สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ
สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 664 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 332 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
อียิปต์ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล | |||||||||||
เมืองหลวง | ซาอิส, เมนเดส, เซเบนนิโตส | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||
• ราว 664–610 ปีก่อนคริสตกาล | พซัมติกที่ 1 (พระองค์แรก) | ||||||||||
• 336–332 ปีก่อนคริสตกาล | ดาริอุสที่ 3 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• เริ่มต้น | ราว 664 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | ราว 332 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์อียิปต์ |
อ้างอิงคริสต์ศักราช "BC" หมายถึง ปีก่อนคริสต์ศักราช |
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ หมายถึง ช่วงเวลาความรุ่งโรจน์ช่วงสุดท้ายของผู้ปกครองแห่งอียิปต์พื้นเมือง หลังจากช่วงสมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์นับตั้งแต่การสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิสโดยฟาโรห์พซัมติกที่ 1 แต่รวมถึงช่วงเวลาของการปกครองโดยกษัตริย์เปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งปกครองอียิปต์ หลังจากการพิชิตโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ในปี 525 ปีก่อนคริสตกาลด้วยเช่นกัน สมัยปลายกินช่วงเวลาระหว่าง 664 จนถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ช่วงเวลาของการปกครองโดยราชวงศ์ต่างชาติโดยราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งนิวเบีย และช่วงต้นด้วยช่วงเวลาสั้น ๆ ของการมีอำนาจเหนืออียิปต์ของจักวรรดิอัสซีเรียใหม่ สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณสิ้นสุดลงด้วยการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชและการสถาปนาราชวงศ์ทอเลมีโดยนายพลทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ หนึ่งในชาวกรีกโบราณจากมาซิโดเนียทางตอนเหนือของกรีซ ด้วยการพิชิตจักรวรรดิมาซิโดเนียของกรีกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งช่วงเวลาหลังจากนั้นนับว่าเป็นสมัยเฮลเลนนิสติกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ในสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ
[แก้]ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์
[แก้]ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก หรือที่เรียกว่าราชวงศ์แห่งซาอิส หลังจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกได้สถาปนาศูนย์อำนาจในเมืองซาอิส ก็ได้ขึ้นมาปกครองตั้งแต่ 672 ถึง 525 ปีก่อนคริสตกาล และประกอบด้วยฟาโรห์จำนวนหกพระองค์ ซึ่งเริ่มต้นช่วงเวลาของราชวงศ์ด้วยการรวมอาณาจักรอียิปต์ของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 เมื่อราว 656 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลโดยตรงจากการปล้นสดมภ์เมืองธีบส์โดยจักรวรรดิอัสซีเรียเมื่อ 663 ปีก่อนคริสตกาล และได้เริ่มการขุดคลองจากแม่น้ำไนล์ถึงทะเลแดงในช่วงเวลานี้
ดูเหมือนว่าอียิปต์จะขยายดินแดนเข้าสู่ตะวันออกใกล้ในช่วงต้นของช่วงเวลาดังกล่าง การค้นพบทางโบราณคดีที่จำนวนมากจากเลวานไทน์ แสดงให้เห็นถึงการยึดครองและการควบคุมของอียิปต์ในช่วงปลายทศวรรษของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาล รวมถึงวัตถุต่าง ๆ ของอียิปต์จากหลาย ๆ แห่ง ชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาและเอกสารแสดงระบบบรรณาการ/ภาษี และหลักฐานจากป้อมปราการแห่งเมซาด ฮาชาฟยาฮู[1][2] อิทธิพลของอียิปต์ไปถึงพื้นที่ยูเฟรติสในสถานที่เช่น คิมูฮู และกูรามาติ แต่ต่อมาอียิปต์ก็ต้องถอยร่นจากความพ่ายแพ้ที่คาร์เคมิช แม้ว่าการแทรกแซงของอียิปต์ในตะวันออกใกล้ดูเหมือนจะดำเนินต่อไปหลังจากการสู้รบครั้งนี้[3]
