ข้ามไปเนื้อหา

สโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Stone Cold Steve Austin)
สตีฟ ออสติน
เกิดSteven James Anderson
18 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
Edna, Texas, United States
ศิษย์เก่าUniversity of North Texas
อาชีพProfessional wrestler, actor, television host
ปีปฏิบัติงาน1989–2003 (wrestler)
1998–present (actor)
คู่สมรสKathryn Burrhus (สมรส 1990; หย่า 1992)
Lady Blossom (สมรส 1992; หย่า 1999)
Debra Marshall (สมรส 2000; หย่า 2003)
Kristin Feres (สมรส 2009)
บุตร3
ชื่อบนสังเวียนSteve Austin
The Ringmaster
ส่วนสูง6 ft 2 in (1.88 m)[1]
น้ำหนัก252 lb (114 kg)[1]
มาจากVictoria, Texas[1]
ฝึกหัดโดยChris Adams[2][3]
เปิดตัวพ.ศ. 2532
รีไทร์31 มีนาคม พ.ศ. 2546
เว็บไซต์BrokenSkullRanch.com

สตีฟ ออสติน (Steve Austin)[3] เดิมชื่อ สตีเวน เจมส์ แอนเดอร์สัน (Steven James Anderson) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สตีเวน เจมส์ วิลเลียม (Steven James Williams) เกิด 18 ธันวาคม ค.ศ. 1964 เป็นนักแสดงและนักมวยปล้ำอาชีพที่เกษียณอายุชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในสังเวียนมวยปล้ำมีชื่อว่า สโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน (Stone Cold Steve Austin)[1] ปล้ำให้กับหลายสมาคม ได้แก่ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง (WCW) เอ็กซ์ตรีม แชมเปี้ยนชิพ เรสต์ลิง (ECW) และ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE)[4][5][6][7][8] ในปี 2009 ออสตินได้ขึ้นรับรางวัล หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี[9]

ประวัติมวยปล้ำอาชีพ

[แก้]

ออสติน เกิดในเมืองเล็กๆชื่อ Edna ในรัฐเท็กซัส เป็นที่นิยมของสาวๆในโรงเรียนมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่ม จนได้รับตำแหน่ง มิสเตอร์ คาว์บอย ในปี 1983 หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "คิง" ในงานเลี้ยงอำลารุ่น และยังได้ทุนอเมริกันฟุตบอลไปศึกษาต่อใน Wharton County Junior College อีกด้วย หลังจากนั้นก็ได้ทุนย้ายไปเรียนที่ University of North Texas โดยเขาเล่นในตำแหน่ง defensive end และหันมาสนใจทางด้านมวยปล้ำจึงสมัครเข้าไปเรียนในโรงเรียนของ คริส อดัมส์

ในปี 1989 นั้น ออสติน ปล้ำครั้งแรกและเอาชนะ Frogman Lablanc โดย ออสติน ใช้ชื่อจริงของเขาในการปล้ำว่า สตีฟ วิลเลียม แต่เนื่องจากชื่อนี้ " ดร. เดท " สตีฟ วิลเลียม นั้นได้ใช้อยู่ก่อนแล้ว เขาจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ออสติน ออสติน และ คริส อดัมส์ ได้จับคู่กับเขาปล้ำใน USWA แต่อยู่ได้ไม่นาน ออสติน ก็หักหลัง เขาปล้ำเจอกับ อดัมส์ หลายครั้ง ต่อมา ออสติน ได้นำ Jeannie Clarke อดีตภรรยาของ อดัมส์ มาเป็นผู้ติดตาม ทำให้ อดัมส์ ต้องนำ โทนี่ ภรรยาคนปัจจุบันออกมา และนำไปสู่การปล้ำแทคทีมคู่ผสม ออสติน ยังได้จ้าง Percy Pringle (พอล แบเรอร์) มาเป็นผู้จัดการให้เขาด้วย

หลังจากนั้น ออสตินออกมาปล้ำที่ Texas Wrestling Federation และจับคู่กับ ร็อด พรีช ได้เข็มขัดแท็กทีมของ TWF ในเดือนพฤศจิกายน 1990 เขาครองเข็มขัดจนกระทั่งสมาคมปิดตัวลงในเดือนพฤษภาคม 1991 เขาและ Jeannie ย้ายไปยัง Tennessee กลับไปยังสมาคม USWA เขาชนะ เจฟฟ์ จาเรตต์ ได้เข็มขัด Southern แต่หลังจากนั้นก็โดนปลดเพราะ ออสติน เอาขาพาดเชือกขณะกด สองอาทิตย์ถัดมา ออสตินแพ้ให้กับจาเรตต์ ในทัวร์นาเมนต์หาผู้ครองเข็มขัดคนใหม่ สามเดือนต่อมาเขาก็ย้ายไป WCW

