กลุ่มภาษาบอลต์
กลุ่มภาษาบอลต์ | |
---|---|
กลุ่มเชื้อชาติ: | ชาวบอลต์ |
ภูมิภาค: | ยุโรปเหนือ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | อินโด-ยูโรเปียน
|
ภาษาดั้งเดิม: | บอลต์ดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-2 / 5: | bat |
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์: | 54= (phylozone) |
กลอตโตลอก: | ไม่มี[1] east2280 (บอลต์ตะวันออก)[2] prus1238 (ปรัสเซียเก่า)[3] |
ประเทศที่มีภาษากลุ่มบอลต์ตะวันออกเป็นภาษาประจำชาติ |
กลุ่มภาษาบอลต์ (อังกฤษ: Baltic languages) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ กลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 4.5 ล้านคน[4][5] ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางตะวันออกถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกในยุโรปเหนือ
นักวิชาการมักจัดกลุ่มภาษาบอลต์เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มเดี่ยวที่แบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันตก (มีเพียงภาษาสูญแล้ว) และกลุ่มภาษาบอลต์ตะวันออก (มีภาษาที่ยังมีผู้พูดอย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาลิทัวเนียและภาษาลัตเวีย บางคนถือว่าภาษาลัตกาเลและภาษาเฌเม็ยติยาเป็นภาษาแยกต่างหากมากกว่าจะเป็นภาษาย่อยของสองภาษาแรก) ขอบเขตอิทธิพลของภาษากลุ่มบอลต์ตะวันออกอาจเคยแผ่ไปไกลถึงเทือกเขายูรัล แต่มีผู้ตั้งคำถามถึงสมมุติฐานนี้[6][7][8]
ภาษาปรัสเซียเก่าซึ่งเป็นภาษาบอลต์ตะวันตกที่สูญไปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 น่าจะรักษาคุณสมบัติของภาษาบอลต์ดั้งเดิมเอาไ���้มาก[9]
สาขาย่อย
[แก้]กลุ่มภาษาบอลต์มักจัดเป็นกลุ่มเดี่ยวที่มี 2 สาขา ได้แก่ สาขาตะวันออกและสาขาตะวันตก อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีการจัดให้สาขาทั้งสองเป็นสาขาต่างหากของกลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ[10]
กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันออก | |
---|---|
ภาษาลัตเวีย | ประมาณ 2.2 ล้านคน |
ภาษาลัตกาเล* | ประมาณ 150,000–200,000 คน |
ภาษาลิทัวเนีย | ประมาณ 3 ล้านคน |
ภาษาเฌเม็ยติยา* | ประมาณ 500,000 คน |
Selonian† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 |
Semigallian† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 |
ภาษาคัวร์แลนด์เก่า† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 |
กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันตก | |
ภาษากาลินเดียตะวันตก† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 |
ภาษาปรัสเซียเก่า† | สูญแล้วตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 |
Skalvian† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 |
Sudovian† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 |
กลุ่มภาษาบอลต์นีเปอร์[11] | |
ภาษากาลินเดียตะวันออก† | สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 |
ตัวเอียง ระบุการจัดอันดับที่มีข้อโต้แย้ง | |
* ระบุถึงภาษาที่บางครั้งระบุเป็นภาษาย่อย | |
† ระบุภาษาสูญแล้ว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "กลุ่มภาษาบอลต์". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "บอลต์ตะวันออก". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "ปรัสเซียเก่า". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ "Lietuviai Pasaulyje" (PDF) (in Lithuanian). Lietuvos statistikos departamentas. Retrieved 5 May 2015.
- ↑ Latvian at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required) Standard Latvian language at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required) Latgalian language at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required)
- ↑ Gimbutas, Marija (1963). The Balts. Ancient peoples and places 33. London: Thames and Hudson. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
- ↑ Mallory, J. P., บ.ก. (1997). "Fatyanovo-Balanovo Culture". Encyclopedia of Indo-European Culture. Fitzroy Dearborn.
- ↑ Anthony, David W. (2007). [The Horse, the Wheel, and Language: How Bronze-Age Riders from the Eurasian Steppes Shaped the Modern World. Princeton University Press.
- ↑ Ringe, D.; Warnow, T.; Taylor, A. (2002). "Indo-European and computational cladistics". Transactions of the Philosophical Society. 100: 59–129. doi:10.1111/1467-968X.00091.
- ↑ Hammarström, Harald; Forke, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian, บ.ก. (2020). "Old Prussian". Glottolog 4.3.
- ↑ Dini, P.U. (2000). Baltų kalbos. Lyginamoji istorija [Baltic languages. Comparative history] (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Mokslo ir enciklopedijų leidybos institutas. p. 61. ISBN 5-420-01444-0.