ข้ามไปเนื้อหา

โกวิท วัฒนกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกวิทย์ วัฒนกุล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย
คู่สมรสวาสนา วัฒนกุล
(2527–ปัจจุบัน)
บุตร3 คน
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2522–ปัจจุบัน
พระสุรัสวดีพ.ศ. 2531 ดาวร้ายฝ่ายชายยอดเยี่ยม จาก ตลาดพรหมจารี
ชมรมวิจารณ์บันเทิงพ.ศ. 2544 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จาก เกมล้มโต๊ะ
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง
เมขลาพ.ศ. 2529 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก แม่เอิบ
พ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

โกวิทย์ วัฒนกุล (เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น เมา เป็นนักแสดงและนักการเมืองชาวไทย ที่มีผลงานการแสดงตั้งแต่ พ.ศ. 2522

ประวัติ

[แก้]

โกวิทย์ วัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดชัยภูมิ โดยก่อนเข้าสู่วงการบันเทิง โกวิทย์เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานขบวนรถ(พนักงานห้ามล้อ) และเคยเป็นนักมวยในค่าย แต่ด้วยรูปร่างที่กำยำเพราะต่อยมวยจึงลาออกและเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการชักชวนของเกชา เปลี่ยนวิถี เริ่มแจ้งเกิดจากการเป็นพระเอกภาพยนตร์โทรทัศน์ทางช่อง 3 เรื่อง ขุนศึก ในปี พ.ศ. 2522 ในบท "เสมา" ต่อมาได้แสดงภาพยนตร์ไทยเรื่องชายสามโบสถ์ในบทพระเอก คู่กับ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ในปี พ.ศ. 2524 จนเริ่มมีชื่อเสียงในจอเงิน โดยผ่านการแสดงภาพยนตร์กว่า 200 เรื่อง เช่น สิงโตคำราม, ไอ้ผาง รฟท., นางแมวป่า, กตัญญูประกาศิต, 7 พระกาฬ, เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, เพชรตัดเพชร, เรือนแพ รวมทั้งละครโทรทัศน์ เช่น แม่เอิบ, โผน กิ่งเพชร, ทองเนื้อเก้า, หนุ่มทิพย์, ไผ่แดง เป็นต้น ต่อมาได้ผันตัวไปเป็นพ่อค้าน้ำอ้อยเนื่องจากงานแสดงน้อยลง และแสดงในหนังผีอย่างเช่นพรายตะเคียน (2530), ตะเคียนคู่ (2533) และหนังเฉพาะทางของญี่ปุ่นที่มีโอกาสมาถ่ายทำในเมืองไทยหลายเรื่อง โกวิทย์ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2531 ในฐานะดาวร้ายชายยอดเยี่ยมจากเรื่อง ตลาดพรหมจารี, รางวัลเมขลา และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2534 ในฐานะดารานำชายดีเด่นจากเรื่อง ไผ่แดง [1]

อนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยชื่นชมบทบาทการแสดงของโกวิทย์มาตั้งแต่เรื่องขุนศึก และเขียนชื่นชมการแสดงในละครเรื่อง แม่เอิบ ลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ทั้งสองจึงได้พบและรู้จักกันเสมือนครูกับศิษย์ ทำให้โกวิทย์ได้รับเล่นละครเรื่อง ไผ่แดง และเข้าสู่ถนนสายการเมืองแต่ไม่สำเร็จ[2]

ปัจจุบัน โกวิทย์ยังคงมีผลงานการแสดงอยู่ โดยไม่จำกัดสังกัด ด้านครอบครัว โกวิทย์สมรสกับ วาสนา วัฒนกุล มีบุตรสาว 3 คน คนแรกชื่อ เมธ์วดี วัฒนกุล (เม) คนที่สอง คือ มิณฑิตา วัฒนกุล (มิ้น AF3) และคนเล็กชื่อ มาธวี วัฒนกุล (มาย) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2555[3]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • ชายสามโบสถ์ (2524) รับบท ผง
  • วันสังหาร (2524) รับบท เข้ม
  • สิงโตคำราม (2524) รับบท เสิม
  • สกาวเดือน (2524) รับบท หลวงราชไมตรี
  • รักครั้งแรก (2524)
  • ตามรักตามฆ่า (2525) รับบท ดอน
  • เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525) รับบท เติบ
  • จ้าวนรก (2525) รับบท โหน่ง
  • ไอ้ผาง รฟท. (2525) รับบท ชาติ
  • กระท่อมนกบินหลา (2525)
  • นางแมวป่า (2525)
  • ลูบคมพยัคฆ์ (2526) รับบท หมอ
  • นักเลงข้าวนึ่ง (2526) รับบท เลี่ยม
  • 7 พระกาฬ (2526) รับบท ดามพ์ เมฆา
  • ปิดตำราฆ่าโหด (2526)
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526) รับบท พ.ต.นิเวศน์
  • เห่าดง (2526) รับบท ร.ต.อ.เชาว์
  • ทุ่งปืนแตก (2526)
  • ไฟรักอสูร (2526) รับบท ใจ
  • สิงห์ด่านเกวียน (2526) รับบท โหนก บางมะกอก
  • ลำพูนดำ (2526) รับบท คุณหม่อมสุสิงห์
  • แหกนรกเวียตนาม (2526) รับบท นายพล
  • ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น) (2526) รับบท ตำรวจ
  • พยัคฆ์ทมิฬ (2526) รับบท เด๋อ
  • หัวใจทมิฬ (2526) รับบท สารวัตร
  • น.ส. เย็นฤดี (2526) รับบท โกวิท
  • อั้งยี่ (2526)
  • ตีแสกหน้า (2527)
  • ลวดหนาม (2527)
  • ไอ้โหด .357 (2527)
  • สองสิงห์สองแผ่นดิน (2527)
  • อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527) รับบท โฆษก
  • เพชรตัดเพชร (2527) รับบท ยอด
  • ขอโทษที ที่รัก (2527) รับบท โกวิท
  • ผ่าโลก 2 แผ่นดิน (2527)
  • แตนป่าแตก (2527) รับบท แฟนของแอน
  • อีเสือเทียน (2527) รับบท สารวัตร
  • พรหมสี่หน้า (2527) รับบท เพื่อนสนิทของวรรณ
  • ครูเสือ (2527) รับบท คำค่อน
  • ป่าเดือด (2527) รับบท เสี่ยดิเรก
  • มือเหนือเมฆ (2527) รับบท เสี่ยเฮง
  • หน่วย 123 (2527) รับบท ร.อ. เชิด ชายชาญ
  • ยอดนักเลง (2527)
  • ถล่มด่านปืน (2527)
  • เขี้ยวฉลาม (2527)
  • น้ำผึ้งป่า (2528) รับบท วิทย์
  • แก้วกลางดง (2528) รับบท ทนง
  • นางเสือดาว (2528) รับบท เสือเอี้ยงไล่ล่า
  • มือปืนคาราบาว (2528)
  • นักล่าสลาตัน (2528)
  • เลือดตี๋ก็สีแดง (2528) รับบท เสือดาว
  • หัวใจเถื่อน (2528) รับบท วาริน รัตนพงษ์
  • ขุมทองนรก (2529)
  • คำสิงห์ (2529) รับบท แชมป์มวยไทย
  • สิงห์ต้องสู้ (2529)
  • ฆ่าเอาบุญ (2529)
  • ปืนเถื่อน (2529)
  • สิงห์ตีนสั่ง (2529)
  • เปิดบัญชีฆ่า (2529) รับบท ปลิก
  • เก่ง เฮง โหด (2529) รับบท แคล้ว นรชาติ
  • พรายตะเคียน (2530) รับบท เทียน
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530)
  • คาวน้ำผึ้ง (2530) รับบท สีนาด
  • นักรบพบรัก (2530)
  • เชลยรัก (2530) รับบท ไชยันต์
  • ภูผาทอง (2531) รับบท หาญศึก
  • ตลาดพรหมจารี (2531) รับบท ฟอง
  • วัยหวาน วัยคะนอง (2531)
  • เพชฌฆาตเดนสงคราม (2531) รับบท ผู้กอง
  • เพชรพยัคฆราช (2531) รับบท เสี่ยธวัชชัย
  • ไซ่ง่อน (2531) รับบท ทหารเวียตกง
  • นักรบดำ (2531) รับบท ผู้พันบิลลี่
  • ดงพญาเสือ (2531) รับบท ไอ้ชัช
  • ปีศาจสีเงิน (2531) รับบท สมชาติ
  • เรือนแพ (2532) รับบท ฮั่น (รับเชิญ)
  • เพชรตาแมว (2532) รับบท นิพนธ์
  • ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532) (รับเชิญ)
  • แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2532) รับบท ยง
  • โหดตามคิว (2532) รับบท อาสันติ
  • เจ้าพ่อ (2533) รับบท ทวน/เวทย์
  • มูเซอดำ (2533) รับบท ตำรวจหมาป่า
  • รอยแค้น (2533)
  • ตี๋ใหญ่ 2 (2533) รับบท ไอ้รื่น (ผู้ช่วยไอ้ดง)
  • ตะบันเพลิง (2533) รับบท ผู้กอง
  • ตะเคียนคู่ (2533) รับบท แก้ว
  • ไอ้แจ้งมีเมีย (2533) รับบท ผู้กอง
  • กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก (2533) รับบท ทหารเวียดนาม
  • เจาะนรกเผด็จศึก (2533) รับบท ทหารพราน
  • กองทัพเถื่อน (2533) รับบท ผู้กอง
  • ทอง 4 (2533) รับบท ทรยศ
  • เรียม (2534)
  • นายซีอุย แซ่อึ้ง (2534)
  • ยากูซ่า แก๊งค์ค้าคน (2535) รับบท คนทรยศ
  • แม้ว (2535)
  • นักสู้ฟ้าแล่บ (2535) รับบท ลิ่วล้อเจ้าพ่อ
  • กระหน่ำให้แสบสะเทิน (2536)
  • ม.6/2 ห้องครูวารี (2537) (รับเชิญ)
  • อยู่ที่ใจจะไขว่คว้า (2537)
  • ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 (2539) (รับเชิญ)
  • กองพันทหารเกณฑ์12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท (2539) (รับเชิญ)
  • ถนนนี้หัวใจข้าจอง (2540) รับบท พ่อของบู๊ต (รับเชิญ)
  • เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ (2540)
  • โก๊ะตี๋ วีรบุรุษอารามบอย (2541) รับบท กำลังเลี้ยงนก
  • ดอกไม้ในทางปืน (2542) รับบท ตำรวจ
  • หัวใจข้า หัวใจนาง หัวใจหลอมเพชร (2543) รับบท เฮียบัติ
  • โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ (2544) รับบท สอง
  • ผีสามบาท (2544) รับบท วินัย
  • คนใจเย็นเป็นเจ้าพ่อไม่ได้ (2544) รับบท เจ้าพ่อ
  • พรางชมพู กะเทยประจัญบาน (2545) รับบท หมู่ปกรณ์
  • คืนไร้เงา (2546) รับบท เฮียง
  • คนบอผีบ้าป่าช้าแตก (2546)
  • ชายา (2546)
  • ขุนศึก (2546) รับบท ขุนรณฤทธิ์
  • สนิมสร้อย (2546) รับบท ป๋าพร
  • แก้วขนเหล็ก (2546) รับบท พ่อของเขา
  • 102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547) รับบท ดาบจักร
  • เจ้าสาวผัดไทย (2547) รับบท พิเชษฐ์
  • นักฆ่าเลือดเย็น 3 (2547) รับบท เจ้าพ่อเวียดนาม
  • อมนุษย์ (2547) รับบท ดร มั่น
  • บางกอกนินจา (2547) รับบท คนพายเรือ
  • ซีอุย (2547)
  • ตุ๊กแกผี (2547) รับบท เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
  • อียิปต์กังฟู (2547)
  • วัยรุ่น วัยอันตราย (2547)
  • ทาสรัก House Gory (2547) รับบท เจ้าพระยา
  • ทิม มวยไทยหัวใจติดเพลง (2547) รับบท ครูเพลง
  • ผมสมชายนะยะ (2548)
  • เณรแอ จอมขมังเวทย์ (2548)
  • เพลงรักชาวทุ่ง ตอน มีเมียเด็ก (2548) รับบท เสี่ยมานะ
  • เดี่ยวมหากาฬ (2549)
  • กระสือวาเลนไทน์ (2549) รับบท หมอใหญ่
  • ฮอลลี่...ชีวิตนี้ใครลิขิต (2549) รับบท คนใหญ่คนโต
  • นาค รักแท้ วิญญาณ ความตาย (2549)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550) รับบท ขุนรัตนแพทย์
  • ผีเลี้ยงลูกคน (2550) รับบท เฮียต๋ง
  • เวิ้งปีศาจ (2550) รับบท จ่าถวัลย์
  • หนุมานคลุกฝุ่น (2551) รับบท อาจารย์บุญ
  • ปาฏิหาริย์รักต่างพันธุ์ (2551)
  • ท้าชน (2553)
  • ไฟรัก ไฟสงคราม (2553)
  • สายเลือดมังกร สายน้ำ แห่งความศรัทธา (2553)
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท ล่ารี
  • สมาน-ฉัน (2553)
  • ชิงหมาเถิด (2553) รับบท สุเทพ
  • โหด เลว ดี ชั่ว (2553)
  • A Better Tomorrow (2553)
  • หมาแก่ อันตราย (2554) รับบท พ่อเลี้ยงของดาว
  • ปัญญา เรณู (2554) รับบท นักการเมืองท้องถิ่น (รับเชิญ)
  • ผ่าวิกฤตเชื้อนรก (2554)
  • Bangkok revenge เกิดมาสู้ (2554)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554) รับบท ขุนรัตนแพทย์
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554) รับบท ขุนรัตนแพทย์
  • The Impossible 2004 สึนามิ ภูเก็ต (2555)
  • Rebirth (2555) รับบท ปรมาจารย์ทางด้านศิลปะการต่อสู้
  • เกาะ ติด ตาย (2555) รับบท สารวัตร
  • 2015 อุบัติรักลิขิตชีวิต (2556)
  • รับคำท้าจากพระเจ้า (2556)
  • แม่ THE MOTHER (2556) รับบท ตาผล
  • ศรีธนญชัย 555+ (2557) รับบท หลวงพิทักษ์
  • น้ำมันพราย (2557) รับบท เดช
  • เร็วทะลุเร็ว (2557) รับบท ชัย
  • ขรัวโต (2558) รับบท พระโหราธิบดี
  • พี่ชาย My Hero (2558) รับบท เสี่ยผู้มีอิทธิพล
  • 367 วัน Him and Her (2558) รับบท พ่อของไทน์
  • The man with the iron fists 2 วีรบุรุษหมัดเหล็ก 2 (2558)
  • ยอดคนอิสตันบูล (2561) รับบท เจ้าหน้าที่เรือนจำ
  • Home Sweet Hell เรือนขังผี (2563)
  • วัยอลวนฮ่า! (2564) (รับเชิญ)
  • ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์ (2566) รับบท ขุนสมาน

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]

มิวสิควีดีโอ

[แก้]

การเมือง

[แก้]

โกวิทย์ วัฒนกุล เข้ามาทำงานการเมืองครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 โดยลงสมัคร ส.ส.เขต 2 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรครักษ์สันติ ในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[5][6] ในพ.ศ. 2562 โกวิทย์ วัฒนกุลได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อชาติ[7]

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขารางวัล จากผลงาน ผลการตัดสิน
2529 รางวัลเมขลา ดารานำชายดีเด่น แม่เอิบ ชนะ
2531 รางวัลตุ๊กตาทอง ดาวร้ายฝ่ายชายยอดเยี่ยม ตลาดพรหมจารี ชนะ [8]
2534 รางวัลเมขลา ดารานำชายดีเด่น ไผ่แดง ชนะ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดารานำชายดีเด่น ไผ่แดง ชนะ
2544 รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม Goal Club เกมล้มโต๊ะ ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไปดูหนัง..พบดารา ที่ลานดารา ตอนที่ 22". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
  2. "พ่อลูก"วัฒนกุล" คอลัมน์ หมายเหตุมายา โดย นิมิต ประชาชื่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
  3. "'โกวิท'เศร้า! ลูกสาวคนเล็กนั่งเบนซ์ตกสะพานเสียชีวิต". www.thairath.co.th. 9 ส.ค. 2012.
  4. "ครม.จูงใจไปเลือกตั้ง สั่ง 24 ธ.ค เป็นวันหยุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  5. "พรรครักษ์สันติขอคะแนนเสียงเชียงราย "โกวิทย์ วัฒนกุล" นำทัพ จากมติชน".
  6. "เปิดรายชื่อส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย 61 ปชป. 44 ภท. 5 รักประเทศไทย 4 ชทพ.4 ชพน.2 จากมติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-29.
  7. "'โกวิท วัฒนกุล' หาเสียงกลางงานกาชาดสุรินทร์ พร้อมสโลแกน 'ลูกแม่มูลคืนถิ่น'". 18 ธ.ค. 2018.
  8. "รางวัลตุ๊กตาทอง ปี 2531". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]