ออสติน มาใน WCW เขามีผู้ติดตามคนใหม่ชื่อ Vivacious Veronica และได้สมยานามว่า "Stunning" แต่อยู่ได้ไม่นาน เขาก็นำตัว Jeannie มาเป็นผู้ติดตามเหมือนเคย ไม่นาน 3 มิถุนายน 1991 ออสติน ก็เอาชนะ Bobby Eaton ได้เข็มขัด แชมป์TV มาครอง หลังจากนั้นเขาก็เริ่มมีปัญหากับ ดัสติน โรดส์ ออสติน เกือบได้ แชมป์ยูเอส แต่ไปแพ้ให้กับ สติง ในทัวร์นาเมนต์ชิงเข็มขัดในรอบชิง

ออสติน แยกทางกับ Jeannie หลังจากที่ Paul E. Dangerously ซื้อสัญญาของ ออสติน และนำ ออสติน ไปอยู่ในกลุ่ม Dangerous Alliance ซึ่งตอนนั้นมี อาร์น แอนเดอร์สัน, Rick Rude, Larry Zbyzsko, Bobby Eaton และ Madusa Austin เขายังคงป้องกันเข็มขัดไว้ได้จากผู้ท้าชิงอย่าง Ron Simmons (Faarooq), ดัสติน โรดส์, Scott Steiner และ Van Hammer แต่ในที่สุด ปลายเดือนเมษายน 1992 เขาก็เสียเข็มขัดให้ Barry Windham เขาชิงเข็มขัดกลับคืนมาได้ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 1992 โดยเอาชนะ Windham ได้ ในศึก WrestleWar ออสติน เป็นส่วนหนึ่งใน War Games Match และเขาได้สู้กับ ดัสติน โรดส์ อย่างดุเดือด

ออสติน ได้มามีเรื่องกับ ริคกี้ สตีมโบ๊ต หลังจากที่ Paul E. Dangerously ช่วยเขาไว้หลายครั้ง WCW จึงสั่งให้จับ Paul E. ใส่กรงไว้ในการปล้ำที่ Clash of Champions XX 2 กันยายน 1992 ออสติน จึงแพ้ให้กับ สตีมโบ๊ต หลังจากที่ Paul E. Dangerously ย้ายออกจาก WCW จึงทำให้กลุ่ม Dangerous Alliance แยกทางกัน ออสติน เป็นฝ่ายจับกด Barry Windham ได้แต่เวลาหมดเสียก่อนจึงเสมอกันไป หลังจากนั้นไม่นาน

ต้นปี 1993 ออสติน ก็มาปล้ำในนามแทคทีม Hollywood Blonds โดยจับคู่กับ ไบรอัน พิลล์แมน วันที่ 2 มีนาคม 1993 เขาได้เข็มขัดแทคทีมมาครองเป็นสมัยแรก หลังจากเอาชนะ ริกกี้ สตีมโบ๊ต และ เชน ด๊อกลาส ต่อมา The Blonds ก็เอาชนะ สตีมโบ๊ต และ ด๊อกลาส ได้อีกใน Slamboree หลังจากนั้น The Blonds ก็ออกมาล้อเลียน ริก แฟลร์ โดยสร้างโชว์ที่ชื่อ Flair for the Old โดยมี พิลล์แมน รับบทเป็น แฟลร์ และ ออสติน เล่นเป็น อาร์น แอนเดอร์สัน โดยออกมายืนเป็นรูปปั้น จึงนำไปสู่การปล้ำกับ แฟลร์ และ อาร์น ก็ยังคงป้องกันเข็มขัดไว้ได้ 18 สิงหาคม 1993 The Blonds มาเสียเข็มขัดให้ อาร์น แอนเดอร์สัน และ พอล โรม่า หลังจากที่ พิลล์แมน บาดเจ็บ จึงให้ ลอร์ด สตีเว่น รีกัล มาปล้ำแทน ในศึก Clash of Champions

