ข้ามไปเนื้อหา

แรนดี ออร์ตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แรนดี ออร์ตัน
ชื่อเกิดRandal Keith Orton
เกิด (1980-04-01) เมษายน 1, 1980 (44 ปี)
Knoxville, Tennessee, United States
ที่พักSt. Charles, Missouri, United States
คู่สมรสSamantha Speno
(สมรส 2007; หย่า 2013)

Kimberly Kessler
(สมรส 2015)
บุตร2
ครอบครัวBob Orton Jr. (father)
Barry Orton (uncle)
Bob Orton Sr. (grandfather)
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนRandy Orton
ส่วนสูง6 ft 5 in (1.96 m)[1]
น้ำหนัก290 lb (130 kg)[1]
มาจากSt. Louis, Missouri[1]
ฝึกหัดโดยBob Orton Jr.
Dave Finlay
Mid Missouri Wrestling Alliance
Ohio Valley Wrestling[2]
South Broadway Athletic Club[2]
เปิดตัวMarch 18, 2000[3]

แรนแดล คีธ ออร์ตัน (Randal Keith Orton; 1 เมษายน ค.ศ. 1980)[4][5][6] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงชาวอเมริกันที่ปัจจุบันเซ็นสัญญาปล้ำกับWWEในนามที่รู้จักกันดี แรนดี ออร์ตัน (Randy Orton) เจ้าของท่าไม้ตายชื่อดังอย่าง RKO[1] เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่ 3 ต่อจากปู่ บ๊อบ ออร์ตัน ซีเนียร์ และพ่อ บ๊อบ ออร์ตัน จูเนียร์ ซึ่ง 2 รุ่นก่อนหน้าก็ประสบความสำเร็จมามากมาย[5][7]

ออร์ตันมีชื่อเสียงโด่งดังจากการคว้าแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุดของ WWE โดยการเอาชนะนักมวยปล้ำจอมเทคนิคอย่างคริส เบนวา ด้วยอายุเพียง 24 ปี 4 เดือน 15 วันในปี 2004 และยังคงไม่มีใครทำลายสถิตินี้ได้จนถึงทุกวันนี้[8][9]

ชีวิตวัยเยาว์

[แก้]

ออร์ตันเกิดใน น็อกซ์วิลล์, รัฐเทนเนสซี[6] เป็นลูกชายของ บ๊อบ ออร์ตัน จูเนียร์ และภรรยาของเขาเอเลน เขาเป็นหลานชายของ บ๊อบ ออร์ตัน ซีเนียร์ และหลานชายของนักมวยปล้ำที่หันมาเป็นนักดนตรี แบร์รี ออร์ตัน[10] เขามีน้องสองคน เนท และรีเบคก้า.[11] รู้ว่าจากประสบการณ์ความยากลำบากของชีวิตในฐานะที่เป็นนักมวยปล้ำอาชีพผู้ปกครองออร์ตันพยายามที่จะโน้มน้าวให้เขาอยู่ห่างจากธุรกิจ[5] และพ่อของเขาเตือนเขาว่าชีวิตในเวทีความหมายชีวิตบนถนนและห่างจากครอบครัว ออร์ตันเข้าร่วมโรงเรียนมัธยม Hazelwood Central ที่เขาเป็นนักมวยปล้ำสมัครเล่น

อาชีพทหาร

[แก้]

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1998 ออร์ตันกับการฝึกทหารนาวิกโยธินสหรัฐ ตรงฐานที่เขาได้รับการปลดประจำการความประพฤติที่ไม่ดี ในปีต่อมาหลังจากที่ไป UA อยู่สองครั้งและไม่เชื่อฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา[12] ภายใต้รหัสเครื่องแบบทหารผู้พิพากษาภาคเอกชนชั้นแรกออร์ตันได้รับการพยายามตัดสินภายใต้ศาลทหารพิเศษภายหลังการใช้เวลา 38 วันในคุกทหาร

มวยปล้ำอาชีพ

[แก้]

การฝึกอบรม

[แก้]

ออร์ตันเปิดตัวในวงการมวยปล้ำครั้งแรกในปี 2000 กับ Mid-Missouri Wrestling Association-Southern Illinois Conference Wrestling (MMWA-SICW) ที่เซนต์หลุยส์, หน่อของประวัติศาสตร์ St. Louis Wrestling Club นำโดย แซม มัชนิก[3] ที่นั่นเขาได้รับการฝึกฝนโดยทั้งสองสมาคมและพ่อของเขา "คาวบอย" บ๊อบ ออร์ตัน เขาปล้ำอยู่หนึ่งเดือนร่วมกับนักมวยปล้ำเช่น Ace Strange และ Mark Bland[13][3][13] ออร์ตันยังเป็นกรรมการการแข่งขันไม่กี่ครั้งกับ World Organized Wrestling ค่ายที่อาของเขา แบร์รี ออร์ตัน ทำงานอยู่[2] ในปี 2001 ออร์ตันได้เซ็นสัญญากับเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์(WWE) และได้ฝึกมวยปล้ำสมาคมโอไฮโอแวลลีย์เรสต์ลิง คว้าแชมป์ฮาร์ดคอร์ OVW 2 สมัย[14]

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (2002–ปัจจุบัน)

[แก้]

แชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด

[แก้]
คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทที่อายุน้อยที่สุดในซัมเมอร์สแลม 2004 ด้วยวัยเพียง 24 ปี 4 เดือน 15 วัน

ออร์ตันได้มีโอกาสมาอยู่ WWF/E และเปิดตัวครั้งแรกในสแมคดาวน์ วันที่ 25 เมษายน 2002 โดยการเจอกับฮาร์ดคอร์ ฮอลลี[15] ซึ่งก็ได้การตอบรับจากคนดูได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ต่อมาในเดือนกันยายน ออร์ตันได้ถูกย้ายมาที่รอว์ และได้เอาชนะสตีเวน รีชาร์ด เป็นการเปิดตัวของเขาครั้งแรกในรอว์[16][17] นอกจากนี้ออร์ตันยังได้ร่วมกลุ่มกับเอฟโวลูชั่น ซึ่งมีทริปเปิลเอช, ริก แฟลร์ และบาทิสตา อยู่ด้วย หลังจากนั้นออร์ตันก็โด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล[18][19] โดยการเอาชนะร็อบ แวน แดมได้ในอาร์มาเกดดอน 2003[20] และยังได้ปราบนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานหลายคน อาทิ เช่น ฮาร์ลีย์ เรซ, ชอว์น ไมเคิลส์, มิค โฟลีย์, จ่าสลอจเตอร์ และอีกมากมาย[21] ในซัมเมอร์สแลม 2004 ออร์ตันได้เอาชนะคริส เบนวา และเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทที่อายุน้อยที่สุด[22][23] ซึ่งชัยชนะครั้งนี้ของออร์ตัน ทำให้ทริปเปิลเอช หัวหน้ากลุ่มเอฟโวลูชั่น เกิดความอิจฉา เพราะตนก็กำลังพยายามไล่ล่าเข็มขัดแชมป์เส้นนี้กลับมาหลังจากที่เสียไปให้เบนวาในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ออร์ตันจึงถูกหักหลังและต้องออกจากกลุ่มเอฟโวลูชั่น ทำให้กลายเป็นฝ่ายธรรมะ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[24] แต่ในอันฟอร์กิฟเว่น 2004 ทริปเปิลเอชก็กระชากแชมป์จากออร์ตันไปได้[25]

นักฆ่าตำนานและเรท-อาร์เคโอ

[แก้]
แชมป์โลกแท็กทีมร่วมกับเอดจ์ในนามเรท-อาร์เคโอ

ออร์ตันได้กลับมาเป็นฝ่ายอธรรมอีกครั้งในบทบาทนักฆ่าตำนานในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ออร์ตันได้ปะทะกับสุดยอดนักมวยปล้ำระดับตำนาน และเจ้าของสถิติไม่แพ้ใครในเรสเซิลเมเนีย อย่าง ดิอันเดอร์เทเกอร์ แต่ออร์ตันก็ไม่สามารถทำลายสถิติไม่แพ้ใครในเรสเซิลเมเนียของอันเดอร์เทเกอร์ลงได้[26][27][28] จากนั้นออร์ตันก็ลอบทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ตลอดเวลา และท้าเจอกันในอาร์มาเกดดอน 2005 ในแมตช์เฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์ แต่สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายแพ้[29] แต่ออร์ตันก็ยังคงโชว์ฝีมือได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการไล่ล่าตำนานคนต่อๆไปอย่าง ฮอง โฮแกน, ร็อดดี ไพเพอร์ และอาจารย์เก่าอย่าง ริก แฟลร์ ซึ่งออร์ตันก็สามารถเล่นงานได้หมดทุกคน และในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ออร์ตันได้ปะทะกับเคิร์ต แองเกิล และเรย์ มิสเตริโอ 3 เส้า ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท[30] สุดท้ายเรย์จัดการออร์ตันด้วยท่า 619 คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไป[31] ในปลายปี 2006 ออร์ตันได้มีโอกาสจับคู่กับเอดจ์ ในนามเรท-อาร์เคโอ เปิดศึกกับดี-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิลเอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์) ซึ่งผลัดแพ้ผลั���ชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ทริปเปิลเอชเจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน นอกจากนี้ออร์ตันก็สามารถคว้าแชมป์โลกแท็กทีมคู่กับเอดจ์[32][33][34] จากการเอาชนะนักมวยปล้ำระดับตำนานอย่าง ริก แฟลร์ และร็อดดี ไพเพอร์ อีกด้วย แต่ก็เสียแชมป์ให้กับจอห์น ซีนาและชอว์น หลังจากนั้นก็แตกทีมกัน[35]

