กระดาษชำระ
กระดาษชำระ (อังกฤษ: Toilet Paper) เป็นกระดาษที่ใช้เพื��อทำความสะอาดภายหลังกิจปลดทุกข์ (ถ่ายอุจจาระ) มักมีลักษณะเป็นม้วนกลม และมีเนื้อกระดาษเบาและบางกว่ากระดาษทิชชูซึ่งใช้สำหรับซับหน้า คุณลักษณะเด่นของกระดาษชำระคือ ยุ่ยเปื่อยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับน้ำ
ประวัติของกระดาษชำระ
[แก้]ยุคก่อนกระดาษชำระ
[แก้]ในอดีต ก่อนมีกระดาษชำระ มนุษย์มีวิธีการชำระล้างภายหลังจากการขับถ่ายในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีผู้ศึกษาและแยกแยะความแตกต่างในการชำระล้าง[1] ดังนี้
- ชาวประมงใช้เปลือกหอย
- ชาวกรีกใช้ก้อนหิน หรือแผ่นดินเหนียว
- ชาวโรมันใช้ไม้หุ้มปลายด้วยฟองน้ำที่แช่ในโถน้ำเกลือ
- ชาวเมดิเตอร์เรเนียนใช้มือซ้าย และคาดว่าชาวอาหรับก็เช่นกัน ดังจะสังเกตได้ว่าชาวอาหรับเชื่อว่ามือซ้ายเป็นมือข้างที่สกปรก และชาวยุโรปไม่นิยมจับมือทักทายด้วยมือซ้าย
- ชาวเอสกิโมใช้หิมะ
- ชาวเยอรมันใช้ใบไม้ หรือเปลือกไม้[ต้องการอ้างอิง]
- ในยุคกลาง คนทั่วไปใช้ใบไม้แห้ง ขณะที่ผู้มีฐานะใช้ขนแกะ[ต้องการอ้างอิง]
- ชาวอเมริกันยุคบุกเบิกใช้ซังข้าวโพด หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์
กำเนิดกระดาษชำระ
[แก้]มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้บันทึกไว้ว่า ชนชาติแรกที่นำกระดาษมาใช้เพื่อการนี้ ได้แก่ ชาวจีน มีหลักฐานว่าชาวจีนมีการใช้กระดาษเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ราว 200 ปีก่อนคริสตกาล และได้นำกระดาษมาเป็นกระดาษชำระราว คริสต์ศตวรรษที่ 600[2] ว่ากันว่า บุคคลที่มีดำริให้มีการใช้กระดาษชำระนี้ ได้แก่ องค์จักรพรรดิ[1] มีหลักฐานที่บันทึกไว้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1644) องค์จักรพรรดิจีน ได้มีรับสั่งให้มีการผลิตกระดาษชำระเพื่อใช้ภายในพระราชวัง มีขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาว 3 ฟุต[1] และมีการใช้น้ำหอมปรุงกลิ่นให้แก่กระดาษชำระเหล่านั้นอีกด้วย[2] มีบันทึกว่า ในปี ค.ศ. 1393 เพียงปีเดียว มีการผลิตกระดาษชำระเพื่อใช้ในพระราชวังถึง 15,000 ชิ้น และมีการผลิตกระดาษชำระเพื่อใช้ในกรุงนานกิง (เมืองหลวงในขณะนั้น) ถึง 720,000 ชิ้น[2] โดยในยุคนั้น กระดาษชำระผลิตออกมาเป็นแผ่นเรียบธรรมดา
งานเขียนของ François Rabelais นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 16 ได้กล่าวไว้ในบทประพันธ์ของเขาเรื่อง Gargantua and Pantagruel เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ชาวยุโรปได้มีการใช้กระดาษ เพื่อทำความสะอาดภายหลังการปลดทุกข์ในยุคนั้น[ต้องการอ้างอิง]
กระดาษชำระในปัจจุบัน
[แก้]กระดาษชำระ มีการผลิตเพื่อจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1857 โดยโจเซฟ กาเย็ตตี้ (Joseph C. Gayetty[ต้องการอ้างอิง]) โดยใช้ชื่อตราสินค้าว่ากาเย็ตตี้ (Gayetty) พิมพ์ลงบนกระดาษชำระทุกแผ่นของบริษัทด้วย[1]
เซ็ท วีลเลอร์ (Seth Wheeler of Albany) ผู้ก่อตั้งบริษัท อัลบานี เพอร์ฟอร์เรต แวรปปิ้ง เปเปอร์ (A.F.W.) เป็นบุคคลแรกที่ได้จดสิทธิบัตรผ้าอ้อมสำเร็จรูป และกระดาษชำระ ในประเทศสหรัฐอเมริกา[3] โดยเป็นต้นแบบของกระดาษชำระในรูปของม้วนกลมที่เราคุ้นเคย และใช้กันมากระทั่งปัจจุบันนี้
