ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์ราโฮเทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)

สำหรับเจ้าชายในราชวงศ์ที่ 4 ดูที่ เจ้าชายราโฮเทป

เซคเอมเรวาห์คาอู ราโฮเทป (อักษรโรมัน: Sekhemre-Wahkhau Rahotep) เป็นฟาโรห์ชาวอียิปต์โบราณ เสวยราชในระยะเวลาช่วงรอยต่อครั้งที่สองแห่งอียิปต์ สมัยที่อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเป็นอิสระแก่กันหลายพระองค์ นักไอยคุปต์วิทยาคิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ เสนอว่าฟาโรห์ราโฮเทปเป็นฟาโรห์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 17[1][3]

หลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์

[แก้]

หลักฐานของฟาโรห์ราโฮเทปมีการพบเจอที่อไบดอส และคอปโตส มีดังนี้

[1] ศิลาจารึก UC 14327 ที่พบจากการบูรณะเทวสถานเทพมินที่คอปโตส[5] ปัจจุบันจารึกหลักนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Petrie ปรากฏความในศิลาจารึกความว่า[6][7]

(ปี ... ภายใต้) พระเป็นเจ้าฮอรัส วาห์อังค์, สตรีสองแผ่นดิน ยูเซอร์เรนพุต, ฮอรัสทองคำ วาด ... (... บุตรแห่ง)รา ราโฮเทป, พระผู้พระราชทานชีวิต พระองค์ (ตรัส?) แก่ขุนนางของพระองค์และข้าราชบริพารที่ติดตามทั้งหลาย ... พระวิหาร ... พระองค์ทรงพบ (เกี่ยวกับ) บิดาของข้า (มิน), ผู้เป็นประมุขแห่งเทวดาเจ้าทั้งหลาย, ประตูและบานประตูของท่านพังทลายลงเป็นซาก, (เคยถวายบังคม ? มาก่อน) พระองค์ทรงตรัสว่า: แต่คา(คำสั่ง) จะเกิดขึ้น, ข้าแต่กษัตริย์, เจ้าของเรา คือฮู, แท้จริง, ผู้ที่อยู่ในปาก, และซิอา (ผู้ที่อยู่ในใจ)พทาห์-เซเคอร์ ... พระผู้สร้างท่าน ... เพื่อท่านจะกระทำให้พวกเขาได้พบพระวิหาร ... ท่านผู้รวบรวมอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่างเข้าด้วยกัน ขอให้จิตใจท่านเบิกบานบนบัลลังก์ฮอรัสแห่งชีวิต ... ท่านผู้ปกครองสิ่งที่ดวงอาทิตย์ (ล้อมรอบ) ... พระเป็นเจ้า (...) แห่งราษฎร, ผู้เป็นที่พึ่งตลอด...กลางคืน ... ในยามหลับ ... พระเป็นเจ้าในการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่แผ่นดินนี้ ราผู้ประทับรูปท่าน ... สิ่งที่ถูกลบ (?)... ดังเช่นในสมัยพระบิดาของท่าน, กษัตริย์ที่ติดตามฮอรัส ไม่เคย ... หายไปในเวลาของเรา ... ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าได้สร้างอนุสาวรีย์สำหรับเทพยดา ... สิ่งก่อสร้าง, ที่ถูกนำมา ...

[2] ศิลาหินปูน BM EA 833 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช[8] ภาพในศิลาหลักนี้แสดงรูปคือฟาโรห์ราโฮเทปกำลังถวายเครื่องบูชาแด่เทพโอซิริส แก่ผู้เสียชีวิตสองคนได้แก่เจ้าหน้าที่และนักบวช โดยศิลาแผ่นนี้น่าจะสร้างขึ้นในแหล่งการผลิตที่อไบดอส รวมถึงศิลาของฟาโรห์พันทเจนี และศิลาของฟาโรห์เวปวาเวทเอมซาฟ ก็ผลิตขึ้นจากแหล่งเดียวกัน โดยฟาโรห์ทั้งสามพระองค์นี้ขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน[9]

[3] พระองค์ยังถูกกล่าวถึงในเครื่องถ้วยของ อเมนีพระราชโอรสกษัตริย์ ซึ่งอุทิศให้แด่ "การปรนนิบัติมินในทุกงานเลี้ยงของเทพมิน" ที่คอปโตส[3][10]

[4] นิยายเรื่องคอนซูเอมเฮบกับผี ซึ่งแต่งขึ้นช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรใหม่ ตัวเอกพบกับผีที่อ้างว่าเคยเป็น "ผู้คุมการคลังของฟาโรห์ราโฮเทป" อย่างไรก็ตามผียังอ้างว่าเสียชีวิตในปีที่ 14 ของรัชกาลฟาโรห์เมนทูโฮเทปซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชสืบต่อมา ข้อความเหล่านี้ดูจะขัดแย้งกันเนื่องจากในระยะเวลาที่ยาวนาน พระนามฟาโรห์ที่ครองราชถัดจากฟาโรห์ราโฮเทปไม่มีพระนามเมนทูโฮเทปเลย ดังนั้นการระบุกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้จึงมีปัญหา[11]

