ข้ามไปเนื้อหา

งูลายสอใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูลายสอใหญ่
ในอัสสัม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: Fowlea

(Schneider, 1799)
สปีชีส์: Fowlea piscator
ชื่อทวินาม
Fowlea piscator
(Schneider, 1799)
ชื่อพ้อง[2]
  • Hydrus piscator
    Schneider, 1799
  • Natrix piscator
    Merrem, 1820
  • Tropidonotus quincunciatus
    Schlegel, 1837
  • Tropidonotus piscator
    Boulenger, 1893
  • Nerodia piscator
    Wall, 1921
  • Xenochrophis piscator
    Cox et al., 1998

งูลายสอใหญ่ หรือ งูลายสอบ้าน (อังกฤษ: checkered keelback; ชื่อวิทยาศาสตร์: Fowlea piscator) หรือที่เรียกในชื่อสามัญอีกชื่อหนึ่งว่า Asiatic water snake เป็นสปีชีส์ทั่วไปในวงศ์ย่อย Natricinae ของวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง สปีชีส์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในทวีปเอเชีย ซึ่งงูชนิดนี้ไม่มีพิษ

ในรัฐเกรละ
งูลายสอใหญ่กำลังกัดปลาดุก ในกาฐมาณฑุ

คำอธิบาย

[แก้]

หัวกลมรีและส่วนของหัวกว้างกว่าลําคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวเรียว ตาค่อนข้างใหญ่ ลําตัวป้อม หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลําตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็น แผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังมีสัน โดยสันของแผ่นเกล็ดมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลําดับไปทางด้านท้ายของ ลําตัว เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลําตัวในตําแหน่งกึ่งกลางตัวจํานวน 19 เกล็ด เกล็ดท้องจํานวน 132 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจํานวน 80 เกล็ด ลําตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว ด้านข้างของหัวมีเส้นสีดําจากด้านล่างของตาลงไปที่เกล็ดขอบปากบนแผ่นที่ 6 และมีเส้นสีดําจากทางด้านท้ายตา (แต่ไม่ติดกับตา) ลงไปที่มุมขากรรไกร ทางด้านท้ายของมุมขากรรไกรมีเส้นสีดําพาดเฉียงขึ้นไปที่ ส่วนบนของท้ายทอย บนหลังและทางด้านบนของหางมีจุดสีดําและจุดสีขาวกระจายปะปนกัน และเรียงตัวในลักษณะที่ประไปทั่วลําตัว คาง ใต้คอ ด้านท้อง และใต้หางสีขาว แต่เกล็ดท้องมี ขอบด้านนอกสีเทาเข้ม และเกล็ดใต้หางมีขอบด้านนอกสีดํา[3]

งูลายสอใหญ่เป็นงูขนาดกลาง แต่สามารถเติบโตเป็นงูขนาดใหญ่ได้ โตเต็มวัยสามารถมีความยาวตั้งแต่ความยาวจากปลายจมูกจนถึงรูทวาร (SVL) ได้ถึง 1.75 เมตร (5.7 ฟุต)[4]

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

[แก้]

ส่วนใหญ่แล้ว งูชนิดนี้จะพยายามยกหัวขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขยายผิวหนังบริเวณคอเพื่อเลียนแบบงูเห่า เพื่อขู่ผู้ที่มาคุกคาม แม้ว่าจะไม่มีพิษต่อมนุษย์ แต่ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและทำให้เกิดการอักเสบหลังถูกกัดได้

งูลายสอใหญ่ อาจสูญเสียหางไปเพื่อเป็นกลไกในการหลบหนี มีรายงานกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากของการทิ้งส่วนของร่างกายตัวเองออกลักษณะนี้ในเวียดนาม[5]

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

แหล่งที่อยู่ที่เหมาะสมของงูลายสอใหญ่ คือในหรือใกล้ทะเลสาบหรือแม่น้ำน้ำจืด

Checkered Keelback at Khulna
พบงูลายสอใหญ่ (ในท้องถิ่นเรียกว่า "Joldhora") กำลังว่ายน้ำอยู่ที่ Beel Dakatia เมืองขุลนา ประเทศบังกลาเทศ

อาหาร

[แก้]

งูลายสอใหญ่จะกินปลาขนาดเล็กและกบน้ำเป็นหลัก

การสืบพันธุ์

[แก้]