ปี ค.ศ. 1942 บริษัท เซนท์แอนดริว (St.Andrew Paper's Mills) ในประเทศอังกฤษ ได้ผลิตกระดาษชำระแบบประกบแผ่นคู่ดังเช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน[1]
กระดาษชำระแบบเปียก ได้ออกสู่ตลาดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในช่วงทศวรรษ 1990 โดยบริษัท คิมเบอร์ลี่ คล๊ากส์ และต่อมาได้นำผลิตภัณฑ์นี้แนะนำแก่ผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2001[ต้องการอ้างอิง]
กระดาษชำระในประเทศต่าง ๆ
[แก้]ประเทศเยอรมนี
[แก้]มีการผลิตกระดาษชำระในประเทศเยอรมนี เมื่อปีค.ศ. 1928 ในเมืองลุดวิกส์บวร์ก โดยฮานส์ เคลนก์ (Hans Klenk) ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตกระดาษชำระภายใต้ตราสินค้า ฮาเกิล (Hakle)ในครั้งนั้นใช้กระดาษธรรมดาทำเป็นกระดาษชำระ โดยทำเป็นแผ่นขนาดมาตรฐานในม้วนกลม กระทั่งในปี ค.ศ. 1958 จึงได้มีการนำกระดาษชำระแบบอเมริกาเข้ามาผลิตและจำหน่าย ซึ่งกระดาษชำระแบบอเมริกามีความอ่อนนุ่มกว่ามาก[4]
ประเทศฝรั่งเศส
[แก้]ชาวฝรั่งเศสเรียกกระดาษชำระว่า เพคู (PQ) ก่อนที่จะมีการใช้กระดาษชำระ ชาวฝรั่งเศสและชาติอื่น ๆ ในยุโรปใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า หรือแผ่นพับ ใบปลิว เพื่อชำระล้างหลังการปลดทุกข์ กระดาษชำระได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 โดยในระยะแรกเป็นเครื่องใช้ที่แสดงความโอ่อ่าของผู้ครอบครอง จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จึงได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยในยุคแรกกระดาษชำระในประเทศฝรั่งเศสมีลักษณะเช่นเดียวกับกระดาษชำระในประเทศเยอรมนี กระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1980 จึงได้มีการนำกระดาษชำระแบบปัจจุบันนี้มาใช้งาน[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาในประเทศฝรั่งเศส ได้มาการนำบิเด่ท์ (Bidet) หรือโถปัสสาวะสำหรับสุภาพสตรีมาใช้ เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมของสุภาพสตรีในการใช้กระดาษชำระ[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]ในปี ค.ศ. 1999 ประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบสุขภัณฑ์ที่ไม่ต้องใช้กระดาษชำระ โดยออกแบบระบบการฉีดชำระ และเป่าแห้งในตัว ออกมาเป็นครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง]
ข้อมูล ณ ปี ค.ศ. 1998 ชาวญี่ปุ่นใช้กระดาษชำระเฉลี่ยคนละ 55 ม้วนต่อปี และยังมีอัตราการใช้กระดาษชำระที่สูงขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 10 - 14 ต่อปีทีเดียว[5]
ประเทศไทย
[แก้]ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุตสาหกรรมกระดาษแม่น้ำ เป็นโรงงานผลิตกระดาษอนามัย (กระดาษทิชชู่) แห่งแรกในประเทศไทยเพื่อทดแทนการนำเข้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509[6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ขนาดของกระดาษชำระ
