โนโรไวรัส
โนโรไวรัส | |
---|---|
ไมโครกราฟอิเล็กตรอนแบบส่งผ่าน ของไวรัสนอร์วอล์ค แถบสีขาว = 50 นาโนเมตร | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ภาวะขาดน้ำ[1] |
การตั้งต้น | 12 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการสัมผัส[1] |
ระยะดำเนินโรค | 1 ถึง 3 วัน[1] |
สาเหตุ | โนโรไวรัส[2] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ[2] |
การป้องกัน | ล้างมือ, ฆ่าเชื้อโรค ของพื้นผิวที่ปนเปื้อน[3] |
การรักษา | การรักษาตามอาการ (ดื่มของเหลวเพียงพอหรือ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ)[4] |
ความชุก | 685 ล้านคนต่อปี[5] |
การเสียชีวิต | 200,000 |
โนโรไวรัส หรือ นอร์วอล์คไวรัส เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบจากไวรัสในมนุษย์[5]ซึ่งเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วง อาเจียน และปวดท้อง ส่วนใหญ่จะไม่มีเลือดปนมากับอุจจาระ บางรายอาจมีอาการไข้และปวดศีรษะร่วมด้วย ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 12-48 ชั่วโมง และจะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่อาจพบได้คือการขาดน้ำ
เชื้อนี้ติดต่อผ่านทางการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย จากการสัมผัสคนสู่คน และจากการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนละอองอาเจียนของผู้ป่วย การใช้น้ำยาล้างมือแบบแห้งมักกำจัดเชื้อนี้ไม่ได้ เชื้อนี้ยังไม่มีวัคซีน ไม่มีการรักษาจำเพาะ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองด้วยการชดเชยน้ำ ซึ่งอาจทำได้โดยการกินหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยจากเชื้อโนโรไวรัสประมาณ 685 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตประมาณ 200,000 คน พบได้บ่อยทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ประมาณกันว่ามีผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศกำลังพัฒนาเสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน โรคนี้จะพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นบางครั้งจึงถูกเรียกว่าเชื้ออาเจียนฤดูหนาว (อังกฤษ: winter vomiting bug) อาจทำให้เกิดการระบาดเฉพาะที่ได้โดยเฉพาะในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น (เช่น ค่ายทหาร สถานเลี้ยงเด็ก ชุมชนแออัด) ในสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินอาหารถึงประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนในไทยยังไม่มีข้อมูลความชุก แต่พบการระบาดเป็นครั้งๆ[6] เชื่อโนโรไวรัสนี้มีที่มาจากชื่อเมืองนอร์วอล์ค รัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นเมืองที่มีการระบาดของไวรัสนี้เมื่อ ค.ศ. 1972
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2016Sym
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อYel2017
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2017Pre
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2017Tx
- ↑ 5.0 5.1 "Norovirus Worldwide". CDC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
- ↑ http://www.thaihealth.or.th/Content/34327-%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E2%80%9D%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%20.html