ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์

พิกัด: 22°29′N 73°32′E / 22.483°N 73.533°E / 22.483; 73.533
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งอำเภอปัญจมหัล รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (iii), (iv), (v), (vi)
อ้างอิง1101
ขึ้นทะเบียน2004 (สมัยที่ 28th)
พื้นที่1,328.89 ha (3,283.8 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน2,911.74 ha (7,195.1 เอเคอร์)
พิกัด22°29′N 73°32′E / 22.483°N 73.533°E / 22.483; 73.533
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์ตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์
ที่ตั้งอุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์ ในรัฐคุชราต
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์
อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์ (ประเทศอินเดีย)

อุทยานโบราณคดีจัมปาเนร์-ปาวาครห์ (อังกฤษ: Champaner-Pavagadh Archaeological Park) เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งอยู่ในอำเภอปัญจมหัล รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย พื้นที่กว่า 1,329 เฮกตาร์ (3,280 เอเคอร์) และพื้นที่บัฟเฟอร์อีก 2,812 เฮกตาร์ (6,950 เอเคอร์) โดยรอบ[1] ในนครประวัติศาสตร์จัมปาเนร์ ซึ่งตั้งขึ้นโดยวันราช จาวทา ราชาองค์สำคัญแห่งจักรวรรดิจาวทาในศตวรรษที่ 8 ชื่อของเมืองนั้นตั้งตามมิตรสหายและนายพลจัมปา หรือต่อมารู้จักในชื่อ จัมปาราช สิ่งก่อสร้างในอุทยานโบราณคดีมีตั้งแต่แหล่งโบราณคดียุคทองแดง, ป้อมปราการบนเนินจากสมัยราชธานีศาสนาฮินดู ไปจนถึงซากปรักหักพังจากยุครัฐคุชราตในศตวรรษที่ 16 โบราณสถานมีตั้งแต่วัง, ประตูเมือง, ซุ้มประตู, มัสยิด, ที่ไว้ศพ, วิหาร, ที่อยู่อาศัย, สิ่งก่อสร้างเพื่อการเกษตร และสิ่งก่อสร้างทางชลประทาน เช่น ชลาคารกับเขื่อน ที่มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ถึง 14[1][2][3]

การเปลี่ยนผ่านจากวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมฮินดูไปสู่วัฒนธรรมอิสลามและสถาปัตยกรรมอิสลามในปลายศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 16 นั้นเดป็นเอกลักษณ์โดดเด่นหนึ่งของโบราณสถานที่นี่[4] หมู่โลราณสถานทั้งหลายได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี 2004[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Champaner-Pavagadh Archaeological Park". United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
  2. "Advisory Body Evaluation, Champaner-Pavagadh (India) No 1101" (PDF). United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. pp. 26–29. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
  3. "United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) Fact Sheet". United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
  4. "Champaner-Pavagadh". Worldheritagesite.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2012. สืบค้นเมื่อ 23 September 2012.
  5. World heritage series - Champaner Pavagadh. New Delhi: Visual Communication. 2009. p. 5.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]