ช่วงที่ พิลล์แมน ได้รับบาดเจ็บ ออสติน หันมาปล้ำเดี่ยวอีกครั้ง โดยคราวนี้มี Colonel Parker มาเป็นผู้จัดการให้ ออสติน ได้ขึ้นปล้ำกับ ดัสติน โรดส์ ชิงแชมป์ยูเอส ในศึก Halloween Havoc และ ออสติน เป็นฝ่ายกด ดัสติน แต่เนื่องจากใช้เชือกช่วย จึงต้องปล้ำกันต่อไป ขณะที่ ออสติน กำลังเถียงกรรมการอยู่ เขาโดนลวบกดและแพ้ไป ออสติน โกรธจัดจึงเล่นงาน ดัสติน และเอาเข็มขัดไป และเขาเอาชนะ พิลล์แมน ได้ใน Clash of the Champions XXV จึงได้โอกาสเจอกับ ดัสติน อีกครั้ง ในศึก Starrcade 1993 โดยเจอกันในแบบใครกดได้สองครั้งก่อนชนะ ออสติน ได้คะแนนแรกหลังจาก ดัสติน เหวี่ยง ออสติน ข้ามเชือกซึ่งผิดกติกา คะแนนที่สอง ออสติน เป็นฝ่ายกด ดัสติน ทำให้ ออสติน ได้ครอง แชมป์ยูเอส ไปในที่สุด ในศึก SuperBrawl IV ออสติน จะต้องเจอกับ ไบรอัน พิลล์แมน โดย ออสติน จับคู่กับ ริก รู๊ด และ พอล ออร์นดอรฟฟ์ เจอกับทีมของ สติง, ดัสติน โรดส์ และ พิลล์แมน ในกรงเหล็ก และ พิลล์แมน ก็แก้แค้นได้ โดยจับกด ออสติน และช่วยให้ทีมชนะไปในที่สุด ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19 ออสติน ได้ปล้ำในแมตช์สุดท้าย แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับ เดอะ ร็อก ในปี 2009 สโตน โคลด์ ได้ขึ้นรับรางวัล Hall of Fame Class of 2009

ในปี 2011 สโตน โคลด์ ได้เป็นกรรมการพิเศษในแมตท์ระหว่าง เจอร์รี ลอว์เลอ��์ พบกับ ไมเคิล โคล ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 และในวันที่ 4 เมษายน 2011 ในศึกรอว์ นั้น สโตน โคลด์ ได้ทำการต่อสู้หลังจากโดนท้าทายจาก เดอะมิซ โดย สโตน โคลด์ ก็ไม่ทำให้แฟนๆผิดหวังในการโชวสไตล์การปล้ำจนทำให้ อเล็กซ์ ไรลีย์ คู่หูของ เดอะ มิซ ต้องจดจำไปอีกนาน และท้ายที่สุดยังได้เป็น Host ของรายการเรียลลิตี้ของ WWE รายการ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ทัฟ อีนัฟ และในปี 2011 นี้ ออสติน ยังบอกถึงความเป็นไปได้ที่เขาจะกลับมาปล้ำ ซึ่งบอกกลับสื่อว่าเขาสามารถปล้ำ Full Time ได้อีก 2 ปีเป็นอย่างน้อย และถ้าได้กลับมาครั้งนี้เขาเองก็อยากเปิดศึกกับนักมวยปล้ำรุ่นน้องอย่าง ซีเอ็ม พังก์

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 ฮัลค์ โฮแกน ออกมาเปิดรายการ และ สโตน โคลด์ ได้กลับมาอีกครั้ง และบอกว่ารู้สึกดีจังที่ได้กลับมาที่ซูเปอร์โดมอีกครั้ง และเขาก็รู้สึกว่าอยากจะเตะก้นใครซักคน ใครก็ได้ที่อยู่บนเวทีเดียวกัน เมื่อคืนนี้เขากับ โฮแกน นั่งใกล้ๆ กันในงาน Hall of Fame และเขาก็เห็น โฮแกน ปล้ำในเรสเซิลเมเนีย มาหลายปี ปราบคนมาก็เยอะ และเขาก็นับถือสิ่งที่ โฮแกน ทำ จากนั้น สโตน โคลด์ ก็ขอจับมือกับ โฮแกน และขอให้แฟน ๆ ช่วย Hell Yeah! ให้ โฮแกน เดอะ ร็อก ออกมาอีกคน และบอกว่าในที่สุดเขาก็ได้กลับมาเยือนนิวออร์ลีนส์อีกครั้ง และก็กลับมาที่ซูเปอร์โดมด้วย เดอะ ร็อก บอกว่า สโตน โคลด์ กับ โฮแกน เป็นสองตำนานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน WWE และเขาก็เคยเจอกับทั้งคู่มาแล้วใน เรสเซิลเมเนีย ตอนนี้เรามารวมกันเกือบครบแล้ว ขาดแต่พระเอกยุคปัจจุบันซึ่งมันคงไม่กล้าออกมาหรอกนอกจาก โฮแกน จะเชิญมันออกมา จากนั้นทั้ง 3 พระเอกก็พูดประโยคฮิตของตัวเอง โดย เดอะ ร็อก บอกว่า If you smell what the rock is cooking!?, สโตน โคลด์ บอก and that's the bottom line cause Stone Cold said so! และ โฮแกน ปิดท้ายว่า Watcha gonna do brothers when Hulk Hogan, Stone Cold Steve Austin, The Rock, and Superdome run wild on you!? สโตน โคลด์ เอาเบียร์มาเลี้ยงทุกคนและก็แยกย้ายกันกลับ