แชมป์ WWEในปี2008

ออร์ตันพยายามไล่ล่าแชมป์ WWEจากจอห์น ซีนา ถึงขั้นไปทำร้ายพ่อของซีนาด้วย[36] แต่ออร์ตันก็ไม่ได้แชมป์เพราะซีนาให้พ่อของเขามาเตะหัวออร์ตัน จนกระทั่งต่อมาซีนาได้รับบาดเจ็บจึงต้องสละแชมป์ให้กับออร์ตันในโนเมอร์ซี 2007 ซึ่งคืนนั้น ทริปเปิลเอช ลูกพี่เก่าได้มาท้าชิงแชมป์กับเขาและเสียแชมป์ไป แต่ออร์ตันก็คว้าแชมป์กลับมาได้ในคืนเดียวกันในแมตช์ Last Man Standing ใครล้มลงนอนกับพื้นแล้วถูกกรรมการนับสิบจะเป็นฝ่ายแพ้[37][38] ในแบคแลช (2008) ทริปเปิลเอชได้กลับมากระชากแชมป์จากออร์ตันแบบ Fatal-4-Way Elimination Match (4 เส้าแพ้คัดออกเหลือคนสุดท้ายเป็นผู้ชนะ)[39] ในจัดจ์เมนท์เดย์ (2008) ออร์ตันขอท้าชิงแชมป์กับทริปเปิลเอชในกรงเหล็ก แต่ไม่สามารถคว้าแชมป์คืนได้[40] และเจอกันอีกครั้งในวันไนท์สแตนด์ (2008)แบบ Last Man Standing แต่ครั้งนี้ออร์ตันแพ้และทำให้ต้องพักไปหลายเดือนเลยทีเดียว[41] เมื่อออร์ตันกลับมาก็ได้ลอบทำร้ายนักมวยปล้ำทุกคนที่ขวางหน้า เช่น ซีเอ็ม พังก์, บาทิสตา และตระกูลแม็กแมน เจ้าของธุรกิจ WWE ต่อมาออร์ตันได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล (2009) ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลก[42] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 ทริปเปิลเอชซึ่งเป็นลูกเขยของตระกูลแม็กแมนรอคอยการแก้แค้นให้พ่อตาจึงท้าให้ออร์ตันชิงแชมป์กับเขาในเรสเซิลเมเนีย ผลสรุปคือทริปเปิลเอชได้จัดการออร์ตัน ด้วยค้อนปอนด์ และท่าไม้ตาย Pegdigree ทำให้ออร์ตันแพ้อย่างหมดรูปและไม่สามารถเอาแชมป์คืนมาได้[43][44]

เดอะเลกาซีและแชมป์โลกหลายสมัย

[แก้]
เดอะเลกาซี: ออร์ตัน, เท็ด ดีบีอาซี(ขวา) และโคดี โรดส์(ซ้าย)

ในแบคแลช (2009)ออร์ตันมีโอกาสชิงแชมป์ WWE อีกครั้งแบบแท็กทีม 6 คนโดยจับคู่กับเดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และเท็ด ดิบิอาซี่) เจอทริปเปิลเอช, บาทิสตา และเชน แม็กแมน ผลปรากฏว่าออร์ตันเล่นงานทริปเปิลเอชด้วยท่า RKO และพั้นซ์คิก คว้าแชมป์กลับมาครองได้[45] หลังจากนั้นออร์ตันเสียแชมป์ให้ซีนา และก็โทษโคดีและเท็ดที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เขาแพ้ต่อซีนาถึง 3 ครั้ง ในรอยัลรัมเบิล (2010)ออร์ตันได้ชิงแชมป์ WWE กับเชมัส นักมวยปล้ำหน้าใหม่และเป็นแชมป์ในตอนนั้น ผลปรากฏว่าโคดีมาลอบทำร้ายเชมัส ทำให้ออร์ตันแพ้ฟาล์ว[46][47] ต่อมาเลกาซีก็ได้แตกกลุ่มและเจอกันแบบ 3 เส้าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 ผลปรากฏว่าออร์ตันจัดการทั้งโคดีและเท็ดเอาชนะไปได้ และกลับมาเป็นฝ่ายธรรมะ[48] ออร์ตันได้ขอท้าชิงแชมป์ WWE กับเชมัสในซัมเมอร์สแลม (2010)[49] ผลปรากฏว่าออร์ตันชนะฟาล์วไม่ได้แชมป์[50] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010)ออร์ตันชนะ 6 เส้าคว้าแชมป์ WWE กลับมาได้[51] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2010)ต้องป้องกันแชมป์กับหัวหน้าเดอะเน็กซัส เวด บาร์เร็ตต์โดยมีจอห์น ซีนาเป็นกรรมการพิเศษ ผลปรากฏว่าออร์ตันเป็นฝ่ายป้องกันแชมป์ได้[52][53] ในรอว์ 22 พฤศจิกายน 2010 หลังจากที่ออร์ตันป้องกันแชมป์ WWE กับบาร์เร็ตต์ได้ โดยการช่วยเหลือของจอห์น ซีนา แต่ว่าหลังจากจบแมตซ์ เดอะมิซได้ใช้สิทธิ์กระเป๋า Money In The Bank และกระชากแชมป์ไปจากออร์ตัน[54] ในทีแอลซี (2010)ได้แพ้ชิงแชมป์กับเดอะมิซในรูปแบบจับฟาดใส่โต๊ะ[55]

ออร์ตันชนะ 3 เส้า ทำให้ได้เป็นผู้ท้าชิงแชมป์ WWE กับมิซในรอยัลรัมเบิล (2011)แต่ไม่สามารถคว้าแชมป์คืนได้เพราะกลุ่มเดอะนิวเน็กซัสของซีเอ็ม พังก์มาก่อกวนออร์ตันจนแพ้ให้กับมิซ[56] จากนั้นได้เปิดศึกกับซีเอ็ม พังก์ท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27และออร์ตันเป็นฝ่ายชนะ[57] ออร์ตันได้ย้ายไปอยู่สแมคดาวน์จากการดราฟท์ 25 เมษายน ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011)เอาชนะพังก์ได้แบบลาสแมนสแตนดิ้ง เป็นชัยชนะครั้งที่2 ติดต่อกัน[58] 2 วันต่อมาในสแมคดาวน์ ออร์ตันได้คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากคริสเตียนเป็นสมัยที่ 8[59] ในโอเวอร์ เดอะ ลิมิต (2011)ป้องกันแชมป์กับคริสเตียนเอาไว้ได้[60] หลังจากที่ออร์ตันป้องกันแชมป์โดยมีคริสเตียนเป็นกรรมการพิเศษ คริสเตียนได้เอาเข็มขัดแชมป์ฟาดใส่หัวออร์ตัน ในแคปิเทล พูนิชเมนท์ป้องกันแชมป์กับคริสเตียนได้อีกครั้งโดยขาคริสเตียนลอดเชือก[61] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2011)ต้องป้องกันแชมป์กับคริสเตียนโดยถ้าออร์ตันทำผิดกฎิตา เข็มขัดจะตกเป็นของคริสเตียนทันที[62] สุดท้ายออร์ตันก็ทำโดยการเตะผ่าหมากของคริสเตียน จนถูกปรับแพ้ฟาล์วและเสียแชมป์ให้คริสเตียน[63] หลังแมตช์ออร์ตันคลั่งกระทืบคริสเตียนเละก่อนจะ RKO บนโต๊ะผู้บรรยาย แล้วก็เดินกลับไป แต่เปลี่ยนใจย้อนกลับมา RKO บนโต๊ะซ้ำอีกรอบจนคริสเตียน กลายเป็นแชมป์แบบอนาถ ถูกหิ้วปีกออกจากสนาม ในซัมเมอร์สแลม (2011)ออร์ตันสามารถเอาชนะคริสเตียนแบบไม่มีกฎกติกา คว้าแชมป์โลกสมัยที่ 9 ได้สำเร็จ[64] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011)เสียแชมป์ให้กับมาร์ก เฮนรี[65]

