ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศซีเรีย

พิกัด: 35°N 38°E / 35°N 38°E / 35; 38
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة (อาหรับ)

ดินแดนซีเรียอยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนอ้างสิทธิ์เหนือจังหวัดฮาทัยส่วนใหญ่ของตุรกีและที่ราบสูงโกลันที่อิสราเอลยึดครองอยู่ในสีเขียวอ่อน
สถานะรัฐสมาชิกสหประชาชาติซึ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดามัสกัส
33°30′N 36°18′E / 33.500°N 36.300°E / 33.500; 36.300
ภาษาหลักอาหรับ[a]
ภาษารองเคิร์ด (กุรมันจี)[b]
ตุรกี[c]
ตูโรโย[d]
อื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์ 80–90% ชาวอาหรับ
9–10% ชาวเคิร์ด
1–10% อื่น ๆ
ศาสนา
(2020)[6]
เดมะนิมชาวซีเรีย
การปกครองรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน
• ผู้นำ (โดยพฤตินัย)
อะห์มัด อัชชะเราะอ์
มุฮัมมัด อัลบะชีร[7]
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน (ถูกระงับ)
ก่อตั้ง
8 มีนาคม ค.ศ. 1920
1 ธันวาคม ค.ศ. 1924
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1930
• สิ้นสุดความเป็นอาณัติฝรั่งเศส
17 เมษายน ค.ศ. 1946
28 กันยายน ค.ศ. 1961
8 มีนาคม ค.ศ. 1963
8 ธันวาคม ค.ศ. 2024
พื้นที่
• รวม
185,180[8] ตารางกิโลเมตร (71,500 ตารางไมล์) (อันดับที่ 87)
1.1
ประชากร
• 2024 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 25,000,753[9] (อันดับที่ 57)
118.3 ต่อตารางกิโลเมตร (306.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 70)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2015 (ประมาณ)
• รวม
5.028 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
2,900 ดอลลาร์สหรัฐ[10]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
1.108 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
533 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (2022)positive decrease 26.6[11]
ต่ำ
เอชดีไอ (2022)Steady 0.557[12]
ปานกลาง · อันดับที่ 157
สกุลเงินปอนด์ซีเรีย (SYP)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาระเบีย)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+963
รหัส ISO 3166SY
โดเมนบนสุด.sy
سوريا.

ซีเรีย (อังกฤษ: Syria; อาหรับ: سُورِيَا หรือ سُورِيَة) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (อังกฤษ: Syrian Arab Republic; อาหรับ: اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة)[13] เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีและคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ด และเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีเป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย

ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับลิแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า อัชชาม) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์

รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวายและกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัด เป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543

นับตั้งแต่อาหรับสปริงในปี 2554 ซีเรียก็พัวพันกับสงครามกลางเมืองหลายฝ่าย โดยที่ประเทศต่าง ๆ ต่างเข้ามามีส่วนร่วม นำไปสู่วิกฤตผู้ลี้ภัย ซึ่งมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 6 ล้านคนต้องพลัดถิ่นจากประเทศนี้[e][อ้างอิงมากเกินไป] หลายประเทศเข้าแทรกแซงในนามของกลุ่มต่าง ๆ ที่คัดค้าน เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ที่ขยายดินแดนในสงครามกลางเมืองช่วงปี 2557-2558 นำไปสู่การสูญเสียดดินแดนทั้งในซีเรียภาคกลางและภาคตะวันออกใน พ.ศ. 2560 หลังจากนั้น กลุ่มทางการเมืองสามกลุ่ม ได้แก่ รัฐบาลชั่วคราวซีเรีย รัฐบาลปลดปล่อยซีเรีย และโรจาวา ได้ก่อตัวในดินแดนซีเรียเพื่อท้าทายการปกครองของอัลอะซัด ใน่ชวงปลาย 2567 แนวร่วมรุกของฝ่ายค้านทำการรุกรานจนยึดเมืองหลวงดามัสกัสและทำให้ระบอบอัลอะซัดล่มสลาย[15]

ศัพทมูล��ิทยา

[แก้]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ซีเรียเป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำมากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก

สภาพภูมิอากาศของซีเรียแตกต่างกันไปตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ชื้น ผ่านเขตทุ่งหญ้าสเตปป์กึ่งแห้งแล้ง ไปจนถึงทะเลทรายแห้งแล้งทางตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนี้ประกอบด้วยที่ราบสูงแห้งแล้ง แม้ว่าพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะค่อนข้างเขียวก็ตาม อัลญะซีเราะฮ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือและเฮารอนทางใต้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญ แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำสายสพคัญที่สุดของซีเรีย ำหลผ่านประเทศในทางตะวันออก ซีเรียเป็นหนึ่งใน 15 รัฐที่อยู่ในบริเวณ "แหล่งกำเนิดอารยธรรม"[16] พื้นที่นั้นตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นอาระเบีย[17]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประมุขของรัฐคนปัจจุบันคือ นายบัชชาร อัลอะซัด (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)

สถานการณ์การเมือง

[แก้]

ในปี 2513 พันเอก ฮาเฟซ อัลอะซัด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ [18] และในปี พ.ศ. 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะซัด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย

ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี ฮาเฟซ อัลอะซัด เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ ดร. บัชชาร อัลอะซัด ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล บัชชาร อัลอะซัด คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย ราฟิก ฮาริรี่

สิทธิมนุษยชน

[แก้]

มีการสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิล” “ยูทูบ” “เฟซบุก” และ “วิกิพีเดีย” เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และ สื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ซีเรียแบ่งเป็น 14 เขตผู้ว่าการ (governorate) ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าจะเสนอโดยรัฐมนตรีมหาดไทย รับรองโดยคณะรัฐมนตรี และประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นผู้นำของแต่ละเขต ผู้ว่าจะมีสภาเขตที่ได้รับเลือกมาช่วยเหลือ

  1. ฏ็อรฏูส
  2. ดัยรุซซูร
  3. ดัรอา
  4. ดามัสกัส
  5. รีฟดิมัชก์
  6. อะเลปโป
  7. อัรร็อกเกาะฮ์
  8. อัลกุนัยฏิเราะฮ์
  9. อัลลาษิกียะฮ์
  10. อัลฮะซะกะฮ์
  11. อัสซุวัยดาอ์
  12. อิดลิบ
  13. ฮอมส์
  14. ฮะมาฮ์
เขตผู้ว่าการของซีเรีย

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองที่ดำเนินอยู่ในปี 2554 และการสังหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ซีเรียถูกโดดเดี่ยวจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศในวงกว้างมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการทูตถูกตัดขาดกับหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สเปน และรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย[19]

แผนที่โลกและซีเรีย (สีแดง) ที่มีส่วนร่วมทางทหาร
  ประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย
  ประเทศที่สนับสนุนกบฎชาวซีเรีย

จากสันนิบาตอาหรับ ซีเรียยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับแอลจีเรีย อียิปต์ อิรัก เลบานอน ซูดาน และเยเมน ความรุนแรงของซี��รียต่อพลเรือนทำให้ซีเรียถูกระงับจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลามในปี 2555[20] ซีเรียก็ลาออกจากสหภาพเพื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย[21]หลังจากผ่านไป 11 ปี ซีเรียกลับคืนสันนิบาตอาหรับอีกครั้งซีเรียยังคงส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรดั้งเดิมอย่างอิหร่านและรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียในการขัดแย้งกับฝ่ายค้านของซีเรีย

ซีเรียรวมอยู่ในนโยบายเพื่อนบ้านแห่งสหภาพยุโรป (ENP) ของสหภาพยุโรปซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สหภาพยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันมากขึ้น

กองทัพ

[แก้]
ทหารกองทัพซีเรียประจำจุดตรวจนอกดามัสกัส ไม่นานหลังจากเกิดสงครามกลางเมืองซีเรียในปี 2012

ประธานาธิบดีซีเรียเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพซีเรีย ซึ่งประกอบด้วยทหารประมาณ 400,000 นายในการระดมกำลัง ทหารเป็นกำลังทหารเกณฑ์ ผู้ชายรับราชการทหารเมื่ออายุครบ 18 ปี[ต้องการอ้างอิง] ระยะเวลาการรับราชการทหารภาคบังคับจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2548 จากสองปีครึ่งเป็นสองปี ในปี 2551 เหลือ 21 เดือน และในปี 2554 เหลือปีครึ่ง[22]ทหารซีเรียประมาณ 20,000 นายถูกส่งไปประจำการในเลบานอนจนถึงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 เมื่อทหารซีเรียชุดสุดท้ายออกจากประเทศหลังจากสามทศวรรษ[ต้องการอ้างอิง]

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นแหล่งที่มาหลักของการฝึกอบรม ยุทโธปกรณ์ สำหรับกองทัพซีเรียมายาวนาน อาจทำให้ความสามารถของซีเรียในการได้รับยุทโธปกรณ์ทางทหารสมัยใหม่ช้าลง มีคลังแสงขีปนาวุธจากพื้นสู่พื้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ขีปนาวุธสกั๊ด-ซี ที่มีพิสัยทำการ 500- ชั่วโมง (310 ไมล์) ได้รับการจัดซื้อจากเกาหลีเหนือ และสกั๊ด-ดี ที่มีพิสัยทำการสูงสุด 700 นาที (430 ไมล์) ถูกกล่าวหาว่าได้รับการพัฒนาโดยซีเรีย ด้วยความช่วยเหลือของเกาหลีเหนือและอิหร่าน ตามข้อมูลของ Zisser[23]

ซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากจากรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซียอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมในสงครามอ่าวเปอร์เซีย โดยเงินทุนจำนวนมากเหล่านี้จัดสรรไว้สำหรับการใช้จ่ายทางทหาร

เศรษฐกิจ

[แก้]
แผนที่การส่งออกซีเรียก่อนสงครามกลางเมือง
แผนที่การส่งออกของซีเรียในปี 2014 ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ GDP ต่อหัวในซีเรีย ตั้งแต่ปี 1820

ข้อมูลเมื่อ 2015,เศรษฐกิจซีเรียอาศัยแหล่งรายได้ที่ไม่น่าเชื่อถือโดยธรรมชาติ เช่น ภาษีศุลกากรที่ลดน้อยลง และภาษีเงินได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อจากอิหร่านอย่างมาก[24] เชื่อกันว่าอิหร่านจะใช้จ่ายเงินระหว่าง 6 พันล้านดอลลาร์ถึง 20 พันล้านดอลลาร์ต่อปีกับซีเรียในช่วงสงครามกลางเมืองในซีเรีย[25]เศรษฐกิจซีเรียหดตัว 60% และเงินปอนด์ซีเรียสูญเสียมูลค่าไป 80% โดยเศรษฐกิจกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสงคราม[26] ในช่วงเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองซีเรียที่กำลังดำเนินอยู่ ธนาคารโลกจัดซีเรียให้เป็น "ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่าง"[27] ในปี 2010 ซีเรียยังคงต้องพึ่งพาภาคน้ำมันและเกษตรกรรม[28] ภาคน้ำมันให้รายได้จากการส่งออกประมาณ 40%[28] การสำรวจนอกชายฝั่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วได้ชี้ให้เห็นว่ามีน้ำมันจำนวนมากอยู่บนพื้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระหว่างซีเรียและไซปรัส[29] ภาคเกษตรกรรมมีส่วนทำให้เกิดประมาณ 20% ของ GDP และ 20% ของการจ้างงาน คาดว่าปริมาณสำรองน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และซีเรียได้กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิแล้ว[28] นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองเริ่มต้นขึ้น เศรษฐกิจหดตัว 35% และเงินปอนด์ซีเรียร่วงลงเหลือ 1 ใน 6 ของมูลค่าก่อนสงคราม[30] รัฐบาลต้องพึ่งพาสินเชื่อจากอิหร่าน รัสเซีย และจีนมากขึ้น[30]

เศรษฐกิจได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล ซึ่งได้เพิ่มเงินอุดหนุนและควบคุมการค้าอย่างเข้มงวดเพื่อบรรเทาผู้ประท้วงและปกป้องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ.[10] ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ อุปสรรคทางการค้ากับต่างประเทศ การผลิตน้ำมันที่ลดลง การว่างงานสูง การขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อแหล่งน้ำที่เกิดจากการใช้หนักในการเกษตร การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และมลพิษทางน้ำ[10] UNDP ประกาศในปี 2548 ว่า 30% ของประชากรซีเรียอาศัยอยู่ในความยากจน และ 11.4% มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าระดับยังชีพ[31]

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประชากรในอดีต
ปีประชากร±% p.a.
1960 4,565,000—    
1970 6,305,000+3.28%
1981 9,046,000+3.34%
1994 13,782,000+3.29%
2004 17,921,000+2.66%
2011 21,124,000+2.38%
2015 18,734,987−2.96%
2019 18,528,105−0.28%
ประมาณ 2019[32]
ที่มา: สำนักงานสถิติกลางแห่งสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย, 2011[33]

ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหุบเขาแม่น้ำยูเฟรทีสและตามที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแถบที่อุดมสมบูรณ์ระหว่างภูเขาชายฝั่งและทะเลทราย ความหนาแน่นของประชากรโดยรวมในซีเรียก่อนสงครามกลางเมืองอยู่ที่ประมาณ 99 ต่อตารางกิโลเมตร (258 ต่อตารางไมล์)[34] การสำรวจผู้ลี้ภัยโลกปี 2008 ซึ่งจัดพิมพ์โดยคณะกรรมการผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐ รายงานว่าซีเรียเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยจำนวนประมาณ 1,852,300 คน ประชากรส่วนใหญ่มาจากอิรัก (1,300,000 คน) แต่ประชากรจำนวนมากจากปาเลสไตน์ (543,400) และโซมาเลีย (5,200) ก็อาศัยอยู่ในประเทศนี้เช่นกัน[35]

ใน ค.ศ. 2014 ชาวซีเรียประมาณ 9.5 ล้านคน (ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ) พลัดถิ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011[36] และมี 4 ล้านคนอยู่นอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย[37] ซึ่งเป็นสิ่งที่สหประชาชาติเรียกว่าเป็น "เหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา"[38] ณ ค.ศ. 2020 สหประชาชาติประมาณการว่าชาวซีเรียกว่า 5.5 ล้านคนอยู่อาศัยในฐานะผู้ลี้ภัยในภูมิภาค และอีก 6.1 ล้านคนพลัดถิ่นในประเทศ[39]

เมืองใหญ่สุด

[แก้]

กลุ่มชาติพันธุ์

[แก้]

ภาษา

[แก้]

ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการของประเทศ[40] และมีภาษาย่อยอาหรับที่มีผู้พูดในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะภาษาอาหรับลิแวนต์ทางตะวันตกและอาหรับเมโสโปเตเมียทางตะวันออกเฉียงเหนือ The Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics รายงานว่า นอกจากภาษาอาหรับแล้ว ยังมีภาษาอื่นที่มีผู้พูดในประเทศ เรียงตามจำนวนผู้พูดได้ดังนี้: เคิร์ด,[41] ตุรกี,[41] แอราเมอิกใหม่ (4 ภาษาย่อย),[41] เซอร์แคสเซีย,[41] เชเชน,[41] อาร์มีเนีย[41] และท้ายที่สุดคือกรีก[41] อย่างไรก็ตาม ไม่มีภาษาชนกลุ่มน้อยใดที่ได้รับสถานะภาษาราชการ[41]

ภาษาแอราเมอิกเคยเป็นภาษากลางในภูมิภาคนี้ก่อนการเข้ามาของภาษาอาหรับ และยังคงมีผู้พูดในชาวอัสซีเรีย และภาษาซีรีแอกยังคงเป็นภาษาเชิงพิธีของศาสนาคริสต์นิกายซีรีแอกหลายกลุ่ม ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกยังคงมีผู้พูดในหมู่บ้านมะอ์ลูลาและหมู่บ้านใกล้เคียง 2 แห่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของดามัสกัส 56 กิโลเมตร (35 ไมล์) ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สองที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ภาษาอังกฤษมีผู้ใช้งานมากกว่า[42]

ศาสนา

[แก้]
มัสยิดใหญ่แห่งอะเลปโป

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศซีเรีย คิดเป็นร้อยละ 87 ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมุสลิมนิกายซุนนีประมาณร้อยละ 74 ของประชากรทั้งหมด[10] และชาวอาหรับนิกายซุนนีคิดเป็นจำนวนร้อยละ 59–60 ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่ (8.5%)[43] และเติร์กเมนส่วนใหญ่ (3%)[43] นับถือนิกายซุนนี ส่วนชาวซีเรียอีกร้อยละ 3 นับถือนิกายชีอะฮ์ (โดยเฉพาะนิกายอิสมาอีลียะฮ์และชีอะฮ์สิบสองอิมาม แต่ก็มีชาวอาหรับ ชาวเคิร์ด และเติร์กเมนที่นับถือนิกายเหล่านี้ด้วย) ร้อยละ 10 นับถืออะละวี ร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์[10] (ส่วนใหญ่นับถือนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์แบบแอนติออก ที่เหลือคือซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ กรีกคาทอลิก และจารีตคาทอลิกแบบอื่น อาร์เมเนียนออร์ทอดอกซ์ คริสต์จีกรอัสซีเรียตะวันออก โปรเตสแตนต์ และนิกายอื่น ๆ) และร้อยละ 3 นับถือดรูซ[10] ประชากรดรูซอยู่ที่ประมาณ 500,000 คนและส่วนใหญ่กระจุกตัวในพื้นที่ตอนใต้ของญะบะลุดดุรูซ[44] ทาง Association of Religion Data Archives (ARDA) รายงานว่า ชาวซีเรียร้อยละ 94.17 นับถือศาสนาอิสลาม แบ่งเป็นซุนนีร้อยละ 79.19 และชีอะฮ์ร้อยละ 14.10 (รวมอะละวี) และชาวซีเรียร้อยละ 3.84 นับถือศาสนาคริสต์ใน ค.ศ. 2020[6]

