ไทแรนโนซอรัส
ไทแรนโนซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Maastrichtian), 68–66Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | ไดโนเสาร์ Dinosauria |
เคลด: | ซอริสเกีย Saurischia |
เคลด: | เทโรพอด Theropoda |
วงศ์: | †Tyrannosauridae Tyrannosauridae |
วงศ์ย่อย: | †Tyrannosaurinae Tyrannosaurinae |
สกุล: | †ไทแรนโนซอรัส Tyrannosaurus Osborn, 1905 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Tyrannosaurus rex Osborn, 1905 | |
สปีชีส์อื่��� ๆ | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้องสกุล
ชื่อพ้องชนิด
|
ไทแรนโนซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /tɨˌrænɵˈsɔrəs หรือ taɪˌrænɵˈsɔrəs/; แปลว่า กิ้งก่าทรราช มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus rex; rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที. เรกซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 66 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แต่มันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 12-13 ม.[1] [2]สูง 4.6 ม. จากพื้นถึงสะโพก[3] และมีน้ำหนักถึง 9-18 ตัน[4] ในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ นั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในทวีปอเมริกาเหนือ เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์, เซอราทอปเซีย หรือ ซอโรพอด [5]เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน ทีเร็กซ์นั้นสามารถ ล่าเหยื่อตัวเดียว ล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัว และกินซาก แน่นอนรวมถึงไดโนเสาร์นักล่าทุกชนิด ที่ล้วนแล้วก็มีโอกาสเป็นนักกินซากได้ทั้งหมด
ไทแรนโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยฐานะไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุด ก่อนจะเสียอันดับให้แก่ จิกแกนโนโทซอรัส และ สไปโนซอรัส
ไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ชื่อซู (Sue) เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.3 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร โดยตั้งชื่อมาจากซูฃานนักธรณีวิทยาที่ค้นพบ[6] ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ในปี 2549
ตัวอย่าง ฟอสซิลล่า สุด ของทีเร็กซ์ที่ตัวใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า สกอตตี้ (Scotty) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ 1991 มีความยาว 13 เมตร หนัก 8.8 ตัน
กายวิภาค
[แก้]ไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดและเคยเป็นตัวที่ใหญ่ที่สุด มีชื่อว่า FMNH PR2081 หรือ "ซู" (Sue) มีความยาว 12.3 ม. สูงจากพื้นถึงสะโพก 4 ม.[3] มีน้ำหนักประมาณ 9-18 ตัน[7] [8][9]
ซึ่งในพศ. 2562 ทีมขุดของ University of Alberta ได้ประกาศการค้นพบฟอสซิลของไทแรนโนซอรัสที่ใหญ่กว่าซู ซึ่งก็คือ RSM P2523.8 หรือ "สก็อตตี้" ถูกพบที่รัฐ Saskatchewan ของประเทศแคนาดา โดยสก็อตตี้มีความยาว 13 เมตร และหนักถึง 8.8 ตัน ซึ่งถือได้ว่าเป็น ไทแรนโนซอรัสทีตัวใหญ่ที่สุด[10][4][11][12][13]
ซึ่งหนักกว่า ไจแกนโนโตซอรัสและคาร์ชาโรดอนโทซอรัส