แชมป์ WWEในปี2013

ออร์ตันได้เปิดศึกกับเวด บาร์เร็ตต์ ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011)ออร์ตันได้เป็นกัปตันทีมแมตช์ประเพณี 5 ต่อ 5 คัดออก แพ้ให้ทีมบาร์เร็ตต์[66] ในศึก ทีแอลซี (2011) ออร์ตันได้เอาชนะบาร์เร็ตต์ไปได้ในรูปแบบจับฟาดใส่โต๊ะ โดยออร์ตันใส่ท่า RKO เล่นงานบาร์เร็ตต์กับโต๊ะ[67] ในสแมคดาวน์ส่งท้ายปี 2011 ออร์ตันได้เจอกับบาร์เร็ตต์แบบจับกดที่ไหนก็ได้ สุดท้ายออร์ตันถูกบาร์เร็ตต์เหวี่ยงตกบันได[68] ในสแมคดาวน์ 27 มกราคม ออร์ตันได้กลับมาเล่นงานบาร์เร็ตต์ จนกรรมการและนักมวยปล้ำคนอื่นๆ ต้องออกมาช่วยห้ามแต่เหล่านักมวยปล้ำที่เข้ามาห้ามนั้นก็โดน RKO จนหมด[69] ในสแมคดาวน์ 3 กุมภาพันธ์ เอาชนะบาร์เร็ตต์ไปแบบไม่มีการจับแพ้ฟาล์วล้างแค้นได้สำเร็จ[70] ออร์ตันได้ร่วมปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012)ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่ออร์ตันได้รับบาดเจ็บจนมีอาการกระทบกระเทือนทางสมองจากการถูกแดเนียล ไบรอันทำร้าย ทำให้หมดสิทธิ์[71] ในสแมคดาวน์ 2 มีนาคม ออร์ตันได้หายเจ็บกลับมาเจอไบรอันเป็นการล้างแค้น สุดท้ายไม่มีผลตัดสิน เพราะเคนออกมาไล่อัดออร์ตันก่อนจับใส่โชคสแล��� แล้วเอาไมค์มากล่าวยินดีต้อนรับออร์ตันที่หายบาดเจ็บกลับมา[72] ในรอว์ 5 มีนาคม ออร์ตันได้เอาคืนเคนด้วยท่า RKO[73] ทั้งคู่ได้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28โดยออร์ตันแพ้ ก่อนจะล้างแค้นไปได้ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2012)แบบจับกดที่ไหนก็ได้[74] ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2012)ได้ปล้ำ 4 เส้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับเชมัส, คริส เจริโค, และอัลเบร์โต เดล รีโอ แต่ไม่ได้แชมป์[75]

วันที่ 30 พฤษภาคม 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศสั่งแบนออร์ตันเป็นเวลา 60 วัน จากการไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเป็นครั้งที่2 หากมีครั้งที่3 ก็จะถูกไล่ออก[76] ออร์ตันพ้นโทษแบนกลับมาในรอว์ 30 กรกฎาคม ชนะฮีท สเลเตอร์[77] ในสแมคดาวน์ 24 สิงหาคม แพ้ให้อัลเบร์โต เดล รีโอ ในการหาผู้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทอันดับ 1[78] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012)เอาชนะดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ไปได้[79] ในสแมคดาวน์ 28 กันยายน ออร์ตันได้ถูกเดล รีโอลอบทำร้ายหลังจากแพ้บิ๊กโชว์ในการหาผู้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท[80] เป็นบทให้หายจากการปล้ำเพื่อไปแสดงภาพยนตร์เรื่อง 12 Rounds Reloaded[81] ในสแมคดาวน์ 12 ตุลาคม ออร์ตันได้มาล้างแค้นเดล รีโอ แล้วจะจัดการ RKO อัดกับโต๊ะผู้บรรยาย แต่เดล รีโอขัดขืนหนีไปได้[82] ในเฮลอินเอเซล (2012)ชนะเดล รีโอไปได้[83] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29จับคู่กับเชมัสและบิ๊กโชว์แพ้เดอะชีลด์หลังแมตช์บิ๊กโชว์ปล่อยหมัดใส่เชมัสกับออร์ตัน[84] ในรอว์ 8 เมษายน ได้เจอกับเชมัสโดยผู้ชนะจะไปเจอกับบิ๊กโชว์ ระหว่างแมตช์บิ๊กโชว์ออกมาป่วนทำให้ไม่มีผลตัดสิน[85] ในสแมคดาวน์ 12 เมษายน จับคู่กับเชมัสเจอบิ๊กโชว์แบบแฮนดิแคป 2 รุม 1 แต่จบด้วยการเคาท์เอาท์[86] ในรอว์ 15 เมษายน จับคู่กับเชมัสเอาชนะบิ๊กโชว์ไปได้[87] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2013)เอาชนะบิ๊กโชว์ไปได้ด้วยท่าเตะกะโหลกในแมตช์เอกซ์ตรีมรูลส์[88] ในเพย์แบ็ค (2013)ได้จับคู่กับแดเนียล ไบรอันชิงแชมป์แทกทีกับเซท รอลลินส์และโรแมน เรนส์ 2สมาชิกเดอะชีลด์ แต่ไม่สำเร็จ[89]

ดิออธอริตีและแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE

[แก้]
แชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE

ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2013)ออร์ตันได้คว้ากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ทำให้มีสิทธิ์ที่จะชิงแชมป์ WWE ที่ไหน เมื่อไร เวลาใดก็ได้ เพียง 1 ครั้ง[90] ในซัมเมอร์สแลม (2013)ออร์ตันได้ใช้สิทธิ์กระเป๋าคว้าแชมป์ WWE จากแดเนียล ไบรอัน ที่เพิ่งคว้าแชมป์จากจอห์น ซีนา จากการช่วยเหลือของทริปเปิลเอชที่ใส่ Pedigree กับไบรอัน ทำให้ออร์ตันคว้าแชมป์โลกสมัยที่10 ได้สำเร็จ และกลับมาเป็นฝ่ายอธรรม[91] ในรอว์ 19 สิงหาคม 2013 มีการเฉลิมตำแหน่งแชมป์ของออร์ตัน ซึ่งมีนักมวยปล้ำทุกคนของ WWE มายืนที่เวที โดยมีเดอะชีลด์ยืนอยู่ริมเวที วินซ์, สเตฟานี แม็กแมน และทริปเปิลเอช ก็ออกมากันพร้อมหน้า (เปิดตัวกลุ่ม ดิออธอริตี) ทริปเปิลเอชประกาศแนะนำตัวออร์ตัน แชมป์ WWE คนใหม่ ออร์ตันออกมาจับมือกับครอบครัวแม็กแมน ออร์ตันบอกว่าปกติเขาไม่ชอบขอบคุณใคร แต่ครั้งนี้เขาต้องบอกว่าเขาต้องขอบคุณทริปเปิลเอชจริงๆ ทริปเปิลเอชบอกว่าเขารู้ว่าแดเนียล ไบรอันยังอยู่ในสนามแห่งนี้ ถ้าหากว่ามีปัญหาอะไรก็จงออกมาเคลียร์กันเดี๋ยวนี้ ไบรอันออกมาและจะขึ้นเวที แต่เดอะชีลด์มารุมอัดไบรอัน แต่ทริปเปิลเอชสั่งห้ามไว้ ทริปเปิลเอชบอกให้ไบรอันขึ้นมาบนเวที ไบรอันขึ้นเวทีไปปุ๊บก็โดน RKO ทันที แล้วออร์ตันกับครอบครัวแม็กแมนก็ชูมือฉลองกัน[92] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) ออร์ตันได้เสียแชมป์ให้กับไบรอัน[93] ในรอว์ 16 กันยายน ทริปเปิลเอชได้สั่งปลดแชมป์ของไบรอัน โดยบอกว่าสก็อตต์ อาร์มสตรองที่ตัดสินแมตช์ชิงแชมป์นับ 1 2 3 เร็วเกิน[94] ในแบทเทิลกราวด์ (2013) ออร์ตันได้ชิงแชมป์ WWE ที่ว่างอยู่ กับไบรอัน แต่แมตช์จบลงโดยไม่มีผลการตัดสิน เพราะบิ๊กโชว์ออกมาก่อกวนการปล้ำ[95] ทั้งคู่ก็ได้รีแมตช์ชิงแชมป์ที่ว่างอยู่กันอีกครั้งในกรงเหล็กเฮลอินเอเซล (2013) โดยมีชอว์น ไมเคิลส์เป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายคว้าแชมป์ WWE สมัยที่8[96]

