ข้ามไปเนื้อหา

เดโบราห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดโบราห์
ชื่ออื่นDebora, Débora, Dvora
อาชีพศาสนทูตของพระเจ้า, ผู้วินิจฉัยคนที่ 4 ของอิสราเอล
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนชัมการ์
ผู้สืบตำแหน่งกิเดโอน
คู่สมรสลัปปิโดท (อาจจะ)

ตามรายงานจากหนังสือผู้วินิจฉัย เดโบราห์ (ฮีบรู: דְּבוֹרָה, Dəḇōrā, "ผึ้ง") เป็นผู้เผยพระวจนะของพระเป็นเจ้าของวงศ์วานอิสราเอล ผู้วินิจฉัยแห่งอิสราเอลสมัยก่อนกษัตริย์คนที่ 4 และเป็นผู้วินิจฉัยหญิงคนเดียวที่กล่าวถึงในคัมภีร์ฮีบรู นักวิชาการหลายคนยืนยันว่าวลี "ภรรยาของลัปปิโดท" ในผู้วินิจฉัย 4:4 ของคัมภีร์ฮีบรู หมายถึงสถานภาพการสมรสของนางเป็นภริยาของลัปปิโดท[1] หรือ "ลัปปิด"[1] ที่แปลว่า "คบเพลิง" หรือ "สายฟ้า" ดังนั้น วลี "ภรรยาของลัปปิโดท" อาจสื่อถึงเดโบราห์เป็น "สตรีรุ่มร้อน"[2] เดโบราห์พูดกับบาราค นายพลชาวอิสราเอล[1]จากเคเดชในเขตนัฟทาลีไว้ว่า พระเจ้าสั่งให้เขานำกองทัพไปโจมตีกองกำลังของยาบิน กษัตริย์แห่งคานาอัน และสิเสรา แม่ทัพของพระองค์ (ผู้วินิจฉัย 4:6–7) เรื่องราวทั้งหมดปรากฏอยู่ในบทที่ 4

ในผู้วินิจฉัย 5 กล่าวถึงเรื่องเดียวกันในรูปแบบกวี ข้อความเหล่านี้มักมีชื่อเรียกว่า บทเพลงของเดโบราห์ อาจมีอายุถึงต้นศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช[3] และอาจเป็นตัวอย่างกวีภาษาฮีบรูแบบแรกสุด[4]

เรื่องเล่าในพระคัมภีร์

[แก้]
เดโบราห์ใต้ต้นปาล์ม (ป. ค.ศ. 1896–1902), เจมส์ ทิโซ
สุสานใกล้เคเดชที่ระบุว่าเป็นของบาราคหรือเดโบราห์

ในหนังสือผู้วินิจฉัยระบุว่า เดโบราห์เป็นผู้เผยพระวจนะ, ผู้วินิจฉัยของวงศ์วานอิสราเอล และภรรยาของลัปปิโดท[5][6] เธอเปิดศาลตัดสินใต้ต้นอินทผลัมระหว่างรามาห์ในเขตเบนยามินกับเบธเอลในดินแดนของเอฟราอิม[7]

ชาวอิสราเอลถูกกดขี่จากยาบิน กษัตริย์แห่งคานาอันที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ฮาซอร์เป็นเวลา 20 ปี เนื่องจากความปั่นป่วนจากสภาพอันเลวร้ายของอิสราเอล เธอจึงส่งข้อความไปหาบาราค บุตรอาบีโนอัม ที่เคเดชแห่งนัฟทาลี และบอกเขาว่า “พระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอลทรงบัญชาท่านว่า ‘จงยกพลหนึ่งหมื่นคนจากเผ่านัฟทาลีกับเผ่าเศบูลุนไปยังภูเขาทาโบร์ เราจะล่อสิเสราแม่ทัพของกษัตริย์ยาบินพร้อมด้วยรถม้าศึกและกองทหารของเขามาที่แม่น้ำคีโชน...’ ” บาราคตั้งสินใจเดินทางไปโดยไม่มีเธอ เดโบราห์ยินยอม แต่ประกาศว่า “...ท่านจะไม่ได้รับเกียรติ เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงมอบสิเสราไว้ในมือผู้หญิงคนหนึ่ง” หลังจากข่าวนั้นเดินทางไปถึงสิเสรา เขาจึงรวบรวม “กำลังพลทั้งหมดและรถรบเหล็กเก้าร้อยคัน...”[6]

จากนั้น ในผู้วินิจฉัย 4:14 เดโบราห์กล่าวว่า:

"จงไปเถิด! วันนี้เป็นวันที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบสิเสราไว้ในมือของท่าน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงนำหน้าท่านไปไม่ใช่หรือ?" ดังนั้นบาราคจึงนำพลหนึ่งหมื่นคนลงจากภูเขาทาโบร์เข้าประจัญบาน

จากนั้นก็เกิดการต่อสู้ตามที่เดโบราห์ได้ทำนายไว้ และสิเสราก็ประสบกับความพ่ายแพ้ เขาเดินหลบหนีไป ในขณะที่กองทัพของเขาหนีไปไกลถึงฮาโรเชธฮาโกยิมและถูกทำลาย สิเสราเข้าไปในเต้นท์ของยาเอล จากนั้นจึงขอเครื่องดื่ม เธอจึงให้นมแก่เขา และในขณะที่เขานอนพักผ่อน เธอจึงใช้ค้อนตอกหลักหมุดเข้าที่ขมับของเขา[6]

เรื่องราวของเดโบราห์สิ้นสุดด้วยข้อความที่ว่า หลังสงครามก็เกิดสันติภาพในดินแดนนั้นเป็นเวลา 40 ปี (Judges 5:31)

