ข้ามไปเนื้อหา

สต็อกโฮล์ม

พิกัด: 59°19′46″N 18°4′7″E / 59.32944°N 18.06861°E / 59.32944; 18.06861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรุงสต็อกโฮล์ม)
สต็อกโฮล์ม
ธงของสต็อกโฮล์ม
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของสต็อกโฮล์ม
ตรา
สมญา: 
เอเกน (Eken), เวนิสแห่งยุโรปเหนือ, เวนิสแห่งสแกนดิเนเวีย[1]
สต็อกโฮล์มตั้งอยู่ในเทศมณฑลสต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์มตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน
สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์มตั้งอยู่ในยุโรป
สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์ม
พิกัด: 59°19′46″N 18°4′7″E / 59.32944°N 18.06861°E / 59.32944; 18.06861
ประเทศสวีเดน
จังหวัดเซอร์เดมันลันด์ และ อุปป์ลันด์
มณฑลมณฑลสต็อกโฮล์ม
เทศบาล
ปรากฏหลักฐานชื่อเมืองครั้งแรก1252
ชาร์เตอร์ศตวรรษที่ 13
การปกครอง
 • นายกเทศบาลอันนา เคนิก ยารัลมือร์ (M)
พื้นที่[2]
 • เมืองหลวง188 ตร.กม. (73 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง381.63 ตร.กม. (147.35 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล6,519 ตร.กม. (2,517 ตร.ไมล์)
ความสูง28 เมตร (92 ฟุต)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2020)[3][4][5]
 • เมืองหลวง975,551 คน
 • ความหนาแน่น5,200 คน/ตร.กม. (13,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[6]1,605,030 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง4,200 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,391,990 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล370 คน/ตร.กม. (950 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมStockholmer
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์100 00-199 99
รหัสพื้นที่+46-8
GDP(Nominal)[7]US$170 billion
GDP(Nominal) ต่อหัวUS$75,000
เว็บไซต์www.stockholm.se

สต็อกโฮล์ม[8] หรือ สตอกโฮล์ม[9] (สวีเดน: Stockholm)[a][10] เป็นเมืองหลวงของประเทศสวีเดน และเป็นพื้นที่เขตนครที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศและในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ด้วยประชากรหนึ่งล้านคนอาศัยในเขตเทศบาล[11], 1.6 ล้านคนในเขตเมือง,[5] และ 2.4 ล้านคนในเขตนคร[11] สต็อกโฮล์มมีพื้นที่กินเกาะจำนวนสิบสี่ที่ซึ่งมีทะเลสาบมะลาเรนไหลลงทะเลบอลติก และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสต็อกโฮล์ม พื้นที่ของสต็อกโฮล์มปรากฏหลักฐานว่ามีการตั้งรกรากมาตั้งแต่ยุคหิน ราวหกพันปีก่อนคริสตกาล และจัดตั้งขึ้นมาในฐานะเมืองเมื่อปี 1252 โดยบีรเยร์ ยาร์ล

สต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวงของมณฑลสต็อกโฮล์ม และเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรม สื่อ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศสวีเดน ภูมิภาคสต็อกโฮล์มมีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งในสามของจ��ดีพีของประเทศ[12] และเป็นหนึ่งในสิบภูมิภาคที่มีจีดีพีต่อหัวสูงสุดในทวีปยุโรป[13] สต็อกโฮล์มได้รับการจัดอันดับเป็นมหานครโลกระดับอัลฟา[14] รวมถึงเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย รวมถึงเป็นศูนย์กลางของสำนักงานใหญ่บริษัทใหญ่ ๆ ในภูมิภาคนอร์ดิก[15] สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ของโลกที่ตั้งอยู่ในสต็อกโฮล์ม เช่น สถาบันเศรษฐศาสตร์สต็อกโฮล์ม, สถาบันคาโรลินสกา, ราชวิทยาลัยเทคโนโลยีเคทีเอช และ มหาวิทยาลัยลุนด์[16][17] นอกจากนี้สต็อกโฮล์มยังเป็นเมืองเจ้าภาพการจัดพิธีมอบรางวัลโนเบลที่โถงคอนเสิร์ตสต็อกโฮล์ม และ ศาลาว่าการเมืองสต็อกโฮล์ม หนึ่งในบรรดาพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของสต็อกโฮล์มคือพิพิธภัณฑ์วาซา ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ใช่หอศิลป์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย[18][19] รถไฟใต้ดินสต็อกโฮล์ม ซึ่งเปิดทำการในปี 1950 เป็นที่รู้จักทั่วโลกจากการตกแต่งภายในสถานีทุกสถานี จนได้รับการขนานนามให้เป็นหอศิลป์ที่ยาวที่สุดในโลก[20][21][22]