ในรอว์ 25 พฤศจิกายน ออร์ตันออกมาบอกว่าพวกแกคงจะไม่คิดล่ะสิว่าชั้นคนนี้จะออกมาที่นี่ในฐานะแชมป์ WWE แต่ก็มีอยู่เรื่องหนึ่งที่คาใจ จึงขอให้ทริปเปิลเอชออกมา และออร์ตันบอกว่าทำไมต้องออกมาช่วยเขาด้วย? ก็ไหนบอกว่าไม่ต้องมีการก่อกวนไง เขาเอาชนะด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องให้ใครมาช่วย เพราะเขาคือผู้เป็นหน้าเป็นตาของ WWE เป็นแชมป์ WWE เป็นซุปเปอร์สตาร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ WWE ตลอดกาลและไม่มีใครจะมาแย่งชิงอะไรไปจากเขาได้ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท จอห์น ซีนา ออกมาบอกว่าเขานี่แหละที่จะทำได้ ขอท้าเจอออร์ตันโดยเอาแชมป์ทั้งสองเส้นเป็นเดิมพัน ทริปเปิลเอชกับสเตฟานีก็เห็นชอบด้วย และทริปเปิลเอชก็จัดแมตช์ใน TLC ให้ทั้งสองคนเจอกันและจะเอาแชมป์ทั้งสองเส้นแขวนไว้ในแมตช์โต๊ะ, บันได และเก้าอี้ (TLC Match) คืนเดียวกันออร์ตันได้จับคู่กับอัลเบร์โต เดล รีโอ แพ้จอห์น ซีนากับบิ๊กโชว์ หลังแมตช์เดล รีโอมาเล่นงานซีนา แต่โดนซีนาจับใส่ Attitude Adjustment ออร์ตันก็เอาเข็มขัด WWE ฟาดหัวซีนาและไปเอาเข็มขัดโลกเฮฟวี่เวทของซีนามาชูทั้งสองเส้นประกาศศักดา ในทีแอลซี (2013)ออร์ตันได้ชนะซีนาคว้าแชมป์ทั้งสองเส้น และกลายเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE คนแรก[97] ในรอยัลรัมเบิล (2014)ป้องกันแชมป์กับซีนาเอาไว้ได้โดยการช่วยเหลือจากเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี[98] ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2014)ต้องป้องกันแชมป์กับนักมวยปล้ำทั้ง 5 คน แต่ก็เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จ[99] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30ต้องป้องกันแชมป์ 3 เส้ากับแดเนียล ไบรอัน และผู้ชนะรอยัลรัมเบิล บาทิสตา สุดท้ายเป็นไบรอันที่ได้แชมป์[100][101]

แชมป์ยูเอส

1 วันหลังจบเรสเซิลเมเนีย 30 สเตฟานีได้ออกมาสั่งให้ออร์ตันและบาทิสตาร่วมมือกันเป็นทีม เริ่มต้นจากชิงแชมป์แท็กทีมกับดิอูโซส์ ผลออกมาเป็นดับเบิลเคาท์เอาท์ และได้สั่งให้เคน, บาทิสตา และออร์ตัน ทำร้ายไบรอันก่อนการก่อนแข่งขันจะเริ่มต้น เป็นการสร้างจุดอ่อน และทำให้ทริปเปิลเอชมีโอกาสชนะมากขึ้น จนเดอะชีลด์ได้ออกมาบนเวที และได้ช่วยไบรอันจากการกลั่นแกล้งของกลุ่มทริปเปิลเอช[102] สัปดาห์ต่อมาเดอะชิลด์ต้องปล้ำแฮนดิแคป 11 รุม 3 แต่กรรมการต้องยุติแมตช์เนื่องจากอัดกันไม่หยุด ก่อนที่ทริปเปิลเอช, ออร์ตัน และบาทิสตาจะออกมาในนามเอฟโวลูชั่น และมาจัดการอัดกลุ่มเดอะชิลด์จนหมดสภาพ ก่อนที่จะประกาศแท็กทีมระหว่างเดอะชีลด์กับเอฟโวลูชั่นในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014)โดยเอฟโวลูชั่นเป็นฝ่ายแพ้[103] ดูเหมือนว่าความแค้นของเอฟโวลูชั่นจะยังไม่จบลง เมื่อในรอว์คืนถัดมา ดีน แอมโบรสต้องป้องกันแชมป์ยูเอสในแบทเทิลรอยัลโดยเชมัสได้แชมป์ไป ก่อนที่กลุ่มเอฟโวลูชั่นตามมาทำร้ายเดอะชีลด์ในแมตช์กับไวแอ็ตต์แฟมิลี รอว์ตอนถัดมา เดอะชีลด์ได้ออกมาท้าเอฟโวลูชั่นเจอในเพย์แบ็ค ขณะที่บาทิสตาท้าขอเจอกับโรแมน เรนส์ในคู่เอกรอว์ ซึ่งในแมตช์นั้น สมาชิกที่เหลือของเดอะชีลด์และเอฟโวลูชั่นต่างก็ยืนอยู่ข้างเวที และในระหว่างแมตช์ทั้งสองฝ่ายต่างอัดกันจนกรรมการต้องยุติ สเตฟานีจึงเรียกนักมวยปล้ำคนอื่นๆ มาช่วยจัดการแต่ก็ไม่สำเร็จและยังโดนเดอะชีลด์เล่นงานคืน ในเพย์แบ็ค (2014)เอฟโวลูชั่นแพ้แบบไม่มีกฎกติกา คัดออก 3-0[104] คืนต่อมาบาทิสตาได้ขอลาออกจาก WWE คืนเดียวกันออร์ตันมีคิวเจอกับโรแมน เรนส์ ออร์ตันออกมาพร้อมกับทริปเปิลเอชที่ถือค้อนมาด้วย ทำให้เดอะชีลด์พากันไปหยิบเก้าอี้มาเตรียมไว้ ทริปเปิลเอชบอกว่าเขาก็มีแผน 2 เสมอ... ว่าแล้วรอลลินส์ก็เอาเก้าอี้ฟาดใส่เรนส์และแอมโบรส ก่อนจะยื่นเก้าอี้ให้ออร์ตันตีเรนส์กับแอมโบรสต่ออีก จากนั้นก็ RKO เรนส์ลงบนเก้าอี้ ปิดท้ายรายการโดยมีรอลลินส์ยืนอยู่กับออร์ตันและทริปเปิลเอช

ในเดือนพฤศจิกายน 2014 ออร์ตันได้ถูกกลุ่มออธอริตีหักหลังและรุมทำร้ายจนต้องหายจากการปล้ำตามเรื่องราว เพราะต้องไปแสดงภาพยนตร์เรื่อง Condemned 2: Desert Pray ก่อนจะกลับมาล้างแค้นออธอริตีในฟาสต์เลน (2015)[105] และเปิดศึกกับเซท รอลลินส์เอาชนะไปได้ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31[106] ในรอว์ 6 เมษายน ออร์ตันชนะสามเส้าได้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกกับรอลลินส์ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2015)[107] ต่อมาได้เพิ่มกติกาปล้ำในกรงเหล็ก โดยออร์ตันถูกแบนห้ามใช้ท่า RKO และเคนเป็นคนเฝ้าประตูกรง สุดท้ายรอลลินส์ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[108] ในเพย์แบ็ก (2015) ออร์ตันได้แพ้ 4 เส้าชิงแชมป์โลก[109] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2015)ออร์ตันได้ร่วมชิงกระเป๋าสิทธิ์ชิงแชมป์โลกโดยเชมัสคว้าไปได้[110] ในแบทเทิลกราวด์ (2015)ออร์ตันเอาชนะเชมัสไปได้ในบ้านเกิด เซนต์หลุยส์, มิสซูรี[111] ก่อนจะแพ้ให้เชมัสในซัมเมอร์สแลม (2015)[112] ในเดือนตุลาคม 2015 ออร์ตันได้รับบาดเจ็บที่หัวไหล่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและพักฟื้นเป็นเวลานาน[113]

เดอะไวแอ็ตต์แฟมิลีและแชมป์ยูเอส

[แก้]

7 กรกฎาคม 2016 WWE ได้ประกาศว่าออร์ตันจะกลับมาปล้ำในซัมเมอร์สแลม (2016)เจอกับบร็อก เลสเนอร์[114] 19 กรกฎาคม ออร์ตันได้ถูกดราฟท์ไปสแมคดาวน์[115] ในสแมคดาวน์ 26 กรกฎาคม ออร์ตันได้ขึ้นปล้ำครั้งแรกในรอบ 9 เดือนชนะเดอะมิซ[116] ในซัมเมอร์สแลมออร์ตันถูกเลสเนอร์อัดจนเลือดอาบ กรรมการจึงยุติแมตช์แบบ TKO[117] จากนั้นได้เปิดศึกกับเบรย์ ไวแอ็ตต์[118] ในเฮาส์โชว์ที่ชิคาโกแพ้รีแมตช์กับเลสเนอร์แบบไม่มีกฏกติกา[119][120] ในโนเมอร์ซี (2016)แพ้เบรย์จากการก่อกวนของลู้ก ฮาร์เปอร์[121] ในสแมคดาวน์ 25 ตุลาคม ระหว่างแมตช์เคนกับเบรย์ ออร์ตันได้ออกมาทำท่าจะช่วยเคน แต่กลับหักหลังเคนโดยใส่ RKO ทำให้เบรย์ชนะ ออร์ตันให้สัมภาษณ์หลังเวทีบอกว่าถ้าเอาชนะไวแอ็ตต์ไม่ได้ ก็ไปเป็นพวกมันซะเลย[122] ในทีแอลซี (2016)ออร์ตันกับเบรย์ได้คว้าแชมป์สแมคดาวน์แท็กทีม WWEจากฮีท สเลเตอร์และไรโน[123] ก่อนเสียแชมป์ให้อเมริกันอัลฟา[124] ในรอยัลรัมเบิล (2017)ออร์ตันได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิลครั้งที่2ได้สิทธิ์ชิงแชมป์ WWE ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33[125] ในสแมคดาวน์ 14 กุมภาพันธ์ หลังจากที่เบรย์ป้องกันแชมป์ WWE ได้ ออร์ตันออกมาปฏิเสธที่จะชิงแชมป์กับเบรย์ จึงมีการหาผู้ท้าชิงคนใหม่และเป็นเอเจ สไตส์ที่ได้สิทธิ์ไป แต่ในสแมคดาวน์ 28 กุมภาพันธ์ ออร์ตันได้หักหลังเบรย์โดยการเผาบ้านของเบรย์ และประกาศทวงสิทธิ์คืน[126] ทำให้ต้องมีการหาผู้ท้าชิงกับเอเจและเป็นออร์ตันที่ได้สิทธิ์คืน[127] ในเรสเซิลเมเนียออร์ตันคว้าแชมป์โลกเป็นสมัยที่13[128][129]