ถึงแม้ว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์จะมีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคจูแรสซิกอย่างอัลโลซอรัส แต่ก็ยังเล็กกว่าสไปโนซอรัส แต่ทีเร็กซ์ก็ใหญ่ที่สุดช่วงที่มันชีวิตอยู่และใหญ่ที่สุดในตระกูล และอย่างน้อย ทีเร็กซ์ก็เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวสูงที่สุด ณ เวลานี้ โดยทีเร็กซ์ตัวสูงที่สุดจากพื้นถึงหัว คือ 4.6เมตร ชื่อ แซมซัน [14][15] ไทแรนโนซอรัส เมื่อโตเต็มที่จะมีความเร็วที่ 30กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่ายังเร็วกว่า ความเร็วของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังช้ากว่าไดโนเสาร์กินเนื้อหลายชนิด แต่ตอนเป็นวัยรุ่น ทีเร็กซ์จะวิ่งเร็วถึง 40-50กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการล่าเหยื่อเป็นฝูงทั้งครอบครัว แต่จากการศึกษาล่าสุดของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ โดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรมวิเคราะห์แบบไดนามิกหลายแบบ สร้างแบบจำลองของโครงสร้างไทแรนโนซอรัสขึ้น โดยพิจารณาจากทั้งโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ พบว่าไทแรนโนซอรัสอาจจะไม่ได้มีความรวดเร็วถึงขนาดนั้น หากมีความเร็วถึงขนาดนั้นกระดูกของมันจะหัก เนื่องจากไม่สามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วยความเร็วถึงขนาดนั้น หากแต่น่าจะมีความเร็วเพียง 18 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือประมาณ 5 เมตร/1 วินาที ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึง แท้ที่จริงแล้วมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีการล่าเหยื่อโดยใช้วิธีการซุ่มโจมตีมากกว่าล่าเหยื่อ รวมถึงอาจจะเป็นสัตว์กินซากด้วย เช่นเดียวกับไดโนเสาร์นักล่าชนิดอื่น ต่างก็เป็นนักกินซากได้เช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น ทีเร็กซ์มันก็ยังสามารถล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัวได้ [16]
สมองของ ทีเรกซ์นั้นมีควาวยาวมากกว่า ไม้บรรทัด และใหญ่ที่สุดในหมู่นักล่าขนาดใหญ่ทั้งหมด จึงทำให้ ทีเร็กซ์เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่ฉลาดที่สุด ซึ่งการที่มันมีสมองขนาดใหญ่ทำให้เป็นประโยชน์ในการล่าที่เป็นฝูงทั้งครอบครัวได้ง่ายขึ้น
คอของไทแรนโนซอรัส เรกซ์งอโค้งเป็นรูปตัวเอสตามธรรมชาติเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆ แต่มีขนาดสั้นและล่ำสันเพื่อรองรับหัวที่มีขนาดใหญ่ ขาหน้ามีสองกรงเล็บและว่ากันว่าไว้ใช้พยุงตัวกับ[1]กระดูกขนาดเล็กที่เป็นส่วนที่หลงเหลือของนิ้วที่สาม[17] แต่ขาหลังกลับยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนของร่างกายในไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดต่างๆ หางยาวและมีน้ำหนักมาก อาจมีกระดูกมากกว่า 40 ชิ้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้สมดุลกับหัวที่มีขนาดใหญ่และลำตัวของมัน เพื่อชดเชยขนาดที่ใหญ่โต กระดูกหลายชิ้นจึงกลวงเพื่อลดน้ำหนักตัวลงโดยไม่สูญเสียความแข็งแรงไป[1]
กะโหลกศีรษะของไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นใหญ่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมดโดยวัดจากความกว้าง และมีความยาว 1.5 ม.