ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เอ็นเอไวรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาร์เอ็นเอไวรัส (อังกฤษ: RNA virus) คือ ไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอ (กรดไรโบนิวคลีอิก) เป็นสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิกนี้โดยปกติเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (ssRNA) แต่ก็มีอาร์เอ็นเอสายคู่ (dsRNA) เช่นกัน[1] โรคเด่นในมนุษย์ที่เกิดจากอาร์เอ็นเอไวรัส ได้แก่ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบซี ไข้ไนล์ตะวันตก โปลิโอ และหัด

คณะกรรมการสากลฝ่ายไวรัสอนุกรมวิธานจำแนกอาร์เอ็นเอไวรัสอยู่ในกลุ่ม 3, 4 หรือ 5 ของระบบการจำแนกไวรัสบัลติมอร์ และไม่พิจารณาไวรัสซึ่งมีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรชีวิตว่าเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส[2] ไวรัสซึ่งมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม แต่มีดีเอ็นเอระยะกลางในวง��รการถ่ายแบบ เรียก รีโทรไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม 6 ของการจำแนกแบบบัลติมอร์ รีโทรไวรัสที่เด่นในมนุษย์ ได้แก่ HIV-1 และ HIV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์

คำเรียกอาร์เอ็นเอไวรัสโดยไม่รวมรีโทรไวรัส คือ ไรโบไวรัส[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. John T. Patton, บ.ก. (2008). Segmented Double-stranded RNA Viruses: Structure and Molecular Biology. Caister Academic Press. ISBN 978-1-904455-21-9.
  2. "Listing in Taxonomic Order - Index to ICTV Species Lists". International Committee on Taxonomy of Viruses. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. John W. Drake; John J. Holland (23 พฤศจิกายน 1999). Walter M. Fitch (บ.ก.). "Mutation rates among RNA viruses". PNAS. National Academy of Sciences. 96 (24): 13910–13. doi:10.1073/pnas.96.24.13910. eISSN 1091-6490. PMC 24164. PMID 10570172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2013.