ฟาโรห์อมาซิสที่ 2 ทรงปฏิบัติตามพระราชนโยบายใหม่และมุ่งความสนพระราชหฤทัยไปที่โลกกรีก ทรงผนวกไซปรัสในรัชสมัยของพระองค์[4] ฟาโรห์พซัมติกที่ 2 ได้ทรงส่งคณะเดินทางทางทหารครั้งใหญ่ในทางใต้ที่ลึกเข้าไปในบริเวณนิวเบียบนและก็พ่ายแพ้อย่างหนักกลับมา[5] บันทึกปาปิรุสเดโมติกจากรัชสมัยของฟาโรห์อาโมสที่ 2 ไเ้บรรยายถึงการเดินทางเล็ก ๆ สู่นิวเบีย ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับกองทหารอียิปต์ที่ดอร์กินาร์ติในนิวเบียล่างในช่วงราชวงศ์แห่งซาอิส[6]
ปรากฏหลักฐานอีอย่างหนึ่งจากสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ คือ บันทึกปาปิรุสบรูคลิน ซึ่งเป็นบันทึกปาปิรุสทางการแพทย์ที่มีชุดการรักษาทางการแพทย์และเวทมนตร์สำหรับผู้ที่ถูกงูกัดโดยพิจารณาจากประเภทของงูหรืออาการ[7]
งานศิลปะในช่วงเวลานี้เกี่ยวข้องกับลัทธิบูชาสัตว์และมัมมี่สัตว์ ภาพนี้แสดงให้เห็นเทพเจ้าปาไตโกสทรงสวมแมลงสคารับบนพระเศียร นกหัวมนุษย์สองตัวเกาะบนพระอังสาบ่า ทรงถืองูไว้ในมือข้างละข้าง และประทับยืนอยู่บนหัวจระเข้[8]
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
[แก้]สมัยการปกครองของจักรรวรรดิอะคีเมนิดที่ 1 (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เริ่มต้นจากการรบที่เปลูเซียม ซึ่งอียิปต์ (เปอร์เซียเก่า: 𐎸𐎭𐎼𐎠𐎹 Mudrāya) ได้ถูกพิชิตโดยจักรรวรรดิอะคีเมนิดอันกว้างใหญ่ในรัชสมัยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 และอียิปต์ก็กลายเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรรวรรดิอะคีเมนิด ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ประกอบด้วยกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ได้แก่ แคมไบซีสที่ 2, เซอร์ซีสที่ 1 และดาริอุสมหาราช ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ในฐานะฟาโรห์และปกครองผ่านมณฑล เช่นเดียวกันกับฟาโรห์เปทูบาสติสที่ 3 (ปกครองระหว่าง 522–520 ปีก่อนคริสตกาล) (และอาจจะเป็นไปได้พระองค์คือ ฟาโรห์ซัมเมติคัสที่ 4 ตามมีการโต้เถียงกัน) ซึ่งทรงก่อกบฏโดยต่อต้านผู้ปกครองของเปอร์เซีย การก่อกบฏของอินารอสที่ 2 (460-454 ปีก่อนคริสตกาล) ที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นได้รับความช่วยเหลือจากชาวเอเธนส์ในฐานะส่วนหนึ่งของสงครามแห่งสันนิบาตดีเลียน ผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ของเปอร์เซีย คือ อารยันเดส (525–522 ปีก่อนคริสตกาล และ 518–ประมาณ 496 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งปกครองในช่วงของการก่อกบฏโดยฟาโรห์เปทูบาสติสที่ 3, เฟเรนดาเตส (ประมาณ 496–486 ปีก่อนคริสตกาล), อะเคเมเนส (ประมาณ 486–459 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นพระอนุชาของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 และอาร์ซาเมส (ราว 454 – ราว 406 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดถึงราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์
[แก้]ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดมีฟาโรห์พระองค์เดียวคือ อไมร์เตอุส ผู้ครองเมืองแห่งซาอิส พระองค์ทรงก่อการกบฏต่อชาวเปอร์เซียได้สำเร็จ นับเป็นการเปิดฉากช่วงสำคัญของความเป็นอิสระในช่วงสุดท้ายของอียิปต์ภายใต้อำนาจอธิปไตยของชนพื้นเมือง ไม่ปรากฏอนุสาวรีย์ใดที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ราชวงศ์นี้ปกครองเป็นเวลาหกปีตั้งแต่ 404 ปีก่อนคริสตกาล - 398 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าขึ้นมาปกครองต่อ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเมนเดส ตั้งแต่ 398 ถึง 380 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ฮาคอร์จากราชวงศ์นี้ทรงสามารถเอาชนะการรุกรานของชาวเปอร์เซียได้ในรัชสมัยของพระองค์