สต็อกโฮล์มเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของรัฐบาลสวีเดนและกระทรวงทบวงต่าง ๆ ของประเทศ[23] รวมถึงศาลสูงสุดในระบบยุติธรรม[24][25] และที่ประทับอย่างเป็นทางการของสถาบันพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรี ที่ทำการรัฐบาลสวีเดนตั้งอยู่ในอาคารโรเซินบาด ส่วนริคสดาก (สภา) ตั้งอยู่ในอาคารรัฐสภา และที่อยู่ทางการของนายกรัฐมนตรีตั้งอยู่ตรงข้ามกันที่บ้านซาเกร์[26][27][28] ที่ประทับทางการและสถานที่ทรงงานหลักของพระราชวงศ์สวีเดนคือพระราชวังสต็อกโฮล์ม ในขณะที่พระราชวังโดรตท์นิงโฮล์มซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกและตั้งอยู่ชานเมืองสต็อกโฮล์ม เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์[29][30]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "20 Famous Cities You Can Visit Without Breaking The Bank – TripAdvisor Vacation Rentals". TripAdvisor Vacation Rentals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  2. "Localities 2010, area, population and density in localities 2005 and 2010 and change in area and population". Statistics Sweden. 29 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013.
  3. "Folkmängd i riket, län och kommuner. Totalt". SCB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2016.
  4. "Stockholm". Nationalencyklopedin (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  5. 5.0 5.1 "Folkmängd per tätort och småort 2010, per kommun" (XLS) (ภาษาสวีเดน). Statistics Sweden. 20 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  6. "Folkmängd och landareal i tätorter, per tätort. Vart femte år 1960 - 2019". Statistikdatabasen.
  7. http://ec.europa.eu/eurostat/documents/2995521/8700651/1-28022018-BP-EN/15f5fd90-ce8b-4927-9a3b-07dc255dc42a
  8. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ลงวันที่ 14 มีนาคม 2561.
  9. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  10. Hedelin, Per (1997). Norstedts svenska uttalslexikon. Stockholm: Norstedts.
  11. 11.0 11.1 "Folkmängd i riket, län och kommuner 31 mars 2019 och befolkningsförändringar 1 januari–31 mars". SCB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2016.
  12. "Finansiella sektorn bär frukt — Analys av den finansiella sektorn ur ett svenskt perspektiv" (PDF). Government of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  13. "Regional GDP per capita in the EU in 20 10 : eight capital regions in the ten first places" (PDF). Eurostat. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014.
  14. "The World According to GaWC 2020". GaWC - Research Network. Globalization and World Cities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-06. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  15. Olshov, Anders (2010). The location of nordic and global headquarters 2010. Malmö: Øresundsinstituttet. p. 197. OCLC 706436140. Stockholm is the main centre of headquarters in the Nordic region
  16. "Stockholm School of Economics". www.hhs.se. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
  17. "World University Rankings 2011–12: Europe". TSL Education Ltd. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  18. "Top 5 non-art museums". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  19. "Who visits Vasa". Vasamuseet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  20. "Stockholm's underground subway art". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  21. "Stockholm's Subway System is the World's Largest Underground Art Museum". Inhabitat. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  22. "Magic in the Metro". Businessweek. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  23. "Allt fler myndigheter hamnar i Stockholm" (ภาษาสวีเดน). Riksdag & Departement. 27 เมษายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014.
  24. "Kammarrättens hus" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  25. "Bondeska palatset" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  26. "The Swedish Government Offices — a historical perspective". The Government Offices of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  27. "How the Riksdag works". The Riksdag. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  28. "Sagerska huset" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-19. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  29. "The Royal Palace of Stockholm". The Royal Court of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.
  30. "Drottningholm Palace". The Royal Court of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน