ข้ามไปเนื้อหา

แอนแทรกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนแทรกซ์
อาการบนผิวหนังที่เป็น black eschar
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการผิวหนัง: บวมและเกิดผิวตายกรัง
ระบบหายใจ: ไข้, เจ็บหน้าอก, หายใจยาก
กระเพาะ: คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, ปวดท้อง
เลือด: ไข้, หนอง[1]
การตั้งต้น1 วัน - 2 เดือนนับจากสัมผัสเชื้อ[1]
สาเหตุBacillus anthracis[2]
ปัจจัยเสี่ยงทำงานกับสัตว์, ท่องเที่ยว, เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์, บุคลากรกองทัพ[3]
วิธีวินิจฉัยตามแอนทิบอดีหรือสารพิษในเบือด, เพาะไมโครบ[4]
การป้องกันวัคซีนแอนแทรกซ์, ยาปฏิชีวนะ[3][5]
การรักษายาปฏิชีวนะ, ยาต้านสารพิษ[6]
พยากรณ์โรค20–80% เสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา[5][7]
ความชุก>2,000 กรณีต่อปี[8]

แอนแทรกซ์ (อังกฤษ: Anthrax) เป็นโรคเฉียบพลันซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis รูปแบบส่วนใหญ่ของโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และมีผลต่อทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น ปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อแอนแทรกซ์แล้ว และโรคบางรูปแบบสนองดีต่อการรักษาปฏิชีวนะ

เช่นเดียวกับแบคทีเรียอีกหลายชนิดในจีนัสบาซิลลัส Bacillus anthracis สามารถสร้างเอนโดสปอร์พักตัว (มักเรียกสั้น ๆ ว่า "สปอร์" แต่ระวังสับสนกับสปอร์ของฟังไจ) ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมโหดร้ายเป็นทศวรรษหรือกระทั่งศตวรรษ[9] สปอร์เหล่านี้ถูกพบทั่วทุกทวีปของโลก ยกเว้นแอนตาร์กติกา[10] เมื่อสปอร์ถูกสูดหรือกินเข้าไปในร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือสัมผัสกับบาดแผลตรงผิวหนังของโฮสต์ (host) สปอร์เหล่านี้อาจมีปฏิกิริยาและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์บ้านพบติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่รับสปอร์เข้าทางปากหรือจมูกขณะกำลังกินหญ้า คาดกันว่าการกินเป็นทางที่สัตว์กินพืชติดต่อกับแอนแทรกซ์มากที่สุด สัตว์กินพืชที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันอาจติดเชื้อจากการกินสัตว์ที่ติดเชื้อแล้ว สัตว์ที่ป่วยสามารถแพร่แอนแทรกซ์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อโดยตรงหรือโดยการบริโภคเนื้อของสัตว์ที่ติดเชื้อ

สปอร์แอนแทรกซ์สามารถผลิตแบบ in vitro (นอกร่างกาย) และใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้ แอนแทรกซ์ไม่แพร่โดยตรงจากสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหรือตัวหนึ่ง แต่แพร่โดยสปอร์ สปอร์เหล่านี้สามารถส่งผ่านได้โดยเสื้อผ้าหรือรองเท้า ร่างกายของสัตว์ที่มีแอนแทรกซ์อยู่ในช่วงที่ตายสามารถเป็นแหล่งสปอร์แอนแทรกซ์ได้

สาเหตุ

[แก้]

เชื้อแบคทีเรียก่อโรค

[แก้]

การสัมผัสเชื้อ

[แก้]

ช่องทางการติดเชื้อ

[แก้]

เชื้อแอนแทรกซ์สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านลำไส้ (การกิน) ปอด (การหายใจ) หรือผิวหนัง ซึ่งช่องทางแต่ละช่องทางจะทำให้เกิดอาการของโรคที่แตกต่างกัน แม้โดยทั่วไ���แล้วผู้ติดเชื้อจะถูกกักกันแยกโรค แต่โดยปกติเชื้อนี้จะไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต ตัวเชื้อแบคทีเรียแอนแทรกซ์อาจเป็นแหล่งของการติดเชื้อได้ ดังนั้นการจัดการร่างจึงต้องมีกระบวนการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อ โรคแอนแทรกซ์ที่ติดผ่านการหายใจหากไม่ได้รับการรักษาจนถึงขั้นแสดงอาการ มักเป็นอันตรายถึงชีวิต

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2014Sym
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2015Bas
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2015Risk
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2015Diag
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hend2014
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2016Tx
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FDA2015
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Glob2016
  9. "Crossrail work stopped after human bones found on site". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
  10. Hudson JA, Daniel RM, Morgan HW (2006). "Acidophilic and thermophilic Bacillus strains from geothermally heated antarctic soil". FEMS Microbiol Lett. 60 (3): 279–282.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]