ข้ามไปเนื้อหา

แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม

พิกัด: 15°30′10″N 105°17′34″E / 15.50278°N 105.29278°E / 15.50278; 105.29278 (แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์โคกผาส้วม
แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วมตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม
ที่ตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี
ที่ตั้งโคกผาส้วม ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์15°30′10″N 105°17′34″E / 15.50278°N 105.29278°E / 15.50278; 105.29278 (แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม)
ภัณฑารักษ์องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ กรมทรัพยากรธรณี

แหล่งไดโนเสาร์โคกผาส้วม หรือ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ โคกผาส้วม เป็นแหล่งขุดค้นพบไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชนป่าโคกผาส้วม ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี[1]

การสำรวจ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2536 คณะสำรวจไทยและฝรั่งเศสได้เดินทางมาสำรวจพื้นที่ป่าโคกผาส้วมแห่งนี้ สันนิษฐานว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ โดยพบฟันของไดโนเสาร์คล้ายกับสยามโมซอรัส สุธีธรนี และอีกส่วนหนึ่งเป็นฟันของไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด วงศ์อีกัวโนดอนทิดส์ และนี่คือหลักฐานแรกที่บอกได้ว่ามีไดโนเสาร์พวกออร์นิโธพอดในประเทศไทย สำหรับชิ้นส่วนของซากดึกดำบรรพ์ ชาวบ้านที่ได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกผาส้วมได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่กรมทรัพยากรธรณี และอีกส่วนหนึ่งได้นำมาเก็บรักษาที่ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนา���ำ อำเภอศรีเมืองใหม่ ขณะที่ชาวบ้านต้องการให้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บรวบรวมและอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานและผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานต่อไป

นอกจากนี้แล้วการค้นพบนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามีไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ที่มีสะโพกคล้ายนกและมีขาหลังที่ใหญ่กว่าขาหน้า อย่างพวกออร์นิโธพอด ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ลักษณะทางธรณีวิทยา

[แก้]

บริเวณที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ พื้นดินมีลักษณะเป็นหินทราย สีน้ำตาลแดงอ่อน หินมีเนื้อละเอียดถึงปานกลาง อยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุราว 100–110 ล้านปี

ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบ

[แก้]
ปลาเลปิโดเทส เอลเวนซิส (ตัวอย่างจากแหล่งอื่น)

ซากไดโนเสาร์ที่ค้นพบที่ระบุสายพันธุ์ได้มีทั้งหมด 9 สายพันธุ์ได้แก่

และยังมีอีกสองชนิดที่ไม่ยังสามารถระบุสายพันธุ์ได้

การเดินทาง

[แก้]

รถยนต์ส่วนตัวใช้เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2135 ออกจากตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำอยู่ทางขวามือ เลี้ยวขวาข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำมาประมาณ 50 เมตร พิพิธภัณฑ์จะอยู่ทางขวามือ

อ้างอิง

[แก้]