ในเพย์แบ็ก (2017)แพ้เบรย์ในกติกา "House of Horrors" จากการก่อกวนของจินเดอร์ มาฮาลซึ่งเป็นผู้ท้าชิงอันดับ1กับออร์ตัน และเป็นการจบเรื่องราวกับเบรย์[130] ในแบ็กแลช (2017)เสียแชมป์ให้มาฮาลและพลาดการชิงคืนในมันนีอินเดอะแบงก์ (2017)[131][132] ในแบทเทิลกราวด์ (2017)แพ้ชิงแชมป์กับมาฮาลในกติกาปัญจาบพริซันแมตช์(แมตช์กรงไม้ไผ่)[133] ในฟาสต์เลน (2018)ได้คว้าแชมป์ยูเอสทำให้เป็นแชมป์แกรนด์สแลมคนที่18[134] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34เสียแชมป์ให้มาฮาลแบบ4เส้า[135] 2วันต่อมาออร์ตันได้ชนะแมตช์หาผู้ท้าชิงแชมป์ยูเอสกับมาฮาล[136] ทว่ามาฮาลเสียแชมป์ให้เจฟฟ์ ฮาร์ดีซะก่อน[137] ทำให้ออร์ตันได้ชิงกับเจฟฟ์ในแบ็กแลช (2018)แต่ไม่สำเร็จ[138] ก่อนจะพักเข้ารับการผ่าตัดหัวเข่า[139] ออร์ตันได้ปรากฏตัวในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2018)โดยออกมาทำร้ายเจฟฟ์ ฮาร์ดีหลังจากเสียแชมป์ยูเอสให้ชินซูเกะ นากามูระทำให้ออร์ตันกลับมาเป็นฝ่ายอธรรม[140] ต้นปี 2019 ได้เปิดศึกกับเอเจ สไตส์และได้แพ้ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 35[141] ในช่วงเดือนสิงหาคม 2019 ออร์ตันได้เปิดศึกท้าชิงแชมป์ WWE กับโคฟี คิงส์ตันถึง 2 ครั้งแต่ไม่สามารถคว้าได้ ก่อนจะถูกดราฟท์ไปอยู่รอว์หลังจากที่อยู่สแมคดาวน์มานานกว่า 3 ปี ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 36แพ้ให้กับอดีตคู่แท็กทีมอย่างเอดจ์ในกติกา Last Man Standing match ก่อนจะคว้าชัยคืนได้ใน Greatest Wrestling Match Ever ที่ศึก Backlash 2020[142] ในเดือนสิงหาคม 2020 ได้เปิดศึกชิงแชมป์ WWE กับดรูว์ แม็กอินไทร์แต่ก็พลาดทั้ง SummerSlam[143] และ Clash of Champions(ในกติกาจับใส่รถพยาบาล Ambulance Match)[144] แต่ใน Hell in a Cell ออร์ตันก็สามารถคว้าแชมป์ WWE ได้อีกครั้งเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 14 ก่อนเสียคืนให้ดรูว์[145]

อาร์เค-โบร

[แก้]

ในปลายปี 2020 ออร์ตันได้เปิดศึกกับ The Fiend และท้าเจอในกติกา Firefly Inferno Match หรือเผาทั้งเป็นโดยออร์ตันเป็นฝ่ายชนะโดยการราดน้ำมันและจุดไฟเผาร่าง Fiend[146] ก่อนที่ Fiend จะกลับมาในสภาพไหม้เกรียม[147] และมีแมตช์กันอีกครั้งในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 37แต่ออร์ตันก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้อีกครั้ง[148][149] ต่อมาได้มาร่วมทีมกับแมต ริดเดิลในนาม Rk-Bro และคว้าแชมป์รอว์แท็กทีม WWEร่วมกันได้ใน SummerSlam 2021 ก่อนเสียให้ Alpha Academy (โอทิส และ แชด เกเบิล) หลังครองได้ 142 วัน[150] และชิงคืนได้เป็นสมัยที่ 2[151][152] ก่อนเสียให้ดิอูโซส์ในการรวมแชมป์แท็กทีม และต้องเข้ารับการผ่าตัดพักการปล้ำเป็นเวลานาน[153]

ออร์ตันได้กลับมาปล้ำอีกครั้งในรอบ 18 เดือนโดยร่วมปล้ำวอร์เกมส์ในศึกเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ 25 พฤศจิกายน 2023[154] ก่อนที่จะเซ็นสัญญาเป็นนักมวยปล้ำสังกัดค่ายสแมคดาวน์เพื่อล้างแค้นสมาชิกกลุ่มบลัดไลน์ที่ทำให้เขาบาดเจ็บจนต้องพักปล้ำไปนาน[155] ในรอยัลรัมเบิล 2024 ออร์ตันได้ร่วมชิงแชมป์โลกสี่เส้ากับโรแมนเรนส์, เอเจสไตลส์และแอลเอไนท์แต่ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ที่ออสเตรเลียออร์ตันได้ร่วมปล้ำในกรงแชมเบอร์เพื่อสิทธิ์ชิงแชมป์โลกเฮวีเวตในเรสเซิลเมเนีย 40 โดยออร์ตันสามารถอยู่จนถึงสองคนสุดท้ายกับดรูว์ แม็กอินไทร์แต่โดนโลแกน พอลเจ้าของแชมป์ยูเอสเอาสนับมือชกหน้าสลบจนถูกดรูว์จับกดแพ้ไป ทำให้ออร์ตันแค้นมากจึงท้าโลแกนพอลในการชิงแชมป์ยูเอสในเรสเซิลเมเนียโดยมีเควิน โอเวนส์ร่วมปล้ำเป็นสามเส้าแต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2005 ออร์ตันประกาศหมั้นกับแฟนสาวของเขา Samantha Speno[156] ทั้งคู่แต่งงานกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2007[157][158] ลูกคนแรกของพวกเขา Alanna Marie Orton เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2008[159][160][161] ในมิถุนายน 2013 ออร์ตัน และภรรยาได้หย่าร้างกัน หลังจากที่แยกกันอยู่เมื่อปี 2012[162]

ออร์ตันทนทุกข์ทรมานจากไหล่ hypermobile[163] เขามีรอยสักที่นาวิกโยธินสหรัฐสักไว้บนแขนซ้ายของเขา แต่ครอบคลุมมันขึ้นมาหลังจากที่ได้รับการปลดประจำการความประพฤติที่ไม่ดีเมื่อเขาไปแหกคุกครั้งที่สอง เขาถูกส่งกลับบ้านหลังจากที่ใช้ชีวิต 38 วันในคุกทหารที่ค่าย Pendleton

เมื่อถูกล้างทางการแพทย์ที่จะต่อสู้หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกไหปลาร้าของเขา ในแมตช์ที่เจอกับ ทริปเปิลเอช, ออร์ตันได้รับบาดเจ็บกระดูกไหปลาร้าอีกครั้งจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์[164][165] เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2013 เขาถูกทำร้ายโดยแฟนมวยปล้ำคนหนึ่งในเคปทาวน์ในระหว่างการทัวร์ของ WWE ที่แอฟริกาใต้ WWE ระบุว่าการทำร้ายไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบทที่วางแผนไว้[166]

เพลงเปิดตัว

[แก้]
  • "Voices" ขับร้องโดยวง Rev Theory (เพลงเปิดตัวของออร์ตันในปัจจุบัน)
  • "This Fire Burns" ขับร้องโดยวง Killswitch Engage (ออร์ตันใช้เพลงเปิดตัวเพลงนี้เพียงแค่อาทิตย์เดียวเท่านั้น ปัจจุบันได้กลายไปเป็นเพลงเปิดตัวของซีเอ็ม พังก์)
  • "Burn in My Light" ขับร้องโดยวง Mercy Drive (เป็นเพลงที่ออร์ตันใช้เปิดตัวเมื่ออกจากกลุ่ม เอฟโวลูชัน ซึ่งภายหลังออร์ตันได้ออกมาเผยว่าเกลียดเพลงนี้มากๆ และทนใช้เพลงเปิดตัวนี้มานานถึง 4 ปี)
  • "Line in the Sand" ขับร้องโดยวง Motörhead (เป็นเพลงที่ออร์ตันใช้เปิดตัวสมัยอยู่ในกลุ่ม เอฟโวลูชั่น และเป็นเพลงเปิดตัวเพลงที่ 2 ของกลุ่มด้วยเช่นกัน)
  • "Evolve" โดย Jim Johnston (เป็นเพลงเปิดตัวเพลงแรกของกลุ่ม เอฟโวลูชั่น)
  • "Blasting'" (เพลงเปิดตัวเพลงแรกของออร์ตันนับตั้งแต่ย่างก้าวเข้ามาใน WWE)