[18] โพรงช่องเปิดขนาดใหญ่ในกะโหลกศีรษะมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักตัวและเป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อที่ยึดต��ดในกะโหลกเหมือนในไดโนเสาร์กินเนื้อทุกชนิด แต่ในส่วนอื่นของกะโหลกไทแรนโนซอรัสแตกต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น กะโหลกมีขนาดกว้างในส่วนด้านหลังและแคบลงไปทางจมูกเพื่อให้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดีเป็นพิเศษ[19][20] กะโหลกศีรษะ กระดูกจมูก และกระดูกอีกสองสามชิ้นเชื่อมต่อกัน เพื่อป้องกันการการเคลื่อนตัวของกระดูก แต่ก็เป็นโพรงอากาศจำนวนมาก (ประกอบไปด้วยช่องว่างขนาดเล็กคล้ายรังผึ้ง) ซึ่งอาจทำให้กระดูกมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นและเบาขึ้น กระดูกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้เป็นเป็นโครงสร้างสำคัญของวงศ์ไทแรนโนซอริดี (Tyrannosauridae) ทำให้การกัดทรงพลังขึ้นซึ่งเหนือกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่น[21][22][23] ปลายของขากรรไกรบนเป็นรูปตัวยู (ไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่นส่วนมากมีขากรรไกรบนเป็นรูปตัววี) ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนของเนื้อเยื่อและกระดูกที่ไทแรนโนซอรัสกัดออกมาได้ในหนึ่งครั้ง ถึงแม้ว่าจะเพิ่มแรงตึงเครียดบนฟันหน้าด้วยก็ตาม[24][25]
ฟันของไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นแบบเฮเทอโรดอนต์ (มีลักษณะรูปร่างต่าง) [1][26] ฟันหน้าบนขากรรไกรบนเบียดชิดกันมากเป็นฟันตัด (ปลายฟันเหมือนกับใบมีด) มีรูปร่างเป็นตัวดีเมื่อตัดขวาง เสริมด้วยสันบนผิวด้านหลัง และโค้งไปด้านหลัง ซึ่งลักษณะเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ฟันหักเมื่อไทแรนโนซอรัสกัดและดึง ส่วนฟันที่เหลือแข็งแรงทนทานมาก มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมมากกว่ากริช อยู่ห่างกันมากและมีสันเสริมด้วยเช่นกัน[27] ฟันบนขากรรไกรบนจะใหญ่กว่าฟันบนขากรรไกรล่าง ฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร (12 นิ้ว) รวมรากฟัน ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อ[3]
จากผลการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษ ได้มีการพบว่า ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพลังคมเขี้ยวแข็งแกร่งที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา โดยมีกำลังความแรงอยู่ที่ระหว่าง 30,000 ถึง 60,000 นิวตัน หรือประมาณ 6-10 ตัน ซึ่งเทียบเคียงได้เท่ากับช้างขนาดกลางหนึ่งเชือกที่กำลังนั่งทับตัวคน ซึ่งนักวิทยาสตร์คาดว่าทีเร็กซ์อาจมีแรงกัดถึง 18-23 ตัน[28]
และถึงแม้จะมีลำตัวขนาดใหญ่ และฟันที่น่ากลัว แต่ไทแรนโนซอรัสกลับเป็นไดโนเสาร์ที่มีอีกด้านหนึ่งที่อ่อนโยน เป็นไดโนเสาร์ที่ทำรังและเลี้ยงดูลูกเป็นอย่างดี และจากการศึกษาพบว่าไทแรนโนซอรัสมีจมูกที่อ่อนไหวต่อการสัมผัส เหมือนกับปลายนิ้วของมนุษย์ เชื่อว่ามันใช้จมูกนี้ในการสร้างรัง เคลื่อนย้ายไข่อย่างระมัดระวัง คอยดูแลลูกน้อย รวมถึงใช้สัมผัสถูไถกันเพื่อแสดงความรักในเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่กันด้วย[29]
การจำแนก
[แก้]ไทแรนโนซอรัสเป็นสกุลต้นแบบของวงศ์ใหญ่ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea), วงศ์ไทแรนโนซอริดี, และวงศ์ย่อยไทแรนโนซอริมี (Tyrannosaurinae) หรือในอีกแง่หนึ่งก็คือเป็นมาตรฐานสำหรับนักบรรพชีวินวิทยาตัดสินใจว่าจะเพิ่มสปีชีส์อื่นลงไปในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ สมาชิกอื่นๆของวงส์ย่อยไทแรนโนซอริมีก็มี ดัสเพลททอซอรัส (Daspletosaurus) จากอเมริกาเหนือและ ทาร์บอซอรัส (Tarbosaurus) จากทวีปเอเชีย[30][31] ซึ่งในบางครั้งทั้งสองก็ถูกจัดเป็นชื่อพ้องของไทแรนโนซอรัส[25] มีการคิดกันว่าไดโนเสาร์พวกไทแรนโนซอรัสนั้นเป็นลูกหลานของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่อย่างเมกะโลซอรัส (megalosaurs) และคาร์โนซอร์ (carnosaurs) ถึงแม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้มีการจำแนกใหม่ว่าไทแรนโนซอรัสเป็นซีลูโรซอร์ (coelurosaurs) ที่มีขนาดเล็กกว่า[24]