บทเพลงของเดโบราห์

[แก้]
ภาพเดโบราห์ใน Gustave Doré's illustrations for La Grande Bible de Tours (ค.ศ. 1865)

บทเพลงของเดโบราห์ปรากฏในผู้วินิจฉัย 5:2–31 และเป็นเพลงสดุดีที่ร้องโดยโดบาราห์และบาราค เกี่ยวกับความพ่ายแพ้ของศัตรูชาวคานาอันโดยบางเผ่าของอิสราเอล เนื้อหาในบทเพลงมีความแตกต่างเล็กน้อยจากเหตุการณ์ที่บรรยายในผู้วินิจฉัย 4 บทเพลงกล่าวถึงเผ่าที่เข้าร่วมในยุทธการ 6 เผ่า ได้แก่ เผ่าเอฟราอิม, เผ่าเบนยามิน, มาคีร์ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับเผ่ามนัสเสห์-เผ่าเศบูลุน, เผ่าอิสสาคาร์ และเผ่านัฟทาลี แตกต่างจากสองเผ่าที่ระบุในผู้วินิจฉัย 4:6 (เผ่านีฟทาลีและเผ่าเศบูลุน) และไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของยาบิน (กษัตริย์แห่งฮาโซร์)[8] บทเพลงยังตำหนิเผ่าอื่น ๆ อีก 3 เผ่า (เผ่ารูเบน, เผ่าดาน และเผ่าอาเชอร์) ที่ไม่เข้าร่วมในยุทธการ[9]

ลำดับเหตุการณ์แบบดั้งเดิม

[แก้]

ลำดับเวลายิวแบบดั้งเดิมจัดให้ช่วงที่เดโบราห์วินิจฉัยวงศ์วานอิสราเอล 40 ปี (Judges 5:31) อยู่ในช่วง 1,107 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งเธอเสียชีวิตใน 1,067 ปีก่อนคริสต์ศักราช[10] ส่วน Dictionary of World Biography: The Ancient World อ้างว่าเธออาจมีชีวิตในช่วงระหว่าง 1,200 ถึง 1,124 ปีก่อนคริสต์ศักราช[11] จากการค้นพบทางโบราณคดี นักวิชาการพระคัมภีร์หลายคนแย้งว่าสงครามของเดโบราห์กับสิเสราเหมาะสมกับบริบทในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช[12] หรือช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช[13]

ภาพ

[แก้]
ภาพวาดของเดโบราห์
เดโบราห์กับบาราคในจุลจิตรกรรมจาก Psalter of St. Louis ในคริสต์ศตวรรษที่ 13
เดโบราห์กับบาราคในจุลจิตรกรรมจาก Psalter of St. Louis ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 
ยาเอล, เดโบราห์ และบาราค (ป. ค.ศ. 1630) โดยSalomon de Bray
ยาเอล, เดโบราห์ และบาราค (ป. ค.ศ. 1630) โดยSalomon de Bray 
รูปปั้นเดโบราห์ (1792) ที่แอ็กซ็องพรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส
รูปปั้นเดโบราห์ (1792) ที่แอ็กซ็องพรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส 
เดโบราห์บนผนังรูปสามเหลี่ยมโค้ง (pendentive) ของโดมโบสถ์ที่ Tenancingo, ประเทศเม็กซิโก
เดโบราห์บนผนังรูปสามเหลี่ยมโค้ง (pendentive) ของโดมโบสถ์ที่ Tenancingo, ประเทศเม็กซิโก 
เดโบราห์วินิจฉัยชาวอิสราเอล แผงทิศตะวันตกที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาคารรัฐสภารัฐเนแบรสกา
เดโบราห์วินิจฉัยชาวอิสราเอล แผงทิศตะวันตกที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาคารรัฐสภารัฐเนแบรสกา 

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Van Wijk-Bos, Johanna WH. The End of the Beginning: Joshua and Judges. Wm. B. Eerdmans Publishing, 2019.
  2. García Bachmann, Mercedes L., Ahida E. Pilarski, and Barbara E. Reid. "Judges." Wisdom commentary (2018).
  3. Coogan, Michael D. (2011). The Old Testament: A Historical and Literary Introduction to the Hebrew Scriptures. Oxford University Press. pp. 214, 219.
  4.  Cook, Stanley (1911). "Deborah" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 7 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 904.
  5. ผู้วินิจฉัย 4:4
  6. 6.0 6.1 6.2 "Deborah", Jewish Encyclopedia.
  7. แม่แบบ:Bible verse
  8. Nelson, Richard (2006). "Judges". The Harper Collins Study Bible, rev. ed. Eds. Attridge, Harold & Wayne Meeks. New York: HarperCollins, p. 353.
  9. Singer, Isidore, บ.ก. (1912). "Deborah, The Song of". The Jewish Encyclopedia. Vol. 4 (3 ed.). New York: Funk & Wagnalls. p. 490.
  10. Jewish History: Deborah the Prophetess, Chabad.
  11. Northen Magill, Frank and Christina J. Moose (2003-01-23). "Deborah". Dictionary of World Biography: The Ancient World. ISBN 978-1-57958040-7. สืบค้นเมื่อ 1 April 2013.
  12. Albright, W. F. (1937). "Further Light on the History of Israel from Lachish and Megiddo". Bulletin of the American Schools of Oriental Research. 68 (68): 22–26. doi:10.2307/3218855. JSTOR 3218855. S2CID 163435967.
  13. Mayes, A. D. H. (1969). "The Historical Context of the Battle against Sisera". Vetus Testamentum. 19 (3): 353–360. doi:10.2307/1516506. JSTOR 1516506.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เดโบราห์ ถัดไป
ชัมการ์ ผู้วินิจฉัยแห่งอิสราเอล
กิเดโอน