ข้ามไปเนื้อหา

แสวง พิบูลย์สราวุธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสวง พิบูลย์สราวุธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2473
อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
เสียชีวิต28 มกราคม พ.ศ. 2565 (91 ปี)
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
คู่สมรสนพมาศ พิบูลย์สราวุธ

แสวง พิบูลย์สราวุธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 2 สมัย และอดีตประธานพรรคเกษตรสังคม[1][2]

ประวัติ

[แก้]

แสวง พิบูลย์สราวุธ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2473 ที่ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี[1]

การทำงาน

[แก้]

แสวง ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งให้กับทหารอเมริกัน[1] ต่อมามีการตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้มาชวนไปเข้าร่วมกิจการ ก่อนจะเข้ามาทำงานเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดอุดรธานี พร้อมกับเป็นประธานสภาเทศบาลเมืองอุดรธานี

แสวง เริ่มเข้าสู่การทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในสังกัดพรรคเกษตรสังคม และเป็นประธานพรรคเกษตรสังคม

ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยพรรคกิจสังคม แกนนำรัฐบาล ได้ชักชวนพรรคเกษตรสังคมเข้าร่วมรัฐบาลด้วย เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] แต่เกิดกระแสความไม่พอใจในพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในอีก 3 วันต่อมา

แสวง มีผลการสำคัญในจังหวัดอุดรธานี คือ การผลักดันการปรับปรุงโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม[1] และการช่วยเหลืองานสังคมต่างๆ[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เหลือเชื่อ รมช.ชีวิตตกอับ
  2. เรื่องเหลือเชื่อ รมช.ชีวิตตกอับ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)
  4. "โรงเรียนบ้านหนองบัวเงิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  5. http://jibjigjell.blogspot.com/
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