ในรอว์ (19 ตุลาคม 2015) สโตน โคลด์กลับมาเยือนรอว์เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออสตินทักทายแฟนๆ ชาวดัลลัสในสนาม และก็พูดถึงเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32ที่จะมาจัดที่เมืองนี้ด้วย ออสตินบอกว่า บร็อก เลสเนอร์ จะมาเป็นแขกรับเชิญในรายการ Stone Cold Podcast ของเขา[10]

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 ออสตินกลับมาพร้อมกับชอว์น ไมเคิลส์ และมิค โฟลีย์ ออกมาจัดการแจกท่าไม้ตายใส่พวก เดอะลีกออฟเนชันส์ (เชมัส, อัลเบร์โต เดล รีโอ, รูเซฟ และคิง บาร์เร็ตต์) จากนั้น เดอะนิวเดย์ (เซเวียร์ วูดส์, บิ๊กอี และโคฟี คิงส์ตัน) ขึ้นมาเต้นบนเวทีและวูดส์ชวนออสตินเต้นด้วยกัน แต่สุดท้ายโดน Stunner เข้าไป[11]

ในรอว์ตอนครบรอบ 25 ปี วันที่ 22 มกราคม 2018 ออตินได้ออกมาใส่ Stone Cold Stunner เล่นงานพ่อลูกเชนและวินซ์ แม็กแมน[12]

ในช่วงท้ายรายการ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 38 ออสตินได้เป็นแขกรับเชิญรายการ KO Show ของ เควิน โอเวนส์ ก่อนที่โอเวนส์จะขอท้าเจอกับออสตินรูปแบบไม่มีกฎกติกาเป็นคู่เอกและออสตินก็เอาชนะไปได้ โดยเป็นแมตช์แรกของออสตินในรอบ 19 ปีนับตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19 ปี 2003[13][14]

ผลงานอื่นๆ

[แก้]

ภาพยนตร์สารคดี

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท หมายเหตุ
2005 The Longest Yard Guard Dunham Film debut
First work with Adam Sandler, Terry Crews and Chris Rock
2007 The Condemned Jack Conrad
2009 Damage John Brickner
2010 The Expendables Paine Austin's last widely released movie until 2013
First work with Dolph Lundgren, Eric Roberts and Gary Daniels
Second work with Terry Crews
2013 Grown Ups 2 Dennis "Tommy" Cavanaugh Austin's first widely released movie since 2010
Second work with Adam Sandler and Chris Rock

หนังแผ่น

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท หมายเหตุ
2010 The Stranger The Stranger Direct-to-video
2010 Hunt to Kill Jim Rhodes Direct-to-video
Second work with Eric Roberts and Gary Daniels
2011 Recoil Ryan Varrett Direct-to-video
2011 Knockout Dan Barnes Direct-to-video
2011 Tactical Force Tate Direct-to-video
First work with Michael Jai White and Darren Shahlavi
2012 Maximum Conviction Manning Direct-to-video
2012 The Package Tommy Wick Direct-to-video
Second work with Dolph Lundgren and Darren Shahlavi
2015 Chain of Command Ray Peters Second work with Michael Jai White

รายการของตนเอง

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท
1999 Beyond The Mat Himself
2015 Smosh: The Movie Himself

โทรทัศน์

[แก้]
ซีรีส์ รับบท ปี
Celebrity Deathmatch Himself 1998–2002
Nash Bridges Detective Jake Cage 1999–2000
Dilbert Himself 2000
The Bernie Mac Show Himself 2005
Chuck Hugo Panzer 2010
Tough Enough Host/Trainer 2011
Redneck Island Host 2012–present
Steve Austin's Broken Skull Challenge[15][16] Host 2014–present
Stone Cold Podcast Host 2015–present

ผลงานแชมป์และความสำเร็จ

[แก้]
เป็นแชมป์ WWF
ในงานมอบรางวัลหอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ประจำปี 2009

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Austin won the title for the first time when it was still known as WWF World Heavyweight Championship, but it was shortened to simply WWF Championship after he was presented a new championship belt the following night on Raw Is War.
  2. The Million Dollar Championship isn't an official championship recognized by WWE.

