เสือชีตาห์เอเชีย
เสือชีตาห์เอเชีย | |
---|---|
เสือชีตาห์เอเชียตัวผู้ที่เขตอพยพสัตว์ป่าเมนดาชต์ อิหร่าน | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Acinonyx |
สปีชีส์: | A. jubatus |
Trinomial name | |
Acinonyx jubatus venaticus (Griffith, 1821) | |
แผนที่กระจายพันธุ์ของเสือชีตาห์เอเชีย (สีเขียว) | |
ชื่อพ้อง | |
|
เสือชีตาห์เอเชีย (อังกฤษ: Asiatic cheetah; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acinonyx jubatus venaticus) เสือชีตาห์ชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับเสือชีตาห์ที่พบในทวีปแอฟริกา แต่ว่ามีส่วนหัวที่เล็กกว่า ขาสั้น มีขนหนา และมีกระดูกคอที่แข็งแรงกว่า กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียหลายภูมิภาคทั้งอินเดีย, รัสเซีย, ตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน เป็นต้น [2] เชื่อว่าแยกออกจากชนิดที่พบในทวีปแอฟริกาเมื่อกว่า 32,000 ถึง 67,000 ปีมาแล้ว[3]
เสือชีตาห์เอเชียเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการเอาตัวรอดสูงและเดินทางรอนแรมได้ไกลกว่าเสือชีตาห์ที่พบในทวีปแอฟริกา โดยในอดีต มีการเลี้ยงเสือชีตาห์เอเชียไว้ในราชสำนักหรือบ้านของชนชั้นสูงเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ เช่น แอนทิโลปชนิดต่าง ๆ ในอินเดียและอิหร่าน[4] แต่ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง โดยคาดว่ามีจำนวนประชากรในธรรมชาติราว 60–100 ตัวเท่านั้น[5] โดยปัจุบันหลงเหลืออยู่เฉพาะในอิหร่านเท่านั้น[1]
เสือชีตาห์เอเชียเป็นสัตว์สัญลักษณ์ในชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติอิหร่านสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล และเอเชียนคัพ 2015[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Jowkar, H.; Hunter, L.; Ziaie, H.; Marker, L.; Breitenmoser-Würsten, C.; Durant, S. (2008). "Acinonyx jubatus ssp. venaticus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2015.2.
- ↑ หน้า 7 WILD จุดประกาย, 5 เรื่องที่น่ารู้ของชีตาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 30 ฉบับที่ 10366: วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
- ↑ Charruau, P.; Fernandes, C.; Orozco-Terwengel, P.; Peters, J.; Hunter, L.; Ziaie, H.; Jourabchian, A.; Jowkar, H.; Schaller, G.; Ostrowski, S. (2011). "Phylogeography, genetic structure and population divergence time of cheetahs in Africa and Asia: evidence for long-term geographic isolates". Molecular Ecology. 20 (4): 706–724. doi:10.1111/j.1365-294X.2010.04986.x. PMC 3531615. PMID 21214655.
- ↑ Lydekker, R. A. (1894). The Royal Natural History. Vol. 1. London, New York: Frederick Warne & Company.
- ↑ หน้า 7, เรื่องที่น่ารู้ของเสือชีตาห์ สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์. "โลกโศภิณ". "โลกาวิวัฒน์ GLOBALIZATION". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 23568: วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา
- ↑ "Iran's World Cup kits unveiled Photos". Persian Football. 1 February 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acinonyx jubatus venaticus ที่วิกิสปีชีส์