ไปยาลใหญ่
หน้าตา
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฯลฯ | |||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | –ั | า | –ํ | –ิ | ' | " | |
–ุ | –ู | เ | โ | ใ | ไ | –็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
–่ | –้ | –๊ | –๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
–์ | –๎ | –ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | |||||
๏ | ๚ | ๛ | ┼ |
ฯลฯ | |
---|---|
ไปยาลใหญ่ | |
ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ล ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน
คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทน[1]
การใช้ไปยาลใหญ่
[แก้]- ใช้ละคำที่ยังมีต่อท้ายอีกมาก ให้อ่านว่า "ละ" หรือ "และอื่น ๆ" เช่น
- ในหลายจังหวัดของภาคอีสาน ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ
- ในหนังสือโบราณ มีการใช้เครื่องหมายไปยาลใหญ่ คั่นกลาง ระหว่าง คำต้น และคำท้าย ให้อ่านว่า "ละถึง" เช่น
- พยัญชนะไทย 44 ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
- ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ชโย
ไปยาลใหญ่ในภาษาอื่น
[แก้]ภาษาอื่นที่ใช้ไปยาลใหญ่คือภาษาเขมร (៘) ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมากเหมือนกับภาษาไทย เป็นอักขระตัวเดียวในคอมพิวเตอร์ต่างจากอักษรไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ตัวอย่างการใช้ ฯเปฯ)