เอลีชา
เอลีชา ผู้เผยพระวจนะ | |
---|---|
เอลีชาฟื้นคืนชีพบุตรของชาวชูเนม ภาพวาดของการ์ดคัมภีร์ไบเบิลเมื่อต้นทศวรรษ 1900 | |
เกิด | ราว 910 ปีก่อนคริสตกาล |
เสียชีวิต | ราว 800 ปีก่อนคริสตกาล สะมาเรีย |
ในคัมภีร์ฮีบรู เอลีชา (อังกฤษ: Elisha, /əˈlaɪʃə/;[1] ฮีบรู: אֱלִישָׁע, ใหม่: ʼElīšaʻ, ไทบีเรียน: ʼĔlīšāʻ, "พระเจ้าของเราคือความรอด" หรือ "พระเจ้าเป็นความรอดของเรา"; กรีก: Ἐλισ[σ]αῖος, Elis[s]aîos หรือ Ἐλισαιέ, Elisaié; ละติน: Eliseus) เป็นผู้เผยพระวจนะและผู้แสดงเหตุอัศจรรย์ ชื่อของเอลีชามักแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Elisha จากภาษาฮีบรู, Eliseus จากภาษากรีกและภาษาละติน, หรือ Alyasa จากภาษาอาหรับ, และ Elyasa หรือ Elyesa จากภาษาตุรกี เอลีชายังได้รับการระบุถึงในพันธสัญญาใหม่[2] และคัมภีร์อัลกุรอาน เอลีชาได้รับการยกย่องในฐานะผู้เผยพระ���จนะในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม งานเขียนของศาสนาบาไฮก็มีการกล่าวถึงชื่อของเอลีชา[3]
ก่อนที่เอลีชาจะมาอาศัยอยู่ในสะมาเรีย ได้เคยอยู่บนภูเขาคารเมลในช่วงเวลาหนึ่ง[4] เอลีชาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกษัตริย์องค์ที่ 3 ถึงองค์ที่ 8 แห่งยูดาห์ด้วยคำเรียกว่า "ผู้เผยพระวจนะในอิสราเอล" เอลีชาได้ชื่อว่าเป็นผู้รักปิตุภูมิเพราะการช่วยเหลือทหารและกษัตริย์[5]
ในเรื่องเล่าของคัมภีร์ไบเบิล เอลีชาเป็นลูกศิษย์และผู้รับใช้ของเอลียาห์ หลังจากเอลียาห์ถูกพาขึ้นสวรรค์ไปโดยพายุ เอลีชาได้รับฤทธิ์เดชสองส่วนของเอลียาห์และได้รับตำแหน่งผู้นำของผู้เผยพระวจนะ จากนั้นเอลีชาก็ได้ทำการอัศจรรย์มากเป็นสองเท่าของเอลียาห์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wells, John C. (1990). "Elisha". Longman Pronunciation Dictionary. Harlow, England: Longman. p. 239. ISBN 0-582-05383-8.
- ↑ ลูกา 4:27 "และมีคนโรคเรื้อนอยู่มากมายท่ามกลางพวกอิสราเอลในสมัยของเอลีชาผู้เผยพระวจนะด้วย แต่ไม่มีใครได้รับการรักษาให้หายเว้นแต่นาอามานชาวซีเรีย"
- ↑ Revisioning the Sacred: New Perspectives on a Bahái̓́ Theology, Volume 8. p. 32. Jack McLean. 1997.
- ↑ Duffy, D (1909). "Eliseus". The Catholic Encyclopedia. Vol. 5. New York: Robert Appleton Company. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ Achtemeijer, Paul L. ed., and Dennis R. Bratcher, Ph.D. "Elisha." HarperCollins Bible Dictionary. New York, New York: HarperCollins Publishers, 1996.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]มุมมองของศาสนาอิสลาม
[แก้]- Amina Adil, Gaben des Lichts. Die wundersamen Geschichten der Gesandten Gottes (Kandern im Schwarzwald 1999), 563–73
- al-Farrāʾ, Maʿānī al-Qurʾān, ed. Aḥmad Yūsuf Najātī and Muḥammad ʿAlī al-Najjār (Cairo 1955–71), 2:407–8
- Josef Horovitz, Koranische Untersuchungen (Berlin and Leipzig 1926), 99, 101
- al-Khūshābī, ʿArāʾis al-Qurʾān wa-nafāʾis al-furqān wa-farādīs al-jinān, ed. Saʿīd ʿAbd al-Fattāḥ (Beirut 2007), 167–9
- al-Kisāʾī, Qiṣaṣ al-anbiyāʾ, ed. Isaac Eisenberg (Leiden 1922–3), 199–205, trans. Wheeler M. Thackston Jr., The tales of the prophets of al-Kisaʾi (Boston 1978), 269
- al-Majlisī, Biḥār al-anwār (Beirut 1983), 13:396–403
- al-Maqdisī, al-Muṭahhar b. Ṭāhir, al-Badʾ wa-l-taʾrīkh, ed. Clément Huart (Paris 1903), 3:100
- al-Rabghūzī, Stories of the prophets, ed. Hendrik E. Boeschoten, M. Vandamme, and Semih Tezcan (Leiden 1995), 2:460
- Sibṭ b. al-Jawzī, Mirʾāt al-zamān fī taʾrīkh al-aʿyān, ed. Iḥsān ʿAbbās (Beirut 1985), 1:460, 466
- al-Ṭabarī, Taʾrīkh al-rusul wa-l-mulūk, ed. M. J. de Goeje et al. (Leiden 1879–1901), 1:542–4, trans. William M. Brinner, The history of al-Ṭabarī, vol. 4, The Children of Israel (Albany 1991), 124–5
- al-Thaʿlabī, Qiṣaṣ al-anbiyāʾ (Cairo 1954), 259–61, trans. William M. Brinner, ʿArāʾis al-Majālis fī Qiṣaṣ al-Anbiyāʾ or Lives of the prophets, as recounted by Abū Isḥāq Aḥmad ibn Muḥammad ibn Ibrāhīm al-Thaʿlabī (Leiden 2002), 432–35.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Prophet Elisha in Carmelite Tradition เก็บถาวร 2015-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Prophet Elisha Orthodox icon and synaxarion