ในปีค.ศ. 1955 นักบรรพชีวินวิทยาชาวสหภาพโซเวียตที่ชื่อ เอฟเจนนี มอลวีฟ (Evgeny Maleev) ได้ตั้งชื่อไดโนเสาร์ชนิดใหม่จากประเทศมองโกเลียว่า Tyrannosaurus bataar[32] แต่ในปีค.ศ. 1965 ไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า Tarbosaurus bataar[33] สาเหตุของการตั้งชื่อใหม่นี้ เนื่องมาจากการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการพบว่า Tarbosaurus bataar มีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้นกับ Tyrannosaurus rex[31] และบ่อยครั้งมันได้รับการพิจารณาเป็นไทแรนโนซอรัสแห่งทวีปเอเชีย[24][34][35]
แต่เมื่อเร็วๆนี้ การศึกษากะโหลกศีรษะของ Tarbosaurus bataar พบว่ากะโหลกแคบกว่าของไทแรนโนซอรัส เรกซ์และเมื่อกัด การกระจายตัวของความเครียดในกะโหลกก็แตกต่างกันกับไทแรนโนซอร์ของเอเชียชนิดอื่นๆ ใกล้เคียงกับ Alioramus มากกว่า[36] เมื่อวิเคระห์ความสัมพันธ์ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้น พบว่า Alioramus น่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้นของ Tarbosaurus มากกว่าจะเป็นไทแรนโนซอรัส ซึ่งถ้าเป็นความจริงก็ควรจะแยก Tarbosaurus และไทแรนโนซอรัสออกจากกัน[30]
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอริดีชนิดอื่นที่พบในหมวดหินเดียวกันกับไทแรนโนซอรัส เรกซ์ซึ่งแต่เดิมถูกแบ่งแยกทางอนุกรมวิธานออกจากกัน ประกอบไปด้วย Aublysodon และ Albertosaurus megagracilis[25] ซึ่งชนิดหลังเดิมในปี ค.ศ. 1995 ถูกตั้งชื่อว่า Dinotyrannus megagracilis[37] อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วในปัจจุบันซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ถูกพิจารณาเป็น Tyrannosaurus rex ช่วงอายุวัยรุ่น[38]
Tyrannosauridae |
| ||||||||||||||||||||||||
การปรากฏตัว
[แก้]ทีเร็กซ์ปรากฏตัวในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น
-ภาพยนตร์ชุด จูราสสิค พาร์ค
-ภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาปให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Brochu, Christopher A. (2003). Osteology of Tyrannosaurus Rex: Insights from a Nearly Complete Skeleton and High-resolution Computed Tomographic Analysis of the Skull. Northbrook, Illinois: Society of Vertebrate Paleontology. OCLC 51651461. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "brochu2003" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ https://news.abs-cbn.com/overseas/03/23/19/tyrannosaurus-rex-found-in-canada-is-worlds-biggest
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Sue's vital statistics". Sue at the Field Museum. Field Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-15. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
- ↑ 4.0 4.1 Erickson, G.; Makovicky, P. J.; Currie, P. J.; Norell, M.; Yerby, S.; Brochu, C. A. (2004). "Gigantism and comparative life-history parameters of tyrannosaurid dinosaurs". Nature. 430 (7001): 772–775. doi:10.1038/nature02699.