[แก้]เดิม ขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระ ได้แก่ กว้าง 4.5 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ซึ่งยังคงเป็นขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระที่ใช้กันในปัจจุบัน แ��่บริษัทผู้ผลิตบางรายได้ปรับลดขนาดลง โดยยังคงความยาวไว้ที่ 4.5 นิ้ว แต่ปรับลดความกว้างลงเล็กน้อย[7] โดยปกติ กระดาษชำระแบบแผ่นเดียว 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 1,000 แผ่น ในขณะที่กระดาษชำระแบบ 2 แผ่นประกบ 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 500 แผ่น[8] แต่ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนขนาดเพื่อสร้างกลไกการตลาด เช่น ทำม้วนที่มีจำนวนแผ่นมากขึ้น หรือน้อยลง เพื่อกลยุทธ์ด้านราคา
ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ
[แก้]วัตถุดิบ
[แก้]วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกระดาษชำระ ได้แก่เยื่อกระดาษ ซึ่งได้แก่
- เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ ได้แก่เยื่อกระดาษที่ได้จากกระบวนการคัดแยกเยื่อจากต้นไม้
- เยื่อเวียนใหม่ ได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งผลิตจากกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีในการจัดแยกเยื่อกระดาษจากสิ่งปฏิกูล และหมึกพิมพ์ และผ่านกระบวนการฟอกสีเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษสีขาว สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตต่อไป
โดยเยื่อกระดาษที่นำมาใช้ผลิตกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ได้แก่ส่วนผสมของเซลลูโลสแวดดิ้ง โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษเซลูโลสแวดดิ้งสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี[9] แม้กระดาษชำระจะสามารถผลิตได้จากทั้งเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ และเยื่อเวียนใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกระดาษชำระจะผลิตมาจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์[10]
กระบวนการผลิตกระดาษชำระ
[แก้]กระบวนการผลิตกระดาษชำระ[9] มีขั้นตอนดังนี้
- นำเยื่อกระดาษที่ได้คุณภาพตามต้องการ ในที่นี้อาจใช้เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ เยื่อเวียนใหม่ หรือใช้ผสมผสานกัน ตามคุณภาพของกระดาษชำระที่ต้องการ
- นำเยื่อกระดาษที่ได้ มาตีผสมกับน้ำ โดยมีสัดส่วนน้ำร้อยละ 95 เยื่อกระดาษร้อยละ 5[11]
- นำน้ำผสมเยื่อกระดาษมารีดอบเป็นแผ่นกระดาษโดยผ่านเครื่องอบที่มีระดับความร้อนสูงกว่า 120 องศา C และความดัน 5 กก./ตร.ซม. ในขั้นตอนนี้ เทคโนโลยีการอบเป็นตัวช่วยทำให้กระดาษชำระมีความอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง[11]
- นำกระดาษที่ผ่านการรีบอบ มาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู
- นำกระดาษชำระที่ได้ เข้าสู่กระบวนการม้วน เป็นม้วนกระดาษชำระ แล้วบรรจุลงหีบเพื่อจัดจำหน่ายแก่ผู้บริโภค
กระบวนการผลิตเยื่อเวียนใหม่[9] มีขั้นตอนดังนี้
- การรวบรวมวัตถุดิบที่เป็นเศษกระดาษ
- นำมาตีให้เกิดเป็นเยื่อกระดาษที่ได้มาตรฐาน ณ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และความดัน 2 กก./ตร.ซม.
