ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล

กีดา อัล เฏาะลาล
เจ้าหญิงแห่งฮัชไมต์จอร์แดน
ประสูติ11 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
ประเทศเลบานอน
พระสวามีเจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด
พระบุตร3 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์อัชไมต์
พระบิดาแฮรี ซาเลม
พระมารดาราจิรา อารีบา

เจ้าหญิงกีดา อัล เฏาะลาล (อังกฤษ: Princess Ghida al-Talal) เป็นบุตรของนาย แฮรี ซาเลม กับ นางราจิรา อารีบา ประสูติ ณ ประเทศเลบานอน ต่อมาได้เสกสมรสกับ เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด พระโอรสใน เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน เฏาะลาล รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงกีดา อัล เฏาะลาล เจ้าหญิงแห่งฮัชไมต์จอร์แดน มีพระบุตร 3 พระองค์

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงกีดา ประสูติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2506กรุงเบรุต เลบานอน เป็นธิดาคนโตในบรรดาพี่น้องทั้ง 4 ของ แฮรี ซาเลม และ ราจิรา อารีบา โดยครอบครัวของพระองค์เป็นนักการเมืองท้องถิ่นของเลบานอนด้วย โดยพระอัยยกา(ปู่)ในพระองค์เป็นนักการเมืองที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ญาติของพระองค์หลายคนเป็นนักวิชาการที่มีความรู้และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

การศึกษา

[แก้]

พระองค์ทรงศึกษา ณ โรงเรียนในกรุง��บรุตที่วิทยาลัยโปรเตสแตนต์ฟรองซ์ และจบการศึกษาจากบัณฑิตวิทยาลัยฝรั่งเศสและเลบานอน หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกา ทรงจบการศึกษาระดับอุมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์กรุงวอชิงตัน พระองค์สามารถรับสั่ง ภาษาอาหรับ ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส และ ภาษาอังกฤษ

เสกสมรส

[แก้]

พระองค์เข้าพิธีสมรสกับ เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด ทรงได้รับพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงกีดา อัล เฏาะลาล พระชายา โดยมีพระบุตร 3 พระองค์

พระกรณียากิจ

[แก้]

หลังจากเป็นเจ้าหญิงแล้ว พระองค์ได้เล่นเฟซบุ๊ก โดยตั้งเป็นส่วนพระองค์โดยทรงโพสต์ให้ประชาชนที่ติดตามเฝ้าตระหนึกถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง ในปีพ.ศ. 2545 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 บิน อัลฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพระองค์เป็น เป็นประธานมูลนิธิคณะรัฐมนตรีมูลนิธิคิงฮุสเซน พระกรณียากิจต่างประเทศของพระองค์ก็ปฏิบัติเคียงคู่พระสวามี ดังนี้