- ↑ https://www.smithsonianmag.com/science-nature/when-tyrannosaurus-chomped-sauropods-67170161/
- ↑ "เว็บไซต์นิทรรศการไดโนเสาร์ ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ Henderson DM (January 1, 1999). "Estimating the masses and centers of mass of extinct animals by 3-D mathematical slicing". Paleobiology. 25 (1): 88–106.
- ↑ Anderson, J. F.; Hall-Martin, A. J.; Russell, D. (1985). "Long bone circumference and weight in mammals, birds and dinosaurs". Journal of Zoology. 207 (1): 53–61.
- ↑ Bakker, Robert T. (1986). The Dinosaur Heresies. New York: Kensington Publishing. ISBN 0-688-04287-2. OCLC 13699558.
- ↑ https://motherboard.vice.com/en_us/article/kzdj4w/paleontologists-identify-the-worlds-largest-tyrannosaurus-rex
- ↑ Farlow, JO (1995). "Body mass, bone "strength indicator", and cursorial potential of Tyrannosaurus rex". Journal of Vertebrate Paleontology. 15 (4): 713–725. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Seebacher, Frank. (2001). "A new method to calculate allometric length-mass relationships of dinosaurs". Journal of Vertebrate Paleontology. 21 (1): 51–60. doi:10.1671/0272-4634(2001)021[0051:ANMTCA]2.0.CO;2.
- ↑ Christiansen, P.; Fariña, R. A. (2004). "Mass prediction in theropod dinosaurs". Historical Biology. 16 (2–4): 85–92. doi:10.1080/08912960412331284313. S2CID 84322349.
- ↑ dal Sasso, Cristiano (2005). "New information on the skull of the enigmatic theropod Spinosaurus, with remarks on its sizes and affinities". Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (4): 888–896. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0888:NIOTSO]2.0.CO;2.
- ↑ Calvo, Jorge O.; Coria, Rodolfo (1998). "New specimen of Giganotosaurus carolinii (Coria & Salgado, 1995), supports it as the as the largest theropod ever found" (PDF). Gaia Revista de Geociências. 15: 117–122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, ความเร็วของที-เร็กซ์ ไดโนเสาร์นักล่าที่ชวนน่าสงสัย. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21735: วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา
- ↑ Lipkin, C.; Carpenter, K. (2008). "Looking again at the forelimb of Tyrannosaurus rex". ใน Carpenter, K.; Larson, P. E. (บ.ก.). Tyrannosaurus rex, the Tyrant King (Life of the Past). Bloomington: Indiana University Press. pp. 167–190. ISBN 0-253-35087-5.
- ↑ "Museum unveils world's largest T-rex skull" (Press release). Montana State University. 2006-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
- ↑ Stevens, Kent A. (2006). "Binocular vision in theropod dinosaurs" (PDF). Journal of Vertebrate Paleontology. 26 (2): 321–330. doi:10.1671/0272-4634(2006)26[321:BVITD]2.0.CO;2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ Jaffe, Eric (2006-07-01). "Sight for 'Saur Eyes: T. rex vision was among nature's best". Science News. 170 (1): 3. doi:10.2307/4017288. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ Snively, E.; Henderson, D. M.; Phillips, D. S. (2006). "Fused and vaulted nasals of tyrannosaurid dinosaurs: Implications for cranial strength and feeding mechanics" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 51 (3): 435–454. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Erickson, G. M.; Van Kirk, S. D.; Su, J.; Levenston, M. E.; Caler, W. E.; Carter, D. R. (1996). "Bite-force estimation for Tyrannosaurus rex from tooth-marked bones". Nature. 382: 706–708. doi:10.1038/382706a0.
- ↑ Meers, M.B. (2003). "Maximum bite force and prey size of Tyrannosaurus rex and their relationships to the inference of feeding behavior". Historical Biology: A Journal of Paleobiology. 16 (1): 1–12. doi:10.1080/0891296021000050755.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Holtz, Thomas R. (1994). "The Phylogenetic Position of the Tyrannosauridae: Implications for Theropod Systematics". Journal of Palaeontology. 68 (5): 1100–1117. doi:10.2307/1306180 (inactive 2010-02-20). สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: CS1 maint: DOI inactive as of กุมภาพันธ์ 2010 (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 25.2 Paul, Gregory S. (1988). Predatory dinosaurs of the world: a complete illustrated guide. New York: Simon and Schuster. ISBN 0-671-61946-2. OCLC 18350868.{{subst:PAGENAME}}
- ↑ Smith, J.B. (December 2005). "Heterodonty in Tyrannosaurus rex: implications for the taxonomic and systematic utility of theropod dentitions" (PDF). Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (4): 865–887. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0865:HITRIF]2.0.CO;2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ Douglas K, Young S (1998). "The dinosaur detectives". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
One palaeontologist memorably described the huge, curved teeth of T. rex as 'lethal bananas'
- ↑ คมเขี้ยวทีเร็กซ์แกร่งที่สุดในโลก. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12414. วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 9
- ↑ 'ที-เร็กซ์' นักรักผู้อ่อนไหว. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ปีที่ 29 ฉบับที่ 10443. วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560. หน้า 7 จุดประการ WILD
- ↑ 30.0 30.1 Currie, Philip J. (2003). "Skull structure and evolution in tyrannosaurid dinosaurs" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 48 (2): 227–234. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 31.0 31.1 Holtz, Thomas R., Jr. (2004). "Tyrannosauroidea". ใน David B. Weishampel, Peter Dodson and Halszka Osmólska (บ.ก.). The dinosauria. Berkeley: University of California Press. pp. 111–136. ISBN 0-520-24209-2.
- ↑ Maleev, E. A. (1955). [Gigantic carnivorous dinosaurs of Mongolia]. Doklady Akademii Nauk SSSR (ภาษารัสเซีย). 104 (4): 634–637.
{{cite journal}}
:|trans-title=
ต้องการ|title=
หรือ|script-title=
(help) - ↑ Rozhdestvensky, AK (1965). "Growth changes in Asian dinosaurs and some problems of their taxonomy". Paleontological Journal. 3: 95–109.
- ↑ Carpenter, Kenneth (1992). "Tyrannosaurids (Dinosauria) of Asia and North America". ใน Niall J. Mateer and Pei-ji Chen (บ.ก.). Aspects of nonmarine Cretaceous geology. Beijing: China Ocean Press. ISBN 9787502714635. OCLC 28260578.
- ↑ Carr, Thomas D. (March 2005). "A New Genus and Species of Tyrannosauroid from the Late Cretaceous (Middle Campanian) Demopolis Formation of Alabama". Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (1): 119–143. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0119:ANGASO]2.0.CO;2.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Hurum, Jørn H. (2003). "Giant theropod dinosaurs from Asia and North America: Skulls of Tarbosaurus bataar and Tyrannosaurus rex compared" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 48 (2): 161–190. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Olshevsky, George (1995). "The origin and evolution of the tyrannosaurids". Kyoryugaku Saizensen [Dino Frontline]. 9–10: 92–119.
- ↑ Carr, T.D. (2004). "Diversity of late Maastrichtian Tyrannosauridae (Dinosauria: Theropoda) from western North America". Zoological Journal of the Linnean Society. 142: 479–523. doi:10.1111/j.1096-3642.2004.00130.x.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Farlow, J. O.; Gatesy, S. M.; Holtz, T. R., Jr.; Hutchinson, J. R.; Robinson, J. M. (2000). "Theropod Locomotion". American Zoologist. 40 (4): 640–663. doi:10.1093/icb/40.4.640. JSTOR 3884284.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The University of Edinburgh Lecture Dr Stephen Brusatte – Tyrannosaur Discoveries Feb 20, 2015
- 28 species in the tyrannosaur family tree, when and where they lived Stephen Brusatte Thomas Carr 2016