สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ที่ตั้ง | ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
---|---|
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ผู้ดำเนินการ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ความจุ | 25,000 |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 |
ก่อสร้าง | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2538 |
การใช้งาน | |
ซีเกมส์ 1995 ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 31 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 กีฬาโรงเรียนอาเซียน 2016 เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ลำพูน วอริเออร์ |
สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นสนามกีฬาที่มีขนาดความจุผู้เข้าชมได้จำนวนประมาณ 25,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างขึ้นใน "โครงการสร้างสนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ซึ่งได้รับอนุ��ัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ณ โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
การก่อสร้างสนามกีฬา
[แก้]หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามกีฬาเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้วนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์จำนวน 236 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา ตามระเบียบของกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2532
ต่อมาวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 นับเป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกที่จัดนอกเมืองหลวงของประเทศเจ้าภาพ[1] ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างสนามกีฬาแห่งนี้ โดยที่คณะรัฐมนตรี มีมติขยายวงเงินในการก่อสร้างเพิ่มอีก 538,455,000 บาท
การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงเริ่มจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาออกแบบงานโครงการสร้างสนามกีฬาฯ และได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 7 ตุลาคมพ.ศ. 2536 เวลา 11.59 - 12.19 น. โดย ฯพณฯ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน[2]
อาคารสถานที่ภายในบริเวณ
[แก้]ยิมเนเซียม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]การแข่งขันกีฬา
[แก้]- สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี พร้อมด้วยสนามกีฬาบริเวณใกล้เคียง และหมู่บ้านพักนักกีฬา ถูกใช้เป็นสถานที่แข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ในปี พ.ศ. 2538
- การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 หรือ "ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25" (31 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)[3]
- การแข่งขันรถจักรยานยนต์และรถยนต์ทางตรง 201 เมตร ข้างโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ หรือ DRAG RACING ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ยกเว้น เดือน เมษายน เฉพาะ สัปดาห์ที่ 1 (ปัจจุบันยกเลิกการแข่งขันแล้ว)
- การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ HONDA RACING FEST (ปัจจุบันยกเลิกการแข่งขันแล้ว)
- การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ TOYOTA MOTOR SPORT ปัจจุบันใช้ชื่อว่า TOYOTA GAZOO RACING
- งานแสดงพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553
- เคยใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด[4] ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก เลก 2 ปี 2554
- ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม เชียงใหม่[5] ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ปี 2555
- การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 "เชียงใหม่เกมส์" วันที่ 13-24 ธันวาคม 2545
- การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 "เชียงใหม่เกมส์" วันที่ 9-19 ธันวาคม 2555
- การแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 31 "เวียงพิงค์เกมส์" วันที่ 15-19 มกราคม 2556
- ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลจังหวัดเชียงใหม่[6] ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาล 2562
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2021 วันที่ 1 กันยายน 2564 ระหว่างเชียงราย ยูไนเต็ด พบกับ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด[7]
- ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาล 2564–65[8]
- การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 ระหว่างวันที่ 22–25 กันยายน 2565[9]
- การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49 ระหว่างวันที่ 7–10 กันยายน 2566[10]
การแสดงคอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสริต์ MTV EXIT Live In Chiangmai วันที่ 25 มิถุนายน 2554
- คอนเสิร์ตคนหัวใจสิงห์ อัสนี-วสันต์ โชติกุล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554
กิจกรรมทางการเมือง
[แก้]- การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานการดำเนินงานการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
- ↑ ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25
- ↑ [www.chiangrai-united.com/main]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ [[1] chiangmaifc]
- ↑ แอ่วเหนือ! ศึกแชมป์ชนแชมป์ "บีจี-เชียงราย" บู๊ถิ่นเชียงใหม่ 1 ก.ย.นี้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
- ↑ ช้างศึกแอ่วเหนือ "เชียงใหม่" ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพทัวร์นาเมนต์ "ฟีฟ่า เดย์"
- ↑ คอนเฟิร์ม "เชียงใหม่" เจ้าภาพคิงส์ คัพ ครั้งที่ 49 "ช้างศึก" โม่แข้ง 3 ชาติ เดือนกันยายนนี้
- ↑ "นปช.พรึบสนามกีฬาเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.