ฟาโรห์โฮเทปอิบเร
ฟาโรห์โฮเทปอิบเร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซโฮเทปอิเร โฮร์เนดจ์เฮรีเทฟ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพวาดคทาพิธีการที่มีพระนามของฟาโรห์โฮเทปอิบเร จากเมืองเอบลา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | น่าจะ 1 ถึง 5 ปี,[1] ระหว่าง 1791- 1788 ปีก่อนคริสตกาล (รีฮอล์ต)[2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อเมนิ เกเมา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อิยูฟนิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | อเมนิ เกเมา? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 13 |
โฮเทปอิบเร เกเมา ซีฮาร์เนดจ์เฮร��เทฟ (หรือ เซโฮเทปอิบเรที่ 1 หรือ เซโฮเทปอิบเรที่ 2 ขึ้นอยู่กับนักวิชาการ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง
พระราชวงศ์
[แก้]พระนามเต็ม "เกเมา ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ" มีความหมายว่า "พระราชโอรสแห่งเกเมา, ฮอรัส ผู้ซึ่งทรงถือครองพระราชอำนาจของพระองค์" และมีความเป็นไปได้ว่า พระองค์น่าจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์นามว่า อเมนิ เกเมา และเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 และรีฮอล์ตได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า พระราชบัลลังก์ของพระองค์ในภายหลังได้ตกแก่ฟาโรห์พระนามว่า อิยูฟนิ ซึ่งอาจจะเป็นพระเชษฐาธิราชหรือพระราชปิตุลาของพระองค์ หลังจากรัชสมัยที่มีระยะเวลาอันสั้นของฟาโรห์อิยูฟนิ พระราชบัลลังก์ก็ตกเป็นของพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่งของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 พระนามว่า อเมนิ อันเตฟ อเมนเอมฮัตที่ 6[4]
หลักฐานรับรอง
[แก้]มีการค้นพบรูปสลักที่อุทิศให้แด่เทพพทาห์และปรากฏพระนามว่าในเมืองกันฏิร แต่ไม่ทราบตำแหน่งต้นกำเนิด วิหารและบล็อกหินจากอัล-อะเฏาเลาะที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร (Temp 25.4.22.3)[5] และพระองค์ยังเป็นที่ทราบจากกระบองที่ใช้ในพิธีซึ่งพบใน "หลุมฝังพระศพของเจ้าแห่งแพะ" ในเมืองเอบลา ทางเหนือของประเทศซีเรียในปัจจุบัน[6] กระบองดังกล่าวเป็นของขวัญจากฟาโรห์โฮเทปอิบเรให้แก่กษัตริย์แห่งเอบลาพระนามว่า อิมเมยา ผู้ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยเดียวกันกับพระองค์[7] บางครั้งฟาโรห์โฮเทปอิบเรได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้โปรดให้สร้างพระราชวังที่เพิ่งค้นพบใหม่ในเมืองเทล เอ็ด-ดับอ์ (หรือ เมืองอวาริสในสมัยโบราณ)[8]
การสันนิษฐาน
[แก้]คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้ระบุว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่หกของราชวงศ์ ซึ่งทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี (หรือ อาจจะสามปี) ระหว่าง 1791 - 1788 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] หรือ เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และ��ดทเลฟ ฟรานเคอ ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์ที่สิบสาม[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 120-121
- ↑ 2.0 2.1 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
- ↑ Labib Habachi: Khatâ'na-Qantîr: Importance in Annales du Service des Antiquités de l'Égypte, Nr. 52 (1952), p. 460
- ↑ See Ryholt (1997), pp. 73, 208, 214-215 and 284
- ↑ See Ryholt (1997), p. 338, File 13/6
- ↑ Ryholt, K. "Hotepibre - A Supposed Asiatic King in Egypt with Relations to Ebla", Bulletin of the American Schools of Oriental Research 311, 1998, pp. 1–6.
- ↑ Matthiae, Paolo (2010). Ebla. La città del trono (ภาษาอิตาลี). Einaudi. pp. 218, 303, 349. ISBN 978-88-06-20258-3.
- ↑ Matthiae, Paolo (1997). "Ebla and Syria in the Middle Bronze Age". ใน Oren, Eliezer D. (บ.ก.). The Hyksos: new historical and archaeological perspectives. The University of Philadelphia, The University Museum. ISBN 0924171464., pp. 397-398.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, p. 39–40, 231–32 (XIII 8)
- ↑ Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein (1997)