแย้งทางศาสนาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้ชาวมุสลิมจำนวนมากอพยพออกจากเกาะครีต โดยเฉพาะการก่อกำเริบเกาะครีต ช่วงปี ค.ศ. 1897–1898[13] และการที่เกาะครีตขอรวมเข้ากับประเทศกรีซใน ค.ศ. 1908[14] สุดท้ายหลังสิ้นสงครามกรีก–ตุรกีใน ค.ศ. 1919–1922 และสงครามประกาศอิสรภาพตุรกี จึงมีการแลกเปลี่ยนประชากรกันระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี โดยแลกชาวคริสต์จากคาบสมุทรอนาโตเลียกับชาวมุสลิมในคาบสมุทรบอลข่าน ตามสนธิสัญญาโลซานเมื่อ ค.ศ. 1923 ชาวครีตเชื้อสายเติร์กจำต้องอพยพโยกย้ายออกจากเกาะ

พวกเขายังคงอัตลักษณ์ด้านการใช้ภาษากรีกสำเนียงครีตอยู่ตลอด[15][16] ทั้งที่ภาษาตุรกีออตโตมันเป็นภาษาในการปกครองของชนชั้นสูง ภาษากรีกของพวกเขาถูกใช้ในพิธีกรรมของลัทธิเบกตาชีซึ่งเป็นมุสลิมซูฟี[15] ปัจจุบันสามารถพวกลูกหลานของชาวครีตเชื้อสายเติร์กได้ที่เมืองอัยวาลึค ซึ่งมีชาวครีตอาศัยอยู่มากที่สุด[17]ชาวครีตเชื้อสายเติร์กที่อพยพออกจากเกาะครีตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19–20 ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งทะเลอีเจียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่เมืองอัยวาลึค เกาะจุนดา อิซมีร์ ชูคูโรวา โบดรุม ซีเด มูดานยา อาดานา แมร์ซิน[18] ส่วนที่เมืองอัลฮามีดียะฮ์ ประเทศซีเรีย มีชาวครีตเชื้อสายเติร์กอาศัยอยู่ร้อยละ 60 ของประชากรเมืองทั้งหมด พวกเขายังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการใช้ภาษากรีกในการสื่อสาร[19]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Rippin, Andrew (2008). World Islam: Critical Concepts in Islamic Studies. Routledge. p. 77. ISBN 978-0-415-45653-1.
  2. Şenışık, Pınar (2018). Migration and Material World of the Cretan Muslims: A Profile From Rethymno Through the Liquidation of Property Documents in the Early Twentieth Century (ภาษาอังกฤษ). Isis Press. ISBN 978-975-428-612-0.
  3. 3.0 3.1 3.2 Morrow, John Andrew (2019). Finding W. D. Fard: Unveiling the Identity of the Founder of the Nation of Islam (ภาษาอังกฤษ). Cambridge Scholars Publishing. p. 28. ISBN 978-1-5275-2489-7. The island in question [Crete] was home to Cretan Muslims, descendants of ethnic Greeks who had converted to Islam after the Ottoman conquest in the seventeenth century. Although the language of administration and prestige was Ottoman Turkish, Cretan Muslims used Greek to express their Bektashi Islamic sentiment. After all, Islam in Crete was profoundly influenced by the Bektahi Sufi Order. Although they identified as Greek Muslims, Christian Greeks described them as Turkocretans since they had "betrayed" the Greek Orthodox Church. Some Cretan Muslims reportedly described themselves as "Turco-Romnoi," which means "European Turks," treating the term "Turk" as synonymous with "Muslim," or "Turkish Greeks," namely, Muslim Greeks or Greek Muslims.
  4. Psaradaki, Eleni (30 August 2021). "Oral Memories and the Cretan Identity Of Cretan Turks in Bodrum, Turkey" (PDF). Stratejik ve Sosyal Araştırmalar Dergisi Türk-Yunan İlişkileri Özel Sayısı, C. 5. pp. 41–54. With the term “Cretan Turks” we refer to the descendants of Islamized Cretans during the occupation of the island of Crete by the Turks in 1669. A large number of Cretans (as it also happened generally in Greece) became Muslims in order to avoid the socioeconomic hardships of the Ottoman Occupation of Crete.
  5. Beckingham, C. F. (1956-04-01). "The Cypriot Turks". Journal of The Royal Central Asian Society. 43 (2): 126–130. doi:10.1080/03068375608731569. ISSN 0035-8789. The Cretan "Turks" were not ethnically Turkish, or even Anatolian at all. They were Cretans whose ancestors had accepted Islam at some time after the Turkish conquest of the island in the middle of the seventeenth century.
  6. Hyland, Tim (2020-05-18). "Uğur Z. Peçe Uncovers a Forgotten Part of the History of Crete". Lehigh University (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-17. the people known as the Cretan Turks—a Muslim people of Greek descent—ended up relocating, permanently, to Anatolia, Syria, Egypt, Libya and the Balkans [...] Though the island was home to both Christians and Muslims, both groups were of Greek origin.
  7. Leonidas Kallivretakis, "A Century of Revolutions: The Cretan Question between European and Near Eastern Politics", p. 13f in Paschalis Kitromilides, Eleftherios Venizelos: The Trials of Statesmanship, Edinburgh University Press, 2009, ISBN 0748633642
  8. Malise Ruthven, Azim Nanji, Historical Atlas of Islam, ISBN 0674013859, p. 118
  9. Greene, Molly (2000). A Shared World: Christians and Muslims in the early modern Mediterranean. London: Princeton University Press. p. 39ff, passim. ISBN 978-0-691-00898-1.
  10. Demetres Tziovas, Greece and the Balkans: Identities, Perceptions and Cultural Encounters Since the Enlightenment; William Yale, The Near East: A modern history Ann Arbor: The University of Michigan Press, 1958)
  11. Barbara J. Hayden, The Settlement History of the Vrokastro Area and Related Studies, vol. 2 of Reports on the Vrokastro Area, Eastern Crete, p. 299
  12. Balta, E., & Ölmez, M. (2011). Between religion and language: Turkish-speaking Christians, Jews and Greek-speaking Muslims and Catholics in the Ottoman Empire. İstanbul: Eren.
  13. Henry Noel Brailsford (full text[ลิงก์เสีย]), an eyewitness of the immediate aftermath, uses the term "wholesale massacre" to describe the events of 1897 in Crete.
  14. Smith, Michael Llewellyn (1998). Ionian Vision: Greece in Asia Minor, 1919–1922 (ภาษาอังกฤษ). Hurst. ISBN 978-1-85065-368-4.
  15. 15.0 15.1 Chris Williams, "The Cretan Muslims and the Music of Crete", in Dimitris Tziovas, ed., Greece and the Balkans: Identities, Perceptions, and Cultural Encounters since the Enlightenment
  16. Prof. Theodoros I. Riginiotis. "Christians and Turks: The language of music and everyday life" (PDF). Rethimno. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-30.
  17. gazeteistanbul (2017-02-21). "Anneanne dili "Giritçe"". Gazete İstanbul (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
  18. Tuncay Ercan Sepetcioglu (January 2021). "Cretan Turks at the End of the 19th Century: Migration and Settlement (19. Yüzyılda Girit Türkleri: Göç ve Yerleşim)" – โดยทาง ResearchGate.
  19. Greek-Speaking Enclaves of Lebanon and Syria by Roula Tsokalidou. Proceedings II Simposio Internacional Bilingüismo. Retrieved 4 December 2006