เกร็ดความรู้ และสถิติต่างๆ

[แก้]
  • เป็นหนึ่งนักมวยปล้ำ ที่ได้รับการยอมรับจากนักมวยปล้ำรุ่นเดียวกัน และรุ่นปัจจุบันเป็นอย่างมาก
  • เป็นนักมวยปล้ำคนแรกที่เปิดศึกกับเจ้าของบริษัท WWE วินซ์ แม็กแมน
  • เป็นนักมวยปล้ำคนเดียวในปัจจุบัน ที่ชนะในรอยัลรัมเบิล ได้ถึง 3 ครั้ง
  • เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่เปิดศึกกับทุกลุ่มนักมวยปล้ำที่เคยมีมาใน WWE อย่างเช่น NWO (นิว เวิลด์ ออร์เดอร์), ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์, Corporate Ministry, Evolution
  • เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ได้รับบท CEO (ประธานกรรมการบริหาร) ของ WWE
  • เป็นคนแรกที่ชนะในแมทช์ Buried Alive ซึ่งพบกับ ดิอันเดอร์เทเกอร์
  • เป็นนักมวยปล้ำคนเดียว ที่ได้ใช้ใบหน้าของเขาทำเป็นฉากของศึกมวยปล้ำของ WWE ศึก Unforgiven 2001
  • เป็นนักมวยปล้ำที่มีผลโหวตเป็นอันดับ 1 จากแฟนๆนักมวยปล้ำ ในศึกใหญ่ ไซเบอร์ซันเดย์ มาโดยตลอดทุกปี
  • ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นหนึ่งในกรรมการพิเศษ ที่ซื่อตรงที่สุดเท่าที่ WWE เคยมีมา
  • ได้ชนะ คิงออฟเดอะริง ปี 1996 ซึ่งทำให้เรตติ้ง WWE และการจำหน่ายของไม่ว่าจะเป็นเสื้อหรืออุปกรณ์ต่างๆได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ WWE และยังไม่มีนักมวยปล้ำคนใดสามารถทำได้อย่าง สโตน โคลด์
  • ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ทำให้ WWE มีทุกวันนี้ ร่วมกับ ฮัลค์ โฮแกน, เบรต ฮาร์ต, เดอะร็อก, ดิอันเดอร์เทเกอร์, ทริปเปิลเอช, และชอว์น ไมเคิลส์
  • ได้รับการยอมรับจากแฟนๆนักมวยปล้ำว่าเป็น นักมวยปล้ำที่มีลักษณะการพูดที่โฉ่งฉ่าง ตรง และดุดัน แถมยังเป็นการพูดที่ไม่เคยไว้หน้าใครแม้คนๆนั้นจะเป็น วินซ์ แมคแมน หรือนักมวยปล้ำคนใดก็ตาม และยากที่จะมีใครทำได้อย่างเขา ประโยคติดปาก Give Me a Hell Yeah!! , And That's Bottom Line Because STONE COLD SAID SO!!!
  • เคยทำให้ทุกคนใน WWE ช็อกในการกระทำของเขา โดยการไปหาเรื่องไมค์ ไทสัน นักมวยสากลแชมป์ WBC ซึ่งๆหน้า ทำให้ทาง WWE ต้องรีบวางบทให้ทั้งสองคนมาจับมือกันภายหลัง ก่อนจะมีเหตุการช็อกวงการอีกรอบ
  • เป็นนักมวยปล้ำที่ครองแชมป์ United States Champion ได้สั้นที่สุด ครองแชมป์ได้ 5 นาที
  • สโตน โคลด์ เป็นนักมวยปล้ำที่อายุมากที่สุดที่ได้ปล้ำเป็นคู่เอกในศึก Wrestlemania โดยอ้างอิงจาก Wrestlemania ครั้งที่ 38 คืนแรกที่เจอกับ Kevin Owen ด้วยอายุ 57 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ""Stone Cold" Steve Austin profile". WWE. สืบค้นเมื่อ May 16, 2018.
  2. Stone Cold Steve Austin. The Stone Cold Truth (p.55)
  3. 3.0 3.1 ""Stone Cold" Steve Austin bio". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ June 6, 2008.
  4. "Vince McMahon interview". Off the Record. June 1, 2004. 3 นาที. TSN. He [Austin] surpassed all of [Hulk] Hogan's records... in terms of merchandising and licensing, and pay-per-view and live events. Without question the most popular performer we've ever had.
  5. "Steve Austin". The Ross Report. ตอน 1. 19 February 2014. 9 นาที. PodcastOne. สืบค้นเมื่อ 8 April 2014. Nobody touches Austin. He did more financially – box office bottom line – than anybody in the annals of the business thus far. And certainly, others like The Rock have taken it to another level after the business, but inside the business, inside the squared circle – that 20 foot square – no-one generated more cash in the length of their WWE career.
  6. WrestleMania XXIV: WWE Hall of Fame 2008 (bonus feature) (Digital Video Disc). WWE Home Video. May 20, 2008. Austin is the biggest star in the history of the WWE. I'm so tired of saying [Hulk] Hogan's the biggest star of all time – it ends tonight.
  7. "John Cena interview". Jimmy Kimmel Live!. ฤดูกาล 7. ตอน 43. March 19, 2009. American Broadcasting Company. 'The Texas Rattlesnake' [Steve Austin], he certainly is the biggest name in the history of our business. [Asked if Austin is 'bigger than Hulk Hogan'] Austin 3:16 is the biggest marquee in the history of the WWE.
  8. Soscia, Brian (December 20, 2011). "Christmas With WWE's CM Punk 2011". Beneath The Mat. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014. Austin [is] the biggest star in the wrestling business, period. Bigger than Hulk Hogan, by a landslide.
  9. "One and only "Hall-Raiser"". WWE. สืบค้นเมื่อ 2009-02-15.
  10. Caldwell, James (October 19, 2015). "10/19 WWE Raw: Caldwell's Full Report". Pro Wrestling Torch. TDH Communications Inc. สืบค้นเมื่อ November 6, 2015.
  11. Mitchell, Houston (April 3, 2016). "Wrestlemania 32 results: Roman Reigns defeats HHH; The Undertaker defeats Shane McMahon". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 16, 2018.
  12. Campbell, Brian (January 23, 2018). "WWE Raw results, recap: New champion, Austin stuns McMahon, Taker, 'Too Sweet'". CBS News. สืบค้นเมื่อ May 16, 2018.
  13. WWE.com Staff (March 8, 2022). ""Stone Cold" Steve Austin to confront Kevin Owens on "The KO Show" at WrestleMania". WWE (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2022. สืบค้นเมื่อ March 8, 2022.
  14. "Steve Austin Says He's Lucky To Finish His Career In Dallas, Praises The WWE Universe | Fightful News". www.fightful.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  15. Bluth, Michael (December 5, 2013). "STEVE AUSTIN ANNOUNCES NEW "BROKEN SKULL RANCH CHALLENGE" REALITY SHOW". Sescoops.com. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
  16. Caldwell, James (May 7, 2014). "AUSTIN NEWS: Premiere date for Steve Austin's new reality competition show on CMT". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ May 10, 2014.
  17. "PWI Award: Feud of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 99. 2012.
  18. "PWI Award: Match of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 98. 2012.
  19. "PWI Award: Most hated wrestler of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 101. 2012.
  20. "PWI Award: Most popular wrestler of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 100. 2012.
  21. "PWI Award: Rookie of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 104. 2012.
  22. "PWI Award: Wrestler of the year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 96. 2012.
  23. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 1998". Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  24. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 1999". Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
  25. "PROFESSIONAL WRESTLING HALL OF FAME MOVING FROM UPSTATE NEW YORK TO TEXAS". PWInsider. November 20, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  26. Duncan, Royal. "TWF Tag Team Championship history". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  27. Duncan, Royal. "World Television Championship history". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  28. "United States Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  29. Duncan, Royal. "WCW World Tag Team Championship history". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  30. "NWA World Tag Team Title". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22.
  31. "สำเนาที่เก็บถาวร". February 19, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-19. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  32. "WWE World Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  33. "Intercontinental Championship history". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17.
  34. "WWE World Tag Team Championship". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.
  35. "Million Dollar Championship history". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  36. Duncan, Royal. "King of the Ring winners". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  37. Duncan, Royal. "Royal Rumble winners". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]