ผลงานอื่น

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
Year Title Role
2011 That's What I Am Ed Freel
2013 12 Rounds 2: Reloaded Nick Malloy
2015 The Condemned 2 Will Tanner
2016 Countdown Himself
2019 Flarsky TBA
2019 Changeland Martin

โทรทัศน์

[แก้]
Year Title Role
2007 Deal or No Deal Himself
2016 Shooter James Richards
2018 The Thundermans Nick Thunderman

แชมป์และรางวัล

[แก้]
แชมป์โลก 14 สมัย (แชมป์ WWE 10 สมัย และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท 4 สมัย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Randy Orton bio". WWE. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Randy Orton bio". Online World of Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-04. สืบค้นเมื่อ July 16, 2008.
  3. 3.0 3.1 3.2 "MMWA-SICW Archive — March 18, 2000 results". Mid-Missouri Wrestling Association-Southern Illinois Conference Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-10. สืบค้นเมื่อ August 14, 2007.
  4. "How old is WWE star Randy Orton?". ProWrestling.net. April 1, 2015. สืบค้นเมื่อ November 19, 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 Oliver, Greg (2007). The Pro Wrestling Hall of Fame: The Heels. ECW Press. p. 205. ISBN 1-55022-759-9.
  6. 6.0 6.1 Milner, John; Richard Kamchen (October 7, 2004). "Slam! Sports biography". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  7. WWE: The Most Powerful Families in Wrestling (DVD). WWE Home Video. 2007.
  8. WWE.com: Retired Championships เก็บถาวร 2016-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "World Heavyweight Title (W.W.E. Smackdown!)". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  10. Before They Were WWE Superstars 2 (DVD). WWE Home Video. 2003.
  11. "Randy Orton basic facts". Randy-Orton.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-31. สืบค้นเมื่อ January 25, 2009.
  12. Zack Zeigler. "Orton's tattoo secrets". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ October 11, 2007.
  13. 13.0 13.1 "MMWA-SICW archives — April 22, 2000". Mid-Missouri Wrestling Association-Southern Illinois Conference Wrestling. April 22, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008.
  14. 14.0 14.1 "OVW Hardcore Championship (retired)". Ohio Valley Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2011. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
  15. "SmackDown! results — April 25, 2002". PWWEW.net. April 25, 2002. สืบค้นเมื่อ March 1, 2008.
  16. "Raw results — September 23, 2002". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008.
  17. "Raw results — September 23, 2002". PWWEW.net. September 23, 2002. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008.
  18. 18.0 18.1 "Inside WWE Title History Intercontinental 20031214 – Randy Orton". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-29. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  19. "W.W.F./W.W.E. Intercontinental Heavyweight Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  20. Tywalk, Nick (December 14, 2003). "WWE Armageddon a flop". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  21. "World Heavyweight Title (W.W.E. Smackdown!)". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  22. 22.0 22.1 "History Of The World Heavyweight Championship — Randy Orton". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-20. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  23. Clevett, Jason (August 16, 2004). "Orton-Benoit, Guerrero-Angle save SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ November 18, 2009. Benoit left the ring and then returned and extended his hand saying, "Be a man." The two shook hands
  24. "Raw results — August 16, 2004". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 11, 2007.
  25. Martin, Finn (September 22, 2004). "Power Slam Magazine, issue 123". Panic Stations! (Unforgiven 2004). SW Publishing. pp. 24–25.
  26. "Raw results — February 28, 2005". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ August 6, 2007.
  27. "SmackDown results — March 17, 2005". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007.
  28. "Raw results — March 28, 2005". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007. Randy Orton says his undefeated streak started last year and years from now people will talk about HIM! The lights suddenly went out and a very impressive video played chronicling all of Undertaker's victims! Randy Orton fled the ring in fear after all four corner posts caught on fire..
  29. "SmackDown results — December 9, 2005". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007.
  30. Sokol, Chris (February 20, 2006). "Main events salvage No Way Out". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.[ลิงก์เสีย]
  31. Hurley, Oliver (April 20, 2006). "Power Slam Magazine, issue 142". WrestleMania In Person (WrestleMania 22). SW Publishing. pp. 16–19.
  32. "W.W.W.F./W.W.F./W.W.E. World Tag Team Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  33. Elliott, Brian (November 6, 2006). "K-Fed costs Cena at Cyber Sunday". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ January 17, 2008.
  34. 34.0 34.1 "History Of The World Tag Team Title — Edge & Randy Orton". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2007. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  35. "W.W.W.F./W.W.F./W.W.E. World Tag Team Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  36. "Orton attacks Cena, go to 0:25 to hear J.R calling him a Viper".
  37. 37.0 37.1 "History of the WWE Championship". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ August 10, 2007.
  38. WWE (9 March 2016). "5 youngest WWE World Heavyweight Champions: 5 Things" – โดยทาง YouTube.
  39. Keller, Wade (April 27, 2008). "Keller's WWE Backlash PPV Report 4/27: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV event". PW Torch. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009.
  40. Kapur, Bob (May 18, 2008). "Judgment Day spoils streak of good shows". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009.
  41. Tello, Craig (June 1, 2008). "Orton suffers broken collarbone". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 2, 2008.
  42. Plummer, Dale (January 26, 2009). "Orton triumphs, Cena survives, Hardy falls at Royal Rumble". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  43. "Full WrestleMania XXV results". WWE. สืบค้นเมื่อ April 19, 2013.
  44. Plummer, Dave (April 6, 2009). "Wrestlemania 25: HBK steals the show". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ April 6, 2009.
  45. Sitterson, Aubrey (April 26, 2009). "Punter's quarry". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 26, 2009.
  46. Plummer, Dale (January 11, 2010). "Raw: Iron Mike and DX reunite". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010.
  47. Plummer, Dale; Tylwalk, Nick (February 1, 2010). "The 2010 Royal Rumble is Rated R in Atlanta". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010.
  48. Martin, Adam (March 28, 2010). "Wrestlemania 26 Results – 3/28/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  49. Bishop, Matt (July 19, 2010). "Raw: Hart returns as Cena leads team to face Nexus". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ August 23, 2010.
  50. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (August 15, 2010). "Rumored return helps Team WWE fend off Nexus at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ August 23, 2010.
  51. Tylwalk, Nick (September 20, 2010). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ September 20, 2010.
  52. Sokol, Bryan (October 25, 2010). "Cena central to Bragging Rights; Smackdown wins again". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010.
  53. Plummer, Dale (November 22, 2010). "The fate of Cena is finally decided at so-so Survivor Series". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  54. Plummer, Dale (November 22, 2010). "RAW: The Miz cashes in as Nexus costs Orton WWE title". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010.
  55. Wortman, James (December 19, 2010). "Results: Stalking in a splinter wonderland". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ December 21, 2010.
  56. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (January 31, 2011). "Super-size Royal Rumble saves biggest surprise for last". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ January 31, 2011.
  57. Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena as The Miz retains at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  58. Plummer, Dale (April 25, 2011). "Raw: Draft tries to shock WWE Universe". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  59. Pasero, Mitch (May 6, 2011). "Smackdown Results: Christian's dream crushed". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 11, 2011.
  60. Hillhouse, Dave (May 22, 2011). "Over the Limit: Unpredictability makes for a good show". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  61. Kapur, Bob (June 19, 2011). "Cena, Orton retain titles at Capitol Punishment". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.[ลิงก์เสีย]
  62. Hillhouse, Dave (July 18, 2011). "Money in the Bank: The WWE gets Punk'd". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  63. Burdick, Michael (July 8, 2011). "SmackDown results: 'Money' breeds mayhem". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  64. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (August 15, 2011). "Punk-Cena feud comes to a head, but not without some wrinkles at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 10, 2011.[ลิงก์เสีย]
  65. Burdick, Michael (September 19, 2011). "Mark Henry def. Randy Orton (New World Heavyweight Champion)". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 19, 2011.
  66. Caldwell, James (December 20, 2011). "Caldwell's WWE Survivor Series PPV Results 11/20: Complete "virtual time" coverage of live PPV - The Rock returns, Punk vs. Del Rio, Henry vs. Show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ December 21, 2011.
