ศันสนีย์ เสถียรสุต
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
ศันสนีย์ เสถียรสุต | |
---|---|
เกิด | ศันสนีย์ ปัญญศิริ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2496 อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (68 ปี) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
อาชีพ | นักปฏิบัติธรรม แม่ชี, นักเขียน |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2523 – 2564 |
องค์การ | เสถียรธรรมส���าน |
คู่สมรส | เสถียร เสถียรสุต (หย่าร้าง) |
บิดามารดา |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
แม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต (นามเดิม :ศันสนีย์ ปัญญศิริ ชื่อเล่น ตุ๊กตา) (31 ตุลาคม พ.ศ. 2496 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564) เป็นผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน สาวิกาสิกขาลัย หุบเขาโพธิสัตว์ และธรรมาศรม และเป็นนักปฏิบัติธรรม
ประวัติ
[แก้]แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต หรือนามเดิม ศันสนีย์ ปัญญศิริ (ตุ๊กตา) เกิดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรีของเฉลียว จรัสศรี นายอำเภอบางปะหัน[1] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจำลอง พรหมินทะโรจน์ ครูประจำโรงเรียนบางปะหัน (เชื่อมประชานุกูล) มีพี่สาว 1 คน คือสายสัมพันธ์ ปัญญศิริ (ตุ๋มติ๋ม)[1] เคยพบรักกับ เสถียร เสถียรสุต [2] ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน และมีพี่น้องต่างมารดา คือทัศนะ จรัสศรี และ ศ.ดร.นราพงษ์ จรัสศรี (ต้ำ) (ผู้บุกเบิกนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในประเทศไทย)
การศึกษา
[แก้]- ชั้นอนุบาล – โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา[3]
- ประถมศึกษาปีที่ 1–4 โรงเรียนบางปะหัน (เชื่อมประชานุกูล)[4]
- ประถมศึกษาปีที่ 5–7 โรงเรียนประตูชัย[5]
- มัธยมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์[6]
- จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โ��งเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา)
- พ.ศ. 2528 : ปริญญาตรีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 : ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[7]
- พ.ศ. 2552 : ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- พ.ศ. 2557 : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา[8]
การทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2519−2523 เจ้าหน้าที่ PR สถานออกกำลังกายและเสริมความงามครบวงจร World Club
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523 สละทางโลกเข้าสู่บวรพุทธศาสนาด้วยการบวชชี ที่วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต โดยมีพระครูภาวนาภิธาน เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2530 ก่อตั้ง ‘เสถียรธรรมสถาน’ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยมีพระธรรมนำทาง ทำงานสร้างชีวิตในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข พ้นทุกข์ร่วมกัน กว่า 30 ปีที่ผ่านมา เสถียรธรรมสถานมีนวัตกรรมการฉุดช่วยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งงานเชิงรุกและเชิงรับ อันได้แก่ จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์, โรงเรียนพ่อแม่, อารยตาราภาวนาวิชชาลัย, สาวิกาสิกขาลัย, โครงการเยาวชน ‘บ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอด เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา’ (Seeds Of Spirituality - SOS), International Tara Awards รางวัลสำหรับคนปลุกสังคมด้วย ‘หัวใจโพธิสัตว์’, ISV Club (International Spiritual Volunteer Club), CSV Club (Community Spiritual Volunteer Club), ธรรมชาติบำบัด และการเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- พ.