  1. พ.ศ. 2548 เสด็จพร้อมด้วยพระสวามีเยือน เดนมาร์ก โดยทรงหาความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยโคเปเฮเกน ณ กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก เสด็จแทนพระองค์ไปในต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากจอร์แดน หลังจากนั้น เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระราชอาคันตุกะจากจอร์แดนเฝ้าทูลละอองพระบาท ณ พระตำหนักเฮเดนบอร์ก
  2. พ.ศ. 2550 เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยือน สหราชอาณาจักร โดยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร โดยพระองค์ได้เสด็จพร้อมด้วยโซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซ็กส์ เยือนมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
  3. พ.ศ. 2556 เสด็จเยือน โปรตุเกส โดยได้ประทานพระวโรกาสให้ประธานาธิบดีแห่งโปรตุเกสเฝ้า พร้อมถวายของที่ระลึก
  4. พ.ศ. 2558 เสด็จเยือน นิวซีแลนด์ โดยได้ประทานพระดำรัสเกี่ยวกับการจัดตั้งมูลนิธีเจ้าหญิงกีดาแก่ นายเจอร์รี มาเตปาราเอ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  5. พ.ศ. 2559 เสด็จเยือน ลักเซมเบิร์ก โดยได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก และ แกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก ณ พระราชวังหลวงลักเซมเบิร์ก
  6. พ.ศ. 2560 เสด็จเยือน เนเธอร์แลนด์ โดยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ณ พระราชวังหลวงอัมสเตอร์ดัม จากนั้นได้เสด็จไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เจ้าหญิงเบียทริกซ์ อดีตสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชนนี ณ พระตำหนักรอสเทอร์ดัม ก่อนจะเสด็จพร้อมด้วย เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา ทรงทอดพระเนตรโครงการมะเร็งแห่งเนเธอร์แลนด์ จากนั้นเจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา ได้มีพระดำรัสชื่นชมการแต่งพระองค์ของเจ้าหญิงกีดาว่า ชุดลานดอกไม้ที่ใส่อยู่ งดงามมากเพื่อนท่านใส่
  7. 15 ตุลาคม 2561 เสด็จเยือน ประเทศญี่ปุ่น โดยเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ หลังจกานั้นได้เสด็จไปประทับ ณ โรงแรมในฟูกูโอกะ (เมือง) ก่อนจะเสด็จไปทรงเข้าร่วมการประชุมเชิงวิชาการเรื่องโรคมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งในการนี้ เจ้าหญิงอายาโกะแห่งทากามาโดะ ได้ถวายของที่ระลึกเป็นสมุดทรงพระอักษรถึงความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-จอร์แดน ก่อนจะเสด็จกลับเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา
  8. 23 ธันวาคม-26 ธันวาคม 2561 เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เจ้าหญิงกีดา เสด็จแทนพระองค์เยือน นอร์เวย์ โดยทรงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และ สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ โดยในการนี้ พระองค์ทรงประทานชุดลายดอกไม้แก่ เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ ซึ่ง เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และ เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ ทรงพระราชทานแจกันดอกไม้ลายไวกิ้ง จำนวน 2 ใบ เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ พระราชทานน้ำหอมจากดอกไม้ที่ทำจากดอกไม้ในพระราชวังหลวง ก่อนจะเสด็จเยือนเมืองต่างๆในนอร์เวย์ อาทิ ออสโล บุสเครุด ฟินน์มาร์ก
  9. 26 ธันวาคม-29 ธันวาคม 2561 เสด็จเยือน สวีเดน ในการนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าหญิงมาเดอลีน ดัชเชสแห่งเฮลซิงลันด์และเยสตริคลันด์ และ คริสโตเฟอร์ โอนีล พระสวามี เสด็จออกทรงรับเจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล ก่อนจะเสด็จไปเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน และ เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ณ พระราชวังหลวง กรุงสต็อกโฮล์ม ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจเรื่องการส่งออกการค้าและการลงทุน (การส่งออกและการลงทุนนั้น เป็นพระกรณียากิจใน เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด พระสวามี แต่ประชวรจึงเสด็จมามิได้)
  10. 5-7 มกราคม 2562 เจ้าหญิงกีดา เสด็จเยือนประเทศเบลเยียม โดย สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม และ เจ้าหญิงแกลร์แห่งเบลเยียม พระชายา เสด็จออกทรงรับเจ้าหญิงกีดาแห่งจอร์แดน ในการนี้ สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม พระราชทานผ้าพันคอลายดอกไม้ให้เจ้าหญิงกีดา หลังจากนั้น พระองค์เสด็จเยือนมหาวิทยาลัยโอลเบลเยียม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับมะเร็ง ก่อนจะเสด็จไปที่ฟลานเดอร์ เพื่อทรงประชุมเกี่ยวกับโครงการเด็กกับมะเร็ง
  11. 11-16 กุมภาพันธ์ 2562 เสด็จเยือนกัมพูชา เสด็จไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ที่พระราชวังหลวงกรุงพนมเปญ ก่อนจะเสด็จไปเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท พระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำรัสให้กำลังพระทัยในการทรงงานต่างๆ ซึ่งเจ้าหญิงกีดาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพัดขนนกจำนวน 2 ด้าม ซึ่ง ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ทูลเกล้าถวายสร้อยพระหัตถ์และสร้อยพระศอประดับมรกต
  12. 29-23 กุมภาพันธ์ 2562 เสด็จเยือน ประเทศโมนาโก โดยได้เสด็จไปทรงเฝ้าทูลละอองพระบาท เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก และ เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก ณ พระราชวังหลวงโมนาโก ในการนี้ เจ้าหญิงกาโรลีน เจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์ ได้นำเสด็จเจ้าหญิงกีดา ไปเคารพพระบรมศพ เจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก และ เกรซ เคลลี ณ สุสานหลวงพระราชวงศ์โมนาโก ซึ่ง เจ้าหญิงกีดาได้ประทานกำไลข้อมือแก่ เอลิซาเบธ อานน์ เดอ เมสซี ผู้เป็นพระธิดาใน เจ้าหญิงอองตัวแนตแห่งโมนาโก
  13. 25-3 มีนาคม 2562 เสด็จเยือนประเทศภูฏาน โดยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และ สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก และเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เจ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน ณ พระราชวังหลวงกรุงทิมพู ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราขินีแห่งภูฏาน ได้พระราชทานที่ปักพระเกศาแด่เจ้าหญิงกีดา จากนั้น เจ้าหญิงกีดาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้ประดับเพชรจาก สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และ สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน
  14. 2 - 5 เมษายน 2562 เสด็จเยือนสเปน โดย สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน และ สมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปน เสด็จพระราชดำเนินทรงรับ เจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล โดยมี เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส และ อินฟันตาโซฟีอาแห่งสเปน เฝ้ารับเสด็จด้วย โดยทรงนำเสด็จไปยังพระราชวังหลวง จากนั้นได้มีพระราชปฏิสันถารร่วมด้วย จากนั้น เจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล เสด็จไปเฝ้าทูลละองธุลีพระบาท สมเด็จพระราช���ธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน และ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน ณ พระตำหนักยอร์กปัลมาร์ ใน มาดริด
  15. 22 สิงหาคม - 9 กันยายน 2562 เสด็จเยือนเลโซโท ทรงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท และ สมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ ณ พระราชวังหลวงโบอานา เมือง มาเซรู ทรงพบกับ ทอม ทาเบน นายกรัฐมนตรีเลโซโท ในการประชุมและการหาแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งในพระอุปถัมภ์เจ้าหญิงกีดาแห่งจอร์แดน ซึ่งทรงก่อตั้งในปี 2558 ในการนี้ เจ้าหญิงมาเบียงแห่งเลโซโท เสด็จทรงพบเจ้าหญิงกีดาเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ พระตำหนักไมอาซอรี

ทรงเป็นสมาชิกคณะกรรมการ

[แก้]
  1. ตั้งแต่ ก.พ. 2013: ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการของสถาบันการศึกษานานาชาติ
  2. ตั้งแต่ตุลาคม 2554: Georgetown University - Washington DC คณะกรรมการปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์การต่างประเทศ
  3. ตุลาคม 2546 - ตุลาคม 2552: มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ - วอชิงตันดีซีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
  4. จาก 2007: Scholar Rescue Fund, สถาบันการศึกษานานาชาติ - New York
  5. ตั้งแต่ตุลาคม 2548: หอศิลป์แห่งชาติวิจิตรศิลป์[21] - อัมมานจอร์แดน
  6. ตั้งแต่พ. ศ. 2540: สหพันธ์ว่ายน้ำแห่งชาติ- จอร์แดน (ประธานกิตติมศักดิ์)