  67. Powers, Kevin (December 18, 2011). "Randy Orton def. Wade Barrett (Tables Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ December 19, 2011.
  68. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 12/30: Complete coverage of the Friday night show, including Randy Orton vs. Wade Barrett, Falls Count Anywhere".
  69. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  70. Burdick, Michael. "SmackDown results: Wade Barrett feels the sting of The Viper; Mark Henry suspended". WWE. สืบค้นเมื่อ February 6, 2012.
  71. {{cite web|title=Randy Orton Suffers Concussion 2/14/12|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-02-13/orton-suffers-concussion
  72. "WWE Smackdown Spoilers 3/2/12".
  73. "WWE Monday Night Raw (3/5/12) Results: Live Blog, Coverage and Analysis".
  74. Giannini, Alex. "Randy Orton vs. Kane - Falls Count Anywhere Match". WWE. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
  75. Meltzer, Dave (May 20, 2012). "WWE Over the Limit live coverage from Raleigh". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
  76. "Randy Orton suspended". WWE. May 30, 2012. สืบค้นเมื่อ May 30, 2012.
  77. James Caldwell (July 30, 2012). "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype".
  78. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 8/24: Ongoing "virtual time" coverage of Friday night show, including Orton vs. Del Rio in a #1 Contender match".
  79. "Randy Orton def. Dolph Ziggler". WWE. September 16, 2012. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  80. Parks, Greg (September 28, 2012). "Parks' WWE SmackDown report 9/28: Ongoing "virtual time" coverage of Friday night show, including Randy Orton vs. The Big Show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ September 28, 2012.
  81. Dave Scherer (August 3, 2012). "Orton starring in 12 Rounds: Reloded". PWInsider. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  82. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 10/12: Complete "virtual time" coverage of Friday night show, including Dolph Ziggler vs. Kane".
  83. Caldwell, James (October 28, 2012). "Caldwell's WWE Hell in a Cell PPV report 10/28: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Will WWE pull the trigger on Ryback as top champ?". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 28, 2012.
  84. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 29 PPV RESULTS: Complete "virtual-time" coverage of live PPV from MetLife Stadium - Rock-Cena II, Taker-Punk, Lesnar-Hunter, more".
  85. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 4/8: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - WM29 fall-out, new World Champ, no Rock, Taker live, crowd takes over".
  86. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 4/12: Ongoing "virtual time" coverage of Friday night show, including Dolph Ziggler's first Smackdown as champion and Triple H addresses Lesnar match".
  87. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 4/15: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - Punk returning, WM29 fallout, new U.S. champion, more".
  88. "WWE Extreme Rules results and reactions from last night (May 19): Believe in Gold".
  89. "WWE Payback PPV Results 6/16/13". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2013-06-22.
  90. "CALDWELL'S WWE MITB PPV RESULTS 7/14 (Hour 3): Ongoing "virtual-time" coverage of live PPV - Cena vs. Henry, MITB All-Stars".
  91. "CALDWELL'S WWE SSLAM PPV RESULTS 8/18 (Hour 3): Cena vs. Bryan WWE Title main event, did Orton cash in?".
  92. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/19 (Hour 3): Orton's Coronation in Main Event segment, Punk responds to Heyman".
  93. "WWE NEWS: New WWE champion at Night of Champions, but for how long?, plus Heyman's new associate, title match results, TNA stars spotlighted, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 17 September 2013.
  94. "RAW NEWS: Bryan stripped of WWE Title & title held up, Dusty returns & gets KO'ed, locker room revolt, Ryback/Heyman, new #1 contenders, more post-PPV developments". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 17 September 2013.
  95. "BATTLEGROUND PPV RESULTS 10/6 (Hour 3): WWE Title match, power outage situation, Punk vs. Ryback".
  96. Waldman, Jon. "Hell in a Cell: The usual suspects end up on top". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  97. "CALDWELL'S WWE TLC PPV RESULTS 12/15: Live, in-person coverage of Cena vs. Orton unification match from Houston".
  98. "WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/26 (Hour 2): Orton vs. Cena WWE Title match with significant run-in".
  99. "WWE E. CHAMBER PPV RESULTS 2/23 (Hour 3): Elimination Chamber WWE Title main event".
  100. Clapp, John. "WWE World Heavyweight Champion Randy Orton vs. Batista". WWE. สืบค้นเมื่อ March 8, 2014.
  101. http://www.wwe.com/shows/wrestlemania/30/wrestlemania-30-results-26218843
  102. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 4/7: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - WM30 fall-out, WWE Title match teaser, Bryan's first night as champ, Warrior, more".
  103. Clapp, John. "The Shield vs. Evolution". WWE. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  104. Asher, Matthew. "Shield gets suicidal and Cena looks for some Payback against Wyatt". slam.canoe.ca. SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2014.
  105. "Seth Rollins, Kane & Big Show def. Dolph Ziggler, Erick Rowan & Ryback". wwe.com. WWE. สืบค้นเมื่อ 23 February 2015.
  106. Melok, Bobby (March 29, 2015). "Randy Orton def. Seth Rollins". WWE. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
  107. Middleton, Marc (April 6, 2015). "WWE Monday Night RAW Results 4/6/15". LordsofPain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
  108. Clapp, John. "WWE World Heavyweight Champion Seth Rollins def. Randy Orton (Cage Match, with the RKO banned)". WWE. สืบค้นเมื่อ April 26, 2015.
  109. Murphy, Ryan. "WWE World Heavyweight Champion Seth Rollins won a Fatal 4-Way Match". WWE. สืบค้นเมื่อ May 17, 2015.
  110. Burdick, Michael. "Sheamus wins the Money in the Bank Contract Ladder Match". WWE. สืบค้นเมื่อ June 14, 2015.
  111. Powers, Kevin. "Randy Orton def. Sheamus". WWE. สืบค้นเมื่อ July 19, 2015.
  112. Burdick, Michael. "Sheamus def. Randy Orton". WWE. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
  113. "Randy Orton shoulder injury". November 2, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-06.
  114. Clapp, John. "Randy Orton vs. Brock Lesnar". WWE. สืบค้นเมื่อ July 7, 2016.
  115. "2016 WWE Draft results: WWE officially ushers in New Era". WWE. สืบค้นเมื่อ July 19, 2016.
  116. "SmackDown Live results: July 26, 2016". WWE. สืบค้นเมื่อ July 27, 2016.
  117. Caldwell, James. "8/21 WWE Summerslam Results – CALDWELL'S Complete Live Report". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 21, 2016.
  118. Parks, Greg. "8/23 WWE Smackdown LIVE – Parks's Complete, Real-Time Report". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
  119. Middleton, Marc (September 25, 2016). "Brock Lesnar Defeats Randy Orton In WWE SummerSlam Rematch (Photos, Video)". Gerweck.
  120. "Brock Lesnar defeats Randy Orton in SummerSlam rematch in Chicago". WWE. สืบค้นเมื่อ September 26, 2016.
  121. Melok, Bobby (October 9, 2016). "Bray Wyatt def. Randy Orton". WWE.
  122. "SmackDown LIVE: Oct. 25, 2016". WWE. สืบค้นเมื่อ October 26, 2016.
  123. "The Wyatt Family to defend SmackDown Tag Team Titles under the Freebird Rule". WWE. December 7, 2016. สืบค้นเมื่อ February 15, 2017.
  124. Parks, Greg. "12/27 WWE Smackdown LIVE – Parks's Ongoing, Real-Time Report, including three title matches, John Cena's return". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ December 27, 2016.
  125. Benigno, Anthony. "Randy Orton won the 30-Superstar Royal Rumble Match". wwe.com. WWE. สืบค้นเมื่อ January 29, 2017.
  126. "Randy Orton tells Bray Wyatt: "I'm coming for your title at WrestleMania" - Wrestling News". 28 February 2017.
  127. Parks, Greg. "KELLER'S WWE SMACKDOWN REPORT 3/7: Styles vs. Orton to earn WWE Title shot at WM33, Cena & Nikki vs. Ellsworth & Carmella". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 7, 2017.
  128. Taylor, Scott. "Randy Orton def. Bray Wyatt to win WWE Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  129. Powell, Jason. "Powell's WrestleMania 33 live review: Undertaker vs. Roman Reigns, Goldberg vs. Brock Lesnar for the WWE Universal Championship, AJ Styles vs. Shane McMahon, Seth Rollins vs. Triple H in an unsanctioned match". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  130. Powell, Jason. "4/30 Powell's WWE Payback Live Review: Roman Reigns vs. Braun Strowman, Kevin Owens vs. Chris Jericho for the U.S. Championship, Samoa Joe vs. Seth Rollins, Randy Orton vs. Bray Wyatt in a House of Horrors match". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017.
  131. Powell, Jason. "5/21 Powell's WWE Backlash Live Review: Randy Orton vs. Jinder Mahal for the WWE Championship, Kevin Owens vs. AJ Styles for the U.S. Championship, Shinsuke Nakamura vs. Dolph Ziggler". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ May 21, 2017.
  132. Benigno, Anthony. "WWE Champion Jinder Mahal def. Randy Orton". WWE. สืบค้นเมื่อ June 18, 2017.
  133. Benigno, Anthony. "WWE Champion Jinder Mahal def. Randy Orton (Punjabi Prison Match)". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  134. Benigno, Anthony. "Randy Orton def. Bobby Roode to become the new United States Champion". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 11 March 2018.
  135. Pappolla, Ryan. "Jinder Mahal def. Randy Orton, Rusev and Bobby Roode to win the United States Championship". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