ศ. 2551 ก่อตั้ง ‘สาวิกาสิกขาลัย’ มหาวิชชาลัยธรรมะเพื่อเยียวยาสังคม ที่มุ่งหวังส่งเสริมคนให้เป็น ‘อริยชน’ รู้จักการใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อเปลี่ยนจาก ‘การเป็นทุกข์’ ไปสู่ ‘การเห็นทุกข์’ ดำเนินชีวิตอย่างรู้ ตื่น และเบิกบาน นำหลักพุทธธรรมไปช่วยเยียวยาผู้อื่นและสังคม โดยจัดกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อการบรรลุธรรมในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
- พ.ศ. 2560 ก่อตั้ง ‘ธรรมาศรม’ (Mindfulness Hospital) ที่มีนวัตกรรมแห่งการฉุดช่วยให้คนทุกช่วงวัยอยู่อย่างมีความหมาย...ตายอย่างมีคุณค่า ป้องกันตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย และจากพรากอันเป็นสิ่งที่มนุษย์สุดจะเลี่ยง ‘เกิด’ อย่างไรอย่างมีสติปัญญา ‘แก่’ อย่างไรอย่างเห็นคุณค่าในตัวเอง ‘เจ็บ’ อย่างไรอย่างไม่หวั่นกลัวต่ออันตราย ‘ตาย’ อย่างไรอย่างกล้าคืนไม่ฝืนไว้ และ ยอมรับการ ‘จากพราก’ จากสิ่งที่รัก เพราะได้บริหารเวลาอย่างประเสริฐสุดแล้วในขณะที่มีกันและกัน
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง ‘กองทุนเสถียรธรรม’ โดยมี เสถียร เสถียรสุต เป็นประธาน และ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เป็นผู้อำนวยการ
- โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่เพื่อนมนุษย์ (เด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่) ให้ได้รั��ความสงบเย็น และผ่องใสเบิกบาน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
- การจัดโครงการ ‘ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา’ แก่ผู้สนใจทั่วไปทั้งที่เป็นผู้สูงวัย ครูบาอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนนักบวชสตรี (แม่ชี)
- การจัดค่าย ‘โลกสวยด้วยพระธรรม’ เพื่ออบรมเยาวชนให้รู้จักและเข้าใจการพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์
- การจัดให้มี ‘บ้านสายสัมพันธ์’ เพื่อสรรค์สร้างสายใยแห่งความรัก ความอาทรอย่างอบอุ่นระหว่างแม่กับลูก
- การดูแลสถานเลี้ยงเด็กเล็ก ชื่อ ‘ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต (บ้านเรียนแห่งรักและศานติ)’ ที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาโดยใช้หลักพุทธธรรมฝึกสมาธิ ปัญญา ปลูกฝังคุณธรรม[8]
- พ.ศ. 2562 ก่อตั้ง ‘หุบเขาโพธิสัตว์‘ ที่ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ไว้อบรมเผยแพร่คุณธรรมปณิธานโพธิสัตว์ และสร้างวิหารไว้ประดิษฐาน พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ หรือ พระแม่ตารา ไว้สักการะบูชาและสร้างคุณธรรมให้แก่สตรีเพศทั้งหลาย (ภายหลังการเสียชีวิต)[9][10]
หลักในการทำงาน
[แก้]- "พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า 'ธิดาของเราเป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทาง และมิใช่ทาง' การเดินทางอยู่บนหนทางที่ประกอบด้วยปัญญา ศีล สมาธิ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ทำให้ข้าพเจ้าอาจหาญโดยธรรม และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ธรรมะศักดิ์สิทธิ์จริงและเห็นผลจริงเมื่อเราใช้จริง ด้วยลมหายใจเข้าที่สงบเย็นและมีลมหายใจออกที่เป็นประโยชน์ รู้จักใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต เพื่อเปลี่ยนจาก ‘การเป็นทุกข์’ สู่ ‘การเห็นทุกข์’ ดำเนินชีวิตอย่างรู้ ตื่น และเบิกบาน ดังอริยสัจจากพระโอษฐ์ที่ว่า 'การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย' อันเป็นพุทธประสงค์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยศักยภาพของมนุษย์ที่จะต้องไปให้ถึง คือการใช้โอกาสในการเกิดนี้เป็นการเกิดที่ไม่เกิดอีกแห่งทุกข์"
- “สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า...เป็นผู้ชี้ทาง
- พระอรหันต์ทั้งหลาย...เป็นเพื่อนร่วมทาง
- มรรค...คือหนทาง
- อยู่แต่เรา...จะสลัดเหยื่อล่อและก้าวเดินหรือไม่
- นี้เป็นหน้าที่ที่ธิดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าต้องใคร่ครวญ
- เพราะไม่ว่าเราจะมามืดหรือมาสว่าง
- เราไปสว่างได้อย่างแน่นอน
- ด้วยว่านี่เป็นทางสายเอกสายเดียวเท่านั้น
- ที่เราจะไปถึงได้เมื่อเราปักธงไว้ว่า
- เราจะอยู่บน ‘มรรคาสู่การหลุดพ้น’
- สมดังที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งว่า
- “ธิดาของเราเป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง’”
- “ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าเราเชื่อในกฎของกรรม เชื่อในกฎของธรรมชาติ ว่าทำอะไรได้อย่างนั้น รางวัลของการทำงานจริง ๆ ก็ย่อมจะเป็นความสุขที่ได้จากการทำงาน
- ส่วนการได้รับรางวัลที่ผู้อื่นมอบให้ก็เป็นเหตุปัจจัยที่ควรอนุโมทนาในการทำงานอย่างมีความสุขของคนแต่ละคน
- เพราะฉะนั้น การให้รางวัลชีวิต ก็คือการรักษาความสุข สนุกอยู่ในงานของเรา และนั่นก็เท่ากับว่า เราได้รางวัลทุกวันอยู่แล้ว”
- “ความกตัญญูต่อพระธรรม...เป็น ‘หลักใจ’
- การทำงานเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ...เป็น ‘หลักการ’
- และ...ขอให้โลกนี้มีธรรมเป็นมารดา...เป็น ‘หลักชัย’”
- “อยู่เย็นเป็นสุข พ้นทุกข์ร่วมกัน”
- “คุณธรรม 8 ประการของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์”
- ไม่มีความถือตัวอวดดี
- ไม่มีความโง่เขลา
- ไม่มีความอาฆาตพยาบาททั้งปวง
- ไม่มีความอิจฉาริษยา
- ไม่มีความคิดเห็นที่ผิด
- ไม่มีความโลภ
- ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
- ไม่มีความยึดติด ความเคลือบแคลงสงสัยทั้งปวง[8]
รายนามสิ่งเชิดชูเกียรติ
[แก้]- พ.ศ. 2542 : รางวัลเชิดชูเกียรติ ‘เพชรกรุงเทพ’ สาขาบริการสังคม ครั้งที่ 3 ประจำปี 2542 จากกรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2548 : รางวัลเสียงแห่งความศักดิ์สิทธิ์ (Spiritual Leadership Award on Breaking the Circle of Violence) จาก Living Wellness Foundation สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2549 : รางวัล ‘กิฟฟารีน เกรซ เลดี้ อวอร์ด 2006’ จากบริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด
- พ.ศ. 2550 : รางวัลสตรีดีเด่นกรุงเทพมหานคร สาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม เนื่องในวันสตรีสากล ปี 2550
- พ.ศ. 2551 : รางวัลเชิดชูเกียรติ ‘เพชรสยาม’ ด้านส่งเสริมศาสนาเพื่อสันติภาพ ประจำปีพุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- May 1st, 2008 รางวัลผู้อุทิศตนเพื่อมนุษยชาติ (Humanitarian Award) จาก Humanity In Unity (HIU) ของ Her Holiness Sai Maa Lakshmi Devi ณ เมืองเวลล์ รัฐโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2552 : รางวัล ‘พุทธคุณูปการ’ ระดับรัชตเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
- พ.ศ. 2553 : รางวัล ‘จำนงค์ ทองประเสริฐ’ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ด้านการเผยแผ่ จากมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2555 : รางวัล ‘คนดีศรีพุทธศาสตร์’ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- โล่เกียรติยศ บุคคลคุณภาพแห่งปี 2012 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ประเทศไทย (มสวท.)