ตระกูลอัลอะซัดนับถือนิกายอะละวี และผู้นับถือนิกายนี้เคยถือครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลและทางทหาร[45][46][47] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 SOHR ระบุว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามกลางเมือง 94,000 คน เป็นชาวอะละวีอย่างน้อย 41,000 คน[48]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ทางการ: มาตรฐานสมัยใหม่
    ภาษาแม่: ลิแวนต์และเมโสโปเตเมีย
  2. พูดโดยประชากรเคิร์ด และมีสถานะทางการในฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก (AANES) ที่คุมโดย SDF
  3. พูดโดยประชากรเติร์กเมน และมีสถานะทางการโดยพฤตินัยในดินแดนที่ครอบครองโดย SNA[ต้องการอ้างอิง]
  4. พูดโดยประชากรอัสซีเรีย และภาษาราชการประจำภูมิภาคในภูมิภาคอัลญะซีเราะฮ์ของ AANES
  5. ข้อมูล:
    • [14]
    • "Islamic bloc suspends Syria membership over crisis". DW News. 16 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2018.
    • "Organisation of Islamic Cooperation suspends Syria". Ahram Online. 16 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2018.
    • "OIC Suspends Syria Over Crackdown". RFE/RL. 16 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2023.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Syria: People and society". The World Factbook. CIA. 10 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
  2. "Syria (10/03)".
  3. "Syria's Religious, Ethnic Groups". 20 December 2012.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Khalifa2013
  5. Shoup, John A. (2018), The History of Syria, ABC-CLIO, p. 6, ISBN 978-1440858352, Syria has several other ethnic groups, the Kurds... they make up an estimated 9 percent...Turkomen comprise around 4-5 percent of the total population. The rest of the ethnic mix of Syria is made of Assyrians (about 4 percent), Armenians (about 2 percent), and Circassians (about 1 percent).
  6. 6.0 6.1 "Religious Demographics of Syria". Association of Religion Data Archives. สืบค้นเมื่อ 12 December 2024.
  7. "Mohammed al-Bashir assigned to form new Syrian government". Ammon News.
  8. "Syrian ministry of foreign affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2012.
  9. "Syria Population". World of Meters.info. สืบค้นเมื่อ 6 November 2024.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 "Syria". The World Factbook. Central Intelligence Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  11. "World Bank GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.
  12. "HUMAN DEVELOPMENT REPORT 2023-24" (PDF). United Nations Development Programme (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 13 March 2024. pp. 274–277. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2024. สืบค้นเมื่อ 3 May 2024.
  13. "Prime Minister of the Syrian Arab Republic". Syrian transitional government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-12-16. สืบค้นเมื่อ 11 December 2024.
  14. "Regional group votes to suspend Syria; rebels claim downing of jet". CNN. 14 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  15. Al-Khalidi, Suleiman; Azhari, Timour (8 December 2024). "Syrian rebels topple Assad, transforming Middle East". Reuters.
  16. F. A. Schaeffer, Claude (2003). Syria and the Cradle of Civilization: The Findings of Claude F a Schaeffer in Ras Shamra. Trubner & Company. ISBN 978-1-84453-129-5.
  17. Egyptian Journal of Geology – Volume 42, Issue 1 – Page 263, 1998
  18. "Report of the Commission Entrusted by the Council with the Study of the Frontier between Syria and Iraq". World Digital Library. 1932. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
  19. Strenger, Carlo (8 February 2012). "Assad takes a page out of Russia's book in his war against rebels". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  20. MacFarquhar, Neil (12 November 2011). "Arab League Votes to Suspend Syria". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  21. "Syria suspends its membership in Mediterranean union". Xinhua News Agency. 1 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2011.
  22. "Syria reduces compulsory military service by three months". China Daily. 20 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
  23. "Syria's embrace of WMD"[ลิงก์เสีย] by Eyal Zisser, The Globe and Mail, 28 September 2004 (link leads only to abstract; purchase necessary for full article). EYAL ZISSER (September 28, 2004). "Syria's embrace of WMD". The Globe and Mail. p. A21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2009.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ revenues_shrink
  25. "Iran spends billions to prop up Assad". TDA. Bloomberg. 11 June 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  26. "Syria's economy cut in half by conflict". BBC News. 23 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
  27. "Country and Lending Groups". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2012.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Syria Country Brief, September 2010" (PDF). World Bank.
  29. Transactions of the American Institute of Mining and Metallurgical Engineers. The Institute of Mining and Metallurgical Engineers. 1921.
  30. 30.0 30.1 "Syria Weighs Its Tactics as Pillars of Its Economy Continue to Crumble". The New York Times. 13 July 2013. สืบค้นเมื่อ 13 July 2013.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USDoS
  32. "World Population Prospects – Population Division". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
  33. "Population Existed in Syria According To Censuses (1960, 1970, 1981, 1994, 2004) And Estimates of Their Number in Mid Years 2005–2011(000)". Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2015. สืบค้นเมื่อ 18 October 2015.
  34. "INTRODUCTION_-SYRIA_CONTEXT" (PDF). Pead Tracey.
  35. "World Refugee Survey 2008". U.S. Committee for Refugees and Immigrants. 19 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2012.
  36. Nebehay, Stephanie (29 August 2014). "Syrian refugees top 3 million, half of all Syrians displaced – U.N." Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  37. "Demographic Data of Registered Population". United Nations High Commission for Refugees. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  38. Politi, Daniel (30 August 2014). "U.N.: Syria Crisis Is 'Biggest Humanitarian Emergency of Our Era'". Slate. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.
  39. "11 March 2020 – The Refugee Brief". The Refugee Brief. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
  40. "Constitution of the Syrian Arab Republic – 2012" (PDF). International Labour Organization. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 41.4 41.5 41.6 41.7 Behnstedt, Peter (2008), "Syria", Encyclopedia of Arabic language and linguistics, vol. 4, Brill Publishers, p. 402, ISBN 978-90-04-14476-7
  42. "What Languages Are Spoken in Syria?". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1 August 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
  43. 43.0 43.1 Drysdale, Alasdair; Hinnebusch, Raymond A. (1991), Syria and the Middle East Peace Process, Council on Foreign Relations, p. 222, ISBN 978-0-87609-105-0
  44. Danna, Nissim (December 2003). The Druze in the Middle East: Their Faith, Leadership, Identity and Status. Brighton: Sussex Academic Press. p. 227. ISBN 978-1-903900-36-9.
  45. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The Sturdy House That Assad Built2
  46. Pipes, Daniel (1 January 1989). "The Alawi Capture of Power in Syria". Middle Eastern Studies. 25 (4): 429–450. doi:10.1080/00263208908700793. JSTOR 4283331. S2CID 143250254.
  47. "More than 570 thousand people were killed on the Syrian territory within 8 years of revolution demanding freedom, democracy, justice, and equality". The Syrian Observatory for Human Rights. 15 March 2019.
  48. "Death toll in Syria likely as high as 120,000: group". Reuters. 14 May 2013.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

[แก้]

การท่องเที่ยว

[แก้]

แผนที่

[แก้]

35°N 38°E / 35°N 38°E / 35; 38