ราชวงศ์ที่สามสิบได้รับรูปแบบศิลปะจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ทรงปกครองตั้งแต่ 380 ถึง 343 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์พระนาม เนคทาเนโบที่ 1 พระองค์ทรงอาชนะการรุกรานของเปอร์เซียใน 373 ปีก่อนคริสตกาล และต่อมาผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์พระนามว่า ทีออส พระองค์ได้ทรงต่อต้านจักรวรรดิอะคีเมนิดในตะวันออกใกล้ การเดินทางเริ่มประสบผลสำเร็จและเดินทางไปยังฟีนิเซียโดยไม่มีปัญหาใดเป็นพิเศษ แต่เจ้าชายทจาฮาปิมู ผู้เป็นพระอนุชา ทรงกำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ โดยเจ้าชายทจาฮาปิมูทรงโน้มน้าวให้เจ้าชายเนคทาเนโบ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสลูกชายให้ทรงทำก่อการกบฏต่อฟาโรห์ทีออส และสถาปนาพระองค์เองเป็นฟาโรห์ ซึ่งสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จและฟาโรห์ทีออสทรงไม่มีทางเลือกใดอีก นอกจากต้องหนีและคณะสำรวจทางทหารก็แตกพ่าย ผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้และผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์คือ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งทรงพ่ายแพ้ในการสู้รบซึ่ง��ำไปสู่การผนวกอียิปต์เข้าจักรวรรดิอะคีเมนิดอีกครั้ง
ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์
[แก้]สมัยการปกครองของจักรรวรรดิอะคีเมนิดที่ 2 ได้รวมอียิปต์กลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งจักรวรรดิเปอร์เซียในการปกครองของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด (343–332 ปีก่อนคริสตกาล) อีกครั้ง ซึ่งประกอบด้วยกษัตริย์เปอร์เซียจำนวน 3 พระองค์ที่ทรงปกครองในฐานะฟาโรห์ คือ อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (343– 338 ปีก่อนคริสตกาล), อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 (338–336 ปีก่อนคริสตกาล) และดาริอุสที่ 3 (336–332 ปีก่อนคริสตกาล) และปรากฏการก่อกบฏของภายในราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดโดยฟาโรห์คาบาบาช (338–335 ปีก่อนคริสตกาล) การปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิอะคีเมนิดต่อกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งพระองค์ยอมรับการสวามิภักดิ์ของผู้ว่าการมณฑลอียิปต์แห่งเปอร์เซียนามว่า มาซาเคส ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองของชาวกรีกในอียิปต์ที่มีเสถียรภาพหลังจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ในสมัยราชอาณาจักรปโตเลมี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bar, S.; Kahn, D.; Shirley, J.J. (2011). Egypt, Canaan and Israel: History, Imperialism, Ideology and Literature (Culture and History of the Ancient Near East). BRILL. pp. 268–285.
- ↑ Federico, Zains. "Some Preliminary Remarks on the Neo-Assyrian City Wall in the Outer Town at Karkemish": 901–902.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. pp. 372–373.
- ↑ Hill, George (2010). A History of Cyprus, Vol. 1. Cambridge University Press. p. 109.
- ↑ Psamtik II
- ↑ Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. pp. 373–374.
- ↑ Bleiberg, Barbash & Bruno 2013, p. 55.
- ↑ Bleiberg, Barbash & Bruno 2013, p. 16.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bleiberg, Edward; Barbash, Yekaterina; Bruno, Lisa (2013). Soulful Creatures: Animal Mummies in Ancient Egypt. Brooklyn Museum. p. 151. ISBN 9781907804274.
- Roberto B. Gozzoli: The Writing of History in Ancient Egypt During the First Millennium BCE (ca. 1070–180 BCE). Trend and Perspectives, London 2006, ISBN 0-9550256-3-X
- Lloyd, Alan B. 2000. "The Oxford History of Ancient Egypt, edited by Ian Shaw". Oxford and New York: Oxford University Press. 369–394
- Quirke, Stephen. 1996 "Who were the Pharaohs?", New York: Dover Publications. 71–74