- รางวัล 10 ยอดสตรีไทย ห่วงใยสุขภาพ เนื่องในวันสตรีไทย จากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
- พ.ศ. 2556 : รางวัลตาชั่งทอง ‘บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี’ จากคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สาขาบุคคลตัวอย่างที่แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี จากศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
- โล่เกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- พ.ศ. 2557 : รางวัลผู้นำพุทธโลก [World Buddhist Outstanding Leader Award]
- พ.ศ. 2558 : เสาอโศกผู้นำศีลธรรม รางวัลประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (สมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย)
- พ.ศ. 2559 : โล่ประกาศเกียรติคุณ ประทานจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เนื่องในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ประจำปี 2559 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2560 : รางวัล ‘เพชรงามด้านการสาธารณสงเคราะห์’ รางวัลสำหรับผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ประจำปี 2560 ของมหาเถรสมาคม โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเมตตาประทานรางวัล
- พ.ศ. 2561 : รางวัล ‘ทูตสันติภาพด้านศาสนสัมพันธ์และสังคมสงเคราะห์ ในการประชุมสันติภาพโลก 2561’ ณ ศาลาว่าการเมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน จากองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก[8]
บทบาทการทำงานระดับชาติ
[แก้]- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- คณะที่ปรึกษาฝ่ายการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
- คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร และศูนย์อำนวยการบริหาร ‘ยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง’ ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติ ‘รวมพลังสร้างสุขภาพ’ กระทรวงสาธารณสุข
- ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปีพุทธทาสภิกขุ กระทรวงศึกษาธิการ
- ที่ปรึกษากรรมการอำนวยการโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กระทรวงศึกษาธิการ
- คณะกรรมการกำกับทิศทาง ‘แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ’ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้เพื่อให้สุขภาพผู้หญิงได้รับความคุ้มครอง (สคส.)
- คณะทำงาน คณะกรรมการการดำเนินงานโครงการวิสาขบูชา พุทธศักราช 2550 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- คณะอนุกรรมการอุปถัมภ์ คณะกรรมการการจัดงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักนายกรัฐมนตรี
- รองประธานกรรมการคณะกรรมการอำนวยการสนับสนุนความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างสังคมคุณธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี
- อนุกรรมการการพัฒนาและบูรณาการโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ภายใต้คณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรม ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ
- ประธานอนุกรรมการการพิจารณาคัคเลือก 100 ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ ในคณะกรรมการการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- คณะกรรมการการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
- กรรมการกิตติมศักดิ์ มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์[11]
- คณะอนุกรรมการด้านวิชาการงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลกประจำปี 2555
- รองประธานอุปถัมภ์โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์ พุทธคยา
- คณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือสร้างคนดีให้มีคุณธรรมโดยธรรมะ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาคีเครือข่ายความร่วมมือสร้างคนดีให้มีคุณธรรมฯ วัดเทพศิรินทราวาส (9 มิถุนายน 2559)[8]
บทบาทการทำงานระดับโลก
[แก้]- ประธานร่วมขององค์กร THE GLOBAL PEACE INITIATIVE OF WOMEN (GPIW ), UNDP
- The Living Wellness Foundation ได้มอบรางวัล Spiritual Leadership Award ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณในการยุติความรุนแรงในเด็กและสตรี ร่วมกับผู้ที่ได้รับรางวัลท่านอื่น ๆ ได้แก่ องค์ทะไลลามะ, Ashley Judd, Kitaro
- A walk of Wisdom ได้รับรางวัลหนึ่งในสิบสารคดียอดเยี่ยม ของ Santa Barbara International Film Festival
- ประธานการจัดการประชุมนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา ครั้งที่ 12 (12th International Sakyadhita Conference on Buddhist Women) ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน 2554[8]
สื่อธรรมะ
[แก้]หนังสือ
- หนังสือ ‘เพื่อนทุกข์’ เล่ม 1 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘เพื่อนทุกข์’ เล่ม 2 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ทำอย่างไรดี...กับแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ เล่ม 1 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ทำอย่���งไรดี...กับแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ เล่ม 2 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ทำอย่างไรดี...กับแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ เล่ม 3 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ทำอย่างไรดี.กับแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ เล่ม 4 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ทำอย่างไรดี...กับแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ เล่ม 5 (ตอบคำถาม)
- หนังสือ ‘ยินดีที่ได้รู้จัก’ เล่ม 1 (รวมวาทธรรม)
- หนังสือ ‘ยินดีที่ได้รู้จัก’ เล่ม 2 (รวมวาทธรรม)
- หนังสือ ‘ยินดีที่ได้รู้จัก’ เล่ม 3 (รวมวาทธรรม)
- หนังสือ ‘ยินดีที่ได้รู้จัก’ เล่ม 4 (รวมวาทธรรม)
- หนังสือ ‘เพื่อนสุข’ (รวมข้อคิด)
- รายการถ่ายทอดสดทาง Facebook Live ที่ www.facebook.com/sdsface[12] และ SDS Channel
- รายการ ‘ธรรมสวัสดี Live’[13] สื่อเพื่อชีวิตที่งดงามและเป็นอิสระ
- รายการ ‘ทุกข์กระจาย ใจกระจ่าง’[14]
การเสียชีวิต
[แก้]วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน ออกแถลงการณ์ (ฉบับที่ 2) แจ้งข่าวการเสียชีวิตของท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน ระบุว่า จากที่แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเข้ารับการรักษาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 โดยมีอาการดีขึ้นในช่วงปีแรกและตรวจพบก้อนมะเร็งอีกครั้งในกลาง พ.ศ. 2563 และเข้ารับการรักษาโดยคณะแพทย์อย่างเต็มความสามารถ
กระทั่งวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พบว่าอาการไม่ปกติ อ่อนเพลียมาก คณะผู้ดูแลจึงพาท่านเข้ารับการรักษาอีกครั้ง คณะแพทย์พบว่าก้อนมะเร็งได้ขยายขนาดและลุกลามอย่างมาก ผู้ดูแลจึงตัดสินใจพาท่านกลับมาพำนักที่เสถียรธรรมสถาน ตามปณิธานของท่านในวันที่ 6 ธันวาคม และเสียชีวิตในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18.23 น. สิริอายุ 68 ปี 1 เดือน 7 วัน[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เปิดประวัติ "แม่ชีศันสนีย์" ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน ก่อนคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ sanook สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564
- ↑ รักไม่มีเงื่อนไข! 'แม่ชีศันสนีย์' เปิดใจความรักที่มีต่อ 'เสถียร เสถียรสุต' (คลิป)ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2560
- ↑ โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา เก็บถาวร 2019-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ โรงเรียนบางปะหัน (เชื่อมประชานุกูล)
- ↑ โรงเรียนประตูชัย เก็บถาวร 2018-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "เสถียรธรรมสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
- ↑ "หุบเขาโพธิสัตว์" : "ปลูกป่า ปลูกชีวิต ปลูกหัวใจ" เสถียรธรรมสถาน 2 แก่งกระจาน ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562
- ↑ เสถียรธรรมสถาน เปิดตัวโครงการการออกแบบ ‘ถ้ำ’ เพื่ออิสรภาพของอิสรชนคนไม่ถูกล่ามผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2564
- ↑ มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์
- ↑ www.facebook.com/sdsface
- ↑ ธรรมสวัสดี Live
- ↑ ทุกข์กระจาย ใจกระจ่าง
- ↑ อาลัย ‘แม่ชีศันสนีย์’ ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน จากไปด้วยโรคมะเร็ง workpointTODAY สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- HERE AND NOW with แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ก้าวย่างแห่งปัญญาด้วยปาฏิหาริย์แห่งโลกไร้พรมแดน
- "นักธรรม" โลกมายา Grow Inner
- มนทิรา จูฑะพุทธิ, ๙๒๒.๙๔๓ ม๑๕ม. แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต:ก้าวย่างแห่งปัญญา. ชีวประวัติ. กรุงเทพฯ: สามสี, ๒๕๔๘