ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
Office of Atoms for Peace
ตราราชการประจำสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง26 เมษายน พ.ศ. 2504; 63 ปีก่อน (2504-04-26)
สำนักงานก่อนหน้า
  • สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากร342 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี395,165,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • เพ็ญนภา กัญชนะ, รักษาการเลขาธิการ
  • อัมพิกา อภิชัยบุคคล, รองเลขาธิการ
  • ว่าง, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงาน

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (อักษรย่อ: ปส.; อังกฤษ: Office of Atoms for Peace, OAP) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาประเทศ

ประวัติ

[แก้]

จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2504 มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ต่อมาภายหลังมีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[2] กำหนดให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกลางให้การเสนอแนะนโยบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติ กำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน โดยการบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู กำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี กำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู เพื่อให้มีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติให้เป็นไปตามพันธกรณีและมาตรฐานสากล สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนและให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานปรมาณูให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน

ใน พ.ศ. 2567 สำนักงานเปิด ศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีแห่งชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. "รา��กิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอน 99ก วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-24.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]