  136. Pappolla, Ryan. "Randy Orton def. Bobby Roode and Rusev to challenge United States Champion Jinder Mahal at WWE Backlash". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
  137. Benigno, Anthony. "Jeff Hardy def. Jinder Mahal to become the new United States Champion". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
  138. Benigno, Anthony. "United States Champion Jeff Hardy def. Randy Orton". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
  139. "Randy Orton undergoes successful knee surgery". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 18 May 2018.
  140. Powell, Jason. "Powell's WWE Extreme Rules live review: Roman Reigns vs. Bobby Lashley, AJ Styles vs. Rusev vs. for the WWE Championship, Dolph Ziggler vs. Seth Rollins in a 30-minute Iron Man match for the IC Title, Bludgeon Brothers vs. Team Hell No for the Smackdown Tag Titles". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ July 15, 2018.
  141. Wortman, James (April 7, 2019). "AJ Styles def. Randy Orton". WWE. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
  142. Powell, Jason (May 25, 2020). "5/25 WWE Raw Results: Powell's live review of WWE Champion Drew McIntyre on MVP's VIP Lounge, Nia Jax vs. Charlotte Flair vs. Natalya for a Raw Women's Championship match at WWE Backlash, Andrade vs. Apollo Crews for the U.S. Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  143. Powell, Jason (August 23, 2020). "WWE SummerSlam results: Powell's review of Drew McIntyre vs. Randy Orton for the WWE Championship, Braun Strowman vs. The Fiend for the WWE Universal Championship, Mandy Rose vs. Sonya Deville in a No DQ, loser leaves WWE match, Asuka challenges for two titles". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 23, 2020.
  144. Powell, Jason (September 27, 2020). "WWE Clash of Champions results: Powell's review of Drew McIntyre vs. Randy Orton in an Ambulance Match for the WWE Championship, Roman Reigns vs. Jey Uso for the WWE Universal Championship, Jeff Hardy vs. AJ Styles vs. Sami Zayn in a Triple Threat ladder match for the Intercontinental Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 27, 2020.
  145. Powell, Jason (October 25, 2020). "WWE Hell in a Cell results: Powell's review of Drew McIntyre vs. Randy Orton in a Hell in a Cell match for the WWE Championship, Roman Reigns vs. Jey Uso in an I Quit Hell in a Cell match for the WWE Universal Championship, Bayley vs. Sasha Banks in a Hell in a Cell match for the Smackdown Women's Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 25, 2020.
  146. Powell, Jason (December 20, 2020). "WWE TLC results: Powell's review of Roman Reigns vs. Kevin Owens in a TLC match for the WWE Universal Championship, Drew McIntyre vs. AJ Styles in a TLC match for the WWE Championship, The Fiend vs. Randy Orton in a Firefly Inferno Match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ December 20, 2020.
  147. Powell, Jason (March 21, 2021). "WWE Fastlane results: Powell's live review of Roman Reigns vs. Daniel Bryan for the WWE Universal Championship with Edge as special enforcer, Drew McIntyre vs. Sheamus in a No Holds Barred match, Big E vs. Apollo Crews for the Intercontinental Title, Randy Orton vs. Alexa Bliss". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 21, 2021.
  148. Powell, Jason (March 22, 2021). "3/22 WWE Raw Results: Powell's live review of Rhea Ripley's debut, WWE Champion Bobby Lashley vs. Sheamus in a non-title match, Raw Women's Champion Asuka vs. Peyton Royce in a non-title match, Kofi Kingston vs. AJ Styles, Jeff Hardy vs. The Miz, WWE Fastlane fallout". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 23, 2021.
  149. Powell, Jason (April 11, 2021). "WrestleMania 37 results: Powell's live review of night two with Roman Reigns vs. Edge vs. Daniel Bryan in a Triple Threat for the WWE Universal Championship, Asuka vs. Rhea Ripley for the Raw Women's Championship, Big E vs. Apollo Crews in a Nigerian Drum Fight for the IC Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 11, 2021.
  150. Powell, Jason (January 10, 2022). "1/10 WWE Raw Results: Powell's live review of WWE Champion Brock Lesnar and Bobby Lashley meeting face to face, Randy Orton and Riddle vs. Chad Gable and Otis for the Raw Tag Titles, Bianca Belair vs. Doudrop vs. Liv Morgan for a shot at the Raw Women's Championship at the Royal Rumble, Alexa Bliss's journey back to Raw". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ January 10, 2022.
  151. Benjamin, Marcus (March 8, 2022). "Raw recap & reactions (March 7, 2022): Erroneous for dummies". Cageside Seats (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 8, 2022.
  152. Powell, Jason (January 10, 2022). "1/10 WWE Raw Results: Powell's live review of WWE Champion Brock Lesnar and Bobby Lashley meeting face to face, Randy Orton and Riddle vs. Chad Gable and Otis for the Raw Tag Titles, Bianca Belair vs. Doudrop vs. Liv Morgan for a shot at the Raw Women's Championship at the Royal Rumble, Alexa Bliss's journey back to Raw". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ January 10, 2022.
  153. "WWE Summerslam 2022 main event in jeopardy due to Randy Orton's injury?". June 17, 2022.
  154. Powell, Jason (November 25, 2023). "WWE Survivor Series WarGames results: Powell's review of Randy Orton, Seth Rollins, Cody Rhodes, Jey Uso, and Sami Zayn vs. Drew McIntyre and The Judgment Day in a WarGames match, Women's WarGames match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ November 25, 2023.
  155. Lambert, Jeremy (December 1, 2023). "Randy Orton Signs With WWE SmackDown On 12/1 SmackDown". Fightful. สืบค้นเมื่อ December 1, 2023.
  156. "Randy Orton Interview". New Zealand Wide Pro Wrestling. November 4, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-24. สืบค้นเมื่อ August 22, 2007.
  157. "Randy Orton news". Sescoops. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ September 27, 2007.
  158. Koha, Nui Te (January 4, 2008). "Wrestling the truth". Herald Sun. Australia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-24. สืบค้นเมื่อ April 1, 2009.
  159. "Randy Orton's wife gives birth". World Wrestling Entertainment. July 17, 2008. สืบค้นเมื่อ July 18, 2008.
  160. "Randy Orton and his wife expecting first child". World Wrestling Entertainment. April 10, 2008. สืบค้นเมื่อ April 12, 2008.
  161. Eck, Kevin (April 27, 2008). "Orton taps bad side to raise up". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-02. สืบค้นเมื่อ April 28, 2008.
  162. "WWE Star Randy Orton Divorced". TMZ. July 10, 2013. สืบค้นเมื่อ July 11, 2013.
  163. "An interview with Randy Orton, conducted by Silver Vision". Silver Vision. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ August 22, 2007.
  164. Robinson, Keith (August 11, 2008). "Orton involved in motorcycle accident". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ August 11, 2008.
  165. Baines, Tim (November 22, 2008). "Maturity arrives for Randy Orton". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 25, 2008.[ลิงก์เสีย]
  166. http://www.sport24.co.za/OtherSport/Cape-Town-fan-attacks-WWE-star-20130731
  167. Eck, Kevin (January 27, 2010). "2009 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  168. 168.0 168.1 168.2 168.3 168.4 168.5 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ November 19, 2016.
  169. Abreu, Donnie (March 13, 2002). "Tough talent choices lay ahead for WWF". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ January 9, 2009.
  170. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2008". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
  171. "History Of The WWE Championship — Randy Orton". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ August 10, 2007.
  172. "Randy Orton's third WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2009. สืบค้นเมื่อ April 27, 2009.
  173. "Randy Orton's fourth WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2009. สืบค้นเมื่อ June 23, 2009.
  174. "World Heavyweight Championship – Randy Orton". WWE. May 6, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  175. "United States Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ April 18, 2018.
  176. "WWE Raw Tag Team Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
  177. "SmackDown Tag Team Championships". WWE. สืบค้นเมื่อ April 18, 2018.
  178. 178.0 178.1 "The new Grand Slam winners: The 10 Superstars who have won every active championship". WWE. March 12, 2017. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  179. "2014 Slammy Award winners". WWE. December 8, 2015. สืบค้นเมื่อ April 17, 2016.
  180. "411MANIA". WWE Announces Year-End Awards on Instagram.
  181. Meltzer, Dave (January 27, 2014). "Jan 27 2014 Wrestling Observer Newsletter: 2013 Annual awards issue, best in the world in numerous categories, plus all the news in pro-wrestling and MMA over the past week and more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 11. ISSN 1083-9593. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  182. Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593.
  183. 183.0 183.1 Meltzer, Dave (January 27, 2014). "Jan 27 2014 Wrestling Observer Newsletter: 2013 Annual awards issue, best in the world in numerous categories, plus all the news in pro-wrestling and MMA over the past week and more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 1–37. ISSN 1083-9593.
  184. 184.0 184.1 Alvarez, Bryan (March 15, 2018). "WOR: 2017 Wrestling Observer Newsletter Awards Discussion And More!". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • James Guttman (2006). World Wrestling Insanity: The Decline and Fall of a Family Empire. Toronto. p. 235. ISBN 1-55022-728-9.
  • "2007 Wrestling Almanac & Book of Facts". Wrestling’s Historical Cards. Kappa Publishing. 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]