ทฤษฎีของนักวิชาการ

[แก้]
สคารับ 2 ชิ้นที่ปรากฎจารึกพระนาม "ราโฮเทป" ฟินเดอร์ พีเทรี่ เชื่อว่าคือพระองค์[12]

ในขณะที่ไรโฮลท์ และเบเกอร์ เสนอให้ฟาโรห์ราโฮเทป เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่ 17 แต่ Jürgen von Beckerath เสนอว่าทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สองของราชวงศ์[13][14] อีกด้านหนึ่ง Claude Vandersleyen ได้ให้ช่วงเวลาครองราชย์ของฟาโรห์ราโฮเทปอย่างไม่แน่นอนโดยจัดให้พระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่ 13 ซึ่งเขาเชื่อว่าฟาโรห์ราโฮเทปมีความเกี่ยวข้องกับฟาโรห์โซเบคเอมซาฟที่ 1 การที่ Vandersleyen จัดช่วงเวลาของพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่ 13 เนื่องจากจำนวนและสภาพหลักฐานของพระองค์[15] เบเกอร์เห็นว่าข้อโต้แย้งเหล่านี้ "เบาบางและถูกปฏิเสธโดยนักวิชาการส่วนใหญ่"[1]

หากพระองค์เป็นฟาโรห์ช่วงต้นราชวงศ์ที่ 17 จริง พระองค์คงมีพระราชอำนาจในอียิปต์ตอนบนและไปไกลถึงอไบดอส[1] จากการสันนิฐานใหม่ของช่วงรอยต่อครั้งที่สองของไรโฮลท์ รัชกาลของฟาโรห์ราโฮเทปจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่ 16 หลังจากการพิชิตทีปส์โดยชาวฮิกซอส จนเมื่อกองทัพของชาวฮิกซอสได้ออกไปภายหลัง ชาวฮิกซอสได้สร้างความเสียหายไว้ คือการปล้นทำลายเทวสถานและพระราชวัง[1] ดังนั้นฟาโรห์ราโฮเทปจึง "โอ้อวดการบูรณะ [ที่พระองค์ดำเนินการ] ในเทวสถานที่อไบดอส และคอปโตส"[16] ในอไบดอส พระองค์ก็ทรงบูรณะกำแพงล้อมรอบเทวสถานเทพโอซิริส และที่คอปโตสพระองค์ทรงบูรณะเทวสถานเทพมินที่ "ประตูและบานประตู [ได้] พังทลายลงเป็นซาก"[1] ลำดับเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน รวมถึงนักวิชาการบางคนโต้แย้งว่า หากทีปส์ที่เคยถูกพิชิตโดยฮิกซอส ดังนั้นฟาโรห์แห่งอียิปต์ตอนบนที่มีเมืองทีปส์เป็นศูนย์กลางก็ต้องตกเป็นประเทศราชของฮิกซอส

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 341-342
  2. Wallis Budge: Hieroglyphic texts from Egyptian stelae, &c., in the British Museum, Part IV, London: Printed by order of the Trustees [by] Harrison and Sons, 1913, available not-in-copyright here, pl. 24.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC,Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. Number 54 on the Karnak king list
  5. H.M. Stewart: Egyptian Stelae, Reliefs and Paintings from the Petrie Collection. Part Two: Archaic to Second Intermediate Period, Warminster 1979, 17-18, no. 78
  6. Image of the stele with translation
  7. Stele on the Petrie Museum catalogue[ลิงก์เสีย]
  8. Stele on the British Museum catalogue
  9. Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  10. O. D. Berlev: Un don du roi Rahotep, OLP 6-7 (1975/1976), p. 31-41 pl II.
  11. Simpson, William K. (1973). The Literature of Ancient Egypt. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-01711-1., pp. 139–40
  12. Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names (1917), available copyright-free here, pl. XXIII
  13. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  14. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  15. Claude Vandersleyen: Rahotep, Sébekemsaf Ier et Djéhouty, rois de la 13e Dynastie, Revue d'Égyptologie
  16. Janine Bourriau, Ian Shaw (edit), The Oxford History of Ancient Egypt Oxford University Press, 2000. p.205 ISBN 978-0-19-280458-7
ก่อนหน้า ฟาโรห์ราโฮเทป ถัดไป
ไม่ทราบ ฟาโรห์แห่งอียิปต์
(ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด)

โซเบคเอมซาฟที่ 1