เปาโลอัครทูต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นักบุญเปาโล | |
---|---|
นักบุญเปาโล วาดโดยปีเอโตร ดา กอร์โตนา | |
อัครทูตและมรณสักขี | |
เกิด | ประมาณ ค.ศ. 5 ทาร์ซัส |
เสียชีวิต | ประมาณ ค.ศ. 67 โรม |
นิกาย | โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน |
วันฉลอง | 22 กุมภาพันธ์, 29 มิถุนายน (พลีชีพ), 18 พฤศจิกายน (อุทิศ) |
สัญลักษณ์ | ดาบและคัมภีร์ |
องค์อุปถัมภ์ | พันธกิจ นักเทววิทยา คริสต์ศาสนิกชนต่างชาติ |
นักบุญเปาโลอัครทูต (อังกฤษ: St. Paul the Apostle) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (อังกฤษ: St. Paul of Tarsus; อิตาลี: San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” [1]เป็นอัครทูตมายังพวกต่างชาติ หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์มักจะเรียกท่านว่า "อาจารย์เปาโล"
[2] (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just) [3], เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่น ๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขน[4]ตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไปดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม์[5] นักบุญเปาโลกล่าวว่าท่านมิได้รับพระวจนะจากมนุษย์แต่ได้รับจากพระเยซูโดยตรง[6]
กล่าวกันว่าพันธสัญญาใหม่สิบสี่บทหรือที่เรียกว่าจดหมายของนักบุญเปาโล เขียนโดยท่านเอง แต่ใครเป็นผู้เขียนจริงก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักบุญเปาโลมักจะบอกให้ช่างเขียน (amanuensis) เขียน นาน ๆ จึงเขียนด้วยตนเอง[7][8] การรับรองว่าข้อเขียนเป็นของแท้ ผู้เขียนจดหมาย[9] มักจะใช้ย่อหน้าที่แสดงให้เห็นว่าเป็นลายมือของนักบุญเปาโลเอง จดหมายเหล่านี้ใช้เผยแพร่ในชุมชนผู้นับถือคริสต์ศาสนา จดหมายของนักบุญเปาโลเป็นเอกสารที่สำคัญในพันธสัญญาใหม่ และในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายศาสนจักร จดหมายของนักบุญเปาโลเชื่อกันว่าเป็นเอกสารฉบับแรกที่สุดของพันธสัญญาใหม่
ปรัชญาความคิดเห็นของนักบุญเปาโลกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นความคิดเห็นที่สำคัญกว่าความคิดอื่นใดของผู้มีส่วนเขียนพันธสัญญาใหม่[10] อิทธิพลความคิดเห็นของนักบุญเปาโลอาจจะเห็นได้จากปรัชญาของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างนักเทววิทยาก็อตสชอลค (Gottschalk) และฮิงมาร์แห่งรีมส์ (Hincmar of Reims) หรือ ระหว่าง ลัทธิทอมัสของนักบุญโทมัส อควีนาส กับลัทธิโมลินา (Molinism) ของลุยส์ โมลินา (Luis Molina) เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bauer lexicon; [1] เก็บถาวร 2008-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก The New Testament of Our Lord and Saviour Jesus Christ: According to the Received Greek Text (University Press, Cambridge 1876)
- ↑ Romans 11:13 (King James Version), Galatians 2:8 (King James Version)
- ↑ “The Canon Debate”, McDonald & Sanders editors, 2002, บทที่ 32, หน้า 577, โดย James D. G. Dunn: "For Peter was probably in fact and effect the bridge-man (pontifex maximus!) who did more than any other to hold together the diversity of first-century Christianity. James the brother of Jesus and Paul, the two other most prominent leading figures in first-century Christianity, were too much identified with their respective "brands" of Christianity, at least in the eyes of Christians at the opposite ends of this particular spectrum. But Peter, as shown particularly by the Antioch episode in Gal 2, had both a care to hold firm to his Jewish heritage, which Paul lacked, and an openness to the demands of developing Christianity, which James lacked. John might have served as such a figure of the center holding together the extremes, but if the writings linked with his name are at all indicative of his own stance he was too much of an individualist to provide such a rallying point. Others could link the developing new religion more firmly to its founding events and to Jesus himself. But none of them, including the rest of the twelve, seem to have played any role of continuing significance for the whole sweep of Christianity—though James the brother of John might have proved an exception had he been spared." [Italics original]
- ↑ The Complete Gospels, Robert J. Miller ed., notes on Matt|26:48: "The fact that Judas needs to use a sign indicates that Jesus was not known by face in Jerusalem." Presumably, at that time, Paul was in Jerusalem studying under the famous Pharisee Gamaliel.
- ↑ Acts 9:1-31, Acts 22:1-22, Acts 26:9-24
- ↑ Galatians 1:11–12
- ↑ Galatians 6:11, Rom 16:22, Cor 16:21, Col 4:18, Thess 3:17, Phil 1:19
- ↑ Joseph Barber Lightfoot in his Commentary on the Epistle to the Galatians writes: "At this point [กาลาเทีย 6:11 ] the apostle takes the pen from his amanuensis, and the concluding paragraph is written with his own hand. From the time when letters began to be forged in his name {2Thess 2:2, Thessalonians 2:2;, 2Thess 3:17, Thessalonians 3:17) it seems to have been his practice to close with a few words in his own handwriting, as a precaution against such forgeries… In the present case he writes a whole paragraph, summing up the main lessons of the epistle in terse, eager, disjointed sentences. He writes it, too, in large, bold characters (Gr. pelikois grammasin), that his handwriting may reflect the energy and determination of his soul."
- ↑ Thess 2:2; Thess 3:17
- ↑ Oxford Dictionary of the Christian Church ed. F.L. Lucas (Oxford) entry on St. Paul