- กำจัดสารเคมีและสิ่งปลอมปนโดยเครื่องคัดแยก และฟอกสี
- นำเยื่อกระดาษที่ผ่านการคัดแยกแล้ว ผ่านกระบวนการทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้มาตรฐาน
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระดาษชำระ
[แก้]- กระดาษชำระโดยส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นสีขาว[8]
- ไต้หวัน เป็นประเทศแรกที่ใช้กระดาษชำระแบบแผ่นป๊อปอัพ[12]
- ในขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ จะผสมน้ำร้อยละ 95 ขณะที่มีเยื่อกระดาษเพียงร้อยละ 5 ก่อนที่จะนำมาทำให้น้ำระเหยออกไปจนเหลือแผ่นกระดาษบาง ๆ[11]
- สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้ผลิตกระดาษชำระรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นประเทศที่มีการใช้กระดาษชำระมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยชาวอเมริกา 1 คนใช้กระดาษชำระวันละ 57 แผ่น หรือประมาณปีละ 20,805 แผ่น[13]
- พิพิธภัณฑ์กระดาษชำระ เปิดให้เข้าชมได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999[14]
- ในปี ค.ศ. 1973 เกิดเหตุการณ์กระดาษชำระขาดตลาดทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 3 สัปดาห์[14]
- ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ช่วงปี ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 1991 กองทัพสหรัฐอเมริกาพรางรถถังของกองทัพด้วยกระดาษชำระ[ต้องการอ้างอิง]
- มีเรื่องเล่าขำขันว่า ในช่วงแรกที่มีการใช้กระดาษชำระในประเทศรัสเซียนั้น ชาวรัสเซียใช้กระดาษชำระเพื่อทำความสะอาดมือ ภายหลังจากที่ใช้มือทำความสะอาดก้นของตนเอง[ต้องการอ้างอิง]
- กระดาษชำระ เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในปัจจัยหลาย ๆ ตัวที่ใช้ในการวัดระดับมาตรฐานโรงแรมไทย[15]
- ในประเทศไทย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก.ที่กำหนดเอาไว้ว่า สินค้าประเภทกระดาษชำระนั้นต้องมีความยาวไม่ต่ำว่า 31 เมตรต่อม้วน แต่ไม่มีผู้ผลิตกระดาษชำระรายใดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระดาษชำระ เราจึงไม่เห็นสัญลักษณ์ มอก.แปะอยู่ที่สินค้ายี่ห้อใดเลย[16]
- ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย นิยมใช้น้ำในการชำระล้าง มากกว่าการใช้กระดาษชำระ[17]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 http://nobodys-perfect.com/vtpm/ExhibitHall/Informational/tphistory.html
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Needham, Volume 5, Part 1, 122-123
- ↑ Joseph Nathan Kane, "Famous First Facts: A Record of First Happenings, Discoveries and Inventions in the United States" (H. W. Wilson: 1964), p. 434; Harper's Magazine, vol. 184, 1941-1942 (Harper's Magazine Co.:1941), p. 181; Jules Heller, "Paper Making" (Watson-Guptill:1978), p. 193
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.
- ↑ มาวัดความยาวกระดาษทิชชูกัน. นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 97 ประจำเดือนมีนาคม 2552
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-24.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.
- ↑ ""Kimberly-Clark 2005 Sustainability Report page 28"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 http://www.answers.com/topic/toilet-paper
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-08-24.
- ↑ http://abcnews.go.com/Entertainment/story?id=93597&page=1
- ↑ 14.0 14.1 http://nobodys-perfect.com/vtpm/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.
- ↑ http://www.womaninfocus.com/webboard/index.php?topic=468.0[ลิงก์เสีย]
- ↑ จักรพันธุ์ กังวาฬ , ส้วม (ร่วมสมัย)...ใครคิดว่าไม่สำคัญ (1) เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- De Beaumont, Sally; Tanner, Amoret; Rickards, Maurice (2000), Encyclopedia of Ephemera, UK: Routledge, pp. 190–191, ISBN 0-415-92648-3
- Knuth, Donald E. (October 1984), "The Toilet Paper Problem", The American Mathematical Monthly, 91 (8): 465–470, doi:10.2307/2322567, JSTOR 2322567
- Smyth, Richard (2012). Bum Fodder: An Absorbing History of Toilet Paper. Souvenir Press Limited. ISBN 978-0-285-64120-4.