งูลายสอใหญ่เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ จำนวนไข่ในแต่ละครอก โดยปกติจะอยู่ที่ 30 ถึง 70 ฟอง แต่บางครั้งอาจมีเพียง 4 ฟองหรือมากถึง 100 ฟองก็ได้ ขนาดของไข่ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ไข่แต่ละฟองอาจมีความยาว 1.5 ถึง 4 เซนติเมตร (0.59 ถึง 1.57 นิ้ว) ตัวเมียจะคอยเฝ้าดูแลไข่จนกระทั่งไข่ฟักออกมา ลูกฟักแต่ละตัวจะยาวประมาณ 11 เซนติเมตร (4.3 นิ้ว)[4]

ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์

[แก้]

งูลายสอใหญ่สามารถพบได้ในประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศปากีสถาน, ประเทศศรีลังกา, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศเนปาล, ประเทศไทย, ประเทศลาว, ประเทศกัมพูชา, ประเทศเวียดนาม, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศจีน (ในมณฑลเจ้อเจียง, มณฑลเจียงซี, มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลไหหลำ, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลยูนนาน), ประเทศไต้หวัน, ประเทศออสเตรเลีย, และประเทศอินโดนีเซีย (บนเกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว และเกาะเซเลบีสหรือซูลาเวซี)

ตัวอย่างที่ตั้งชนิด: "อินเดียตะวันออก"

ชนิดย่อย

[แก้]
  • F. p. melanzostus (Gravenhorst, 1807) – ประเทศอินโดนีเซีย (บนเกาะบอร์เนียว [?], เกาะชวา, เกาะซูลาเวซี [?]; เกาะสุมาตรา) และประเทศอินเดีย (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์)
  • F. p. piscator (Schneider, 1799) – ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศภูฏาน, ประเทศอินเดีย, ประเทศเมียนมาร์, ประเทศปากีสถาน, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมถึงไหหลำ), ประเทศศรีลังกา, ประเทศไต้หวัน และประเทศไทย

หมายเหตุ : เครื่องหมายสามชื่อ (ชื่อที่ประกอบด้วย 3 คำ) ในวงเล็บแสดงว่าสกุลย่อยนี้ได้รับการอธิบายไว้ครั้งแรกในสกุลอื่นที่ไม่ใช่สกุล Fowlea

ชนิดย่อย F. p. melanzostus ได้รับการยกระดับสถานะเป็นชนิด Fowlea melanzostus โดยอินดรานีล ดาส ในปี ค.ศ. 1996

แกลเลอรี่สำหรับการระบุลักษณะเฉพาะ

[แก้]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  1. Stuart, B.L., Wogan, G., Thy, N., Nguyen, T.Q., Vogel, G., Srinivasulu, C., Srinivasulu, B., Shankar, G., Mohapatra, P., Thakur, S. & Papenfuss, T. (2021). "Fowlea asperrimus". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2021: e.T172646A1358305. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. ชนิด Xenochrophis piscator ที่ The Reptile Database . www.reptile-database.org.
  3. Boulenger GA (1890).
  4. 4.0 4.1 Das I (2002).
  5. Ananjeva NB, Orlov NL (1994).

ดูเพิ่มเติม

[แก้]
  • Boulenger GA (1893). Catalogue of the Snakes in the .Volume I., Containing the Families ... Colubridæ Aglyphæ, part. London: Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, printers). xiii + 448 pp. + Plates I-XXVIII. (Tropidonotus piscator, pp. 230–232).
  • Dutt, Kalma (1970). "Chromosome Variation in Two Populations of Xenochrophis piscator Schn. from North and South India (Serpentes, Colubridae)". Cytologia 35: 455–464.
  • Schneider JG (1799). Historiae Amphibiorum naturalis et literariae. Fasciculus Primus, continens Ranas, Calamitas, Bufones, Salamandras et Hydros. Jena: F. Frommann. xiii + 264 pp. + corrigenda + Plate I. (Hydrus piscator, new species, pp. 247–248). (in Latin).
  • Smith MA (1943). The Fauna of British India, Ceylon and Burma, Including the Whole of the Indo-Chinese Sub-region. Amphibia and Reptilia. Vol. III.—Serpentes. London: Secretary of State for India. (Taylor and Francis, printers). xii + 583 pp. (Tropidonotus piscator, pp. 293–296, Figures 95–96).